สมาชิก




ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
 

เมนู

หน้าแรก

รวมรูปภาพ

เว็บบอร์ด

สนทนาคนรักต้นไม้

 

บทความ

หิน-หินเทียม

สารพัดต้นไม้จัดสวน

ไม้ประดับเพื่อการจัดสวน

ปลูกต้นไม้มงคล

เกี่ยวกับเรา

สวนสไตล์ต่างๆ

ต้นไม้ประจำจังหวัด ภูมิสัญญลักษณ์ของเมือง

มหัศจรรย์โลกพฤกษา

ว่าด้วยเรื่อง.....ดิน....และ..ปุ๋ย

พืชจัดสวนมีพิษที่ควรระมัดระวัง

เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็นสวนใหม่

จัดสวนพื้นที่ขนาดใหญ่

จัดสวนด้วยตัวเอง

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

การทำบ่อเลี้ยงปลา และระบบกรองรักษาคุณภาพน้ำอย่างง่าย

มุมสวนสวยสำหรับคุณ

ในนี้มีอะไรเยอะแยะ

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/02/2008
ปรับปรุง 19/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 17,219,144
Page Views 23,359,387
 
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

ต้นไม้พุ่ม 1

ต้นไม้พุ่ม 1

 

ไม้พุ่ม 1

เรื่องต้นไม้ถ้าจะคุยกันสามวันสามคืนก็ไม่จบ มันมากจนบางทีก็จำไม่ได้และนึกไม่ออกเหมือนกัน

แต่คิดว่า ถ้าคุยกันไปเรื่อยๆทีละต้นทีละต้นนะอาจจะออกอาการซะเอง นี่ก็เริ่มๆมึนแล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มอะไรก่อนดี แต่จะค่อยๆ เรียงๆไป
เริ่มด้วยต้นนี้แล้วกัน

1 ราชาวดี/Buddleja paniculata 27 ราตรี/Cestrum Nocturnum
2 ราชาวดีสีม่วง/Buddleja davidi 28 ราตรีสีทอง/Cestrum aurantiacum.
3 พุดจีบ/Ervatamia coronaria 29 ราตรีสวรรค์/Clerodendrum calamitosum
4 พุดกุหลาบ/Tabernaemontana divaricata 30 นางแย้ม/Clerodendrum chinense
5 พุดซ้อน/Gardenia jasminoides 31 พุดตาน/Hibiscus mutabilis
6 พุดแสงอุษา/Gardenia taitensis 32 แย้มปีนัง/Strophanthus gratus
7 พุดแสงอุษาซ้อน/Gardenia taitensis 33 กุหลาบเมาะลำเลิง/Pereskia grandiflora
8 พุดน้ำบุษย์/Gardenia carinata 34 กุหลาบพุกาม/Pereskia bleo 
9 พุดสีดา/Gardenia  sp. 35 กุหลาบมอญ/Rosa x damascena
10 พุดปาปัว/Gardenia  sp. 36 เข็มหลวง/Ixora spectabilis
11 พุดเศรษฐีสยาม/Tabernaemontana pachysiphon 37 เข็มอุณากรรณ/Kopsia fruticosa
12 พุดดาราราย/Tabernaemontana cerifera 38 เข็มพวงขาว/Ixora finlaysoniana
13 พุดสวน/Ervatamia rostrata 39 เข็มบุษบา/Kopsia arborea
14 พุดร้อยมาลัย/Tabernaemontana pandacaqui 40 พุดผา/Gardenia saxatilis
15 พุดศุภโชค/Gardenia jasminoides. 41 สาวสันทราย/Clerodendrum quadriloculare
16 พุดพิชญา/Wrightia antidysenterica 42 นมสวรรค์/Clerodendrum paniculatum
17 พุดเวียตนาม/Gardenia jasminoides var. jasminoides 43 หมวกจีน/Holmskioldia sanguinea
18 พุดตะแคง/Brunfelsia americana 44 ประยงค์/Aglalia odorata
19 พุดแตรงอน/Euclinia longiflora 45 แก้วมุกดา/Fagraea ceilanica
20 พุทธชาด/Jasminum auriculatum 46 หอมเจ็ดชั้น/Tarenna wallichii
21 พุทธชาดสามสี/Brunfelsia uniflora 47 หอมหมื่นลี้/Osmanthus fragrans
22 มะลิลา-มะลิซ้อน/Jasminum sambac 48 จำปีแขก/Magnolia figo
23 มะลิฉัตรดอกบัว/'Mali Chat Dok Bua' 49 มุจรินท์/Ravenia spectabilis
24 แก้ว/Murraya paniculata 50 ประทัดใหญ่/Quassia amara
25 แก้วหิมาลัย/Murraya paniculata 51 สำมะงา/Volkameria inermis
26 ทิวา/Cestrum diurnum 52 เขี้ยวกระแต/Psilanthus bengalensis
EPPO code---รหัส EPPO คือ รหัสคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับพืช แมลงศัตรูพืช (รวมถึงเชื้อโรค) ซึ่งมีความสำคัญในการเกษตรและการปกป้องพืช รหัสEPPOเป็นระบบการเข้ารหัสที่กลมกลืนกันซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการชื่อพืชและศัตรูพืชในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบไอที
EPPO (2021) EPPO Global Database (พร้อมใช้งานออนไลน์) https://gd.eppo.int

ราชาวดี/Buddleja paniculata

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Buddleja paniculata Wall. (1820)
ชื่อพ้อง ---Has 3 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/545848-1#synonyms   
---Buddleja lavandulacea Kraenzl. (1913)
---Buddleja gynandra C.Marquand. (1930)
---Buddleja mairei H.Lév. (1914)
ชื่อสามัญ---Butterfly Bush, Curly Butterfly Bush, Byttneria, Long Spiked,Summer Lilac, Panicled Butterfly Bush
ชื่ออื่น ---ราขาวดี, ราชาวดีขาว หางกระรอกเขมร ไค้หางหมา ; [THAI: Rajawadi, Rajawadi khao, Hang ka rok -Khmer, Khai hang ma.];
ชื่อวงศ์---SCROPULARIACEAE
EPPO Code---BUDSS (Preferred name: Buddleia sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---อินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน  พม่า ไทย เวียตนาม
Buddleja paniculata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มณเฑียรทอง (Scrophulariaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ในปี พ.ศ.2363


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดทางตอนเหนือของอินเดีย (อินเดีย เนปาล ภูฏาน) จีน (กวางสี กุ้ยโจว หูหนาน เจียงซี เสฉวน ยูนนาน) และ พม่า ไทย เวียตนาม ในธรรมชาติพบขึ้นตามเนินเขาท่ามกลางโขดหินที่มีแสงแดดจัดที่ระดับความสูง 500 - 3,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 2-3 เมตรแตกกิ่งขนาดเล็กและยืดยาวสามารถนำขึ้นโครงซุ้มรอเลื้อยได้ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ก้านใบยาว 0.2–2 ซม.ขนาดใบประมาณ1–25 x 0.7–9 ซม.ใบระคายมีจักรอบริมใบ สีของใบด้านล่างสีจะจางกว่าสีใบด้านบน ดอกสีขาวขนาดเล็กมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามยอดและตามง่ามใบส่วนยอด ช่อยาวประมาณ 6-8 ซม. ผลแคปซูลมีลักษณะเป็นทรงรีและมีสีขาวปนแป้ง ขนาด 4–7 x 2-3 มม.เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปขอบขนาน 1–1.2 มม.และมีปีกที่ปลายทั้งสองข้าง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแดดจัด ดินอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์วัตถุ ทนแล้งได้ สามารถทนต่อมลพิษในชั้นบรรยากาศ ถ้าปลูกเลี้ยงให้น้ำดีก็จะออกดอกทยอยตลอดปีส่งกลิ่นหอมตลอดวัน กลิ่นจะแรงในช่วงดึกและเช้าตรู่
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ใช้ยาต้มของใบในการรักษาโรคท้องร่วงและโรคบิด ยาต้มของใบรวมกับใบของ Crotalaria alata ใช้ในการรักษาไข้
-ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งสวนมีกลิ่นหอม
สถานะการอนุรักษ์---NE -Not Evaluated อนุกรมวิธานนี้ยังไม่ได้รับการประเมินสำหรับ IUCN Red List of Threatened Species.
ระยะออกดอก---เมษายน - กรกฏาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


ราชาวดีสีม่วง/Buddleja davidi

ชื่อวิทยาศาสตร์--- Buddleja davidii Franch. (1887)
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms
---Buddleja shaanxiensis Z.Y.Zhang. (1980)
---Buddleja variabilis Hemsl. (1889)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:545734-1#synonyms
ชื่อสามัญ--- Butterfly- Bush, Orange-eye Buddleja, Summer- Lilac.
ชื่ออื่น--ราชาวดีสีม่วง;[ALBANIA: Budlejë.];[CHINESE: Da ye zui yu cao.];[CZECH: Komule Davidova.];[DUTCH: Vlinderstruik.];[DANISH: Almindelig sommerfuglebusk.];[FRENCH: Arbre aux papillons, Arbre à papillon, Buddleja du père David, Buddléa de David, Buddléa, Lilas d'été,  Lilas de Chine, Buddléja changeant.];[GERMAN: Fliederspeer, Herbstflieder, Schmetterlingsstrauch, Sommerflieder, Spitzähriger Schmetterlingsstrauch, Spitzähriger Sommerflieder, Zottelstrauch.];[ITALIAN: Albero delle farfalle, Buddleja, Buddleja di David.];[PORTUGUESE: Arbusto-das-borboletas, Budleja, .];[RUSSIA: Buddleya Davida, Buddleya izmenchivaya.];[SPANISH: Budleja.];[SWEDISH: Syrenbuddleja.];[THAI: Rajavadi si mouang.];[TURKISH: Kelebek çalısı.].
ชื่อวงศ์ ---SCROPHULARIACEAE
EPPO Code---BUDDA (Preferred name: Buddleja davidii.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย  
เขตกระจายพันธุ์---ยุโรป มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Buddleja' ตั้งตามชื่อ บาทหลวง Adam Buddle (1662–1715) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ; ชื่อสายพันธุ์ 'davidii' เป็นเกียรติแก่ Father Armand David (1826–1900) นักสำรวจ นักสัตววิทยา นักพฤกษศาสตร์ และมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสในประเทศจีน ซึ่งเป็นชาวยุโรปคนแรกที่รายงานไม้พุ่ม
Buddleja davidii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มณเฑียรทอง (Scrophulariaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Adrien Rene Franchet (1834-1900) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2430


ที่อยู่อาศัย เรื่องถิ่นกำเนิดเป็นการสันนิษฐานว่ามาจากประเทศจีน แต่มีนักพฤกษศาสตร์บางกลุ่มบอกว่าน่าจะมาจากอินเดียมากกว่าในถิ่นอื่นเพราะ มีลักษณะที่คล้ายพันธุ์ไม้ที่เกิดในอินเดียอยู่หลายชนิด พบที่ระดับความสูง 800 - 3,000 เมตร
ลักษณะ เป็นต้นไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดกลาง อาจสูงได้ถึง 1-5 เมตร พุ่มโปร่งดอกไม่หอมแต่สวย ใบเดี่ยวรูปใบหอกออกตรงข้าม ขนาด 15-25 ซม.ดอกจะออกติดกันแน่นเป็นช่อตั้ง ตามยอดหรือตามง่ามกิ่ง ดอกอาจเป็นสีขาว สีม่วงสด หรือสีม่วงอ่อน หรือสีชมพู ดอกใหญ่กว่าและมีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าราชาวดีดอกสีขาว (Buddleja paniculata Wall.) ขนาดของดอกประมาณ 0.7-0.9 ซม. ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 15-18 ซม.กลีบดอกเป็นหลอดเล็กๆ แต่วงในดอกจะเป็นสีแดงหรือส้มเข้มๆ เวลาดูรวมๆ ก็จะเป็นสีม่วงอมแดง ผลเป็นฝักรูปไข่ขนาดเล็กตั้งตรงซึ่งอาจไม่สามารถมองเห็นได้ง่าย เมื่อโตเต็มที่ฝักจะมีสีน้ำตาลเข้มและเปิดที่ปลาย เมล็ดเป็นอนุภาคคล้ายฝุ่นที่สามารถกระจายไปตามลม
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องใช้ตำแหน่งที่มีแดด ชอบดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ ดินที่มีความเป็นด่างสูง pHอยู่ระหว่าง 6-8.9 สามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่ไม่ดีและแห้งแล้ง ทนต่อมลพิษทางอากาศและทนไอเค็มจากทะเล
ใช้ประโยชน์---มักเติบโตเป็นไม้ประดับซึ่งมีค่าสำหรับ ดึงดูดผีเสื้อ
-ใช้เป็นยา กล่าวกันว่า พืชมีคุณสมบัติเป็นยา
-ใช้ปลูกประดับ ได้รับความนิยมทั่วโลกในฐานะไม้ประดับ และเนื่องจากคุณค่าของดอกไม้ในฐานะเป็นแหล่งน้ำหวานของ ผีเสื้อ หลายสายพันธุ์
-อื่น ๆพืชสามารถใช้ในการทำสีที่หลากหลาย ดอกไม้ ใบไม้และลำต้น รวมกัน ให้สีย้อมสีดำและสีเขียว ส่วน สีส้มทอง-สีน้ำตาล ได้จากดอกไม้
ได้รับรางวัล--- RHS Award of Merit (AM) ในปี 1898 และAward of Garden Merit (AGM) ในปี 1941
ระยะออกดอก---พฤษภาคม-สิงหาคม
การขยายพันธุ์--- ด้วยเมล็ด ปักชำและตอนกิ่ง
** การพูดคุยส่วนตัว ราชาวดีสีม่วงเป็นพันธุ์ไม้ต่างประเทศที่ มีผู้นำพันธุ์เข้ามาปลูกและขยายพันธุ์จำหน่ายในตลาดต้นไม้ประเทศไทยเมื่อ 2516 คือให้รู้ว่าไม่ใช่ต้นไม้โบราณของไทยเหมือนราชาวดีสีขาว ออกดอกเป็นระยะตลอดปีแต่จะออกดอกดกช่วงหน้าฝนคือช่วงเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม  ชอบแดดจัด หนาวจัด ปลูกในกรุงเทพฯก็งามเท่าที่จะงามได้ในกรุงเทพฯ ถ้าไม่เทียบกับปลูกทางภาคเหนือก็ถือว่าใช้ได้ การขยายพันธุ์ที่ง่ายมากๆ และเร็วด้วยก็ แค่หักกิ่ง ปักชำไว้อาทิตย์เดียว ก็งอกรากโตเอา..โตเอา มันจึงเป็นเหตุที่บอกได้ว่า ราคาไม่แพง แต่ตอนนี้ (2561) ในตลาดชักจะหายากเอานะ** (Confirm 2565)


พุดจีบ/Tabernaemontana divaricata

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Tabernaemontana divaricata (L.) R. Br. ex Roem. & Schult. (1819)
ชื่อพ้อง---Has 25 Synonyms.
---Basionym: Nerium divaricatum L.(1753)
---Ervatamia coronaria Stapt.(1902)
---Ervatamia divaricata (L.) Burkill. (1925)
---Tabernaemontana coronaria (Jacq.) Willd. (1809)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:82097-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Adam's-appleม, Ceylon-jessamine, Crape Jasmine, Paper Gardenia, Flowers-of-love
ชื่ออื่น---พุดกุหลาบ, พุดจึบ, พุดป่า พุดสวน พุดสา พุดลา (ภาคกลาง);[BENGALI: Tagar.];[CHINESE: Gou ya hua.];[FRENCH: Clavel De La India, Fleur d'amour.];[HINDI: Chandni.];[KANNADA: Kottubale, Nandi battalu.];[MALAYALAM: Nantyarvattam.];[MARATHI: Ananta.];[PORTUGUESE: Macieira-de-Adão.];[SANSKRIT: Nandyaavarta.];[SPANISH: Rosa de hielo.];[TAMIL: Atukkunatyarvattai, Nandiar vattai.];[TELUGU: Gandhitagarapu, Nandivardhanamu.];[THAI: Phut paa, Phut suan, Phut saa.];[VIETNAM: Cây Lài trâu, Ngọc bác, Ngọc bút, Bánh hỏi.].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
EPPO Code---EVTDI (Preferred name: Tabernaemontana divaricata.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- อินเดียเหนือและตะวันออก ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ จีน พม่า ไทย ลาว
นิรุกติศาสตร์---สกุลนี้เป็นเกียรติแก่แพทย์ชาวเยอรมันและนักพฤกษศาสตร์ Jakob Theodor Müller von Bergzabern (1520-1590) Tabernaemontanus เป็นชื่อละตินของ Bergzabern; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'divaricata' คือกริยาที่สมบูรณ์แบบของกริยาภาษาละติน “divarico” = แบ่งแยก, แตกต่าง, โดยอ้างอิงถึงกิ่งก้าน
Tabernaemontana divaricata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (Rauvolfioideae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Robert Brown (1773-1858) นักพฤกษศาสตร์และนักบรรพชีวินวิทยาชาวสก็อต จากอดึต Johann Jacob Roemer (1763–1819) แพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส และ Josef August Schultes (1773–1831) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ในปี พ.ศ.2362


พุดกุหลาบ/Tabernaemontana divaricata (L.) R. Br. ex Roem. & Schult. (1819)

ที่อยู่อาศัย พืชพื้นเมืองของอินเดียมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาหิมาลัยไปยังประเทศจีน (ฉงชิ่ง, กุ้ยโจว, หูเป่ย์, เสฉวนและยูนนาน) และอินโดจีนและได้รับการปลูกฝังไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคที่อบอุ่นของทวีปเอเชีย ในธรรมชาติพบตามป่าโปร่ง; ที่ระดับความสูง 100 - 1,600 เมตร ในภาคใต้ของจีน พบในป่าเบญจพรรณ มักอยู่บนเนินเขาจากระดับน้ำทะเลถึง 1,400 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบทางภาคเหนือ
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูง 1.5-3 เมตร ออกใบหนาทึบ ทรงพุ่มแน่น  ลำต้นเหนียว เมื่อเด็ดใบและลำต้นจะมีน้ำยางไหลซึมออกมา ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 ซม.และยาวประมาณ 8-12 ซม. หลังใบเรียบลื่นเป็นมันและเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบและเป็นสีอ่อนกว่า ดอกไม้มี 2 ลักษณะ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกเป็นพวงห้อยตามยอด หรือตามง่ามกิ่ง ใกล้ๆกับยอด ดอกสีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกซ้อนกันหลายชั้น ชั้นละ 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-5 ซม.ผลเป็นฝักคู่ติดกัน รูปทรงสามเหลี่ยม โค้งยาว 2.5-5 ซม.ปลายฝักแหลม ขอบฝักเป็นสันนูน เนื้อผลเป็นสีแดง เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็นแนวเดียว ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 3-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นทรงรีเฉียงมีร่องตามยาว 7–10 x 4–6 มม.
**เป็นพืชชนิดเดียวกัน ความแตกต่างระหว่างพุดจีบกับพุดกุหลาบดูเผินๆจะคล้ายกันข้อสังเกตุความแตกต่าง พุดกุหลาบจะมีลำต้นกิ่งก้านแข็งแรงและ ทรงพุ่มทึบกว่าพุดจีบใบของพุดกุหลาบสีเขียวเป็นมันและหนาแน่นกว่า ดอกก็เหมือนกันพุดกุหลาบจะมีกลีบดอกที่ซ้อนแน่นและหนากว่า
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ปลูกง่าย ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งแสงแดดจัด และแสงแดดรำไร ไม่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับดิน แต่ชอบดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ ความชื้นสม่ำเสมอ การระบายน้ำดี pH อยู่ในช่วง 6.1-7.8
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ เป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอกตลอดปีมีดอกดก
-ใช้เป็นยา ราก ใบไม้ ดอก และน้ำยาง มีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณในการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะในการแพทย์อินเดีย สำหรับโรคต่างๆ รากถูกกำหนดไว้สำหรับโรคลมบ้าหมู และอัมพาต รากเคี้ยวเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
-การใช้งานอื่น ๆ เยื่อสีแดงรอบเมล็ดใช้เป็นสีย้อม
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2020)
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ด้วยการตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด


     พุดซ้อน/Gardenia jasminoides

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Gardenia jasminoides J.Ellis.(1761)
ชื่อพ้อง---Has 48 Synonyms
---Gardenia angusta (L.) Merr.(1917)
---Gardenia angustifolia Lodd.(1821)
---Gardenia grandiflora Lour.(1790)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-88270
ชื่อสามัญ---Gardenia, Cape-Jasmine
ชื่ออื่น---เค็ดถวา แคถวา (เชียงใหม่), พุดป่า (ลำปาง), พุทธรักษา (ราชบุรี), พุดฝรั่ง (กรุงเทพฯ), พุดสา พุดสวน พุดจีบ (ภาคกลาง), พุด, พุดจีน พุดใหญ่ พุดซ้อน (ไทย); [ASSAMESE: Gondharaj,Togor.];[BENGALI: Gandharaj.];[CHINESE: Zhi zi.];[DUTCH: Kaapse jasmijn, Knoopsgatbloem.];[FRENCH: Gardénia, Jasmin du Cap.];[GERMAN: Blütengardenie, Gardenie.];[HINDI: Gandhraj.];[INDONESIA: Ceplok piring, Jempiring, Kaca piring.];[JAPANESE: Kuchi-nashi, Ko-kuchi-nashi, Kuchinashi.];[KANNADA: Suvasane Malle.];[LAOS: Inthavaa, ph’ud.];[KOREA: Chi ja na mu.];[MALAYSIA: Akar bunga China, Bunga China, Bunga cina, Bunga susu, Sangklapa.];[MARATHI: Kaboklei.];[PHILIPPINES: Gardenia, Rosal .];[PORTUGUESE: Clavel, Jasmin-do-cabo, Jasmineiro-do-cabo, Gardênia.];[SPANISH: Jasmin del Cabo (Mexico).];[SWEDISH: Gardenia.];[THAI: Khet-thawaa, Phut chin, Phut-tharaksaa, Phut son.];[UGANDA: Mugondo.].
ชื่อวงศ์---RUBIACEAE
EPPO Code---GADJA (Preferred name: Gardenia jasminoides.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ --- จีนตอนใต้ ภูฏาน, กัมพูชา, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ลาว, เนปาล, ปากีสถาน, ไทย, เวียดนาม
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Gardenia'เป็นเกียรติแก่ Alexander Garden (ค.ศ. 1730-1791) แพทย์ชาวสก็อตนักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาซึ่งตั้งรกรากที่ชาร์ลสตันเซาท์แคโรไลนาในปี พ.ศ.2295 ; ชื่อสายพันธุ์ 'jasminoides' หมายถึง ดอกมะลิ                  Gardenia jasminoides เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย John Ellis FRS (1710 –1776) aka Jean Ellis เป็นพ่อค้าผ้าลินินและนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2304                

                                           

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และกระจายไปยัง ภูฏาน, กัมพูชา, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ลาว, เนปาล, ปากีสถาน, ไทย, เวียดนาม; ปลูกฝังในแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาเหนือ-ใต้และหมู่เกาะแปซิฟิก เกิดขึ้นตามป่าทึบและป่าไม้ริมลำธารบนเนินเขาหรือในหุบเขาและทุ่งนาที่ระดับความสูง 10 - 1,500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเตี้ยขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร มีใบหนาแน่นทรงพุ่มทึบ ใบรูปมนรีสีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ขนาดใบยาว 5-6 ซม.ดอกมักออกเป็นดอกเดี่ยว สีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 7-8 ซม.ออกตามง่ามกิ่งใกล้ๆบริเวณยอด ดอกมักมีกลีบซ้อนกันหลายชั้นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมแรง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งแสงแดดจัด ชอบดินเปรี้ยวที่อุดมไปด้วยสารอินทรีย์ เติบโตได้ดีที่สุดในดินที่มีความชื้นสม่ำเสมอ และมีการระบายน้ำที่ดี โดยมีค่า pH อยู่ในช่วง 6.1-7.8 พุดซ้อนยังมีพันธุ์แคระ ใบเล็กดอกเล็ก  พันธุ์ด่างหรือพุดซ้อนด่าง เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ออกดอกง่ายชนิดหนึ่ง แต่ถ้าปลูกในที่แสงแดดไม่เพียงพอจะไม่ค่อยออกดอก หากตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้น
ใช้ประโยชน์---ปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อนเขตร้อนและเขตอบอุ่นในฐานะไม้ประดับมันยังได้รับการปลูกในสวนอินเดียในภาคกลางและจีนและในหมู่เกาะแปซิฟิกสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย น้ำมันหอมระเหยมีการซื้อขายระหว่างประเทศในขณะที่สีย้อมจากผลไม้มีการซื้อขายในประเทศ
-ใช้กิน ดอกพุดสามารถกินได้ทั้งแบบดิบ ดอง หรือดองในน้ำผึ้ง ในประเทศจีน ใช้กลีบดอกในชาเพื่อให้มีกลิ่นหอม
-ใช้เป็นยา เปลือกต้นและรากเป็นยาแก้ไข้ รากและผลมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยแก้อาการร้อนใน รากใช้รักษาอาการปวดศีรษะอาหารไม่ย่อยโรคประสาทและมีไข้ ใช้รากตำพอกแผลสด ห้ามเลือด ช่วยสมานบาดแผล แก้ผื่นคันตามผิวหนัง แก้ฝีหนองอักเสบ แก้อาการปวดบวม เปลือกต้นเป็นยาแก้บิด แก้ปวดท้อง ผลใช้ต่อต้านโรคดีซ่านและโรคของไตและปอด ผลช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด
- Gardenia jasminoides fructus (ผลไม้)ใช้ในยาจีนโบราณเพื่อ "ระบายไฟ" และรักษาอาการไข้ บาง อย่าง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและลดไข้
- 'Shishihakuhito' เป็นยาสมุนไพรจีนที่ประกอบด้วยผลไม้พุดเป็นหลัก และใช้รักษาโรคผิวหนังภูมิแพ้ ยับยั้งการปลดปล่อยฮีสตามีนที่เป็นสื่อกลางของImmunoglobulin E (IgE)
-อื่น ๆ เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำธูป ทำกรอบรูป และทำหัวน้ำหอม ดอกสามารถนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง นำมาปักแจกันไหว้พระหรือนำไปร้อยเป็นพวงมาลัยสำหรับบูชาพระ ผลไม้เป็นแหล่งของการย้อมสีเหลือง ส่วนใหญ่ใช้เป็นสีสำหรับอาหารบางครั้งใช้ย้อมสิ่งทอ สีเหลืองหรือสีแดงเข้มแม้ว่าสีจะไม่แน่นอน
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


พุดแสงอุษา/Gardenia taitensis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Gardenia taitensis D.C. (1830)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Gardenia weissichii H.St.John. (1978)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/751281-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Heaven Scent, Tahitian Gardenia, Star of Tahiti, Symbol flower, Tiaré flower.
ชื่ออื่น---พุดแสงอุษา(ทั่วไป ;[COOK ISLAND: Tiare Māori, Tialé Māoli.];[FIJI: Bua.];[FRENCH: Fleur de tiaré, Tiaré, Tiaré tahiti.];[FRENCH POLYNESIA: Tiare Mā'ohi, Tiaré Tahiti.];[SAMOA: Pua Samoa, Pua Fiti, Tiale.];[TAHITI: Tiare.];[THAI Phut saeng u-sa (General).];[TONGA: Siale.];
ชื่อวงศ์ ---RUBIACEAE
EPPO Code---GADTA (Preferred name: Gardenia taitensis.)
ถิ่นกำเนิด---โอเชียเนีย
เขตกระจายพันธุ์ ---แปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ; ฟิจิ ซามัว วานูอาตู ตองกา
นิรุกติศาสตร์---พุดแสงอุษาอยู่ในวงศ์เดียวกับเข็ม (RUBIACEAE) ชื่อสามัญทำให้คิดไปได้ว่าถิ่นกำเนิดน่าจะเป็นที่ตาฮิติ แต่กลับเป็นว่าตาฮิติเป็นเพียงที่เก็บรวมพันธุ์ไว้ครั้งแรกที่นั่นโดยJules Dumont d'Urville ใน พ.ศ. 2367
Gardenia taitensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Augustin Pyrame de Candolle (1778-1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส ในปีพ.ศ.2373
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในแถบที่ราบสูงของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ จากเมลานีเซียและเวสเทิร์นโปลินีเซีย เป็นการแนะนำของชาวอะบอริจิน ใน หมู่เกาะคุกและเฟรนช์โปลินีเซียและอาจเป็นฮาวาย มีความโดดเด่นว่าเป็นหนึ่งในพืชที่ปลูกเพียงไม่กี่ชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในโพลินีเซีย
ลักษณะ พุดแสงอุษาเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตรใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปรี กว้างประมาณ 4-8ซม. ยาว 8-12 ซม.ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น แผ่นใบเนื้อค่อนข้างหนาเงาเป็นมัน ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอดโคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 2-3 ซม.ปลายแยกเป็น 5-8 กลีบแต่ละกลีบมีขอบขนาดกว้าง 0.5-0.8 ซม.ยาว 2-2.5 ซม.ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม.  
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ใช้ปลูกประดับเหมาะปลูกกลางแจ้งให้ห่างต้นไม้อื่น ประมาณ 2 เมตร อาจปลูกเป็นไม้กระถางได้ หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ ความชื้นสูง ดอกจะน้อยและให้ทรงพุ่มหนาแน่นทึบ ออกดอกดกในช่วงฤดูฝน ดอกบาน 2 วันแล้วโรย ส่งกลิ่นหอมแรง ตลอดวัน
ใช้ประโยชน์---พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าเป็นยาและแหล่งที่มาของไม้ เป็นไม้ประดับที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อนที่ใช้เป็นพืชป้องกันความเสี่ยงและได้รับการปลูกในมหาสมุทรแปซิฟิกสำหรับดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม
-ใช้เป็นยา ลำต้น ตากแห้งต้มแก้ไข้ทับระดู ประจำเดือนไม่ปกติ
-อื่น ๆ ไม้ถูกแกะสลักเป็นคันธนู ลูกคริกเก็ต เข็มตาข่าย
-ดอกไม้ใช้ในการ ทำ Monoi Tiare Tahiti  น้ำหอมน้ำมันที่ทำโดยการผสมผสานระหว่างดอกไม้ในน้ำมันมะพร้าวเพื่อใช้ในการนวด
-ดอกไม้ยังใช้สำหรับทำเป็นมาลัยคล้องคอสำหรับแขกผู้มาเยือนและเป็นเครื่องประดับในผมของสตรี
-ในบาง ประเพณีของเกาะแปซิฟิกการสวมดอกไม้แสดงถึงสถานะความสัมพันธ์ ดอกไม้ทัดที่หูซ้ายหมายถึงมีเจ้าของแล้ว ส่วนดอกไม้ที่ทัดหูข้างขวาหมายถึงว่าง
สำคัญ--เป็นดอกไม้ประจำชาติของตาฮิติ เฟรนช์โปลินีเซียและหมู่เกาะคุก
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ด้วยการตอนกิ่งและปักชำ


พุดแสงอุษาซ้อน/Gardenia taitensis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Gardenia taitensis DC
ชื่อสามัญ---Heaven Scent,Tahiti Gardenia, Star of Tahiti
ชื่ออื่น---พุดทูอินวัน,พุดเศรษฐีอเมริกา, พุดฮาวาย
ชื่อวงศ์ ---RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---แปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศในเขตร้อน
พุดแสงอุษาและพุดแสงอุษาดอกซ้อนเป็นพุดต้นเดียวกันชื่อวิทยาศาสตร์เลยเหมือนกัน เพราะพุดแสงอุษามีทั้งดอกซ้อนหรือดอกลา หรืออาจมีได้ทั้งดอกซ้อนและดอกลาอยู่ในต้นเดียวกัน ส่วนชื่ออื่นๆนั้นเป็นชื่อทางการค้า ซึ่งมันเป็นชื่อที่ทำให้ไขว้เขวไปถึงถิ่นกำเนิด เรียกชื่อพุดแสงอุษาซ้อนหรือพุดแสงอุษาดอกซ้อนจะชัดกว่า
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ2 - 3 เมตร แตกกิ่ง ก้านเป็นพุ่มทรงกลมใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีกว้าง ปลายเกือบมน โคนป้านเกือบมน หน้าใบสีเขียวเป็นมัน หลังใบสีเขียวหม่นใบจะแตกต่างจากใบพุดทั่วไปโดยจะมีขนาดใหญ่กว่า ดอกหอมตลอดวัน ออกดอกตลอดปี
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม ต้องการแสงแดดจัด ควรปลูกกลางแจ้งและควรทำการตัดแต่งกิ่งย่อย ๆ ออกบ้างจะทำให้ออกดอกใหญ่ขึ้น
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ด้วยการตอนกิ่งและปักชำ


พุดน้ำบุษย์/Gardenia carinata

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Gardenia carinata Wall  ex Roxb. (1824)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
---See all http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-88143
ชื่อสามัญ---Kedah gardenia, Golden Gardenia
ชื่ออื่น---พุดน้ำบุษย์ (ทั่วไป) ;[CZECH: Gardénie.];[INDONESIA: Cempaka hutan (Malay).];[MALAYSIA: Cempaka hutan, Cempaka Kedah, Kedah Gardenia, Runda, Randa, Jambu air hutan, Jambu batu paya, Sempedu burung, Kepayang air, Laka hutan (Malay).];[THAI: Phut nam but (General).].
ชื่อวงศ์---RUBIACEAE
EPPO Code---GADCA (Preferred name: Gardenia carinata.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ไทย มาเลเซีย
Gardenia carinata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก จากอดีต William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2367

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - ในอินเดีย ไทย มาเลเซีย แต่ในฐานะที่เป็นไม้ประดับมันถูกปลูกในทวีปอื่น ๆ ในเขตร้อนและเป็นที่นิยมในฮาวาย เติบโตตามชายป่าเขตร้อนจากที่ราบลุ่มถึงความสูงประมาณ 1,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งจำนวนมาก ทรงพุ่มแน่นทึบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 5 ซม.ยาว 11 ซม.ปลายใบแหลมโคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน หน้าใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีเทา เป็นลายเห็นเด่นชัดสวยงาม ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นแฉกสีเขียวอ่อนเชื่อมติดกัน หุ้มรอบดอก ดอกสีเหลืองอ่อนจนถึงส้ม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 10-12 ซม.ปลายแยกเป็น 7-8 แฉก ดอกเริ่มบานมีสีขาวเมื่อบานเข้าวันที่สองสีจะเริ่มออกเหลืองอ่อน ต่อมา ค่อยๆ เหลืองเข้มจนกระทั่งเข้มจัด ขนาดดอก 3-4 ซม. ส่งกลิ่นหอมแรงทั้งวัน บานได้นานถึง 7 วัน ส่งกลิ่นหอมมาก หอมไกล 2-3 เมตร กลิ่นหอมตลอดวันแต่จะหอมมากในตอนค่ำ ผลสดเมื่ออ่อนสีเขียวอมเหลืองแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและสีดำเมื่อแห้ง รูปกระสวยมีสัน 5 สันตามยาว ขนาดผลกว้าง 3ซม.ยาว 4 ซม.ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ถ้าไม่สามารถหาแดดเต็มวันได้ อาจเป็นแดดครึ่งวัน แดดช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ พุดน้ำบุษย์ เป็นพรรณไม้ที่ทั้งสวยทั้งหอมและโตเร็ว สามารถปลูกเป็นไม้กระถางก็ได้ การปลูกลงดินกลางแจ้งต้องจับติดผูกติดกับหลักยึดให้ แน่น ตรวจตราดินใส่ฟูราดาน ทำลายพวกไส้เดือนฝอยและหนอนในดินกินรากก่อนด้วย
ระยะออกดอก---ออกดอกตลอดปี ดอกจะดกมากตอนช่วงต้นฝน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

      

พุดสีดา


พุดอีกดอกที่คล้ายพุดน้ำบุษย์มากคือพุดสีดา ถ้าไม่สังเกตุดีๆแทบแยกไม่ออกคือ พุดสีดา ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอมคล้ายกันแต่พุดสีดาจะมีแปดกลีบ (พุดน้ำบุษย์มี 7 กลีบ) กิ่งก้านจะดูแข็งแรงกว่า และใบจะสั้นกว่า


พุดปาปัว/Gardenia  sp.   


ชื่อวิทยาศาสตร์---Gardenia  sp.  
ชื่อสามัญ ---Gardenia Ululani, Ulu-Lani
ชื่ออื่น  ---พุดปาปัว ; [THAI: Phut-Pa-Pua.];[HAWAII: Ulu-Lani.];
ชื่อวงศ์ ---RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ฮาวาย
ชื่อสามัญ 'Ulu-Lani' ในภาษาฮาวาย เป็นชื่อเพศหญิง Ululani ในภาษาฮาวายหมายถึง - แรงบันดาลใจจากสวรรค์

 

ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลักษณะโดยรวมคล้ายพุดเวียตนามบวกพุดน้ำบุศย์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม ผิวใบเรียบ เป็นมันเงา สีเขียวเข้ม
จะออกดอกที่ปลายยอด ดอกมีกลิ่นหอมแรง ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 วันแล้วโรย เมื่อดอกพุดปาปัวฯ เริ่มบานใหม่ๆ ดอกจะสีขาวแล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นดอกสีเหลืองอ่อนและเหลืองเข้มก่อนจะโรย ออกดอกง่าย และดอกดก หากดอกติดเป็นผล ผลรูปกลมรี มีสันตามยาว ภายในมีเมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่แสงแดดจัดหรือร่มเงายางส่วน  ดินระบายน้ำได้ดีมีอินทรียวัตถุ ค่า pH ของดินอยู่ระหว่าง 5.0 ถึง 6.5
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับดอกมีกลิ่นหอม สามารถปลูกเป็นไม้กระถางกลางแจ้ง
ระยะเวลาออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง


พุดเศรษฐีสยาม/Tabernaemontana pachysiphon

ชื่อวิทยาศาสตร์---Tabernaemontana pachysiphon Stapf. (1894)
ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms    
---Basionym: Conopharyngia pachysiphon (Stapf) Stapf. (1902)
---Sarcopharyngia angolensis (Stapf) L.Allorge. (1985)
---Tabernaemontana angolensis Stapf. (1894)
---Tabernaemontana holstii K.Schum. (1895)
---Voacanga dichotoma K.Schum. (1895)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:82263-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Giant Pinwheel Flower
ชื่ออื่น ---พุดเศรษฐีสยาม ;[AFRIKAANS: Kibombo, muambe (Swahili).];[THAI: Phut set-thi sa-yam (General).].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
EPPO Code---TAEPA (Preferred name: Tabernaemontana pachysiphon.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์ ---แอฟริกาใต้ กานา ซูดาน เคนยา มาลาวี แซมเบียและแองโกลา
Tabernaemontana pachysiphon เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Otto Stapf (1857-1933) นักพฤกษศาสตร์และนักอนุกรมวิธานที่เกิดในออสเตรีย ในปีพ.ศ.2337
ที่อยู่อาศัย มีการกระจายอย่างกว้างขวางในเขตร้อนของแอฟริกาจากกานาตะวันออกไปทางใต้ของซูดานและเคนยาและทางใต้สู่มาลาวี, แซมเบียและแองโกลา เกิดขึ้นในป่าดิบ ป่าเบญจพรรณและป่าแม่น้ำจากระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 2,200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ พุ่มขนาดกลาง หรือไม้ต้นขนาดเล็กสูงถึง 15 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นถึง 40 ซม.ลำต้นตรง เปลือกต้นสีเทา มีรอยแตกตามแนวยาวของต้น ทุกส่วนมียางสีขาว ใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 5-8 ซม.ยาว 8-15 ซม.ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น ใบหนา ผิวใบเป็นมันทั้งสองด้าน สีเขียวเข้ม ดอกเดี่ยว หรือออกเป็นกลุ่ม1-5ดอกออกใกล้ปลายยอด ดอกตูมสีเขียว ดอกบานสีขาวเมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โคนกลีบเชื่อม ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ บิดเวียนเหมือนกังหัน บานในช่วงเย็น เมื่อบานเต็มที่ดอกมีขนาดกว้าง 8-10 ซม.ส่งกลิ่นหอมอ่อนตลอดวัน ผลเกือบกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-15 ซม. สีเขียวอ่อน เมล็ดรูปวงรีรูปไข่มีความยาว 11–14 มม. มีร่องตามยาว 6-7 ด้านแต่ละด้านมีสีเหลืองเข้ม-สีน้ำตาลเข้ม ผลไม้สุกใน 1 ปี
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบแสงแดดตลอดวันถึงแสงสว่างที่กรองแล้ว ดินชื้นสม่ำเสมอมีการระบายน้ำดีไม่ขังแฉะ
ใช้ประโยชน์---ต้นไม้มักจะเก็บเกี่ยวจากป่าและใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นยาในช่วงพื้นเมือง
-ใช้เป็นยาโดยทั่วไปจะใช้ น้ำยางเป็นยาห้ามเลือดและนำไปใช้กับบาดแผลสดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
-ในประเทศไนจีเรียยาต้มจากเปลือกรากจะถูกนำมาใช้เพื่อรักษาความบ้า
-ในแอฟริกาตะวันออกใช้ยาต้มแก้ปวดท้อง ท้องผูก ท้องอืด ปวดศีรษะและถูกสะกดจิต เปลือกใช้เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง น้ำยางจากก้านใบหรือเปลือกไม้ใช้รักษาอาการเจ็บปวดที่หน้าอกของสตรีที่ให้นมบุตร น้ำยางของผลไม้รักษาอาการบวมน้ำที่ต่อมน้ำเหลือง -ในแอฟริกาตะวันออกน้ำยางนำมาใช้กับอาการตาเจ็บ ในเคนยาบดรากกับใบรักษาโรคหิด น้ำยางจากเปลือกต้นทาบรรเทาอาการบริเวณที่เป็นตะคริว -ก่อนหน้านี้ในตะวันออกเฉียงเหนือของแทนซาเนียชาว Shambaaได้เตรียมยาพิษจากราก
-ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกเป็นไม้พุ่ม ดอกมีกลิ่นหอมประดับสวนทั่วไป ปลูกเป็นไม้กระถางได้ ควรตัดแต่งทรงพุ่มไว้ให้แต่ละกิ่งได้รับแสงแดดทั่วถึงจะออกดอกดกทั้งทรงพุ่ม
-อื่น ๆ ไม้สีขาว เหลืองนุ่มใช้งานง่าย แต่ไม่ทนทานในพื้นดิน ใช้ทำฝักมีด,ด้ามมีดและหวี กิ่งถูกใช้ในท้องถิ่นสำหรับเป็นฟืนและทำถ่าน ในไนจีเรียทางตอนใต้ใช้เส้นใยจากเปลือกเพื่อทำผ้า เชือกขนาดเล็กทำจากเปลือกชั้นใน-ใบโขลกใช้ย้อมสีผมเป็นสีน้ำตาล-สีดำ
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก---ทยอยออกดอกตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำและด้วยการเสียบยอด โดยใช้พุดกุหลาบเป็นต้นตอเสียบยอด 


พุดดาราราย/Tabernaemontana cerifera

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Tabernaemontana cerifera Pancher & Sebert. (1873)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.
---Pagiantha cerifera (Pancher & Sebert) Markg. (1935)
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-200617
ชื่อสามัญ---Paper Gardenia
ชื่ออื่น---พุดดาราราย (ทั่วไป) ; [THAI: Phut-da-ra-rai.];
ชื่อวงศ์ ---APOCYNACEAE
EPPO Code---TAECE (Preferred name: Tabernaemontana cerifera.)
ถิ่นกำเนิด---โอเชียเนียและบางส่วนของทวีปเอเชีย
เขตกระจายพันธุ์--นิวแคลิโดเนีย ภูมิภาคเมลานีเซียในมหาสมุทรแปซิฟิก  
Tabernaemontana cerifera เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jean Armand Isidore Pancher 1814–1877) เป็นชาวสวนและนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และ Hippolyte Sebert (1839–1930) เป็นนักวิทยาศาสตร์นายพลกองทัพฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2416

 

ที่อยู่อาศัย พันธุ์พื้นเมืองของ นิวแคลิโดเนีย ภูมิภาคเมลานีเซีย [ใช้เรียกภูมิภาคที่อยู่ในเขตหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกของโอเชียเนียและบางส่วนของทวีปเอเชีย (ติมอร์-เลสเต ฟิจิ ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู หมู่เกาะโมลุกกะ นิวกินีตะวันตก นิวแคลิโดเนีย).]
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงชนาดกลางสูง 2-4เมตร ทรงพุ่มประมาณ2x3เมตร กิ่งมีช่องอากาศ ขนสั้นนุ่มประปราย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ ปลายแหลม ขอบเรียบ สีเขียวเข้ม ดอก ออกดอกเป็นช่อ ตามปลายกิ่ง ดอกสีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ปลายแยก 5 แฉก กลีบบิดเป็นเกลียวคล้ายกังหัน ดอกมีกลิ่นหอม ผล รูปรี เบี้ยว มีสันตามยาว ยาว 2-7 ซม. เมล็ดจำนวนมาก รูปรี ยาว 0.5-1 ซม.
Tabernaemontana cerifera มีลักษณะดอกคล้ายพุดเศรษฐีสยาม มากต่างกันที่ช่อดอกของพุดดารารายจะสั้นและแน่นกว่าดอกเล็กกว่าแต่ใบจะใหญ่และหนากว่าผิวใบจะไม่เป็นมันเหมือนการ์ดีเนียอื่นๅและหอมกว่าพุดเศรษฐีสยาม
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ปลูกกลางแจ้งแสงแดดเต็มวัน ขี้นได้ดีในดินทุกชนิด น้ำปานกลาง
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้กระถาง ปลูกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มลงแปลงกลางแจ้ง
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง


พุดสวน/Tabernaemontana rostrata

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Tabernaemontana rostrata Wall. (1829)  
ชื่อพ้อง ---Has 15 Synonyms   
---Ervatamia rostrata (Wall.) Markgr. (1935)
---Ervatamia curtisii King & Gamble. (1907)
---Ervatamia cylindrocarpa King & Gamble. (1907)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-200913
ชื่อสามัญ---Orange Dutchman's Shoes
ชื่ออื่น---พุดฝรั่ง พุดสวน พุดสา (ภาคกลาง) ; [THAI: Phut fa-rang, Phut suan, Phut sa (Central).]
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
EPPO Code---TAESS (Preferred name: Tabernaemontana sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'rostrata' เป็น คำคุณศัพท์ ภาษาละติน ที่มี ความหมายว่า "จะงอยปาก โค้งงอ มีตะขอ มีจุดคดหรือมีหน้าโค้ง"
Tabernaemontana rostrata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะลิ (Oleaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ในปี พ.ศ.2372
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย บังคลาเทศ อินโดจีน และมาเลเซีย เกิดขึ้นตามป่าละเมาะ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,400 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงพุ่มโปร่ง สูง1.5-2.5 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 3-5 ซม. ยาว 8-12 ซม.โคนใบรูปลิ่มหรือสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอกออกซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกออกเป็นช่อสีขาวยาว 2.5-18 ซม.ช่อละ 2-3 ดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอกสีขาว ยาว 1.5-2.5 ซม.ปลายแยกเป็น 5-10 กลีบ ซ้อนเวียนเป็นกังหัน ปลายช่วงบนสีเหลืองอ่อน มีใบประดับรูปแถบหรือสามเหลี่ยมแคบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเล็กน้อย  มีกลิ่นหอม ผลเป็นฝักคู่รูปกระสวยเบี้ยว ยาว 2.5-5.0 ซม. ปลายแหลมหรือเป็นติ่งหนามและโค้งขึ้น เมล็ดรูปกระสวยเบี้ยว 7 x 4.5 มม.สีน้ำตาล มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีส้มแดง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี อดทน
ต่อสภาพแวดล้อม  
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ ทรงพุ่มสวยโดยธรรมชาติเมื่อปลูกกลางแจ้ง ไม่มีความจำเป็นที่จะตัดแต่งทรงพุ่ม ดอกหอมน้อยมาก
ระยะออกดอก--- ตลอดปี
การขยายพันธุ์---ด้วยการตอน เป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ มีการออกราก 100%

พุดร้อยมาลัย/Tabernaemontana pandacaqui

ชื่อวิทยาศาสตร์---Tabernaemontana pandacaqui Lam.(1792)
ชื่อพ้อง ---Has 87 Synonyms
---Ervatamia benthamiana Domin.(1913)
---Tabernaemontana orientalis R. Brown Domin.(1913)
---Tabernaemontana rotensis (Kaneh.) P.T.Li.(1986)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-200860
ชื่อสามัญ---Windmill bush, Banana bush, Dogbane
ชื่ออื่น---พุดร้อยมาลัย พุดตุม พุดฝรั่ง พุดจักร มะลิฝรั่ง ;[CHINESE: Ping mai gou ya hua.];[FRENCH: Arbuste à bananes.];[PAPUA NEW GUINEA: Oru (Rulu, Central Province); karaban (Nyamikum, Sepik).];[PHILIPPINES: Kampupot (Tagalog); Pandakaki (Tagalog, Bisaya, Pampangan); Alibutbut (Bisaya, Pampangan, Bikol); Tunkal, Salibukbuk, Alibotbot (Panay Bisaya); Busbusilak, Kuribetbet (Iloko); Agtimaloi, Halibutbut, Pandaya, Talanisog, Toar (Bikol); Kudibetbet (Igorot); Kukabulau-buntai (Ibanag).];[SPANISH: Arbusto de molino de viento, Flor de arbusto de plátano.];[THAI: Phut roi ma-lai, Phut farang (Bangkok); Phut tum (Northern).].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
EPPO Code---TAEPD (Preferred name: Tabernaemontana pandacaqui.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเขตอบอุ่นของทวีปเอเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Tabernaemontana' เป็นการรวมกันของคำภาษาละตินสองคำ ซึ่งแปลคร่าวๆ ว่า 'กระท่อมบนภูเขา' เชื่อกันว่าชื่อนี้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Jacob Theodore แห่ง Bergazbern แพทย์และนักสมุนไพรที่ Heidelberg ; ชื่อสายพันธุ์ 'Pandacaqui' เป็นหมู่บ้านใน Pampanga เกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์ เป็นที่ที่ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกที่นั่น
Tabernaemontana pandacaqui เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jean-Baptiste Lamarck (1744–1829) นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2335


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน, ไต้หวัน, ไทย, มาเลเซีย ,ปาปัวนิวกีนี, ออสเตรเลียและหมู่เกาะแปซิฟิกหลายแห่ง สายพันธุ์นี้ยังมีรายงานพบในเกาะวินวาร์ด, ตรินิแดด โตเบโกและปานามา พบได้ในป่าหรือพุ่มไม้ซึ่งมักอยู่บนเขาหินปูนจากระดับน้ำทะเลสูงถึง 0-800 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปหอกกลับ ขนาด ยาวประมาณ 4-11 x 1.5-4.5 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 ซม.โคนใบรูปลิ่มหรือสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอกช่อสีขาว ไม่หอม ออกแยกแขนงเชิงหลั่นตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลาย กลมหรือเรียวแหลม โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย กลีบดอกสีขาวมีส่วนที่เชื่อมติดกันเป็นหลอดสีเหลืองอ่อน ดอกจะบานอยู่ได้ 1-2 วันจึงโรย ผลเป็นฝักคู่รูปกระสวยเบี้ยวมีขนาดประมาณ 4 x 1.5 ซม ปลายแหลมและโค้งขึ้น เปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงสีส้มแดง เมื่อสุกแตกด้านเดียว มีเมล็ด 2-40 เมล็ด เมล็ดรูปสามเหลี่ยมและขรุขระสีน้ำตาลแกมดำมีเนื้อนุ่มสีแดงหุ้ม  
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ดินร่วนอุดมสมบูรณ์และการระบายน้ำที่ดี
ใช้ประโยชน์---บางครั้งพืชถูกรวบรวมมาจากป่าซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการใช้ยาในท้องถิ่น
-ใช้เป็นยา ในฟิลิปปินส์ใบไม้ใช้เป็นยาพอกบนท้องเพื่อกระตุ้นการมีประจำเดือน ใบสดทอดด้วยน้ำมันและนำไปใช้กับแผลที่ผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการ น้ำคั้นใบใช้ทารักษาแผล ยาต้มของรากและเปลือกใช้สำหรับกระเพาะอาหารและโรคลำไส้ต่าง ๆในประเทศไทยรากใช้รักษาไข้ปวดและบิด
-ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกเป็นไม้พุ่มปลูกประดับสวนทั่วไป ตอบสนองได้ดีต่อการตัดแต่ง มีพุดอีกชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกัน เรียกพุดร้อยมาลัยเมือนกัน เป็นชนิดดอกตูมที่จะไม่บานเลยจนถึงวันหลุดร่วง ชนิดนี้นำมาร้อยมาลัยจริงๆ
-อื่น ๆ ใบใช้เป็นสารฟอกขาว
รู้จักอันตราย---ผลไม้มีพิษสูง และควรเอาผลไม้ออกหากพืชเติบโตในบริเวณที่เด็กเล็กเล่น
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธู์---เมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง


พุดศุภโชค/Gardenia jasminoides.


ชื่อวิทยาศาสตร์---Gardenia jasminoides J.Ellis.(1761)
ชื่อพ้อง---Has 48 Synonyms
---Gardenia angusta (L.) Merr.(1917)
---Gardenia angustifolia Lodd.(1821)
---Gardenia grandiflora Lour.(1790)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-88270
ชื่อสามัญ---Cape Jasmine, Cape-jasmine, Danh-danh, Gardenia
ชื่ออื่น---พุดศุภโชค พุดศรีลังกา พุดแคระ; [PORTUGUESE: Flor-do-general, Gardênia, Jasmim-do-cabo.];[THAI: Phut sup-pha-chok, Phut sri lanka, Phut khrae.];
ชื่อวงศ์---RUBIACEAE
EPPO Code---GADJA (Preferred name: Gardenia jasminoides.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Gardenia'เป็นเกียรติแก่ Alexander Garden (ค.ศ. 1730-1791) แพทย์ชาวสก็อตนักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาซึ่งตั้งรกรากที่ชาร์ลสตันเซาท์แคโรไลนาในปี พ.ศ.2295 ; ชื่อสายพันธุ์ 'jasminoides' หมายถึง ดอกมะลิ  
Gardenia jasminoides เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae) เป็นสายพันธุ์เดียวกับพุดซ้อน (Gardenia jasminoides) เป็นชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว ซึ่งใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ชื่อเดียวกัน ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย John Ellis FRS (1710 –1776) aka Jean Ellis เป็นพ่อค้าผ้าลินินและนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2304
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน อินเดีย ศรีลังกา พบที่ระดับความสูง 200-2,620 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง 0.40-0.50 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ หนาแน่น ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบปลายกิ่ง ใบรูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ใบมีขนาดเล็กกว่าใบพุดทั่วไปสีเขียวสด ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 5-7 ดอก โคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ปลายแหลมกลีบดอกชั้นเดียว สีขาวกลางดอกสีเหลือง ดอกขนาด 2 ซม. ไม่มีกลิ่น ออกดอกตลอดปี ดอกบานทยอยบานและบานทน ออกดอกดก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ความชื้นสม่ำเสมอ ระบายน้ำได้ดี
ใช้ประโยชน์----ใช้เป็นยา ราก แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ไข้ แก้ผื่นคันตามผิวหนัง แก้พิษอักเสบ เปลือก แก้บิด แก้ไข้ และแก้ปวดท้อง ลดพิษไข้ น้ำจากลำต้น ขับพยาธิ ใบ แก้ปวดศีรษะ น้ำจากดอก รักษาโรคผิวหนัง ผล ขับปัสสาวะ
-ผลสุกที่ผึ่งให้แห้งของพืชชนิดนี้ (เรียกว่า Zhizi ในประเทศจีน) เป็นที่รู้จักกันดีและมักใช้ไม่เพียงแต่เป็นสีธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังเป็นยาแผนโบราณที่สำคัญสำหรับการรักษาโรคต่างๆ ใช้เป็นยาระบายความร้อนและขับสารพิษ  ขจัดการชะงักงันเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต นอกจากนี้ยังได้รับการประกาศให้เป็นพืชสองวัตถุประสงค์ชุดแรกที่ใช้สำหรับการทำงานด้านอาหารและการแพทย์ในประเทศจีน
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้กระถางหรีอปลูกลงดินเลี้ยงง่าย
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---โดยการ ตอนกิ่ง และการปักชำ


พุดพิชญา/Wrightia antidysenterica


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Wrightia antidysenterica (L.) R.Br.(1809)
ชื่อพ้อง ---Has 9 Synonyms   
---Basionym: Nerium antidysentericum L.(1753)
---Nerium zeylanicum L.(1756)
---Walidda antidysenterica (L.) Pichon.(1951)
---Wrightia zeylanica (L.) R.Br.(1810)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-214887
ชื่อสามัญ ---Arctic Snow, Bitter Oleander, Connessi Bark, Dysentery Rose Bay, Winter Cherry Tree, Sweet Indrajao, Snowflake, Inda, Coral swirl, Tellicherry bark.
ชื่ออื่น ---พุดพิชญา (ทั่วไป) ;[ASSAMESE: Dudh-kori.];[BENGALI: Kurchi tita-indarjau, Dhudi.];[HINDI: Dhudi, Kura, Hat, Kureya.];[KANNADA: Korachi.];[MALAYALAM: Kodagapala.];[MARATHI: Kuda.];[PHILIPPINES: White angel.];[SANSKRIT: Kuṭaja, Ambikā.];[SINHALESE: Wal idda.];[SRI LANKA: Idda.];[TAMIL: Veppalai.];[THAI: Phut pitchaya.];[URDU: Kherva.];[VIETNAM: Thu’ng mu’c nhuôm, Thu’ng mu’c.].
ชื่อวงศ์ ---APOCYNACEAE
EPPO Code---WRIAN (Preferred name: Wrightia antidysenterica.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ศรีลังกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'antidysenterica' เป็นภาษาละติน 'anti' =ต่อต้าน 'dysintericus'= เกี่ยวข้องกับโรคบิด อ้างอิงถึงคุณสมบัติเป็นยาของพืช
Wrightia antidysenterica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) สกุลเดีนวกับโมก (Wrightia) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Robert Brown (1773-1858) นักพฤกษศาสตร์และนักบรรพชีวินวิทยาชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2352
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในศรีลังกามีชื่อท้องถิ่นว่า Idda หมายถึง ดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ นำเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยโดย คุณสุปราณี คงพิชญานนท์
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง 1.2-2 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้างประมาณ 1.5 เมตร ลำต้นกิ่งก้านสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อน ขนาดของใบกว้าง 1-3 ซม.ยาว 2.5-6 ซม. ดอกออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ประกอบด้วยดอกย่อย 5-6 ดอกต่อช่อ ดอกมีห้ากลีบ สีขาวและมีขนละเอียดหนาแน่น มีเกสรเพศผู้สีเหลืองตรงกลาง ดอกบานเต็มที่ ขนาด 2.5-3.5 ซม.ก้านดอกยาวประมาณ 2.5 ซม.สีขาว ออกดอกตลอดปีไม่มีกลิ่นหอม
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด แสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ความชื้นสม่ำเสมอ ระบายน้ำได้ดี ไม่ทนดินเค็ม
ศัตรูพืช/โรคพืช---เพลี้ยหรือไรสามารถโจมตีได้ภายในอาคารที่มีการระบายอากาศไม่ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกลงดินเป็นกลุ่ม เป็นแถว
-ใช้เป็นยา เป็นที่รู้จักกันมานานในการแพทย์อายุรเวท เปลือกนั้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านจุลชีพ ใช้ในการรักษาโรคบิด น้ำจากเปลือกใช้สำหรับบรรเทาแผลในปาก เมล็ดมีรสฝาด ใช้ในการรักษาไข้, ท้องร่วงและบิด, หนอนลำไส้
-ถูเปลือกที่แห้งและเป็นผงให้ทั่วร่างกายเพื่อรักษาอาการท้องมาน
-ในระบบยาสิทธา ใบใช้ในการรักษาความผิดปกติของผิวหนังหลายโรค เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ
-ในประเทศเนปาล น้ำยางใช้เพื่อหยุดเลือดไหล
-อื่น ๆ น้ำผลไม้ของพืชนี้เป็นส่วนผสมที่มีศักยภาพสำหรับการผสมของผนังปูนตาม Samarāṅgaṇa Sūtradhāra ซึ่งเป็นบทความภาษาสันสกฤตที่เกี่ยวข้องกับ Śilpaśāstra (วิทยาศาสตร์ฮินดูของศิลปะและการก่อสร้าง)
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ปักชำ ตอนกิ่ง


พุดเวียตนาม/Gardenia jasminoides var. jasminoides

ชื่อวิทยาศาสตร์---Gardenia jasminoides var. jasminoides
ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Gardenia jasminoides J.Ellis.(1761)
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50158895
ชื่อสามัญ---Gardenia, Danh-danh
ชื่ออื่น---พุดเวียตนาม ;[CHINESE: Zhi zi (yuan bian zhong).];[THAI: Phut vietnam.].
ชื่อวงศ์---RUBIACEAE
EPPO Code---GADJA (Preferred name: Gardenia jasminoides.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน กัมพูชา อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ ลาว เนปาล ปากีสถาน เวียดนาม ยุโรป อเมริกาเหนือ หมู่เกาะแปซิฟิก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลเป็นเกียรติแก่ Alexander Garden (ค.ศ. 1730-1791) แพทย์ชาวสก็อตนักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาซึ่งตั้งรกรากที่ชาร์ลสตันเซาท์แคโรไลนาในปีพ. ศ. 2295 ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ jasminoides หมายถึงดอกมะลิ
Gardenia jasminoides var. jasminoides เป็นความหลากหลาย (Varieties) และชื่อพ้องของ Gardenia jasminoides สายพันธุ์พืชดอกครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดใน จีน (มณฑลอานฮุย ฝูเจี้ยน กวางตุ้ง กวางสี กุ้ยโจว ไห่หนาน หูเป่ย หูหนาน เจียงซู เจียงซี ซานตง เสฉวน ไต้หวัน ยูนนาน เจ้อเจียง; ปลูกในกานซู เหอเป่ย์ ชานซี) [กัมพูชา อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ ลาว เนปาล ปากีสถาน เวียดนาม; ปลูกในยุโรป อเมริกาเหนือ หมู่เกาะแปซิฟิก] ในป่าทึบและป่าไม้ริมลำธาร บนเนินเขา,ในหุบเขาหรือทุ่งนาใกล้ระดับน้ำทะเลถึง1,500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร แตกยอดเป็นพุ่มแน่นจำนวนมาก ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม รูปรี ยาว 10 ซม. กว้าง 5 ซม ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมันสีเขียวเข้มทั้งสองด้าน ดอกเดี่ยวสีขาวออกที่ปลายยอด โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีขาว ยาว 3-4 ซม.มี 6-7 กลีบ เมื่อบานมีขนาด 6.5-7.5 ซม.ส่งกลิ่นหอมอ่อน ตลอดวัน ดอกออกตลอดปี แต่ดกมากช่วงฤดูฝน ผลรูปรียาว 3 ซม.เมื่อสุกสีส้ม, เหลือง / ทอง เมล็ดแก่สีน้ำตาล
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ดินร่วนอุดมสมบูรณ์เป็นกรดอ่อนมีค่า pH 6 ขึ้นไป ไม่ทนต่อดินที่เป็นด่าง หากดินมีสภาพเป็นกรดไม่เพียงพอ ปัญหาพืชมากมายอาจเกิดขึ้นได้ ความชื้นสม่ำเสมอ คลุมด้วยปุ๋ยหมักเพื่อป้องกันไม่ให้ดินแห้งหรือรากร้อนเกินไป มีการระบายน้ำที่ดี หมั่น ตัดแต่งกิ่ง ทำทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยให้ดอกดกขึ้น หากปลูกในที่แห้งแล้งจะโตช้าและไม่ออกดอก
ศัตรูพืช/โรคพืช---เมื่อเปรียบเทียบกับสปีชีส์อื่นๆ พุดชนิดนี้จะเติบโตได้ง่ายกว่า เพราะมันทนทานต่อแมลงเกล็ดและเพลี้ยแป้ง และทนต่อความแห้งแล้งและน้ำขังได้ดีกว่า
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้กินได้ ในประเทศจีนสำหรับใช้ปรุงรสชา
-ใช้ปลูกประดับ สวนสาธารณะ สวนทั่วไปและสวนขนาดเล็ก สามารถปลูกเป็นไม้กระถางและปลูกลงแปลงกลางแจ้งก็ได้
-อื่น ๆ ผลไม้ที่ใช้ในญี่ปุ่นและจีนสำหรับย้อมสีเหลืองอาหาร สารสกัดบางชนิดที่มีจำหน่ายทั่วไปในญี่ปุ่นนั้นใช้กับอาหารได้หลายชนิด เช่น ถั่วต้ม ปูเทียม และลูกอม สารแต่งสีในผลไม้ประกอบด้วยไกลโคไซด์ ซึ่งเป็นสารประกอบที่คล้ายกับโครเซตินสารประกอบอื่นที่พบในหญ้าฝรั่น (Crocus sativus) สีย้อมยังใช้ย้อมสิ่งทอสีเหลืองหรือสีแดง ดอกไม้ยังมีน้ำมันหอมระเหยและใช้ในน้ำหอม  
ระยะออกดอก---ตลอดปี ; มีนาคม-กรกฎาคม, พฤษภาคม-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


พุดตะแคง/Brunfelsia americana

ชื่อวิทยาศาสตร์---Brunfelsia americana L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms   
---Brunfelsia abbottii Leonard.(1927)
---Brunfelsia americana var. pubescens Griseb.(1861)
---Brunfelsiopsis americana (L.) Urb.(1897)
---More.See all The Plant List http://www.plantlist.org/tpl/record/kew-2684068
ชื่อสามัญ---Lady-of-the-night, Lady of the Night, American Brunfelsia, Franciscan raintree, Jamaican raintree, Rain tree, Rain shrub, Trumpet Flower.
ชื่ออื่น---พุดตะแคง (ทั่วไป);[SWEDISH: Nattbrunfelsia.];[THAI: Phut ta kaeng (General).]
ชื่อวงศ์---SOLANACEAE
EPPO Code---BRFAM (Preferred name: Brunfelsia americana.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---แคริบเบียน, เวเนซุเอลา, เวสต์อินดีส-ทรินิแดด, โดมินิกันรีพลับบลิค
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Brunfelsia' ตั้งโดย Carl Linnaeus ได้รับการตั้งชื่อตามพระภิกษุชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 Otto Brunfels (1488-1534) ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งพฤกษศาสตร์" เนื่องจากมีส่วนสำคัญต่อพฤกษศาสตร์ ; ชื่อสายพันธุ์ 'americana' หมายถึงจากทวีปอเมริกา
Brunfelsia americana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะเขือ (Solanaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปีพ.ศ.2296

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอินเดียตะวันตกตั้งแต่แถบแคริบเบียนไปจนถึงเวเนซุเอลา เปิดตัวในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ เติบโตป่าดงดิบทั่วไป พุ่มไม้เตี้ย และบางครั้งอยู่ในที่โล่งแจ้งและพื้นที่ที่ถูกรบกวน ที่ระดับความสูง 0-100 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ พุ่มสูง 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ใบรูปใบหอก 3.7-9 x 1.5-5 ซม.ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ก้านใบยาว 3-8 มม.มีขนสั้น ดอกออกตามซอกใบหรือปลายกิ่งสั้นด้านข้าง ออกดอกเดี่ยวหรือคู่ ก้านดอกยาว 5-6 (-10) มม.มีขนดก ดอกขนาดประมาณ 3-5 ซม.เริ่มบานสีเหลืองอ่อนเกือบขาว บานเต็มที่สีเหลืองและบิดตะแคงตามกัน ส่งกลิ่นหอมช่วงค่ำ ผลแคปซูลรูปไข่มีเนื้อค่อนข้างบางเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 ซม.มีเปลือกหุ้มสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีส้มเหลือง กลีบเลี้ยงคงอยู่ฐานแตกออก มีเมล็ดมีสีดำจำนวนมาก ยาวประมาณ 4 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็ม (พืชได้รับแสงแดดตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป) หรือร่มเงาบางส่วนหรือกรองแสงภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ชอบดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยซากพืชอินทรีย์วัตถุที่ชุ่มชื้นและดินที่มีการระบายน้ำได้ดี แก้ไขดินทรายด้วยปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยให้พืชได้รับน้ำและสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ
ใช้ประโยชน์---พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยาและมักจะปลูกเป็นไม้ประดับในสวน
-ใช้เป็นยา ใน Martinique ผลไม้เป็นยาสมานแผลใช้เป็นยาชูกำลัง ใช้ในการแก้ปัญหาท้องเสียและท้องร่วงเรื้อรัง
-ใน French Guiana ผลไม้รสหวานทำเป็นยาสมานแผลสำหรับอาการท้องร่วง
-ใช้สำหรับงูกัด, โรคไขข้อ, ซิฟิลิส
-ใช้ปลูกประดับ มีการเพาะปลูกจำหน่ายเป็นไม้ประดับ เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกริมรั้ว ริมกำแพง ริมทางเดิน
รู้จักอันตราย---ใบและดอกรวมถึงในเปลือกของลำต้นและรากพบร่องรอยของไซยาไนด์ อัลคาลอยด์และกรดคลอโรจีนิกมีรายงานจากใบและลำต้น ในเกาะโดมินิกาพืชชนิดนี้เรียกว่า Empoisonneur และใช้เป็นพิษ
ระยะออกดอก---ตลอดปีและดอกดกมากช่วงฤดูฝน
ขยายพันธุ์--- ตอนกิ่ง ปักชำ


พุดแตรงอน/Euclinia longiflora

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Euclinia longiflora Salisb.(1808)
ชื่อพ้อง---Has 12 Synonyms.
---Gardenia longiflora (Salisb.) W.T.Aiton.(1810)   
---Gardenia devoniana Lindl.(1846)           
---Gardenia macrantha Schult.(1819)          
---Randia devoniana (Lindl.) Benth. & Hook.f. ex B.D.Jacks.(1895)           
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-74187
ชื่อสามัญ---African Angel Trumpet, African Tree Gardenia, Angels Trumpet, Tree Gardenia
ชื่ออื่น---พุดแตรงอน (ทั่วไป); [THAI: Put trae ngon (general).];
ชื่อวงศ์  ---RUBIACEAE
EPPO Code---EKALO (Preferred name: Euclinia longiflora.)
ถิ่นกำเนิด  ---ทวีปแอฟรืกา
เขตกระจายพันธุ์ ---มาดากัสการ์ แอฟริกาเขตร้อน ; คาเมรูน, ซูดาน, ยูกันดา, คองโก, แองโกลา
นิรุกติศาสตร์---ฉายาสปีชีส์ "longiflora" เป็นภาษาละตินสำหรับดอกไม้ยาว
Euclinia longiflora เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Richard Anthony Salisbury (1761–1829)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2351

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของแอฟริกาและมาดากัสการ์ พบใน คาเมรูน, ซูดาน, ยูกันดา, คองโก, แองโกลา
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กพุ่มเตี้ยทรงทึบ กิ่งเปราะ สูง 1-2 (6) เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-10 (30) ซม.ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบเรียบ ใบค่อนข้างหนา ขรุขระ เป็นมัน แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบและเส้นใบชัดเจน ก้านใบยาวได้ถึง 4 ซม.ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 16-24 ซม. มีขนด้านใน ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปแตร ขนาดดอกไม้ กว้าง 8 ซม.ดอกจะเอียงห้อยลงเพราะก้านดอกยาวมากรับน้ำหนักดอกไม่ไหว ดอกบานอยู่ได้ 2 วัน เมื่อใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ดอกหอมอ่อนตลอดวัน ผลมีลักษณะกลมหรือค่อนข้างคล้ายลูกแพร์ ยาว 2.8–3.2 ซม กว้าง 3–3.5 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็ม (พืชได้รับแสงแดดตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป) หรือร่มเงาบางส่วน ดินร่วนซุย ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ชอบน้ำปานกลาง อัตราการเจริญเติบโตของพืช ปานกลาง
ใช้ประโยชน์----ใช้ปลูกประดับ ** การพูดคุยส่วนตัว เมื่อ ยี่สิบกว่าปีก่อนตอนยุคล่าไม้ไทยกำลังเฟื่องฟู พุดแตรงอน ขนาดกระถาง 16" ขายกันราคาตั้งแต่ 1,500-2,000 บาทเดี๋ยวนี้ไม่รู้ราคา คงถูกลงกว่านี้เพราะเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ง่ายและเลี้ยงง่าย ปลูกเป็นไม้กระถางก็ดี จับผูกหลักยึด แต่งทรงพุ่มให้สวย (2008)**
ระยะออกดอก---ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว (ตุลาคม-ธันวาคม)  
ขยายพันธุ์---ปักชำ ตอนกิ่ง


พุดผา/Gardenia saxatilis

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Gardenia saxatilis Geddes.(1928)
ชื่อพ้อง ---No synonyms are recorded for this name
ชื่อสามัญ--None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ข่อย (สน); มือเสือ (สระบุรี); ข่อยหิน พุดผา สามพันตา (อุบลราชธานี); ปัดหิน ข่อยโคก ข่อยด่าน; [THAI: Phut pha, Khoi khok, Khoi hin, Khoi dan.]
ชื่อวงศ์---RUBIACEAE
EPPO Code---GADSS (Preferred name: Gardenia sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--ไทย-ลาว กัมพูชา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ของประเทศไทย
Gardenia saxatilis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae) ในสกุลพุด (Gardenia)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Patrick Geddes FRSE (1854–1932) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2471
ดอกพุดที่เรียกกันว่า"พุดผา"ในประเทศไทยจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ
--พุดผา (ปัดหิน) Gardenia saxatilis Geddes  
--พุดผา (พุดสีดาดง) Gardenia collinsiae Craib.(1913)
ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะดอกคล้ายกันมาก ความแตกต่างอยู่ที่ ต้นพุดผา (พุดสีดาดง) G. collinsiae เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงได้ถึง 3-5 เมตร ใบรูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แต่ต้นพุดผา (ปัดหิน) G. saxatilis เป็นไม้พุ่มโปร่ง มีความสูงเพียง 1-3 เมตร และ ใบรูปไข่กลับ ปลายใบโค้งมนกลม

 

ที่อยู่อาศัย พุดผา Gardenia saxatilis เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกที่จังหวัดมุกดาหาร ที่ระดับความสูง 100 เมตร โดยหมอคาร์ ชาวไอริช เป็นพรรณไม้สกุลพุด ชอบขึ้นบนที่โล่งตาม ซอกหินของลานภูเขาหิน  
ลักษณะ พุดผา (ปัดหิน) G. saxatilis ไม้พุ่ม ผลัดใบ สูง 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปไข่กลับ กว้าง 1.8–2 ซม. ยาว 1.5–3 ซม. ปลายใบโค้งมนกลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขน คายสากมือ ดอกออกเดี่ยว ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีขนขนาดเล็กปกคลุม โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ส่วนบนผายออกแยกเป็น6 กลีบ แผ่ออกเกยกันคล้ายกังหัน ดอกบานมีขนาด 3-4 ซม. มีกลิ่นหอม ส่วนผลเป็น ผลสด สีเขียว รูปกลมขนาด 2-2.5 ซม.เมื่อสุกสีส้ม ปลายผลมีแฉกของกลีบเลี้ยงติดทน มีเมล็ดจำนวนมาก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด  ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดี ทนแล้ง โตช้า
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา เนื้อไม้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้เบื่อเมา แก้พิษ ช่วยถอนพิษเห็ดเมา เปลือกต้น แก้อัมพาต ปวด ชา ตามแขนขา ลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้เบื่อเมา
-ใช้ปลูกประดับ ทรงพุ่มโปร่ง มีเนื้อไม้แกร่ง ดอกดกมีกลิ่นหอมมีการนำมาพัฒนาเป็นไม้แคระหรือบอนไซ มีการตัดแต่งให้สวยงาม
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-เมษายน/พฤษภาคม-มิถุนายน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

** การพูดคุยส่วนตัว รูปที่ถ่ายมานี้ (ขวาบนสุด) ดอกเหมือนมี 7 กลีบ แต่จริงๆมี 6 กลีบ ดอกนี้กลีบดอกฉีกตั้งแต่ยังเป็นดอกตูม ตอนนั้นมีเหลืออยู่ติดต้นแค่ดอกเดียว เลยได้รูปออกมาแบบนี้ เมื่อก่อนหน้านี้ไม่กี่ปียังมีให้เห็นอยู่เต็มบริเวณนี้ ออกดอกส่งกลิ่นหอมไปทั้งป่า ต้นที่เห็นนี่ เหลืออยู่ต้นเดียวที่ใหญ่หน่อยคงขุดยากเพราะขึ้นอยู่ในซอกหิน นอกนั้นโดนแงะเอาไปหมด เหลือแต่ต้นเล็กๆสูงไม่ถึงครึ่งเมตร ตอนเขียนเรื่องนี้ (พุดผา) ตอนนั้นปี 2008 รูปถ่ายมาจากสถานที่ หล้งวัดเขาพระ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรีมาถึงตอนนี้ (2017) Up date ให้เป็นปัจจุบันสถานภาพของต้นไม้ต้นนี้จากไม้ถิ่นเดียวรวมสถานภาพใหม่เข้าไปด้วยกลายเป็นไม้หายากไปเรียบร้อย ต้นเล็กต้นน้อยในถิ่นก็ไม่เหลือ
ส่วนพุดผา (พุดสีดาดง) Gardenia collinsiae Craib  เป็นพืชในสกุลพุด (Gardenia) อยู่ในวงศ์ Rubiaceae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2456
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร พบใกล้ชายหาด ใบเดี่ยว ดอกเดี่ยว กลิ่นหอมแรง ผลกลมเกลี้ยง ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม กระจายพันธ์ในประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก เติบโตบนลานหินทราย ในป่าเต็งรังที่ระดับความสูง 50–590 เมตร ใช้เป็นไม้ประดับ พบครั้งแรกที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีโดย D.J. Collins ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ
ระยะออกดอก---กุมภาพันธ์ – มีนาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง


พุทธชาด/Jasminum auriculatum

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Jasminum auriculatum Vahl.(1794)
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms    
---Jasminum affine Wight.(1848), nom. illeg.
---Jasminum mucronatum Rchb. ex Baker.(1877)
---Mogorium trifoliatum Lam.(1791)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/609352-1#synonyms
ชื่อสามัญ ---Jasmine Molle, Indian Jasmine, Juhi, Needle-flower jasmine
ชื่ออื่น---พุทธชาด, บุหงาปะหงัน, ไก่น้อย;[AYURVEDA: Yuuthikaa, Yuuthi, Mugdhee.];[BENGALI: Jui.];[HINDI: Juhi.];[INDIA: Juuhi, Mullai.];[KANNADA: Sanna Mallige.];[MALAYALAM: Sucimulla.];[MARATHI: Jai.];[SANSKRIT: Yuthika.];[SIDDHA/TAMIL: Usimalligai.];[TAMIL: Nityamalli, Uccimalligai.];[TELUGU: Adavimalle.];[THAI: Phutthachat, Bu nga pa ngan, Kai noi.].
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
EPPO Code---IASAU (Preferred name: Jasminum auriculatum.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---บังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน หมู่เกาะอันดามัน อินโดจีน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Jasminum' เป็นรูปแบบภาษาละตินจากคำ ภาษาอาหรับ 'yasemin' หรือภาษาอารบิก 'yasamin' = พืชที่มีกลิ่นหอมหวาน ; ชื่อสายพันธุ์ 'auriculatum' = eared หมายถึง กลีบฐานคล้ายใบหูของแผ่นใบ
Jasminum auriculatum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะลิ (Oleaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Martin Henrichsen Vahl (1749–1804) นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ในปี พ.ศ.2337

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในบังคลาเทศ อินเดีย (อัสสัม มัธยประเทศ ทมิฬนาฑู) เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก และหมู่เกาะอันดามัน อินโดจีน (เมียนมาร์)
ลักษณะ พุทธชาด เป็นไม้ต้นกึ่งเลื้อยหรือรอเลื้อย มีขนาดต้นสูงประมาณ 1-2 (9) เมตร ขนาดใบยาว 6 ซม.ออกใบเป็นคู่ตรงข้าม ดอกมีขนาดเล็กสีขาวกว้างประมาณ1.5ซม. ดอกดกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือตามข้อต้น อย่างน้อย 5 ดอกต่อช่อ ดอกมีสีขาวขนาด 2 ซม.มี 5-7 กลีบ มีกลิ่นหอมแรง เมล็ดมีลักษณะกลมดำและแข็งมาก ขนาดประมาณ 5 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัดหรือแสงแดดเต็ม (พืชได้รับแสงแดดตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป) หรือในที่แสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ ความชื้นสม่ำเสมอ แต่มีการระบายน้ำที่ดี เป็นพืชที่ปลูกง่ายทนต่อความแห้งแล้ง
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาศัตรูพืชหรือโรคร้ายแรง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำรดดอกไม้และใบไม้ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อราได้ สำหรับการโจมตีของแมลงหรือโรคใดๆ สามารถใช้น้ำมันสะเดา น้ำมันยูคาลิปตัส หรือสเปรย์น้ำมันซิตรัสสำหรับการรักษาเบื้องต้น
ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นน้ำมันหอมระเหยและใช้เป็นยาในท้องถิ่น มีการปลูกในเชิงพาณิชย์ในอินเดียและประเทศไทยสำหรับน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในดอกไม้
-ใช้เป็นยา ใบใช้ในการรักษาแผลที่ปาก ดอกไม้ใช้ในการรักษาวัณโรค ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบอายุรเวท ยาต้มของดอกพุทธชาด ใช้ชับปัสสาวะ
-ใช้ปลูกประดับ เป็นหนึ่งในไม้ดอกที่สวยงามและมีกลิ่นหอมที่สุดในเอเชีย ใช้ปลูกเป็นไม้พุ่มหรือไม้เลื้อยขึ้นซุ้มในสวนสาธารณะและสวนทั่วไป หรือการจัดสวนเฉพาะเรื่อง (สวนหอม/Aromatherapy) หรือปลูกเป็นไม้กระถาง
ความเชื่อ/พิธีกรรม---ดอกไม้ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับเทพธิดาแห่งเทวีทุกรูปแบบและใช้เป็นเครื่องสักการบูชาในช่วงพิธีทางศาสนาฮินดูและใช้เพื่อการตกแต่งและใช้สำหรับงานเทศกาลในอินเดีย
ระยะออกดอก---ออกดอกตลอดปี ดอกดกในฤดูร้อน ออกดอกปานกลางในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
ขยายพันธุ์---ทับกิ่ง, ตอนกิ่ง, ปักชำ และเพาะเมล็ด


  พุทธชาดสามสี/Brunfelsia uniflora


ชื่อวิทยาศาสตร์---Brunfelsia uniflora (Pohl) D.Don.(1829)
ชื่อพ้อง---Has 10 Synonyms
---Basionym: Franciscea uniflora Pohl.(1846)    
---Brunfelsia hopeana (Hook.) Benth.(1828)
---Franciscea hopeana Hook.(1828)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2684164
ชื่อสามัญ ---Yesterday-Today-Tomorrow, Morning-noon-and-night, Manaca rain tree, Vegetable mercury.
ชื่ออื่น---พุดสามสี, สามราศี, พุทธชาดสามสี (ทั่วไป) ;[ASSAMESE: Newali.];[CHINESE: Bi àn sè mòlì.];[PORTUGUESE: Manacá.];[SPANISH: Manaca.];[THAI: Put sam si, sam ra si, puthachad sam si (General).].
ชื่อวงศ์---SOLANACEA
EPPO Code---BRFUN (Preferred name: Brunfelsia uniflora.)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์ ---อเมริกาเขตร้อน-บราซิล, ปารากวัย, หมู่เกาะอินดีสตะวันตก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'uniflora' = หนึ่งดอก
-ชื่อสามัญ Yesterday-Today-Tomorrow (เมื่อวาน, วันนี้, พรุ่งนี้) เนื่องจากการเปลี่ยนสีของดอกไม้
** การพูดคุยส่วนตัว เห็นชื่อสามัญ แล้วคิดว่าคนตั้งนี่สุดยอดจริงๆ เพราะพุดสามสีหรือพุทธชาดสามสีนี้ เวลาดอกบานใหม่ๆจะเป็นสีม่วงเข้ม พอรุ่งขึ้นจึงกลายเป็นสีม่วงอ่อน และรุ่งขึ้นอีกวันดอกจะกลายเป็นสีขาว พอถึงวันที่สี่ดอกจะโรย  ออกดอกดกมากเวลาออกดอกจะมองเห็นดอกสะพรั่งไปทั้งต้นเหมือนเป็นดอกไม้ที่มีสามสีใน ต้นเดียวกัน   
Brunfelsia uniflora เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะเขือ (Solanaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Johann Baptist Emanuel Pohl (1782–1834) นักพฤกษศาสตร์ นักกีฏวิทยา นักธรณีวิทยา นักแร่วิทยา และแพทย์ ชาวออสเตรีย และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย David Don (1799-1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2372
ที่อยู่อาศัย ถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ อาร์เจนตินา,โบลิเวีย, บราซิล, กายอานา, ตรินิแดดและโตเบโก, เวเนซุเอลา พบได้ในแหล่งอาศัยหลายแห่งรวมถึงป่าฝนชื้น ป่าฝนในมหาสมุทรแอตแลนติกที่แห้งแล้ง; ป่าฝนชายฝั่ง และสะวันนา ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดกลางสูง 1-1.5 ซม.แตกกิ่งจำนวนมาก ทรงพุ่มกลมแน่นทึบกิ่งมีขนาดเล็กและเปราะ ใบเดี่ยวรูปรีออกตรงข้ามขนาด 2-3 x 6-8 ซม.ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบส่วนปลายกลีบดอกหยักเป็นลอนเล็กน้อย ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 ซม.มีกลิ่นหอมตลอดวัน ผล แห้งแตกทรงกลมหรือรูปรีขนาด 1-2 ซม.แต่มักไม่พบ
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด แสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ชอบดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์วัตถุและชุ่มชื้น ระบบรากตื้นดินต้องมีความชื้นสม่ำเสมอแต่ดินต้องระบายน้ำได้ดี ต้นที่ปลูกกลางแจ้งและมีอากาศเย็นจะออกดอกมากกว่าต้นที่ปลูกในร่ม หากหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มให้แต่ละกิ่งได้รับแสงจะช่วยให้ดอกดกขึ้น
ศัตรูพืช/โรคพืช---เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยไฟที่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก แต่ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต (ทนต่อการระบาดของเพลื้ยไฟได้ระดับหนึ่ง)
ใช้ประโยชน์---พืชดังกล่าวมีประวัติยาวนานในการใช้ประโยชน์ของชนพื้นเมืองในฐานะเป็นพืชสมุนไพรและยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในสมุนไพรแบบสมัยใหม่ พืชมักจะเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยาและยังได้รับการปลูกฝังเป็นไม้ประดับในเขตร้อน
-ใช้เป็นยา ใช้แบบดั้งเดิมใน Amazon การใช้งานจำนวนมากเหล่านี้ถูกนำมาใช้โดยชาวยุโรปเมื่อพวกเขามาถึงอเมริกาใต้และพืชมักจะใช้ในสมุนไพรที่ทันสมัยด้วย อย่างไรก็ตามขอแนะนำให้ใช้ความระมัดระวังดูหมายเหตุเกี่ยวกับความเป็นพิษ -รากแสดงคุณสมบัติใช้เป็น ยาแก้ปวด, ต้านการอักเสบ, ต้านเชื้อแบคทีเรีย, ต้านมะเร็ง, ป้องกันมะเร็ง, ต้านเชื้อราและ antispasmodic  ยาต้มของรากใช้ในการรักษาอาการไข้หนาวสั่นในผู้ใหญ่, โรคไขข้อและโรคไขข้ออักเสบ, ปวดหลัง, หวัดทั่วไป, โรคหลอดลมอักเสบ, โรคปอด วัณโรคและงูกัดในขณะที่มันยังใช้เป็นส่วนสำหรับรักษาโรคไต
-ใบถือว่ามีคุณสมบัติคล้ายกับราก แต่จะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาน้อยกว่า โดยปกติจะใช้เมื่อสดเท่านั้น
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวลงแปลงและสามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้
-อื่น ๆ น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ในการทำน้ำหอมได้มาจากดอกไม้
-สารสกัดจากรากใช้เป็นส่วนประกอบของพิษบนลูกศร
ความเชื่อ/พิธีกรรม---พืชศักดิ์สิทธิ์และจิตวิญญาณในอะเมซอนที่ใช้โดยหมอผีและ curanderos ใน potion ayahuasca (ยาหลอนประสาทอันศักดิ์สิทธิ์) ในพิธีเริ่มต้นพิเศษและขับไล่ความโชคร้าย
รู้จักอันตราย---พืชทั้งหมดประกอบด้วยอัลคาลอยที่เป็นพิษมากที่เรียกว่า manacine มันคล้ายกับสตริกนิน
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ปักชำ ตอนกิ่ง

มะลิลา-มะลิซ้อน/Jasminum sambac


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Jasminum sambac (L.) Aiton.(1789)
ชื่อพ้อง---Has 20 Synonyms
---Basionym: Nyctanthes sambac L.(1753)
---Jasminum fragrans Salisb.(1796)
---Mogorium sambac (L.) Lam.(1791)
---Nyctanthes undulata L.(1753)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/609755-1
ชื่อสามัญ ---Arabian Jasmine, Sambac jasmine.
ชื่ออื่น---มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), มะลิซ้อน, มะลิลา (ภาคกลาง), มะลิ, มะลิลา มะลิซ้อน (ทั่วไป), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ;[ASSAMESE: Gutimali, Dua-mali, Jutiphul.];[CHINESE: Mo li hua.];[COMBODIA: Molih.];[DUTCH: Melatti.];[FRENCH: Jasmin d'Arabie.];[GERMAN: Arabischer Jasmin, Nachtsblühender Jasmin.];[HAWAII: Pīkake.];[HINDI: Madan Mogra, Motiya.];[INDONESIA: Putih Melati, Melati, Melur.];[JAPANESE: Matsurika, Môrinka.];[LESSER ANTILLES: Jasmin double.];[MALAYSIA: Melor.];[PAKISTAN: Mogra.];[PHILIPPINES: Sampaguita; Kampupot (Tagalog); Kulatai, Pongso, Kampupot (Kapam); Manul ( Visayan); Lumabi, Malul (Maguindanao); Hubar, Malur (Tausug).];[PORTUGUESE: Bogarim, Bogarites, Jasmim-de-arábia, Jasmineiro-da-arábia, Mogareira, Mogarim.];[SAMOA: Pua Samoa, Pua sosola, Pua sosolo.];[SPANISH: Diamela, Jasmin de Arabia, Jazmín de Arabia.];[SRI LANKA: Pichcha, Gaeta pichcha.];[TAHITIAN: Pitate, Pitate maohi.];[TAMIL: Gundu Malli, Kodi Mulli.];[TELUGU: Malli.];[THAI: Ma-li, Khao taek, Tiamuun.];[VIETNAM: Hoa nhafi.].
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
EPPO Code---JASSA (Preferred name: Jasminum sambac.)
ถิ่นกำเนิด--ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---ตะวันออกกลาง เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Jasminum' เป็นภาษาละตินจากชื่อเปอร์เซีย 'yasemin' หรือภาษาอารบิก 'Yasamin' = พืชที่มีกลิ่นหอม ; ขื่อสายพันธุ์ 'sambac' คำศัพท์ภาษาอาหรับในยุคกลาง 'zanbaq' หมายถึง ดอกมะลิ-น้ำมันจากดอกมะลิทุกชนิด
Jasminum sambac เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะลิ (Oleaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย  William Aiton (1731–1793) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปี พ.ศ.2332
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนตั้งแต่อนุทวีปอินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการปลูกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการแปลงสัญชาติในหลายพื้นที่ที่กระจัดกระจาย: มอริเชียส มาดากัสการ์ มัลดีฟส์ เกาะคริสต์มาส เชียปัส อเมริกากลาง ฟลอริดาตอนใต้ บาฮามาส คิวบา ฮิสปานิโอลา จาเมกา เปอร์โตริโก และ Lesser Antilles
ดอกมะลิมีหลายสายพันธุ์ที่แตกต่างกันไปตามรูปร่างของใบและโครงสร้างของกลีบดอก มีชนิดดอกซ้อนและดอกลา ชนิดดอกซ้อนเรียกว่า มะลิซ้อน (Jasminum sambac ( L. ) Ait. 'Mali Son') และดอกชั้นเดียว เรียกมะลิลา
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดกลางมีพุ่มต้นสูง 0.5-3 เมตร ใบเป็นรูปไข่ออกตรงข้าม2หรือ3ใบ  ยาว 4-12.5 ซม.กว้าง 2-7.5 ซม.ดอกสีชาวมีกลิ่นหอมแรงออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง 3-12ดอกขนาดดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม.ผลสีม่วงดำมีเนื้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม.โดยทั่วไปจะไม่มีเมล็ดและขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเท่านั้น
ใช้ประโยชน์----ใช้ปลูกประดับ เป็นไม้ดอกกลิ่นหอม ปลูกเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวลงแปลงและสามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้
-ใช้เป็นยา มีประโยชน์ทางสมุนไพร เช่นนำดอกมะลิที่ตากแห้งเป็นยาต้มรับประทาน หรือป่นเป็นผงเข้ายาต่างๆ หรือใช้ดอกมะลิตำสดๆใส่พิมเสนสุมหัวเด็กแก้ซาง แก้ตัวร้อน แก้หวัด
-อื่น ๆดอกลาหรือมะลิลาจะมีกลิ่นหอมกว่าชนิดดอกซ้อน และเป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาร้อยมาลัยบุชาพระมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่นนอกจากนี้นักเล่นพระสมเด็จฯก็มักนิยม อบพระ (เครื่อง) สมเด็จ โดยเชื่อกันว่าทำให้เนื้อของพระเครื่องดียอดเยี่ยมยิ่งขึ้น
-มะลิเป็นพืชที่ดอกมีน้ำมันหอมระเหยมาก จึงนิยมนำดอกมะลิไปกลั่นเอาน้ำมันหอมเพื่อทำน้ำหอม
พิธีกรรม/ความเชื่อ---มะลิยังอยู่ในความเชื่อของคนไทยโบราณที่ปลูกมะลิว่า จะไม่ยอมให้ผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน เก็บมะลิหรือเฉียดเข้าใกล้ต้นมะลิอย่างเด็ดขาด ด้วยเชื่อกันว่าจะทำให้ดอกมะลิเหี่ยวเฉา หรือเกิดด้วงเกิดแมลงในสวนมะลิของตน ทั้งนี้เพราะเชื่อว่ามะลิคือดอกไม้ที่บริสุทธิ์มากนั่นเอง
สำคัญ---ในคติของคนไทย ถือกันว่าดอกมะลิเป็นดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ และเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ จึงยกย่องให้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ เป็นดอกไม้วันแม่แห่งชาตินอกจากนี้
-มะลิยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของฟิลิปปินส์ รู้จักกันทั่วไปในชื่อ Sampaguita
-เป็น1ใน3ของดอกไม้ประจำชาติของอินโดนีเซียเรียกกันว่า Melati putih ความคารวะและสถานะที่สูงส่งส่วนใหญ่เนื่องมาจากความสำคัญของดอกไม้ชนิดนี้ในประเพณีของชาวอินโดนีเซียมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถือเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ในประเพณีของชาวอินโดนีเซียมาช้านาน เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความศักดิ์สิทธิ์ ความเรียบง่ายที่สง่างาม และความจริงใจ ยังแสดงถึงความงามของความเจียมเนื้อเจียมตัว ดอกไม้สีขาวขนาดเล็กและเรียบง่ายที่สามารถสร้างกลิ่นหอมหวานได้ นอกจากนี้ยังเป็นดอกไม้ที่สำคัญที่สุดในพิธีแต่งงานของชาวอินโดนีเซียโดยเฉพาะในเกาะชวา มักเลือกดอกตูมที่ยังไม่บานเต็มที่มาทำเป็นสายมาลัยดอกมะลิในวันแต่งงาน ผมของเจ้าสาวชาวชวาหรือชาวซุนดาแบบดั้งเดิมจะประดับด้วยสายพวงมาลัยดอกมะลิที่จัดเป็นตาข่ายคลุมผม มาลัยดอกมะลิที่ร้อยพันกันอย่างวิจิตรบรรจงถูกปล่อยหลุดจากศีรษะของเจ้าสาว กริชของเจ้าบ่าวยังประดับด้วยมาลัยดอกมะลิห้าเส้นที่เรียกว่า Roncen usus-usus
ได้รับรางวัล---Award of Garden Merit (AGM) จาก Royal Horticultural Society (RHS)
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---การตอนกิ่ง หรือปักชำ

มะลิฉัตรดอกบัว/'Mali Chat Dok Bua'


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Jasminum Sambac (L) Aiton 'Mali Chat Dok Bua' (1982)
ชื่อพ้อง---Jasminum Sambac var 'Mali Chat Dok Bua'
ชื่อสามัญ ---Sambac jasmine, Thai Jasmin 'Mali Chat Dok Bua'
ชื่ออื่น ---มะลิฉัตร, มะลิฉัตรดอกบัว (ทั่วไป) ; [THAI: Mali Chat, Mali chat dok bua (General).];
ชื่อวงศ์ ---OLEACEAE
EPPO Code---IASSA (Preferred name: Jasminum sambac.)
ถิ่นกำเนิด--- ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย เขตร้อนและเขตอบอุ่น
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Jasminum' เป็นภาษาละตินจากชื่อเปอร์เซีย 'yasemin' หรือภาษาอารบิก 'Yasamin' = พืชที่มีกลิ่นหอม ; ขื่อสายพันธุ์ 'sambac' คำศัพท์ภาษาอาหรับในยุคกลาง 'zanbaq' หมายถึง ดอกมะลิ-น้ำมันจากดอกมะลิทุกชนิด
Jasminum Sambac (L) Aiton 'Mali Chat Dok Bua' เป็นความหลากหลาย (Varieties) ของมะลิซ้อน (Jasminum Sambac) กลายพันธุ์ใน ปี พ.ศ. 2525
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย กระจายพันธุ์ในการเพาะปลูกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยสูง 0.50-1 เมตร พุ่มกลมแน่นทึบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่ สีเขียวอมเหลือง ยาว 4-5 ซม. กว้าง 3 - 5 ซม. ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อสีขาว ที่ปลายกิ่ง 1-3 ดอก ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมเย็น ดอกบานได้ 1-2 วัน ดอกมีลักษณะเด่น คือ กลีบดอกห่อกันกลมแน่นที่กลางดอก ดูคล้าย "ดอกบัวตูม" และกลีบดอกซ้อนเรียงกันเป็นชั้นๆ คล้าย "ฉัตร"จึงรวมกันเป็นที่มาของชื่อ "มะลิฉัตรดอกบัว"ขนาดของดอกมะลิฉัตรดอกบัว เมื่อดอกบานจะมีขนาดประมาณ 3-4 ซม.ไม่เห็นผลไม้ในการเพาะปลูก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งกลางแจ้งแสงแดดเต็มวัน (พืชได้รับแสงแดดตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป) แสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน รดน้ำเมื่อดินแห้งเท่านั้น การตัดแต่งกิ่งช่วยเพิ่มการออกดอก
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ เป็นไม้ดอกกลิ่นหอม ปลูกเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวลงแปลงและสามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้
ระยะออกดอก---ออกดอกเกือบตลอดปี แต่ดกในช่วงปลายฤดูร้อนถึงฤดูฝน ให้ดอกน้อยในช่วงฤดูหนาว
ขยายพันธุ์---ด้วยการทับกิ่ง ปักชำและตอนกิ่ง


แก้ว/Murraya paniculata

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Murraya paniculata (L.) Jacq.(1820)
ชื่อพ้อง---Has 16 Synonyms
---Basionym: Chalcas paniculata L.(1767)
---Murraya exotica L.(1771)
---Murraya omphalocarpa Hayata.(1913)    
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2510469?ref=tpl2
ชื่อสามัญ---Andaman Satinwood, China Box Tree, Mock Orange, Orange jasmine, Cosmetic Bark Tree
ชื่ออื่น--- จ๊าพริก (ลำปาง), แก้วลาย (สระบุรี), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ), แก้วขาว (ภาคกลาง), กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) ;[ASSAMESE: Kamini-kanchan.];[BENGALI: Kamini.];[BRAZIL: Falsa-murta, Murta, Murta de cheiro.];[CAMBODIA: Chheu kev (Central Khmer).];[CHINESE: Guo mai shuang gao la, Jiu li xiang, Kau lei heung, Qian li xiang, Yue ju.];[CUBA: Boj de Persia, Box de Persia, Jazmín, Jazmín de Persia, Maraya, Mirto criollo, Muralla, Murallera, Muraya, Murraya.];[CZECH: Tlustoslupka latnatá, Muraja.];[DANISH: Rosenjasmin.];[DOMINICAN: Azahar, Azahar de jardín, Azar, Jazmín de azahar.];[FRENCH: Buis de Chine, Bois jasmin, Oranger jasmin, Bois de satin.];[GERMAN: Orangenraute, Jasmin-Orangenraute.];[HAITI: Buis, Byrte.];[HINDI: Kaaminee.];[INDIA: Angara kina, Angarakana gida, Ban mallika, Gacharisha, Kadu, Kamini, Kamini kusum, Kamini marchula, Kamini-kanchan, Karibevu, Katae-konci, Kattukariveppu, Kattu-karuveppilai, Konji, Kunti, Mar chula, Maramulla, Nagagolunga, Pandari, Shettithymaram.];[INDONESIA: Kemuning (Jawa); Kamuning, Jenar (Sunda); Kemoning, Kajeni (Bali); Kamoneng (Madura); Kamunieng (Minangkabau); Kajoe hamoening boenga (Sumatra); Kayu gading.];[JAPANESE: Gekkitsu, Shiruku-jasumin, Tsukitachi, Inutsuge, Kuribana.];[LAOS: Keo.];[MALAYSIA: Djenar, Kamuning, Kemuning Lada.];[MYANMAR: Yuzana.];[PHILIPPINES: Banasi, Banati.];[PORTUGUESE: Falsa-murta, Jasmim laranja, Murta.];[SINGAPORE: Burmese boxwood, China box, Chinese box, Mock lime, Orange jasmine.];[SPANISH: Jazmín, Naranjo jazmín (Espanol); Chalcas, Mirto.];[SWEDISH: Doftruta.];[THAI: Kaew, Kaew khao (central); Kaew lai (Saraburi); Kaew khi kai (Yala); Kaew phrik, Talai kaew (northern).];[USA: Chalcas, Cosmetic-bark-tree];[VIETNAM: Nguyệt quất, Nguyệt quới.].
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
EPPO Code---MUYPA (Preferred name: Murraya paniculata.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Murraya' ตั้งชื่อตามชื่อ Johann Andreas (Anders) Murray (1740– 1791) นักพฤกษศาสตร์และนายแพทย์ชาวสวีเดน ; ชื่อสายพันธุ์ 'paniculata' หมายถึงช่อดอกที่มีกิ่งก้านหรือ cymose inflorescence.
เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้, ไต้หวัน, อนุทวีปอินเดีย (อินเดีย, เนปาล, ปากีสถาน ศรีลังกา), เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซียและฟิลิปปินส์) และออสเตรเลีย(ควีนส์แลนด์เหนือและออสเตรเลียตะวันตกตอนเหนือ)

Murraya paniculata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ส้ม (Rutaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Nikolaus Joseph Freiherr von Jacquin[1727–1817) นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้าน การแพทย์เคมีและพฤกษศาสตร์ ชาวเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2363
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เติบโตจาก อินเดีย ปากีสถานและศรีลังกาไปยังภาคใต้ของจีนไทยและมาเลเซียขยายไปถึงไต้หวันและหมู่เกาะ Ryukyu ของญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซียและนิวกินี และไปยังตอนเหนือของออสเตรเลียและโอเชียเนียทางตะวันตกเฉียงใต้ พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและกึ่งป่าดิบเขา ซึ่งขณะนี้กระจายไปทั่วโลกผ่านการเพาะปลูก พบตั้งแต่ระดับน้ำทะเลใกล้ถึงระดับความสูง 1,300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มยืนต้นถึงต้นไม้ขนาดเล็ก เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาวและมักบิดเวียน ขนาดและความสูงเมื่อโตเต็มที่โดยไม่ตัดแต่งจะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่สูงได้ ถึง 8-10 เมตร วัดรอบต้นได้ 80 ซม.ใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ (imparipinnate) มีใบย่อย 5-9 ใบรูปรีเรียงสลับจากเล็กไปหาใหญ่ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ที่ใบมีต่อมน้ำมัน ดอกเป็นดอกช่อสีขาว ออกเป็นข่อสั้นๆ ตามซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวขนาดเล็กมี 5 แฉก ติดอยู่ทนจนถึงเป็นผล กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบมนหรือเรียวแหลม  ดอกแก้วเวลาบานพร้อมกันจะดูขาวสะพรั่งทั้งต้นส่งกลิ่นหอมไปทั่ว ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง ผลรูปรียาว 12–14 มม.เมื่อแก่เปลือกมีสีแดงอมส้ม แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด  
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัดถึงมีร่มเงาบางส่วนและมีที่กำบังจากลมแรง ชอบดินหินปูนที่อุดมสมบูรณ์โดยมีค่า pH 6.6-7.5 สามารถทนต่อดินทุกประเภทที่มีการระบายน้ำได้ดี
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไส้เดือนฝอยในดินและแมลงหวี่ขาว/ ราดำ เป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศที่ปลูกส้ม เนื่องจากเป็นหนึ่งในโฮสต์ของDiaphorina citriซึ่งเป็นพาหะของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิด 'citrus greening disease' หรือ 'huanglongbing'


ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ เป็นไม้พุ่มถึงต้นไม้ขนาดเล็กที่ใช้ทั่วโลกในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเป็นไม้ประดับและภูมิทัศน์ สามารถปลูกเป็นบอนไซได้ สำหรับอุตสาหกรรมการจัดสวน มีจำหน่ายในเรือนเพาะชำ ร้านค้า และจำหน่ายทางอินเทอร์เน็ต
-ใช้เป็นยา ใช้กันอย่างแพร่หลายในเอเชียและแอฟริกาในการแพทย์แผนโบราณ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาโดยชุมชนพื้นเมืองในอเมริกาใต้ รายงานการใช้ยาสำหรับM. paniculataได้แก่ ยาแก้ปวด ยาสมาน ยาชูกำลัง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการฟกช้ำ ขับพยาธิตัวตืด เพิ่มและควบคุมการไหลเวียนของประจำเดือน ส่งเสริมการคลอด และรักษาอาการท้องมาน ท้องร่วง เบาหวาน ปวดฟัน ปวดท้อง บาดแผล ฟกช้ำ กระดูกหัก บวม, ระคายเคืองผิวหนัง, เริม, โรคบิดและงูพิษกัด
-อื่น ๆแก้วเป็นไม้ดอกหอมที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว และยังเป็นต้นไม้ในวรรณคดีไทยที่กล่าวถึงอยู่เสมอ ในสมัยก่อนแก้วมีเนื้อไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจด้วย นิยมนำมาทำไม้เท้า ด้ามปืน ฝักมีด ด้ามร่ม คันซออู้ ซอด้วง เพราะเนื้อไม้ของแก้วแน่นเหนียว ลวดลายสวยงาม พ่อค้าไม้จะรู้จักแก้วในชื่อ Andaman Satinwood หรือแปลเป็นไทยได้ว่า "ไม้เนื้อแพรแห่งอันดามัน"
-น้ำมันหอมระเหยใช้สำหรับน้ำหอมและเครื่องสำอาง
** การพูดคุยส่วนตัว ความลับเล็กๆ เคี้ยวใบแก้วแล้วตัวจะร้อนรุมเหมือนเป็นไข้ ทั้งที่สบายดี ใช้เป็นมารยาของคนแกล้งป่วย
ระยะออกดอก/ติดผล---ออกดอกตลอดปี ; มิถุนายน-มีนาคม (ในออสเตรเลีย) ; เมษายน-ตุลาคม/เมษายน-กุมภาพันธ์ (ในจีน )
ขยายพันธุ์---โดยเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง ปักชำ


แก้วหิมาลัย/Murraya paniculata

นี่ เป็นแก้วหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันกับแก้วขาว หรือเรียกแก้วหิมาลัยอีกชื่อว่าแก้วพวง ลักษณะแตกต่างจากแก้วขาวคือ ใบใหญ่กว่าและปลายใบกลมมนกว่า  ถึงดอกจะเล็กกว่าแต่ก็ออกดอกดกมากๆ กลิ่นก็หอมแรงกว่าด้วย นอกจากนี้ยังมียังมีรูปผลของแก้วแคระ ที่มีใบเล็กและดอกเล็กอีกด้วยรูปล่างนี่ล่ะ

ทิวา/Cestrum diurnum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Cestrum diurnum L.(1753)
ชื่อพ้อง----Has 20 Synonyms
---Cestrum album Ferrero ex Dun.(1852)
---Cestrum diurnum var. marcianum G.R.Proctor.(1977)
---Cestrum diurnum var. odontospermum (Jacq.) O.E.Schulz.(1910)
---Cestrum diurnum var. portoricense O.E.Schulz.(1908)
---Cestrum diurnum var. venenatum (Mill.) O.E.Schulz.(1910)
---Cestrum fastigiatum Jacq. (1798)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2713430
ชื่อสามัญ---Din Ka Raja, Day Cestrum, Day jessamine, Day queen, Chinese Inkberry, Day jessamine, Day-blooming cestrum.
ชื่ออื่น ---ทิวา, ทิวาราตรี (ทั่วไป); [CUBA: Amenoche; Galán de día; Jazmín de día.];[DOMINICAN: Rufiana.];[FIJI: Thauthau.];[GERMAN: Taghammerstrauch.];[GUAM: Tintanchina.];[HINDI: Din ka raja.];[INDIA: China berry; Day jasmine.];[JAMAICA: Wild jasmine.];[MAORI (Cook Island): Ariki-va'ine.];[PAKISTAN: Din-ka-raja.];[SPANISH: Dama de día, Galán de día, Hierba santa, Rufiana, Saúco tintóreo.];[SWEDISH: Vit juvelbuske.];[THAI: Thiwa, Thiwa-Ratree (general).];[TONGA: Vaitohi.];[USA/HAWAII: Makahala.].
ชื่อวงศ์ ---SOLANACEAE
EPPO Code---CEMDI (Preferred name: Cestrum diurnum.)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---เวสต์อินดีส คิวบา จาเมกา เปอร์โตริโก แอฟริกาใต้ เกาะต่าง ๆในมหาสมุทรแปซิฟิก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Cestrum' มาจากภาษาะติน 'Cestron' หมายถึงหอก โดยอ้างอิงถึงใบไม้ ; ชื่อสามัญ ในภาษา อุรดูและฮินดี เรียกว่า Din ka Raja แปลว่า King of the day
Cestrum diurnum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะเขือ (Solanaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2296


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในคิวบา จาเมกาและเปอร์โตริโก มันถูกนำมาใช้เป็นไม้ประดับในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลกและตอนนี้สามารถพบได้ในอินเดียและแอฟริกาใต้บนเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกและทั่วอเมริกาเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เติบโตในพื้นที่ที่ถูกรบกวน ทุ่งหญ้า ริมถนนและในป่าทุติยภูมิ ที่ระดับความสูง 0-1,554 เมตร
-ในฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา), C. diurnumมีมากมายในพื้นที่ที่ถูกรบกวน มันถือเป็น“ ภัยคุกคามที่ร้ายแรง” ต่อพื้นที่ธรรมชาติในฟลอริดาตอนใต้และมีการบุกรุกชายฝั่งทะเลซึ่งสามารถก่อตัวขึ้นเป็นดงหนาทึบ
ลักษณะ เป็นไม้ พุ่มสูง 2-3 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเป็นปุ่มปมเล็ก ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับรูปหอกใบแคบ กว้าง 2-5 ซม.ยาว 5-10 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอกออกเป็นช่อกระจาย สีขาว มีดอกย่อย 15-20 ดอกโคนกลีบดอกเป็นหลอดยาว 1ซม.ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ เมื่อบานขนาด 6-8 มม. มีกลิ่นหอมแรงในเวลากลางวัน บานอยู่ได้ 2-3 วันแล้วจึงโรย ผลเบอร์รี่รูปไข่ค่อนข้างกลม สีเขียว สุกสีม่วงไปจนถึงสีดำอมน้ำเงินมันวาว เปลือกนิ่ม ยาว 7 มม.มี 4-14 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด สามารถทนต่อร่มเงา ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ทนต่อดินทุกสภาพช่วงชีวิตอยู่ได้ 5-10ปี
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นไม้ประดับสำหรับรูปลักษณ์ที่สวยงาม, ขนาดปานกลาง, ความง่ายในการเพาะปลูก, และดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม สามารถปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกลงสนามกลางแจ้ง
-อื่น ๆ มีรายงานว่าใบเป็นแหล่งของวิตามิน D3
รู้จักอันตราย---เป็นหนึ่งในสามพืชไร่ที่มีไกลโคไซด์ของสารเมตาโบไลต์วิตามินดี 1,25-dihydroxycholecalciferol aka 1,25-OHD3 การบริโภคไกลโคไซด์ 1,25-OHD3 โดยสัตว์กินหญ้าทำให้เกิดความเป็นพิษของวิตามินดีส่งผลให้เกิดแคลเซียมในเนื้อเยื่ออ่อนสะสมมากเกินไปhttp://poisonousplants.ansci.cornell.edu/toxicagents/calglyco.html พ.ศ. 2564 Cornell Dept. of Agriculture and Life Sciences: Department of Animal Science: "Plants Poisonous to Livestock"
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2014)
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ด้วยการตอนกิ่งและปักชำ


ราตรี/Cestrum Nocturnum

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cestrum nocturnum L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms
---Cestrum graciliflorum Dunal.(1852).
---Cestrum suberosum Jacq.(1804)
---Chiococca nocturna Jacq.(1760)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2713666
ชื่อสามัญ---Night Cestrum , Night-Blooming Jasmine, Queen Of The Night, Night-blooming cestrum, Raatrani
ชื่ออื่น---ราตรี (ทั่วไป), หอมดึก ;[BENGALI: Hasnahana.];[CHINESE: Ye xiang mu, Ye xiang shu.];[CONGO: Dondoko.];[COSTA RICA: Zomillo.];[CUBA: Galan de noche, Fedora, Jasmin de noche.];[DOMINICAN REPUBLIC: Rufiana, Jazmin de noche.];[EL SALVADOR: Palo hediondo.];[FRENCH: Jasmin de nuit, Galant de nuit.];[GERMAN: Nacht jasmin, Nacht-hammerstrauch.];[GUATEMALA: Galan de noche, Reina de la noche.];[HAITI: Lilas de nuit, Jasmin de nuit.];[HINDI: Raat ki rani.];[ITALIAN: Galante de notte.];[JAPANESE: Yakokwa.];[MALAY: Sedap malam.];[MARATHI: Raatraani.];[MYANMAR: Nya-hmwe-pan, Saung-taw-ku.];[PHILIPPINES: Dama de noche (Tag., Span.).];[PORTUGUESE: Dama-da-noite, Jasmin da noita, Jasmineiro-de-noite.];[SPANISH: Dama de la noche, Huelo do noche, Heirba hedionda, Galan de tarde.];[SWEDISH: Vit nattjasmin.];[THAI: Ratree (general), Hom duek.];[TONGA: Laukau po'uli.];[USA/Hawaii: 'Ala aumoe, Kupaoa, Onaona lapana.].
ชื่อวงศ์---SOLANACEAE
EPPO Code---CEMNO (Preferred name: Cestrum nocturnum.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง (เม็กซิโกถึงเวเนซุเอลา) ; อเมริกาใต้ (เวสต์อินดิส)
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Cestrum' มาจากภาษาะติน 'Cestron' หมายถึงหอก โดยอ้างอิงถึงใบไม้ ; ชื่อสายพันธุ์ 'nocturnum' หมายถึงนิสัยของสายพันธุ์ในการเปิดดอกไม้ขนาดเล็กที่มีกลิ่นแรงในเวลากลางคืน
Cestrum nocturnum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะเขือ (Solanaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2296
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง (เม็กซิโกถึงเวเนซุเอลา) และหมู่เกาะอินเดียตะวันตก มีการแนะนำและปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน รวมทั้งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ทางตอนใต้ของจีน และทางตอนใต้สุดของสหรัฐอเมริกา และแพร่ระบาดมีลักษณะรุกรานในหลายพื้นที่ เช่น ฮาวาย หมู่เกาะคุก ฟิจิ เฟรนช์โปลินีเซีย ซามัวตะวันตก ตองกา นิวแคลิโดเนียและนิวซีแลนด์ เติบโตในป่าชื้นหรือเปียกรวมทั้งบริเวณริมฝั่ง ป่าทุติยภูมิ และป่าที่ราบลุ่มหนาแน่น พุ่มไม้เตี้ย และพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งทางธรรมชาติและที่ไม่เอื้ออำนวย ที่ระดับความสูง 100-2,600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มยืนต้น มีขนาดต้นสูง 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก พุ่มใบหนา ต้นและใบมีกลิ่นเหม็นเขียว เปลือกต้นสีเทาอ่อนปนขาว ใบเดี่ยวออกเวียนสลับรูปรี กว้าง 4-6 ซม.ยาว 8-15 ซม.ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.8 ถึง 2 ซม.ดอกออกเป็นช่อกระจะสีขาวอมเขียว ออกดอกตามยอดและตามข้อต้นโคนก้านใบ ช่อดอกยาว 8-15 ซม.มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียว รูปถ้วย โคนเกลีบดอกเชื่อมติดกัน เป็นหลอดแคบๆ ยาว 2-2.5 ซม.ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันดอกบานเต็มที่กว้าง 0.8-1.3 ซม.ผลค่อนข้างกลม สีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1ซม.มีเมล็ดทรงรี 5–8 เมล็ด ยาว 3.5–4 มม.ดอกราตรีจะมีกลิ่นหอมจัดและหอมไกลในเวลากลางคืน พอเช้าดอกที่บานจะร่วงหมด และดอกตูมจะบานใหม่ในคืนต่อๆไปกลิ่นของดอกราตรีจะส่งกลิ่นรุนแรงมากถ้าได้ กลิ่นหรือสูดดมใกล้ๆ อาจทำให้วิงเวียนและไม่สบายได้ ควรปลูกให้ห่างที่พักพอประมาณ ไม่อย่างนั้นในช่วงออกดอกเต็มต้นจะส่งกลิ่นแรงมากในตอนกลางคืน อาจทำให้ปวดศรีษะไม่สบายกันทั้งบ้าน
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด สามารถทนต่อร่มเงา ดินร่วน, ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี โดยมีค่า pH เป็นกลางที่ 6.6 ถึง 7.5 สามารถปรับให้เข้ากับชนิดของดินและสภาพต่างๆ ได้ แต่มีความทนทานต่อเกลือและน้ำขังต่ำ
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ ปลูกในภูมิภาคกึ่งเขตร้อนเพื่อเป็นไม้ประดับสำหรับดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมากในตอนกลางคืน ในแถบเขตร้อนของแอฟริกาตะวันตกและอเมริกาตะวันออกรวมถึงหมู่เกาะแคริบเบียนต้นไม้จะถูกใช้เป็นยาและในพิธีกรรมทางศาสนา
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ใบ,ผล ใช้ในการรักษาโรคลมชัก, ฮิสทีเรีย, หงุดหงิดและอาการกระตุก
-ในเม็กซิโกสารสกัดจากพืชใช้เป็น antispasmodic และการรักษาโรคลมชัก
-ใน Antiles ผล ใช้สำหรับรักษาโรคลมชัก
-ในอินเดียคน Malasar ใช้น้ำผลไม้สำหรับต้อกระจก
-อืน ๆ ดอกไม้มีกลิ่นหอมใช้สำหรับทำน้ำหอม
-น้ำมัน ใช้เป็นยาขับไล่ยุง
ความเชื่อ/พิธีกรรม---หากนำเอาต้นและดอกราตรีเข้าไปให้คนในท้องถิ่นของอำเภอกุดชุม หรือ ในเขตลุ่มน้ำลำห้วยแกว (ลำห้วยแบ่งเขตอุบลราชธานีกับร้อยเอ็ด)คนเฒ่าคนแก่แถบนั้นจะบอกทันทีว่า ต้นไม้ต้นนี้ชื่อ "หอมดึก" เป็นพันธุ์ไม้ป่าในท้องถิ่นและหาง่าย ชาวบ้านแถวนั้น นิยมใช้เป็นดอกไม้ในประเพณี " แห่ดอกไม้"เป็นประจำอยู่ทุกปีนานแล้ว
-ในอินเดีย ดอกไม้ใช้เป็นเครื่องถวายแด่พระอิศวรและพระพิฆเนศ ใน Kathmandu หมอชาว Napalese ใช้ใบไม้และดอกไม้เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม ดอกไม้สดใช้กินและดอกไม้ทอดรมควันเพื่อรักษาพลังจิตวิญญาณ
- ในเวสต์อินดีสพืชใช้เป็นยาเสน่ห์
รู้จักอันตราย---รายงานความไวต่อการหายใจหรือโรคหอบหืดที่มีการระคายเคืองของจมูกและลำคอปวดศีรษะและคลื่นไส้หลังจากสัมผัสกับกลิ่นอันรุนแรงของดอกไม้ -การกลืนกินชิ้นส่วนพืชโดยเฉพาะผลไม้มีรายงานว่าทำให้เกิดไข้, ชีพจรเต้นเร็ว, น้ำลายไหล, โรคกระเพาะ, อาการประสาทหลอน, อัมพาต-เป็นพิษต่อปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ระยะออกดอก---ออกดอกเป็นระยะตลอดปี
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำรากและลำต้น


ราตรีสีทอง/Cestrum aurantiacum.


ชื่อวิทยาศาสตร์---Cestrum aurantiacum Lindl.(1844).
ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms    
---Cestrum auriculatum Ruiz & Pav.(1799)
---Habrothamnus aurantiacus (Lindl.) Regel.(1850)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/814910-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Yellow Jasmine, Orange Cestrum, Orange jessamine, Orange Flowering Jessamine.
ชื่ออื่น---ราตรีสีทอง (ทั่วไป) ;[AFRIKAANS: Oranjesestrum.];[BRAZIL: Coerana.];[CHINESE: Huáng huā yè xiāng shù, Huáng huā yáng sùxīn.];[FRENCH: Jasmin du Guatemala.];[GERMAN: Goldgelber Hammerstrauch.];[JAPANESE: Kichouji.];[PORTUGUESE: Cestro-amarelo.];[SPANISH: Cestrum amarillo, Cestrum naranja, Dondiego de noche, Hierba santa anaranjada, Jazmín naranja.];[SWEDISH: Gul juvelbuske.];[THAI: Ratree si thong (general).].
ชื่อวงศ์---SOLANACEAE
EPPO Code---CEMAU (Preferred name: Cestrum aurantiacum.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาเหนือ: เม็กซิโก, อเมริกากลาง: คอสตาริกา, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, นิการากัว หมู่เกาะเวสต์อินดิส
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Cestrum' มาจากภาษาะติน 'Cestron' หมายถึงหอก โดยอ้างอิงถึงใบไม้ ; ชื่อสปีชีส์ "aurantiacum" มาจากคำภาษาละติน 'aurantiacus' = สีส้ม อ้างอิงถึงดอกไม้ของสายพันธุ์นี้บางครั้งมีสีส้มเหลือง
Cestrum aurantiacum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะเขือ (Solanaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย John Lindley(1789-1865) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2387
ราตรีสีทองเป็นไม้จำพวกเดียวกับราตรีและอยู่ในวงศ์เดียวกันกับมะเขือ ชื่อของไม้วงศ์นี้นักพฤกษศาสตร์ เรียกอีกแบบหนึ่งว่า The Nightshade Family


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง (คอสตาริกา กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เม็กซิโก เวเนซุเอลา และนิการากัว) แนะนำในเทือกเขาหิมาลัย, บังคลาเทศ, จีน, มาเลเซีย, แอฟริกา (ตะวันออกไปใต้), ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ เติบโตในป่ากึ่งป่าดิบชื้น และป่าที่แห้งแล้ง ที่ระดับความสูง 1,000-2,000 เมตร สายพันธุ์นี้ถือว่ารุกรานในสวาซิแลนด์ (แอฟริกา)
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดใหญ่แต่ก็สามารถเป็นเถาวัลย์ (Climbing)หรือต้นไม้ขนาดเล็กได้  สูงได้ถึง 0.9-3 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว แตกกิ่งก้านเล็กๆจำนวนมาก กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม ลำต้นและใบมีขนบางๆ ช้ำง่ายมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับรูปขอบขนานแกมใบหอก ยาว 8-12 ซม.กว้าง 7 ซม.ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อตามยอดหรือง่ามใบเรียงติดกันเป็นกลุ่มหนาแน่นตามก้าน ช่อดอกสีเหลืองทองเป็นกรวยยาว 8-15 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายดอกแตกออกเป็นปากแตร5กลีบ ขนาดดอกเมื่อบาน 0.6-1 ซม.มีกลิ่นหอม ผลกลมขนาดเล็กสีขาว
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด แสงแดดรำไร ทนต่อร่มเงา เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัดแต่ต้องอยู่ในสภาพดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นพอประมาณ ไม่แฉะและไม่แล้งจนเกินไปเพราะรากของราตรีสีทองบอบบางไม่แข็งแรงเหมือนรากต้นไม้อื่น ถ้าแฉะนานเกินควรรากจะเน่า และถ้าแล้งนานเกินไปรากก็จะแห้ง ตายเหมือนกัน
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับลงแปลงกลางแจ้งหรือร่มรำไรและปลูกเป็นไม้กระถาง
รู้จักอันตราย-เป็นพิษต่อปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การกินผลดิบเป็นอันตรายต่อแกะ และใบสามารถนำไปสู่พิษที่ไม่ร้ายแรงได้
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก---ออกดอกเป็นระยะตลอดปี
ขยายพันธุ์---ตอนกิ่ง ปักชำ


ราตรีสวรรค์/Clerodendrum calamitosum

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Clerodendrum calamitosum L.(1767)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
---Clerodendrum fastigiatum (W.Hunter ex Ridl.) H.J.Lam.(1919)
---Volkameria alternifolia Burm.f.(1768)
---Volkameria fastigiata W.Hunter ex Ridl.(1909)    
---See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:861967-1#synonyms
ชื่อสามัญ---White Butterfly
ชื่ออื่น---ราตรีสวรรค์ (ทั่วไป); [CHINESE: Huàshí shù.]; [INDONESIA: Kembang bugang, Keci beling, Keji beling (Jawa); Kayu gambir (Sumatera).];[THAI: Ratree sa wan (general).];[VIETNAM: Ngọc nữ Cúc Phương.].
ชื่อวงศ์  ---LABITAE (LAMIACEAE)
EPPO Code---CLZCA (Preferred name: Clerodendrum calamitosum.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---หมู่เกาะอันดามัน, เกาะบอร์เนียว, กัมพูชา, ชวา, หมู่เกาะซุนดาน้อย, มาลายา, มาลูกุ, เกาะนิโคบาร์, ฟิลิปปินส์, สุลาเวสี, สุมาตรา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Clerodendrum'  มาจากคำภาษากรีก "kleros" ซึ่งหมายถึงโอกาสและ "dendron" หมายถึงต้นไม้'; ชื่อส ปีชีส์ ฉายา 'calamitosum'  หมายถึงความหายนะหรือทำให้สูญเสีย
Clerodendrum calamitosum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae หรือ Labiatae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2400
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน (กัมพูชา), มาเลเซีย (สุมาตรา, มาลายา, บอร์เนียว, ชวา, สุลาเวสี, ฟิลิปปินส์มาลูกุ, เกาะนิโคบาร์,) เปิดตัวในอินเดีย หมู่เกาะอันดามัน ตรินิแดด-โตเบโก เติบโตในสภาพอากาศที่แห้งแล้งบริเวณชายป่า ริมถนน และในที่ร่มที่ระดับความสูง 1,750 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งมากทรงพุ่มแน่น เปลือกต้นสีเทาอมม่วง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามแต่ละคู่ตั้งฉากกัน รูปขอบขนาน ขนาดใบกว้าง 3-15 x 1.5-8 ซม.ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยซ้อน ดอกสีขาวออกเป็นกระจุกแยกแขนงที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมากมีกลิ่นหอม ก้านดอกยาวประมาณ 0.5-1 ซม.โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน สีเขียว ปลายแยก 5 แฉก สีแดงคล้ำ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบยาว ปลายแยก 5 แฉก ผลกลมแข็งประมาณ 0.8 ซม.มีเมล็ดเดียวแข็ง รูปขอบขนานแกมรี สีดำ ดอกบาน 1-2 วันแล้วโรยมีกลิ่นหอมอ่อนๆในช่วงกลางวัน และหอมแรงขึ้นช่วงพลบค่ำ
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด แสงแดดรำไรกึ่งร่มเงาบางส่วน ดินชื้น ระบายน้ำดี ค่า pH 6.1- 6.5 (mildly acidic) 6.6-7.5 (neutral) เวลาปลูกควรปลูกเป็นกลุ่มจะออกดอกพร้อมกันสวยงาม ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้สม่ำเสมอหากต้นเริ่มโทรมหรือเริ่่มออกดอกน้อยลงให้ พรวนดินและใส่ปุ๋ยคอก
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ใบและราก ในอินโดนีเซีย ใช้ใบต้มรักษา โรคบิด เป็นไข้ ริดสีดวงทวาร ปัสสาวะขัด นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซิฟิลิส ใช้ภายนอกสำหรับรักษา: ท้องอืด (meteorismus), แผลไหม้, ฝี, คุดทะราด, ไตอักเสบ
-พืชนี้มีคุณสมบัติทางเคมีและผลกระทบทางเภสัชวิทยา: หยุดเลือด, ทำลายนิ่วในไต ยาต้มใบมีผลทางคลินิกที่ดีในผู้ป่วยที่มีนิ่วในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
-ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้งดอกหอม ตามสวนสาธารณะและสวนทั่วไป และสวนขนาดเล็ก
ระยะออกดอก---ตลอดปี
การขยายพันธุ์--- เมล็ด ปักชำ โน้มกิ่ง ตอนกิ่ง หน่อราก แยกต้นอ่อน


นางแย้ม/Clerodendrum chinense

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb. (1989)
ชื่อพ้อง ---Has 11 Synonyms
---Basionym: Cryptanthus chinensis Osbeck.(1757)   
---Agricolaea fragrans (Vent.) Schrank.(1808)
---Clerodendrum philippinum Schauer.(1847)
---Volkmannia japonica Jacq.(1798)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:946989-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Glory- bower, Burma Conehead, White-Rose Clerodendron, Stickbush, Hazari Mogra, Chinese Glory Bower, Honolulu rose, Lady Nugent's rose.
ชื่ออื่น---นางแย้ม ปิ้งชะมด ปิ้งช้อน ปิ้งสมุทร (เหนือ) ส้วนใหญ่ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ;[BRAZIL: H402ortênsia-filipina.];[CHINESE: Chong ban xiu mo li, Zhòng bàn chòu mò lì.];[FRENCH: Clérodendron de Chine.];[GERMAN: Lauben-Losstrauch, Wohlriechender Losbaum.];[HAWAII: Pīkake hohono, Pīkake pilau, Pīkake wauke.];[KOREA: Dang o dong.];[MANIPURI: Kuthap Angouba.];[MAORI (COOK ISLAND):  Pitate mama,Tiare tūpāpaku.];[MARATHI: Hazari Mogra.];[SAMAO: Losa Honolulu, Losa fiti.];[PHILIPPINES: Pelegrina (Bik., Tag.); Higantong (Bis.); Sabuka (Ig.).];[PORTUGUESE: Clerodendron-branco-perfumado.];[SPANISH: Mil flores, Pelegrino.];[SWEDISH: Doftklerodendrum.];[TAMIL: Madras Malli, Mysore mallige.];[THAI: Naang yaem, Ping chamot, Ping son, Ping samut (Northern); San yai (North easthern).];[USA: Fragrant clerodendron.];[VIETNAMESE: Vay trang, Mo trang, Ban trang.].
ชื่อวงศ์---LABIATAE (LAMIACEAE)
EPPO Code---CLZFR (Preferred name: Clerodendrum chinense.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้, อินโดจีน มาเลเซีย เนปาล, อินเดีย, บังคลาเทศ แอฟริกาตะวันออก สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, แคริบเบียน เวเนซุเอลา โบลิเวีย ปารากวัย อาร์เจนตินา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Clerodendru'  มาจากคำภาษากรีก "kleros" ซึ่งหมายถึงโอกาสและ "dendron" หมายถึงต้นไม้' ; ชื่อสปีซี่ส์ 'chinense' = ของจีน
Clerodendrum chinense เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae หรือ Labiatae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Pehr Osbeck (1723 –1805) เป็นนักสำรวจ นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย David John Mabberley (1948-) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2532

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาหิมาลัย อินโดจีน มาเลเซีย (สุมาตรา ชวา สุลาเวสี ฟิลิปปินส์) จีน (รวมถึงไต้หวัน) เปิดตัวในเอเชียตะวันตก อินเดีย บังคลาเทศ แอฟริกาตะวันออก สหรัฐอเมริกา (ฟลอริดา) เม็กซิโก อเมริกากลาง แคริบเบียน เวเนซุเอลา โบลิเวีย ปารากวัย อาร์เจนตินาได้รับการปลูกฝังอย่างกว้างขวางเพื่อใช้เป็นไม้ประดับต้นไม้มีความก้าวร้าวและแพร่กระจายอย่างอิสระโดยใช้หน่อ มันมีแนวโน้มที่จะหลบหนีจากการเพาะปลูกได้อย่างง่ายดายกลายเป็นวัชพืชในภูมิอากาศที่เหมาะสม มันกลายเป็นที่แพร่หลายไปทั่วเขตร้อน พบได้ในทุ่งหญ้าริมถนนริมตลิ่งแม่น้ำและป่าทึบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 750–1,560 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ พุ่มเนื้ออ่อนสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกลำต้นใกล้ผิวดินจำนวนมาก แยกไปปลูกได้ เป็นวิธีขยายพันธุ์วิธีหนึ่ง นอกจากปักชำและตอนกิ่ง กิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม มีขนตามลำต้นและก้านใบ มีช่องอากาศประปราย ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่กว้างปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือรูปหัวใจ มีขนนุ่มสั้นๆปกคลุมทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียวหม่น ท้องใบสีเขียวอ่อน  ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันห่างๆ ขนาดใบกว้าง 5-8 ซม.ยาว 10-15 ซม.ดอก ของนางแย้มสีขาวจะออกเป็นช่อกระจุกแน่นตาม ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมากเรียงอัดกันแน่น กลีบเลี้ยงสีม่วงแดงกลีบดอกซ้อนกัน 3-5 ชั้น แต่ละชั้นมี 5-8 กลีบ รูปไข่กลับปลายกลม อัดซ้อนกันลักษณะคล้ายมะลิซ้อน  เกสรเพศผู้และเพศเมียไม่สมบูรณ์ ไม่ติดผล ดอกทนบานอยู่ได้หลายวัน ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆช่วงกลางวันและหอมแรงขึ้นช่วงพลบค่ำ
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด แสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ต้องการแสงค่อนข้างมาก ควรปลูกกลางแจ้งตัดแต่งทรงพุ่มเสมอเพื่อไม่ให้ใหญ่เกินไปจนรกทึบ หากตัดแต่งอยู่เสมอจะมีอายุยืนอยู่ได้ 2-3 ปี
ศัตรูพืช/โรคพืช---แมลงหวี่ขาว, ไรเดอร์, แมงมุมแดง และเพลี้ยแป้ง/ไม่มีโรคพืชร้ายแรง
ใช้ประโยชน์---พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยา และมักจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
-ใช้เป็นยา ใบใช้ประคบรักษาไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รากใช้แก้ไข้ บำรุงประสาท ใช้รากฝนกับน้ำปูนใส ทารักษาเริมหรืองูสวัด รากต้มกินแก้ฝีภายใน ขับปัสสาวะ ไตพิการ-ว่ากันว่ามีการใช้อย่างประสบความสำเร็จในการรักษาโรคดีซ่าน มันถูกใช้สำหรับรักษาความหลากหลายของความผิดปกติของผู้หญิง, โรคผิวหนัง, โรคปวดเอว, ความดันโลหิตสูงและโรคดีซ่าน ยาต้มใช้ภายนอกเป็นยาฆ่าเชื้อ-ในประเทศจีนรากแห้งปรุงด้วยเนื้อหมูเพื่อรักษาผู้สูงอายุให้แข็งแรงและบรรเทาอาการปวดและตึงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
-ใช้ปลูกประดับ ดอกมีกลิ่นหอมแรง เหมาะกับพื้นที่ที่มีความชื้นในดินสูงที่ปลูกพันธุ์ไม้หอมชนิดอื่นไม่ค่อยได้ผล สามารถปลูกเป็นไม้ดอกหอมในกระถางได้
ได้รับรางวัล---Award of Garden Merit (AGM) จาก Royal Horticultural Society.(RHS)
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2021)
ระยะออกดอก---ตลอดปี แต่ออกดอกมากช่วงฤดูฝน
ขยายพันธุ์---ปักชำ แยกต้นอ่อนที่เกิดใหม่


พุดตาน/Hibiscus mutabilis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Hibiscus mutabilis L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms
---Abelmoschus mutabilis (Linn.) Wall. ex Hassk.(1844)
---Hibiscus sinensis Mill.(1768)
---Ketmia mutabilis (L.) Moench.(1794)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2850227
ชื่อสามัญ---Confederate rose, Cotton Rose, Changeable-rose, Dixie rosemallow, The cotton rosemallow
ชื่ออื่น---ดอกสามสี สามผิว (ภาคเหนือ) ;[ASSAMESE: Sthalpadmo, Gula-joba.];[AYURVEDA: Sthalpadma, Sthala-Padam, Sthal-Kamal.];[BENGALI: Sthal padma, Thul padma.];[CHINESE: Mu fu rong, Fu rong hua, Shan fu rong.];[CREOLE: Shoubak.];[FRENCH: Rose confédérée.];[GERMAN: Filziger Roseneibisch.];[INDONESIAN: Ngali-ngali.];[HINDI: Sthalkamal.];[JAPANESE: Fuyoo, Fuyou.];[KANNADA: Neladavare, Bettadaavare, Chaarate, Chandrakaanthi gida, Kempu sooryakaanthi, Neladaavare, Suryakanti.];[KOREA: Bu yong.];[LAOS: Tone Phout tan.];[MALAYALAM: Chinappratti.];[MALAYSIA: Baru Landak, Botan, Bunga Waktu Besar, Laki Pukul Bini, Mati Laki Mati Bini (Malay); Waru Landak (Bahasa Indonesia); Rose Of Sharon (Eng).];[PHILIPPINES: Amapola, Mapula (Tagalog).];[PORTUGUESE: Amor-inconstante, Auroras, Rosa-de-são-francisco, Rosa-louca.];[RUSSIA: Gibiskus izmenchivyy.];[SANSKRIT: Padmacharini, Sthalapadma.];[SIDDHA/TAMIL:Irratai-vellaichembarattam, Sembarattai.];[SPANISH: Rosa algodon, Malva rosa, Palo de la reina];[SWEDISH: Föränderlig hibiskus.];[TAMIL: Sembarattai, Irattaivellaic cemparattai, Vellai cemparatta.];[TELUGU: Evening Rose.];[THAI: Phuttan (General), Sam phew (Northern).];[URDU: Gul-e-ajaib.].
ชื่อวงศ์---MALVACEAE
EPPO Code---HIBMU (Preferred name: Hibiscus mutabilis.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน อินโดจีน เทือกเขาหิมาลัย อินเดีย บังคลาเทศ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี แคเมอรูน แซมเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา แคริบเบียน อเมริกาใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Hibiscus' มาจาก ชื่อ ภาษากรีก ἰβίσκος ( ibískos ) ;ชื่อสายพันธุ์ 'mutabilis' จากภาษาละติน = เปลี่ยนแปลงได้                                                                                                                                                         Hibiscus mutabilis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2296

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน (ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, หูหนาน, ไต้หวันและยูนนาน) อินโดจีน แนะนำในเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย บังคลาเทศ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี แคเมอรูน แซมเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา แคริบเบียน อเมริกาใต้ (เอกวาดอร์) ที่ระดับความสูง 80-1500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ตอนนี้มันได้รับการปลูกไปทั่วโลกและบางครั้งก็กลายเป็นธรรมชาติที่อื่นเช่นในญี่ปุ่น
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 1-2 (3) เมตร มีขนปกคลุมตามกิ่งก้านและใบ ใบคล้ายกับใบฝ้าย ขอบใบหยัก ขนาดใบกว้าง 12.5 ยาว 15 ซม.ดอกมีรูปร่างคล้ายชบาซ้อนแต่มีขนาดใหญ่กว่าคือ ขนาด 12.5-15 ซม. ออกดอกตามกิ่งข้างหรือกระจุกยอด กลีบรองดอกสีเขียว มีขน ผลแคปซูลเป็นรูปทรงกลมปลายแหลม ขนาดประมาณ 2 ซม.เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไตมีขนยาว พุดตานมีทั้งดอกลาและดอกซ้อนเมื่อเริ่มบานเป็นสีขาวเปลี่ยนเป็นสีชมพูและ ชมพูเข้มภายใน1วัน ถึงเวลาเย็นดอกพุดตานก็จะเริ่มเหี่ยว
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม---เติบโตได้ดีในแสงแดดเต็ม (ได้รับแสงแดดไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) หรือร่มเงาบางส่วน ชอบดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ pH ที่เหมาะสม (ดินที่เป็นกรดอ่อนๆ เป็นกลางและเป็นด่างอ่อน) สามารถปรับตัวได้สูงและจะทำงานได้ดีในดินเกือบทุกชนิดที่มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแฉะมีน้ำขัง ถ้าถูกน้ำท่วมราก จะตายทันที เนื่องจากHibiscus mutabilisมีความไวต่อปุ๋ยมากเกินไป จึงควรใช้สูตรละลายช้าที่สมดุล เช่น ผลิตภัณฑ์ 10-10-10 ใส่ปุ๋ยเดือนละสองครั้งเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หรือข้ามการใส่ปุ๋ยไปเลยก็ได้ แต่พืชจะโตช้ากว่ามาก
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไรเดอร์ แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยชบา ป้องกันโดยการฉีดน้ำเปล่าให้ทั่วต้นไม้สัปดาห์ละครั้งในตอนเช้า /มีแนวโน้มที่จะเกิดโรค Southern Stem Blight และใบจุด ควรหลีกเลี่ยงการเจริญเติบโตของเชื้อราโดยปล่อยให้มีที่ว่างเพียงพอระหว่างต้นพืชเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีและหลีกเลี่ยงการรดน้ำทั่วต้น
ใช้ประโยชน์---ใช้กินในประเทศจีนมีรายงานว่าใช้ใบต้มด้วยน้ำมันและเกลือเป็นอาหารความอดอยาก รากกินได้ แต่มีเส้นใยมาก
-ใช้เป็นยา ในการแพทย์แผนจีนเป็นส่วนประกอบหนึ่งในยาที่ใช้รักษาโรคต่อมน้ำเหลืองวัณโรค ดอกไม้สำหรับรักษาโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก ใบและดอกนำไปใช้กับการบวมและการติดเชื้อที่ผิวหนัง ใบเป็นยาแก้พิษ ลดพิษล้างเสมหะและทำให้เย็น
-ใน Guiana พืชที่ใช้เป็นยาทำให้ผิวนวล
-อื่น ๆ ไฟเบอร์จากเปลือกไม้ใช้ทำเชือก
ความเชื่อ/พิธีกรรม---*ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป (จากข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย(Medthai)*
-ในประเทศลาว พุดตานเป็นต้นไม้ถวายพระพุทธเจ้าส่วนใหญ่จะทำซ้ำเป็นลวดลายประดับในเจดีย์ ภูตานเป็นชื่อของภูฏาน ในภาษาลาว ดอกไม้นี้อาจมีต้นกำเนิดที่นั่น เช่นเดียวกับชาวลาวที่ถือกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย
ได้รับรางวัล---Award of Garden Merit (AGM) จาก Royal Horticultural Society.(RHS)
ระยะออกดอก/ ติดผล---กรกฎาคม-กันยายน/ตุลาคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำราก ปักชำกิ่ง


แย้มปีนัง/Strophanthus gratus


ชื่อวิทยาศาสตร์---Strophanthus gratus (Wall. & Hook.) Baill.(1888)
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms    
---Basionym: Roupellia grata Wall. & Hook.(1849)
---Nerium guineense Brongn. ex Perrot & Vogt.(1912 publ. 1913)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/81895-1#synonyms
ชื่อสามัญ---Petals-Tips Flower, Climbing Oleander, Rose Allamanda, Cream Fruit, Poison Arrowvine, Spider-Tresses.
ชื่ออื่น---บานทน หอมปีนัง (กรุงเทพฯ) แย้มปีนัง (ทั่วไป) ;[CAMEROON: Iné, Onayé.];[CHINESE: Xuan hua yang jiao niu, Xuán huā yáng jiǎo ǎo.];[CZECH: Krutikvět, Krutikvět cenný.];[FRENSH: Strophanthus glabre du Gabon.];[NIGERIA: Isa, Isa-gidi.];[PORTUGUESE: Estrofanto.];[SIERRA LEONE: Gondui, Sawai, Tsa-wa.];[SPANISH: Estrofanto.];[THAI: Ban thon, Hom pi nang (Bangkok); Yaem pi nang (general).].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
EPPO Code---SHTGR (Preferred name: Strophanthus gratus.)
ถิ่นกำเนิด---แอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---ไทย มาเลเซีย เปอร์เซีย และศรีลังกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อของสกุล 'Strophanthus' คือการรวมกันของคำภาษากรีก "στροφος" (strophos) = cord และ "ἄνθος" = ดอกไม้ โดยอ้างอิงถึงส่วนปลายของกลีบดอกบิดเป็นเกลียว ; ชื่อของสายพันธุ์ 'gratus' คือคำคุณศัพท์ภาษาละติน "gratus, a, um" = ชื่นชมยินดีพร้อมการอ้างอิงที่ชัดเจน
Strophanthus gratus เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย [Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก และ Sir William Jackson Hooker (1785-1865) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของ Royal Botanic Gardens (Kew Gardens).] และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Henri Ernest Baillon (1827-1895) นักพฤกษศาสตร์และแพทย์ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2431


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของแอฟริกาตะวันออก (แคเมอรูน, สาธารณรัฐอัฟริกากลาง, คองโก, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, อิเควทอเรียลกินี, กาบอง) และในแอฟริกาตะวันตกเขตร้อน: โกตดิวัวร์, กานา, กินี, บิสเซา, ไลบีเรีย, ไนจีเรีย, เซเนกัล, เซียร์ราลีโอน ถูกนำเข้าสู่เขตร้อนของโลกที่เหลือเป็นพืชประดับและสมุนไพร ปัจจุบันมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลาง และออสเตรเลีย
** การพูดคุยส่วนตัว เห็นชื่อไทยคงจะทำให้ไขว้เขว เข้าใจได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ของเกาะปีนัง แต่ความเป็นจริงเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา และแพร่พันธุ์อยู่เฉพาะท้องที่เพียงบางแห่งเท่านั้นเช่นที่เทือกเขาคีรีมัน จาโร, ภูเขาตูมโม่และภูเขาติเบสตี้ เพียงเท่านั้น ไม่เห็นเกี่ยวกับปีนังตรงไหน
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร เป็นไม้ต้นกึ่งเลื้อยแบบชมนาด หากตัดแต่งเป็นพุ่มจะได้ทรงพุ่มกลมทึบ มีน้ำยางสีขาวทุกส่วน ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่จนถึงรูปรี ยาว 5-15 ซม. และกว้าง 2-8 ซม.แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบยาว 0.5-1 ซม.ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อย 3-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-1.2 ซม.มีกลีบเลี้ยงรูปไข่กลับ 5 กลีบ ยาว 0.8-1.8 ซม.สีน้ำตาลแดง ดอกรูปแตรโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขอบกลีบเป็นรอยจีบและหยักเว้า ดอกบานมีขนาด 4-5 ซม.ผลแห้งเป็นฝักคู่ติดกัน ลักษณะของผลเป็นรูปเรียวยาว มีความยาวประมาณ 40-45 ซม.เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็นแนวเดียว ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก แต่ละเมล็ดจะมีขนกระจุกขาวมีความยาวสูงสุด 2 ซม.ติดอยู่ตรงส่วนปลายเมล็ดด้านหนึ่ง

       

ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ปลูกได้ในเขตภูมิอากาศแบบเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนที่มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 10 °C ชอบตำแหน่งที่มีร่มเงาบางส่วนและดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยฮิวมัส และมีการระบายน้ำดี สภาพดินเป็นกรดเล็กน้อยไปจนถึงเป็นด่างเล็กน้อย รดน้ำปกติในฤดูร้อน เว้นระยะห่างมากขึ้นในฤดูหนาว
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา เมล็ดมีสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจชื่อว่า ouabainในบางประเทศในยุโรปจะนำไปทำเป็นยาฉีดรักษาโรคหัวใจ ตำรายาพื้นบ้านจะใช้เมล็ดเป็นยารักษาโรคหนองใน หัวมีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียด ภูมิแพ้ ลดความดันโลหิตสูง
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกบานอยู่หลายวัน ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆตลอดวัน ดอกสีม่วงเข้มตอนเป็นดอกตูม และตอนเป็นดอกบานจะเป็นสีม่วงอ่อนสวย ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและที่ร่มรำไร
-อื่น ๆ ชาวพื้นเมืองในแอฟริกาจะใช้หัวลูกศรจุ่มยางพิษของต้นแย้มปีนังแล้วนำไปใช้ยิงสัตว์หรือคน
รู้จักอันตราย---ทุกส่วนของพืชมีความเป็นพิษสูง เนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ต่อหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ouabain มีอยู่ในทุกส่วนของพืช แต่ส่วนใหญ่อยู่ในเมล็ดพืช ซึ่งเคยใช้ทำพิษลูกศร เนื่องจากมีผลทำให้เสียชีวิตได้รวดเร็วเป็นพิเศษ โดยภาวะหัวใจล้มเหลว-เมล็ดมีความเป็นพิษสูง (ต้องนำมาสกัดก่อนนำไปใช้) ห้ามนำมารับประทาน หากได้รับพิษจะมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็วและแรง ต้องรีบทำให้อาเจียน แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลในทันที
ระยะออกดอก---เป็นระยะตลอดปี แต่ที่ออกดอกมากตอนใกล้หน้าหนาว
ขยายพันธุ์---ด้วยวิธีปักชำ หรือตอนกิ่ง  


กุหลาบเมาะลำเลิง/Pereskia grandiflora

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Pereskia grandiflora Haw.(1819)
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms
---Rhodocactus grandifolius (Haw.) F.M.Knuth. (1935)  
---Cactus grandifolius Link.(1822)
---More.See all The Plant List http://www.plantlist.org/tpl1.1/record/kew-2414637
ชื่อสามัญ ---Pereskia, Rose Cactus, Pray-For-Us
ชื่ออื่น ---กุหลาบเมาะลำเลิง, กุหลาบเทียม, กุหลาบแก้ว ชมพูแก้ว ;[CHINESE: Yè xiān rén zhǎng, Mù qílín.];[ITALIAN: Cactus foglia, Cacuts rosa.];[JAPANESE: Oobakirin.];[KOREA: Namus-ipseon-injangsog.];[PORTUGUESE:  Entrada-do-baile, Ora-pro-nobis, Groselheira-das-antilhas, Groselha-dos-barbado, Groselha-da-américa, Rosa-madeira, Sem-vergonha.];[RUSSIA: Pereskiya, Peyreskiya.];[SPANISH: Guamacho morado, Quiabento, Ora pro nobis, Sabonete, Rosa-madeira.];[SWEDISH: Skär trädkaktus, Trädkaktussläktet.];[UKRAIN: Piejrieskija.];[THAI: Kuh̄lāb mor lameng, Kuh̄lāb kaew, Kuh̄lāb tieam (general).].
ชื่อวงศ์ ---CACTACEAE
EPPO Code---PKISS (Preferred name: Pereskia sp.)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้: บราซิล
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล "Pereskia" เป็นเกียรติแก่ Nicholas Claude Fabre de Peiresc (1580-1637) นักธรรมชาติวิทยาและนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสโดยที่เขายังตั้งชื่ออนุวงศ์ Pereskioideae ; ชื่อสายพันธุ์ "grandifolia" ฉายาละติน สำหรับ "grandis" = "large" และ "folius" = "leaf" หมายถึงใบไม้ขนาดใหญ่
Pereskia grandiflora เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระบองเพชร (Cactaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Adrian Hardy Haworth (1767–1833) นักกีฏวิทยา นักพฤกษศาสตร์ และนักมะเร็งวิทยา ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2362

 

** การพูดคุยส่วนตัว ชื่อเหมือนมาจากเมืองมอญแต่จริงแล้วไม่ได้เกี่ยวกันเลย กุหลาบเมาะลำเลิงของจริงก็คือกุหลาบมอญ ที่ชาวมอญนำพาเข้าเมืองไทยมาจากเมืองมะละแหม่งฝรั่งเรียก Moulmein หรือที่ชาวมอญเขาเรียกเมาะลำเลิง ซึ่งปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสหภาพพม่า กุหลาบเมาะลำเลิงเป็นพืชในวงศ์กระบองเพชรที่แปลกสามารถออกใบได้อย่างใบไม้ธรรมดา
ที่อยู่อาศัย พืชพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลและแพร่หลายไปทั่วเขตร้อนของทวีปอเมริกา พบในป่าแห้งและสะวันนาที่ระดับความสูง 60 - 150 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ต้นขนาดเล็กอาจสูงได้ถึง 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม.ลำต้นสีเทาอมน้ำตาล มีหนามแข็งสีน้ำตาลแดงตามลำต้น 1 ถึง 8 อันยาวถึง 4 ซม.แหลมมาก เรียงเป็นกระจุกหรือแผ่ออกไป โคนต้นมีเนื้อไม้ กิ่งก้านอวบน้ำ ใบหนาแข็งรูปใบทรงป้อมก้านใบสั้นติดกิ่งออกใบเวียนกันรอบต้น ขนาดใบยาว 10-20 ซม.ดอกออกเป็นช่อหนาแน่นตามปลายกิ่งดอกสีชมพู โดยปกติจะมี 10-15 ดอก แต่บางครั้งก็มี 30 หรือมากกว่า ดอกไม้มีลักษณะที่เด่นชัดและมีลักษณะคล้ายกุหลาบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 - 4 ซม. ผลรูปสามเหลี่ยมสีแดง เขียวถึงสีเหลือง สะดือแคบและจมขนาดยาว 4-10 ซม. เมล็ดแก่สีดำมีความยาว 6 มม.และหนา 5 มม.บีบอัดด้านข้าง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งดวงอาทิตย์เต็มหรือร่มเงาบางส่วน ดินชื้นสม่ำเสมอ มีการระบายน้ำดี ค่า pH ในช่วง 6 - 7.5 สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิต่ำ ถึง -3°C.
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาแมลงหรือโรคร้ายแรง มีแนวโน้มที่จะเกิดเพลี้ยแป้ง
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน บางครั้งใบไม้ที่กินได้จะถูกเก็บมาจากป่าปรุงและกินเป็นสลัดผักสด ผลหลายเมล็ดอาจติดที่ก้านดอกเดียว มันมีกลิ่นที่ดีและถือว่ากินได้เมื่อสุกเต็มที่เท่านั้น (มิฉะนั้นจะฝาดมาก)
-ใช้เป็นยา (ในอินเดีย สปีชีส์นี้ใช้ลดอาการบวม)
-ใช้ปลูกประดับ ใช้เป็นต้นไม้ป้องกันความเสี่ยง  สวน Xeriscape และปลูกเป็นไม้ประดับในสวนทั่วไป
-อื่น ๆในชนบทของบราซิล ใบ ลำต้น และผล ใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2017)
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ


กุหลาบพุกาม/Pereskia bleo


ชื่อวิทยาศาสตร์---Pereskia bleo (Kunth) DC.(1828)
ชื่อพ้อง ---Has 6 Synonyms
---Basionym: Cactus bleo Kunth.(1823)
---Rhodocactus bleo (Kunth) F.M.Knuth.(1935)
---More.See all The Plant List http://www.plantlist.org/tpl1.1/record/kew-2417642d
ชื่อสามัญ---Rose cactus, Leaf cactus, Wax rose, Bleo pereskia, Rose-coloured Pereskia, Perescia, Seven Star Needle.
ชื่ออื่น---กุหลาบพุกาม, กุหลาบเทียม (ทั่วไป);[BENGALI: Golap gactus phul.];[CHINESE: Yīng qílín, Cak Sing Cam.];[FRENCH: Péreskia bleo.];[JAPANESE: Reuenberugeria bureo.];[MALAYSIA: Jarum Tujuh Bilah.];[NICARAGUA: Auguja de arra.];[PANAMA: Naju de Culebra.];[SPANISH: Bleo, Bleo de chupa, Clarol, Chupa, Chupa melon, Najii, Naju de culebra, Naju de esoubas, Naju de espinas, Pipchuelo.];[THAI: Kuhlab phu kam (general).];[VIETNAM: Diệp long.].
ชื่อวงศ์---CACTACEAE
EPPO Code---PKISS (Preferred name: Pereskia sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---บราซิล เม็กซิโก อเมริกากลาง-โคลัมเบีย ปานามา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล "Pereskia" เป็นเกียรติแก่ Nicholas Claude Fabre de Peiresc (1580-1637) นักธรรมชาติวิทยาและนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสโดยที่เขายังตั้งชื่ออนุวงศ์ Pereskioideae ; ชื่อสายพันธุ์ "bleo" หมายถึง "ยาปฏิชีวนะ กลุ่มหนึ่งร่วมกับยาอื่นๆเพื่อรักษามะเร็งบางชนิด"
Pereskia bleo เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระบองเพชร (Cactaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Sigismund Kunth (1788–1850) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Augustin Pyrame de Candolle (1778-1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส ในปี พ.ศ.2371


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดใน โคลัมเบีย ปานามาในอเมริกากลาง เติบโตบนฝั่งทรายของแม่น้ำในป่าดิบชื้นและในป่าทุรกันดาร ที่ระดับความสูง 0-300 เมตร
ลักษณะ พันธุ์นี้จะมีกลีบดอกสีเฉดแดงส้ม ทรงพุ่มสูง 2-4 เมตร มักแตกหน่อเป็นกอ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 15 ซม. เรียบ สีเขียวมะกอกถึงสีเทาน้ำตาล กิ่งอ่อนมีสีแดง หนามแหลม ยาว 5-10 มม.ออกใบดกเนื้อใบบางใบสีเขียวเข้ม ขนาดใบยาวได้ตั้งแต่ 6 -21 ซม. กว้าง 2-7 ซม ก้านใบยาว 2-3.5 ซม.ดอกเป็นดอกเดี่ยวกลีบซ้อนกัน 2 ชั้น กลีบดอก 12-15 กลีบ ขนาดดอกบานเต็มที่กว้าง 4-6 ซม. ผลมีเนื้อตัดปลาย ยาว 4-6 ซม.สีเหลืองเมื่อสุก เมล็ดยาว 6 มม.สีดำมันเงา
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดเต็มที่หรือร่มเงาบางส่วน ใช้ดินที่ชื้น แต่มีการระบายน้ำที่ดี pH ในช่วง 6 - 7.5 สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิต่ำ ถึง -3°C
ศัตรูพืช/โรคพืช---มีแนวโน้มที่จะเกิดเพลี้ยแป้ง
ใช้ประโยชน์---ใช้กินบางครั้งใบไม้ที่กินได้จะเก็บมาจากป่าและใช้กินเป็นผัก
-ใช้เป็นยา ในประเทศมาเลเซียใบใช้รักษาโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง เบาหวานและโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคไขข้ออักเสบและการอักเสบ ใช้ยาต้มจากใบในอ่างน้ำอุ่นเพื่อรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ใบสามารถกินดิบเป็นสลัดหรือนำมาเป็นส่วนผสมที่ต้มจากพืชสด เป็นที่เชื่อกันว่าจะมีคุณสมบัติต้านมะเร็งและยังเป็นยาสำหรับบรรเทาอาการปวดกระเพาะอาหารได้ สารสกัดจากเมทานอลิกของ P. bleo ถูกค้นพบเพื่อกระตุ้นการตายของเซลล์ในเซลล์มะเร็งเต้านม
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในสวนซึ่งมีค่าสำหรับดอกไม้และผลไม้ตกแต่ง พืชชนิดนี้ยังอาจใช้เป็นรั้ว **การพูดคุยส่วนตัว สมัยก่อนนิยมปลูกกันมากเพราะดอกสวยและออกดอกดก แต่ตอนหลังคงถอดใจกันเพราะหนามแหลมที่โดนเข้าไปเจ็บจริงๆ แต่ถ้านำไปปลูกบริเวณที่กว้างริมรั้วก็กันคนได้เพราะกว่าจะลอดรั้วฝ่าดงหนาม น้ำตาคงรินหลายหยด**
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2017)
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ


กุหลาบมอญ/Rosa x damascena

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Rosa x damascena Mill.(1768)
ชื่อพ้อง ---This name is unresolved.
ชื่อสามัญ --- Damask rose, Rose of Castile, Bulgarian rose, Turkish rose, Taif rose, Arab rose, Ispahan rose.
ชื่ออื่น---กุหลาบมอญ (ทั่วไป);[CHINESE: Tūjué qiángwēi.];[CZECH: Růže damašská, Růže damascénská.];[FRENCH: Rosier de Damas.];[GERMAN: Damaszener-Rose, Portland-Rose.];[IRAN: Gole Mohammadi.];[SWEDISH: Damascenerros.];[THAI: Kuhlab mon (general),].
Hybridizer : Bred by Unknown (before 1455).
Hybrid parentage---Seed: Rosa moschata Herrm. × Rosa gallica L.
Pollen: Rosa fedtschenkoana Regel
Registered or introduced---เปิดตัวในออสเตรเลียโดยTasmania Botanical Gardensในปี 1859 ในชื่อ 'Rosa damascena'
ชื่อวงศ์---ROSACEAE
EPPO Code---ROSDM (Preferred name: Rosa x damascena.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อของสายพันธุ์ 'damascena' หมายถึง เมืองดามัสกัสในซีเรียที่รู้จักกันในชื่อเหล็ก (เหล็กสีแดงเข้ม), ผ้า (สีดามาส) และดอกกุหลาบ
Rosa x damascena เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กุหลาบ (Rosaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Philip Miller (1691-1771) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายสก็อตแลนด์ ในปีพ.ศ.2311
Rosa x damascena เป็นสายพันธุ์ลูกผสมในสมัยโบราณในตะวันออกกลาง (ส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงในเอเชียไมเนอร์หรือเปอร์เซีย) หรือแม้กระทั่งบางแห่งในเอเชียกลางที่รู้จักกันในกรีซโบราณและโรม มันอาจถูกนำไปยังยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก ครั้งแรกในศตวรรษที่ 12 ในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 2 และ ครั้งที่สองในศตวรรษที่ 16 ในช่วงสงครามกับพวกเติร์ก
ความหลากหลาย (Varieties)
---Summer Damasks (R. × damascena nothovar. damascena)
---Autumn Damasks (R. × damascena nothovar. semperflorens (Duhamel)
Rosa × damascenaเป็นลูกผสมที่ได้มาจากRosa gallica และRosa moschata ส่วนลูกผสม (Hybrid) มี 2 วาไรตี้คือ Summer Damasks (R. × damascena nothovar. damascena)ซึ่งจะมีอายุสั้นอยู่แค่ช่วงฤดูร้อนและ Autumn Damasks ( R.×damascena nothovar. semperflorens (Duhamel) Rowley) จะมีอายุยาวนานกว่าซึ่งจะอยู่ได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูหนาว


ที่อยู่อาศัย ไม่เป็นที่รู้จักในสถานการณ์จริง
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มผลัดใบ สูงได้ถึง 2.2 เมตร ลำต้นมีหนามแหลมและขนแปรงแข็ง ใบประกอบแบบขนนก 5-7ใบ ดอกขนาดใหญ่ ฉูดฉาดและมีสีสัน มีสีชมพู ,สีแดงเข้ม ผลกลมหรือรูปไข่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 มม
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ความชื้นสม่ำเสมอ ค่า pH ที่เป็นกลาง ระบายน้ำได้ดี สามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง -30°c
ใช้ประโยชน์---** การพูดคุยส่วนตัว นี่คือกุหลาบเมาะลำเลิงตัวจริง แต่ชื่อสามัญกับชื่อวิทยาศาสตร์มันกลับบอกว่าเป็นกุหลาบแขกมากกว่ากุหลาบมอญ ซึ่งพันธุ์แท้ดั้งเดิมมีด้วยกันสองสีเท่านั้นคือสีแดงกับสีชมพูมีกลิ่นหอมแรงตลอดวัน ชาวอินเดียโบราณได้สกัดเอาไปทำน้ำหอมกลิ่นกุหลาบได้ก่อนใครๆในโลก หัวน้ำหอมชนิดนี้สกัดมาจากกุหลาบมอญมีชื่อทางการค้าว่า Otto of Rose Bulgarian สำหรับอีกชื่อหนึ่งที่เราเคยได้ยินกันก็ คือยี่สุ่น แต่อาจไม่รู้ว่าต้นไหน ที่จริงแล้วยี่สุ่นก็เป็นกุหลาบจำพวกหนึ่งที่เรียกกันว่า กุหลาบมอญ นี่เอง** เป็นพันธุ์ลูกผสมสายพันธุ์จากพันธุ์ที่กว้างขวางของดอกกุหลาบและเป็นหนึ่งในดอกกุหลาบในวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในพืชสวนประดับ เครื่องสำอาง อาหารและยา
-ใช้กิน ดอกกุหลาบสีแดงใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนผสมเครื่องปรุงหรือเครื่องเทศ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องเทศโมร็อกโก " ras el hanout " น้ำกุหลาบและกุหลาบป่นใช้ในอาหารเปอร์เซียอินเดียและตะวันออกกลาง ทั้งดอกไม้หรือกลีบดอกยังใช้ในชาสมุนไพร "zuhurat" การใช้งานที่นิยมมากที่สุดอยู่ในเครื่องปรุงของขนม เช่น ไอศครีม, แยม, Turkish delights, พุดดิ้งข้าว, โยเกิร์ต ฯลฯ เมล็ดเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินอีมันสามารถบดเป็นผงและผสมกับแป้งหรือเพิ่มอาหารอื่น ๆ เป็นอาหารเสริม (หลังจากแน่ใจว่าได้ลบขนออกจากเมล็ด)
-ใช้เป็นยา ใช้ในการแพทย์แผนโบราณ ได้แก่ การรักษาอาการปวดท้องและหน้าอกเสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจ การรักษาอาการเลือดออกประจำเดือนและปัญหาการย่อยอาหาร การลดการอักเสบโดยเฉพาะคอ- ชนเผ่าอินเดียนในอเมริกาเหนือใช้ยาต้มจากรากเป็นยาแก้ไอเพื่อบรรเทาอาการไอของเด็ก น้ำมันกุหลาบรักษาภาวะซึมเศร้าความเศร้าโศกความเครียด ประสาทลดความตึงเครียด ช่วยในการรักษาบาดแผลและรักษาสุขภาพผิวของผู้หญิง การบำบัดด้วยไอของน้ำมันดอกกุหลาบมีประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้, ปวดหัว, และไมเกรน  น้ำมันหอมระเหยยังใช้ในการบำบัดด้วยกลิ่นหอมและยารักษาโรคเพื่อบรรเทาผลกระทบต้านเชื้อแบคทีเรี ต้านการอักเสบและยากันชัก
-ใช้ปลูกประดับ เป็นไม้ประดับในสวนสาธารณะสวนทั่วไปและตามบ้านเรือนที่พักอาศัย เป็นไม้ประดับที่มีชื่อเสียงและได้รับการขนานนามว่าเป็นราชาแห่งดอกไม้
-อื่น ๆ ในเวลาปัจจุบันพืชชนิดนี้ได้รับการปลูกฝังในอิหร่าน (โดยเฉพาะใน Kashan) สำหรับการเตรียมน้ำกุหลาบและน้ำมันหอมระเหย เนื่องจากปริมาณน้ำมันต่ำในR. damascenaและการขาดสารทดแทนตามธรรมชาติและสังเคราะห์ น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบของพืชนี้จึงเป็นหนึ่งในน้ำมันที่แพงที่สุดในตลาดโลก
-เป็นเวลาหลายศตวรรษกุหลาบสีแดงเข้มที่เป็นสัญลักษณ์ของความงามและความรักและความบริสุทธิ์และยังใช้ในการทำสมาธิและสวดมนต์ กลิ่นหอมของดอกกุหลาบได้รับการบันทึกและเก็บรักษาไว้ในรูปแบบของน้ำกุหลาบโดยวิธีการที่สามารถสืบย้อนไปถึงสมัยโบราณในตะวันออกกลางและต่อมาถึงอนุทวีปอินเดีย
รู้จักอันตราย---มีขนรอบ ๆ เมล็ดอยู่ใต้เนื้อของผลไม้ ขนเหล่านี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อปากและทางเดินอาหารหากกลืนกิน
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด (ใช้เวลาสองปีในการงอก) ปักชำ ตอนกิ่ง


เข็มหลวง/Ixora spectabilis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Ixora spectabilis Wall. ex G.Don.(1834)
ชื่อพ้อง ---No synonyms are recorded for this name.
See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-104004
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---เข็มหลวง (ทั่วไป) ;[PORTUGUESE: Buque-de-noiva, Ixora-branca.];[THAI: Khem Hlueng (general),].
ชื่อวงศ์ ---RUBIACEAE
EPPO Code---IXRSS (Preferred name: Ixora sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา เมียนมาร์ ไทย
Ixora spectabilis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Ixoraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก จากอดีต George Don (1798–1856) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2377

  

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดใน อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา เมียนมาร์ ไทย ที่ระดับความสูง 0-1,100 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ พุ่มเตี้ย ขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นกลมเส้นรอบวงลำต้นประมาณ 4-10 ซมเปลือกผิวสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับกันเป็นคู่รอบกิ่งและต้น ใบแคบยาวรูปรีแกมขอบขนาน สีเขียวเป็นมัน เนื้อใบแข็งและเปราะ โคนใบมน ปลายใบแหลม ด้านล่างของใบจะมีสีอ่อนกว่าด้านบนเล็กน้อย ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ๆ ที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอดยาวโค้ง กลีบดอกเล็กแหลมจำนวน 4 กลีบ ดอกจะมีสีชมพูเมื่อยังตูม เมื่อเริ่มแย้มบานเปลี่ยนเป็นขาว และกลายเป็นสีเหลืองและม้วนออกเมื่อดอกบานแล้ว มีกลิ่นหอมอ่อนๆคล้ายกลิ่นลั่นทม
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดเต็มที่ ตินร่วนอุดมสมบูรณ์ ดินชื้นสม่ำเสมอมีการระบายน้ำดี
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ดอกเข็มทั้งดอกที่มีรสเปรี้ยว หวาน มีงานวิจัยออกมาว่ามีสารต้านอนุมุลอิสระอยู่อย่างมากมาย จึงมักนำไปประกอบอาหารในรูปแบบต่างๆเช่นไอศครีม น้ำหวาน หรือใช้ปรุงอาหารประเภทยำก็ได้
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกลงแปลงหรือเป็นไม้กระถาง ต้องมีการควบคุมทรงพุ่มโดยการตัดแต่งบ้างจึงจะได้ทรงพุ่มตามต้องการและออกดอกดก
ระยะออกดอก --- ตลอดปี แต่จะดกมากเป็นพิเศษช่วง  เดือน พฤษภาคม-เดือนสิงหาคม
ขยายพันธฺุ์---ตอนกิ่ง เสียบยอด


เข็มอุณากรรณ/Kopsia fruticosa

ชื่อวิทยาศาสตร์---Kopsia fruticosa (Roxb.) A.DC.(1844)
ชื่อพ้อง ---Has 7 Synonyms.   
---Basionym: Cerbera fruticosa Roxb.(1819)
---Kopsia vinciflora Blume.(1826)
---Tabernaemontana rosea Ten.(1845)
---More.See all The Plant List http://www.plantlist.org/tpl/record/kew-106327
ชื่อสามัญ---Pink Kopsia, Shrub Vinca, Kopsia Merah, Pink Gardenia, Chabai Hutan, Penang sloe.
ชื่ออื่น---พุดชมพู; ตึ่งตาใส (ภาคเหนือ); เข็มอุณากรรณ, อุณากรรณ ;[BENGALI: Dakur, Dabur.];[CHINESE: Hóng huā ruǐ mù.];[INDONESIA: Chabai Hutan.];[JAPANESE: Momoirocobsia.];[MALAYSIA: Cabai Hutan, Kopsia Merah, Bunga Kopsia (Malay); Tudung Periuk Putih (Kelantan).];[PORTUGUESE: Vinca-arbustiva, Copsia.];[THAI: Put chompoo, Tueng ta sai, Khem u-na-kan.];[VIETNAM: Trang tây.].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
EPPO Code---KSIFR (Preferred name: Kopsia fruticosa.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- พม่า อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย จีนตอนใต้ ศรีลังกาและฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Kopsia' อุทิศให้กับนักการเมืองและนักพฤกษศาสตร์ Jan Kops (1765-1849)นักปฐพีวิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ; ชื่อสายพันธุ์ " fruticosa " มาจากคำภาษาละติน "fruticosus"= พุ่ม อ้างอิงถึงนิสัยการเจริญเติบโตของสปีชีส์
Kopsia fruticosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Alphonse Louis Pierre Pyrame de Candolle (1806-1893) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส ในปี พ.ศ.2387

 

ที่อยู่อาศัย สายพันธุ์มาจากอินโดจีนสันนิษฐานว่าประเทศต้นกำเนิดคือพม่า มีการปลูกในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย จีนตอนใต้ ศรีลังกาและฟิลิปปินส์ ในสภาพธรรมชาติพบในป่าดิบหรือป่าที่กำลังคืนสภาพบนภูเขาหินปูนที่ระดับความสูงถึง 500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูงแต่บางครั้งก็เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก สูงได้ถึง 3 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปรีแกมรูปขอบขนานกว้าง 3.3-8 ซม.ยาว 7.5-18 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนรูปลิ่ม ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. ดอกสีชมพูหรือสีขาวออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ยาว7-12 ซม.มีขนสั้น ดอกบานเต็มที่ขนาด 5.5-6 ซม.กลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นปลายแยก เป็น 5 แฉกกลีบดอกเป็นหลอดยาว 4 ซม.ปลายแผ่เป็น 5 กลีบรูปไข่กลับปลายมน เกสรผู้ 5 อันติดอยู่ใกล้ปลายหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยงหรือมีขน ผลมีเนื้อ (drupes) สีดำแดง ยาว 2.5 ซม.กว้าง 2 ซม.สีแดงหม่น ทรงรีและมีขนนุ่มปกคลุม ปลายผลเป็นจงอยเด่น มีเมล็ด 1 เมล็ด ยาว1.5-1.7 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัดดีที่สุด แต่ก็เติบโตได้ในแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบพื้นที่น้ำขังแฉะ หลีกเลี่ยงการตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ เพราะจะยับยั้งทั้งการออกดอกและการเจริญเติบโต
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีโรคและศัตรูพืชร้ายแรง
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับดอกสวยงามหรือปลูกเพื่อให้ร่มเงา
-ใช้เป็นยาในการรักษาแบบดั้งเดิม ใบตำรักษาฝีและหิด
ระยะเวลาออกดอก/ติดผล---ตลอดปี ออกดอกมากช่วงเดือน พฤษภาคม-กันยายน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง


เข็มพวงขาว/Ixora finlaysoniana


ชื่อวิทยาศาสตร์---Ixora finlaysoniana Wall. ex G.Don.(1834)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/753956-1#synonyms    
---Ixora denticulata Pierre ex Pit. (1924), pro syn.
---Ixora findlayana B.S.Williams (1883)
ชื่อสามัญ---Siamese White Ixora, Bride's bouquet, Fragrant ixora, White ixora.
ชื่ออื่น ---เข็มพวงขาว, เข็มขาว, เข็มหอม (ทั่วไป) ;[CHINESE: Bao ye long chuan hua.];[JAPANESE: Iku sora finreison.];[PHILIPPINES: Santan-puti (Tag.).];[PORTUGUESE: Ixora branca, Buque de noiva.];[SPANISH: Corona de la reina, Ramo de novia.];[TELUGU: Tella nūruvarahālu.];[THAI: Khem poueng khao, Khem khao, Khen hom (general).].
ชื่อวงศ์ ---RUBIACEAE
EPPO Code---IXRFI (Preferred name: Ixora finlaysoniana.)
ถิ่นกำเนิด--ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Ixora finlaysoniana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก จากอดีต George Don (1798–1856) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2377


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (อัสสัม), ภาคใต้ของจีน ( กวางตุ้ง, ไหหลำ, ยูนนาน) อินโดจีน (ไทย),  ฟิลิปปินส์ และปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อนทั่วโลก เติบโตในป่าโปร่งที่ระดับความสูงต่ำ 100-1,100 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นจะเกลี้ยง แตกกิ่งใกล้ผิวดินเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่รูปรี ขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม.ยาว6-10ซม. มีหูใบระหว่างก้านใบ ผิวใบค่อนข้างหนาสีเขียวสด โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ เข็มพวงขาว เป็นดอกไม้ดอกช่อออกเป็นช่อกลมแน่นที่ปลายยอด ขนาด 10-15 ซม.ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยขนาด 1 ซม. และเป็นต้นเข็มพันธุ์เดียวที่ดอกมีกลิ่นหอมจัด รากก็มีกลิ่นหอมและรสหวาน  ผลเข็มเป็นเม็ดกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว ห่ามเป็นสีแดงและแก่เป็นสีดำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มม. เมล็ดข้างในแข็งใช้เพาะพันธุ์ได้ แต่มีโอกาสติดเมล็ดได้น้อย
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดดจัด
ใช้ประโยชน์--- ใช้ปลูกประดับ ปลูกในสวนทั่วไปและในสวนสาธารณะ ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยให้แตกใบอ่อนและยอดใหญ่ออกช่อดอกที่ปลายยอดอย่างสวยงาม
-ใช้เป็นยา แพทย์แผนโบราณใช้รากเข็มพวงขาว ต้มกินแก้โรคตา และกินเป็นยาเจริญอาหาร แก้ริดสีดวงจมูก แก้เสมหะ แก้กำเดา บำรุงธาตุไฟ ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง แยกต้นอ่อน
** การพูดคุยส่วนตัว เห็นรูปแล้วอย่าแปลกใจ อย่าคิดว่าลงรูปผิด ทำไมต้นเข็มมันใหญ่โตได้ขนาดนี้ (รูปซ้าย) ต้นเข็มพวงขาวโดยทั่วไปแล้วจะสูงอยู่ประมาณ 1-3 เมตร (ขวา) แต่ต้นนี้(ซ้ายมือ) สูงประมาณ 4-5 เมตรได้ อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี คุณปู่ของลูกปลูกไว้ ตอนย้ายมาอยู่บางสะพานน้อย**


เข็มบุษบา/Kopsia arborea

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Kopsia arborea Blume.(1823)
ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms    
---Kopsia jasminiflora Pit.(1933)
---Kopsia longiflora    Merr.(1905)
---Kopsia pruniformis Rchb.f. & Zoll. ex Bakh.f.(1950)
---Kopsia officinalis Tsiang & P.T.Li.(1973)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-106320
ชื่อสามัญ---Shrub Vinca, Penang Sloe, White Kopsia, Java prune.
ชื่ออื่น---เข็มบุษบา, หนำเลี๊ยบเทียม, พุดดง,  มะดีควาย; [CHINESE: Bái zhǐ, Ruǐ mù.];[INDONESIA: Purnajiwa.];[PHILIPPINES: Anatau (Tag).];[MALAYSIA: Penang sloe (Malay); Ki-loentoeng, Poeloet-berrit (Sundanese).];[THAI: Khem bussaba, Hnam liab dong, Phud dong, Ma di khway.];[VIETNAM: Cốp lá bắc thon, Trang tây nguyên.].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
EPPO Code---KSIAR (Preferred name: Kopsia arborea.)
ถิ่นกำเนิด----ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---อินเดีย จีนตอนใต้ ไทย เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ถึง ออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Kopsia' อุทิศให้กับนักการเมืองและนักพฤกษศาสตร์ Jan Kops (1765-1849) นักปฐพีวิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ; ชื่อสายพันธุ์ "arborea" คือคำคุณศัพท์ภาษาละติน “arboreus, a, um” = เกี่ยวกับต้นไม้ โดยมีการอ้างอิงที่ชัดเจน Kopsia arborea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2366  

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดจากอินเดีย (อันดามัน) ถึงจีนตอนใต้ (กวางจง กวางสี ไหหลำ ยูนนาน) ,พม่า ,ไทย ,มาเลเซีย ,เวียดนาม ,อินโดนีเซีย (สุมาตรา บอร์เนียว ชวา), ฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย (ควีนส์แลนด์) พบในแหล่งอาศัยที่หลากหลายจากระดับน้ำทะเลถึงระดับความสูง 1,500 เมตร ในประเทศไทย พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในป่าดงดิบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-1,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง 2-6 (14) เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นสูงถึง 10 ซม.เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปใบหอก กว้าง 8-10 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักเป็นคลื่น ก้านใบยาว 0.5-1 ซม.ดอกสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกเชิงซ้อนที่ซอกใบและปลายกิ่งยาว 5-15 ซม.ก้านช่อดอกยาว 1-8 ซม.ใบประดับ1คู่ ออกตรงข้ามรูปแถบยาว แต่ละช่อย่อยมี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลิ่นหอมอ่อนๆ ก้านดอกยาว 0.4 ซม ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-4 ซม.โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบมีขนาดไม่เท่ากัน สีขาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนานปลายกลม บริเวณรอบปากดอกสีแดงแกมชมพู มีขน ผลสดมีเนื้อรูปกระสวย ยาวสูงสุด 4.2 ซม.มักออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ เป็นทรงรีสีน้ำเงินแกมดำ ยาว 1.5-3 ซม. และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. มีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัดหรือร่มเงาเล็กน้อยและเติบโตในดินประเภทต่างๆ แม้ว่าจะเป็นดินที่ไม่ดี แต่มีการระบายน้ำดี แต่จะเติบโตได้ดีที่สุดในดินที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง รักษาความชื้นตลอดเวลา ทนทานต่อไอเค็มในทะเล จึงสามารถนำไปใช้ใกล้ทะเลได้ ทนอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 0 °C ระยะสั้น ๆ
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ใช้ในท้องถิ่น ใบและผล ใช้รักษาอาการเจ็บคอและต่อมทอนซิลอักเสบ
-ใช้ปลูกปรดับ เป็นไม้กลางแจ้งในสวนสาธารณะ และในสวนทั่วไป
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-กันยายน/กรกฏาคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


สาวสันทราย/Clerodendrum quadriloculare

ชื่อวิทยาศาสตร์---Clerodendrum quadriloculare (Blanco) Merr.(1905)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-42982   
---Basionym: Ligustrum quadriloculare Blanco.(1837)
---Clerodendrum blancoanum Fern.-Vill.(1880)
---Clerodendrum navesianum Vidal.(1880)
ชื่อสามัญ--Quezonla, Bronze-leaved clerodendrum, Firecracker, Fire works, Philippine glorybower, Shooting star, Star burst bush, Star burst clerodendrum
ชื่ออื่น---สาวสันทราย, เกษร, จรกา (ภาคเหนือ); ราชินีสันทราย (ภาคกลาง);[CZECH: Blahokeř.];[MARSHALLESE: Risel, Tirooj in belle.];[MICRONESIA: Risiel, Tuhkehn Palau (Pohnpei).];[PALAUA: Kleuang.];[PHILIPPINES: Bagauak, Bagauak- morado, Bagauak-na-pula, Baligtorin, Baliktaran, Salinguak (Tag.); Uak-uak (Bis.).];[PORTUGUESE: Clerodendro-de-folhas-roxa.];[THAI: Sao san sai, Ket sa ra, Chor ra ka (North); Ra shi ni san sai (Central).].
ชื่อวงศ์---LAMIACEAE (LABIATAE)
EPPO Code---CLZQU (Preferred name: Clerodendrum quadriloculare.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, นิวกินี
Clerodendrum quadriloculare เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae หรือ Labiatae) ก่อนหน้านี้รวมอยู่ในวงศ์ Verbenaceae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francisco Manuel Blanco (1778–1845) นักพฤกษศาสตร์ชาวสเปน  และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Elmer Drew Merrill  (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2448


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในฟิลิปปินส์และปาปัวนิวกินี แนะนำในสหรัฐอเมริกา (ฟลอริดา) ปัจจุบันปลูกในเขตร้อนทั่วโลกในฐานะต้นไม้ประดับในสวนสาธารณะและสวน มันแพร่กระจายอย่างไม่สามารถควบคุมได้ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก (อเมริกันและซามัวตะวันตก ไมโครนีเซีย หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เฟรนช์โปลินีเซีย และปาเลา) ฮาวาย สิงคโปร์ และเปอร์โตริโก ซึ่งบางครั้งมันถูกพิจารณาว่าเป็นสายพันธุ์ที่รุกราน
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง 2-5 เมตร ลำต้นอ่อนมีขนละเอียด ใบรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ด้านบนใบสีเขียว ด้านล่างใบสีม่วงเข้ม เห็นเส้นใบหลักและรองชัดเจน ดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่มสีขาวอมม่วงจัดกลุ่มในช่อดอกที่ยอดของลำต้น ดอกมีลักษณะเป็นท่อยาวสีชมพู 7 ซม. มีหลอดยาวประมาณ 5 ซม.ปลายกลีบรูปรีแกมขาว ผลแคปซูลรูปไข่ยาว 1-1.5 ซม.สีม่วง กลีบเลี้ยงถาวร สีแดง ยาว 1-1.5 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ชื้นในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ต้องการตำแหน่งร่มเงาบางส่วนและในที่ร่มลึก เติบโตได้ในที่ที่มีแสงแดดเต็มที่แต่ไม่ควรปลูกในที่มีแดดจัดตลอดวันจะทำให้ใบไหม้ ดินมีความชื้นสูงสม่ำเสมอและมีการระบายน้ำที่ดี เป็นไม้พุ่มยืนต้นที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ ปลูกกันทั่วไปเป็นไม้ประดับสำหรับใบไม้และดอกไม้ที่สวยงาม
-ใช้เป็นยา ราก ใช้เป็นยาขับลม เปลือก แก้บิด แก้ท้องร่วง ดอก แก้ไข้  
-ในฟิลิปปินส์ใช้ใบทาสำหรับการรักษาบาดแผลและแผลพุพอง ยาต้มใบใช้ภายนอกสำหรับอาการท้องอืด
สำคัญ---เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่งก็จะออกดอกให้ดูเร็วหน่อย แยกต้นอ่อน
** การพูดคุยส่วนตัว ตอนแรกๆรู้จักไม้ต้นนี้ เรียกกันว่า"เกษรา" ก็เข้าใจเอาเองว่าคงจะมาจาก" เกซอนลา"ซึ่งเป็นชื่อสามัญ ฟังแล้วมันคล้ายๆกัน กับ เกซอนซิตี้เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ทีนี้ต้นไม้ต้นนี้คงชอบอากาศเย็นทางเหนือปลูกแล้วสวยงามมากนิยมปลูกเป็นไม้ ประดับกันทั่ว ชื่อที่ตามมาคือ"สาวสันทราย"ก็เข้าใจอยู่ แต่ตอนนี้กลายเป็น"ราชินีสันทราย"ไปเรียบร้อย  สำหรับชื่อจรกานี่ไม่รู้มายังไงนะ น่าจะเพราะ เวลาไม่ออกดอกนี่ คงขี้เหร่มั๊ง (เดาเอานะ) เพราะต้นนี้เวลาไม่มีดอกนี่ เอาไปปลูกให้ใครโดนหาว่าเอาต้นไม้ไม่สวยไปปลูกให้ เพราะต้นแตกกิ่งเยอะ ไม่ค่อยมีใบ ลำต้นสีเทาๆสีใบด้านบนสีเขียวด้านล่างสีม่วงมองดู ธรรมดาๆ กว่าจะรู้ว่าต้นนี่มันสวยยังไงก็โน่น เดือนธันวา-มกรา นั่นแหละ ถึงยิ้มได้ เพราะออกดอกสวยคลาสสิคเชียว**


นมสวรรค์/Clerodendrum paniculatum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Clerodendrum paniculatum L.(1767)
ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms    
---Cleianthus coccineus Lour. ex B.A.Gomes.(1868)
---Clerodendrum diversifolium Vahl.(1791)
---Volkameria angulata Lour.(1790)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-42921
ชื่อสามัญ---Pagoda Flower, Bagflower, Bleeding heart, Dragon boat flower, Orange Tower Flower, Glorybower.
ชื่ออื่น---สาวสวรรค์ พนมสวรรค์ เข็มฉัตร (นครพนม), ฉัตรฟ้า สาวสวรรค์ (นครราชสีมา), น้ำนมสวรรค์ (ระนอง), พวงพีเหลือง (เลย), หัวลิง (สระบุรี), ปิ้งแดง (ภาคเหนือ), นมหวัน (ภาคใต้), ปรางมาลี (ภาคกลาง) ;[CHINESE: Yuan chi da qing, Bao da lung chuan hua, Ken ding ku lin pan.];[FRENCH: Couronne de mariée, Pagode.];[GERMAN: Rispenblütiger Losstrauch.];[INDIA: Arumasachedi, Hajar mogra, Hanumankireedam, Krishnakireedam.];[MICRONESIA:Tuhkehn sousou (Pohnpei).];[PHILIPPINES: Kasopangil, Kalalauan, Laroan-anito, Tapag-asuwang (Tag.); Aloksok, Asuangai, Balantana, Kolokolog, Pakapis (Bis).];[PORTUGUESE: Flor-de-pagode, Pagoda-flor.];[TAMIL: Krishna Kireedam.];[THAI: Sao sawan, Phanom sawan, Khem chat, Chat fa, Prang Mali.];[VIETNAM: Ngọc nữ đỏ.].
ชื่อวงศ์---VERBENACEAE
EPPO Code---CLZPA (Preferred name: Clerodendrum paniculatum.)
ถิ่นกำเนิด--ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์----เอเชียตะวันออกเฉียงใต้; จีนตอนใต้ ไต้หวัน อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา บอร์เนียว สุลาเวสี สุมาตรา ฟิลิปปินส์ ฟิจิ, อเมริกากลาง  
Clerodendrum paniculatum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ผกากรอง (Verbenaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2310
มี2ชนิดย่อยที่ยอมรับ (Subspecies) ;-
---Clerodendrum paniculatum subsp. albiflorum L.
---Clerodendrum paniculatum subsp. paniculatum.

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนและ Papuasia (ภาคใต้ของจีนรวมถึงไต้หวัน ,อินโดจีน ,บังคลาเทศ ,ศรีลังกา ,อันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ ,บอร์เนียว ,สุลาเวสี ,สุมาตรา ,ฟิลิปปินส์, บิสมาร์ค) พบกระจายที่ระดับความสูงระหว่าง 100 - 500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร เป็นพืชใบเดี่ยวออกใบเป็นคู่ๆสลับทิศทางกันตามข้อต้นใบเป็น5แฉกสากระคายมือ ปลายแฉกแหลม ใบเป็นมันสีเขียวเข้มช่อดอกออกที่ปลายยอดและปลายกิ่งยาวประมาณ 30ซมหรือมากกว่านั้ถ้าต้นสมบูรณ์เต็มที่มีดอกดกและดอกออกตลอดปี.มีดอก2สีคือ ชนิด(variety)สีเหลืองหรือว่าขาวก็ได้เพราะมันออกนวลๆและสีแดงสดเป็นรูปทรง แบบช่อฉัตร เมื่อดอกแก่จะติดเมล็ดเป็นช่อฉัตรเหมือนรูปทรงช่อดอกเดิมกลีบทั้งห้ากลีบจะ เติบโตทำหน้าที่คล้ายกาบรองดอกเพราะกลีบดอกที่ติดเมล็ดจะโตขึ้นและกลายเป็น สีแดงเข้มพร้อมกับบานแอ่นลงล่างเข้าหาก้านดอกทั้ง5กลีบ ส่วนเมล็ดที่มีลักษณะกลมเหมือนสาคูเม็ดใหญ่ จะวางเด่นอยู่บนแท่นเหนือกลีบสีแดงเข้ม เมื่ออ่อนเมล็ดจะเป็นสีเขียวพอห่ามจะเป็นสีม่วงและเป็นสีดำสนิทเมื่อแก่เต็ม ที่จึงทำให้ดูคล้ายดอกไม้ช่อหนึ่งที่มีกลีบสีแดงเข้มและเกสร (ที่จริงเป็น เมล็ด) สีดำ สวยงามมาก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด แสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ปลูกได้ในสภาพดินเกือบทุกชนิด
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ใบและยอดอ่อนปรุงและกินเป็นอาหารได้
-ใช้เป็นยา ในอายุรเวทพืชทำให้สงบ pitta vitiated, การอักเสบ, แผล, บาดแผลและโรคผิวหนัง -ราก, ดอก, ต้น ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยแก้ฝีภายใน แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รากใช้ฝนกับน้ำดื่มแก้ไข้ ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย แก้ไข้เหนือ แก้วัณโรค -รากช่วยขับเสมหะ แก้โลหิตในท้อง ใช้เป็นยาถ่าย-รากใช้ฝนกับน้ำดื่ม แก้อาการปวดท้อง รากใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี-ใบนมสวรรค์นำมาตำแล้วพอกแก้ไข่ดันบวม พอกแก้ลูกหนูใต้รักแร้บวม ใบสดนำมาตำเป็นยารักษาอาการปวดข้อและปวดประสาท-ดอก ช่วยแก้อาการตกเลือด แก้โลหิตในท้อง
-อื่น ๆ ผลให้สีม่วงแดงสามารถนำมาเป็นสีย้อมผ้าได้  
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตัดกิ่งปักชำหรือแยกจากต้นที่ขึ้นจากไหลไปปลูกจะได้ผลเร็วกว่า


หมวกจีน/Holmskioldia sanguinea.

ชื่อวิทยาศาสตร์---Holmskioldia sanguinea Retz.(1791)
ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms    
---Hastingia coccinea Sm.(1806)
---Hastingia scandens Roxb.(1832)
---Holmskioldia rubra Pers.(1806)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-99665
ชื่อสามัญ---Cup & Saucer Plant, Cup-and-saucer-plant, Mandarin's-hat, Chinese-hatplant, Parasol Flower, Long-i-arong.
ชื่ออื่น---เรด้าร์, หมวกเจ๊ก (ทั่วไป) ;[ASSAMESE: Chatra-puspa, Manu-kata-phul, Hurmuli.];[CHINESE: Yángsǎn huā, Dōng hóng, Dōng hónghuā, Bēi pán huā, Màozi huā.];[FRENCH: Chapeau chinois.];[HINDI: Kapni.];[ITALIAN: Cappello cinese.];[PORTUGUESE: Chapeu-chines, Chapeu-chines- amarelo, Chapeu-chines-vermelho, Chapeu-de-mandarin, Holmskioldia-vermelha.];[REUNJON: Coupe ou saucière.];[SPANISH: Bonete chino, Paraguita chino, Platillo, Sombrilla china.];[SWEDISH: Mandarinhatt.];[THAI: Re da, Muak chin, Muak chek (general).].
ชื่อวงศ์ ---LAMIACEAE (LABIATAE)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---เอเซีย : อินเดีย จีน เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ พม่า มาเลเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์, ออสเตรเลีย, หมู่เกาะแปซิฟิก, แอฟริกา อเมริกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Holmskioldia' เพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษศาสตร์และแพทย์ชาวเดนมาร์ก Johan Theodor Holmskjold (1731-1793) ; ชื่อสปีซี่ส์ 'sanguinea' เป็นคำคุณศัพท์ภาษาละติน sanguineus, a, um=สีของเลือด อ้างอิงถึงสีแดงของดอกไม้
สกุล Holmskioldia เป็น monotypic มี1สายพันธุ์คือ Holmskioldia sanguinea Retz.เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae หรือ Labiatae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Anders Jahan Retzius (1742–1821) นักไลเคนวิทยา, แพทย์ชาวสวีเดนและและศาสตราจารย์ด้านพฤกษศาสตร์ที่ Lund University ในปี พ.ศ.2334

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย (จากรัฐอินเดียใต้ของรัฐทมิฬนาฑูไปจนถึงอินเดียตะวันออกมณีปุระ) ในเอเชียเกิดขึ้นในเนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ พม่า มาเลเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์และยังเกิดขึ้นในออสเตรเลียตอนเหนือ และในหมู่เกาะแปซิฟิก ในภูมิภาคเขตร้อนชื้นของแอฟริกา (เช่นกานา, มาลาวี) และอเมริกา (จากฟลอริดาและเม็กซิโกไปจนถึงบราซิลตอนกลาง) พบเติบโตตามพุ่มไม้รอบการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 1,500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-5 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้มหรือสีเทา เรียบ ลอกออกเป็นแถบกระดาษแคบ ๆ กิ่งก้านเป็นลำสี่เหลี่ยม ยาวโค้ง มีขนเมื่อยังเป็นกิ่งอ่อน และเกลี้ยงเมื่อโตเต็มที่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงเป็นคู่ตามข้อลำค้น ลักษณะใบเป็นรูปรีหรือรูปใบพลูขนาดกว้าง1.5–8.5 ซม ยาว 3–12 ซม..ขอบใบจักเล็กน้อย แผ่นใบบางและสากมือ ดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตามข้อลำต้นโคน ก้านใบและปลายกิ่ง ช่อละ 5-20 ดอก กลีบเลี้ยงรูปจานค่อนข้างกลม มีหลายสี มีเหลือง แดง  ส้ม  ดอกรูปกรวย โคนเชื่อมเป็นหลอดแคบยาวปลายแยก 5 แฉก ขนาดดอก 2-2.5 ซม.ผลเป็น 4 แฉก ยาว 0.5-0.8 ซม.แข็งสีน้ำตาล มีกลีบเลี้ยงถาวรติดอยู่
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม---ชอบแสงแดดเต็มวัน (ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) แสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน อากาศเย็น ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ดินชื้น ดินร่วนระบายน้ำดี
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไวต่อแมลงศัตรูพืชและเชื้อรา
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในสวนเขตร้อน กึ่งเขตร้อนและเขตมรสุม ปลูกในสวนทั่วไป, สวนสาธารณะและสวนขนาดเล็ก, Trellis / Arbor / Pergola, สามารถใช้ปลูกเป็นไม้กระถางได้
ภัยคุกคาม---อนุกรมวิธานนี้ยังไม่ได้รับการประเมิน จัดไว้ใน IUCN Red Lis ประเภท "ไม่ได้รับการประเมิน"
สถานะการอนุรักษ์---NE -Not Evaluated ---IUCN Red List of Threatened Species.
ระยะออกดอก---พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
ฃยายพันธุ์--- เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง


ประยงค์/Aglalia odorata


ชื่อวิทยาศาสตร์---Aglalia odorata Lour.(1790)
ชื่อพ้อง ---Has 8 Synonyms
---Aglaia sinensis Pierre.(1895)
---Aglaia chaudocensis Pierre.(1897)
---Murraya exotica Reinw. ex Miq.
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/577227-1#synonyms
ชื่อสามัญ ---Chinese perfume plant, Chinese perfume tree, Chinese Rice Flower, Mock Lemon
ชื่ออื่น ---ขะยง, ขะยม, พะยงค์, ยม (ภาคเหนือ); ประยงค์บ้าน, ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง); หอมไกล (ภาคใต้) ;[BRAZIL: Murta-do-campo, Aglaia.];[CAMBODIA: Trayang (Central khmer).];[CHINESE: Mǐ lán huā, Mi zi lan, Shu lan, Xiang huo lua.];[INDONESIA: Pacar cina, Sawo manila (Sunda); Sabu manila (Madura); Sabo Java (Bali).];[LAOS: Khai pou.];[PORTUGUESE: Aglaia, Aglaia-cheirosa, Falsa-limeira.];[SWEDISH: Aglaia.];[THAI: Homklai, Khyong, Prayong.];[VIETNAM: Ngau tau, Boa ngu.].
ชื่อวงศ์ ---MELIACEAE
EPPO Code---AFAOD (Preferred name:Aglalia odorata.)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---จีน ไต้หวัน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม อินโดนีเซีย  
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Aglalia' มาจาก Aglaia ของตำนานเทพเจ้ากรีกซึ่งเป็นหนึ่งในสามพระหรรษทาน (เทพีแห่งความสง่างาม เสน่ห์ และความงามซึ่งเป็นธิดาของ Zeus) อ้างอิงถึงดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหวานของต้นไม้ต้นนี้ ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ 'odorata' อ้างอิงถึงกลิ่นหอมของดอกไม้
Aglalia odorata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระท้อนหรือมะฮอกกานี (Meliaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกส ในปี พ.ศ.2333
ประยงค์เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ เดียวกับกระท้อน มะฮอกกานี ลางสาด ลองกอง คอแลน ฯลฯ มีอยู่ 3 ชนิดคือ ประยงค์ (A. odorata), ประยงค์ป่า (A. odoratissima) และประยงค์ใบใหญ่ (A.chaudocensis)

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ (กวางตุ้งและกวางสี) ไต้หวัน อินโดนีเซีย เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม มักเกิดในป่าโปร่งหรือพุ่มไม้เตี้ยในภูเขาที่มีระดับความสูงต่ำ ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่ หรือถ้าปล่อยให้เติบโตเต็มที่ก็จะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ สีเทา ใบสีเขียวเข้มหนาเป็นมันคล้ายใบแก้วเป็นแบบใบรวม กลุ่มใบหนึ่งๆจะประกอบด้วยใบย่อย 5 ใบรูปรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ก้านใบแผ่ออกเป็นปีก ดอกออกเป็นเม็ดกลมๆไม่บาน ก้านดอกแตกสาขาหลายแขนงดอกสีเหลืองมีเกสรสีขาวเล็กๆอยู่ ภายใน มีกลิ่นหอมเย็นและหอมไปได้ไกล ผลเป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลมรี ยาว 10-12 มม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเหลืองอ่อน ผลสุกสีแดง เมล็ดเดี่ยว สีน้ำตาล
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ชอบสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้น มีความไวต่ออุณหภูมิต่ำมาก เติบโตได้ดีในดินปนทรายที่อุดมไปด้วยฮิวมัส และเป็นกรดเล็กน้อย มีความอดทนต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก
ศัตรูพืช/โรคพืช---ไม่มีปัญหาแมลงหรือโรคร้ายแรง ระวังเพลี้ยแป้ง.
ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารยาและแหล่งที่มาของไม้และน้ำมันหอมระเหย บางครั้งก็ขายเป็นพืชบ้านภายใต้ชื่อ "Chinese perfume plant."
-ใช้กิน ใบอ่อน - สุกและกินเป็นผัก ดอกไม้แห้งใช้สำหรับชงเป็นชาหอม
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ราก ใบ ดอกและกิ่งสามารถใช้เป็นยาได้ ในประเทศจีนกิ่งและใบไม้แห้งจะถูกต้มในน้ำและใช้เพื่อลดอาการปวดจากข้อต่อรูมาติก การบาดเจ็บจากการตกการติดเชื้อผิวเผินและการบวมเป็นพิษ-การแช่ใบจะใช้เป็นยาชูกำลังในการรักษาประจำเดือนที่มากเกินไปและโรคกามโรค
-การแช่น้ำของรากและใบถูกใช้เป็นสารกระตุ้นหัวใจและยาแก้ไข้ รากต้มกับน้ำเพื่อทำเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มความอยากอาหาร
-ในฟิลิปปินส์รากและใบใช้เป็นยาชูกำลัง ดอกไม้แห้งใช้ในการรักษาแผลในปากและลดไข้
-ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเหมือนต้นแก้ว  
-วนเกษตรใช้ ปลูกเป็นพืชป้องกันความเสี่ยง เนื่องจากโตช้าแต่หนาแน่นตัดแต่งเป็นแนวได้เรียบร้อย
-อื่น ๆ ดอกไม้แห้งสามารถใช้ผลิตน้ำหอมสำหรับเสื้อผ้าและผสมกับบุหรี่มวนสูบ
-ใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชอินทรีย์เพื่อควบคุมหญ้าและวัชพืชในทุ่งนาเช่นนาข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ภัยคุกคาม---เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จากต้นไม้มากเกินไปในท้องถิ่น ต้นไม้เริ่มหายากขึ้นในหลาย ๆ ช่วงของมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียดนาม สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดในThe IUCN Red List ประเภท ความเสี่ยงใกล้ถูกคุกคาม (NT)
-ใกล้จะมีคุณสมบัติที่มีความเสี่ยงที่จะถูกคุกคามโดยไม่มีมาตรการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่องหรือใกล้สูญพันธุ์และ/หรืออาจมีคุณสมบัติในอนาคตอันใกล้
สถานะการอนุรักษ์---NT - Near Threatened - National - IUCN Red List of Threatened Species.(1998)
Lower Risk/near threatened
ระยะออกดอก/ติดผล---ฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง (พฤษภาคม-ธันวาคม/ติดผลกรกฎาคม-มีนาคมของปีถัดไป
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


แก้วมุกดา/Fagraea ceilanica


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Fagraea ceilanica Thunb.(1782)
ชื่อพ้อง ---Has 15 Synonyms   
---Fagraea obovata Wall.
---Gardenia heteroclyta J.König ex Blume.(1850)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2807386
ชื่อสามัญ ---Ceylon fagraea, Perfume Flower Tree.
ชื่ออื่น ---ฝ่ามือผี (มหาสารคาม, เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), คันโซ่ (อุบลราชธานี), ตังติดนก (หนองคาย), โกงกางเขา (จันทบุรี), โพดา (ปัตตานี), เทียนฤาษี (ภาคเหนือ), นางสวรรค์ นิ้วนางสวรรค์ (ภาคใต้) ;[CHINESE: Hui li, Huili Xing.];[INDIA: Modakam, Omal, Vellarimodakam.];[MALAYALAM: Vallerei, Vellarimodakam, Kompal, Modakam, Modakakkodi, Marunthankamaram,Omal.];[SRI LANKA: Etamburu.];[THAI: pha mue phi, khan so, tang tit nok, Kong kang khao.];[VIETNAM: Trai xoan, Trai Xri Lanca, Lậu bình, Dây gia.].
ชื่อวงศ์ ---GENTIANACEAE
EPPO Code---FARCE (Preferred name: Fagraea ceilanica.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเชีย
เขตกระจายพันธุ์ --- จีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และทางตอนใต้ของหมู่เกาะไต้หวัน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Fagraea' เพื่อเป็นเกียรติแก่นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน JT Fagraeus (Wheatley 1992) ; ชื่อสายพันธุ์ ceilanica ตั้งชื่อตาม 'ศรีลังกา'
Fagraea ceilanica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ดอกหรีดเขา (Gentianaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Peter Thunberg (1743–1828) นักพฤกษศาสตร์และนักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2325

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย แถบประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และทางตอนใต้ของหมู่เกาะไต้หวัน ขึ้นตามป่าทึบ ป่าไม้บนหินปูน ที่ระดับความสูง 500 - 1,800 เมตรในภาคใต้ของจีน ในประเทศไทยพบขึ้นอยู่ตามซอกหินริมหน้าผา ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้งทั่วทุกภาค
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น อิงอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น หรือขึ้นบนพื้นดิน หรือเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 3-10 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม.ยาว 10-18 ซม.โคนใบมนปลายใบแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบเห็นไม่ชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 2.5 ซม.ช่อดอกออกใกล้ปลายยอด ดอกรูประฆัง โคนติดกันรูปกรวย ยาว 2-5 ซม.ปลายแยกเป็น 5 กลีบ หยักเว้าลึก เมื่อบานสีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในวันรุ่งขึ้น และจางลงอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น ขนาดดอกบาน 6-8 ซม. ผลมีเนื้อรูปทรงกลมหรือรี ขนาดประมาณ 2-4 x 1.5-3 ซม.เปลือกผลเรียบเป็นมัน มีสีเขียวหม่น เหนียว ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ปลายผลแหลม เมื่อผลสุกจะกลายเป็นสีม่วงเข้มหรือสีดำ เนื้อภายในผลมีสีขาว ฉ่ำน้ำ มีเมล็ดรูปไข่สีน้ำตาลขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงแดดเต็ม (ไม่น้อยกว่า6ชั่วโมงต่อวัน) แสงแดดจัด แสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ดินที่อุดมสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดี และต้องการน้ำในปริมาณปานกลาง
ใช้ประโยชน์---พืชมีบทบาทสำคัญในชีวิตของมนุษย์และเข้าสู่ตำนานของโพลินีเซีย พืช Fagraea ถูกนำมาใช้โดยวัฒนธรรมเอเชีย,ออสเตรเลีย,Malesian, Melanesian, Micronesian และ Polynesian สำหรับไม้, อาวุธ, งานฝีมือ, ยาและเครื่องประดับ
-ใช้ปลูกประดับ มักนำมาใช้ประกอบการจัดสวน ปลูกเป็นไม้ประดับที่มีดอกขนาดใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอมเย็นๆ ทรงพุ่มสวยตามธรรมชาติไม่ต้องกังวลเรื่องการตัดแต่งกิ่งก้าน ใบใหญ่สวยสีเขียวเข้ม ไม่ค่อยมีการผลัดใบ
-ใช้เป็นยา ราก เปลือกต้น กิ่ง-ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต หรือต้มน้ำอาบแก้อาการลมพิษ และผื่นคันที่เกิดจากยางของต้นรักได้ ในประเทศจีนใบใช้รักษาบาดแผลที่ติดเชื้อ ในกัมพูชาใช้ลำต้นต้มน้ำดื้มลดไข้
-อื่น ๆ แก่นไม้มีสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอ่อนคล้ำเมื่อสัมผัส ไม้มันเงา มีความทนทาน ในการสัมผัสพื้นและทนต่อการโจมตีของปลวกได้ดี มีกลิ่นหอมที่แตกต่างและค่อนข้างเป็นกรดเมื่อตัดสดใหม่ในนิวกินีใช้ไม้สำหรับวัตถุประสงค์ เช่น การก่อสร้างหนัก, พื้น, กลึง, แกะสลัก, การก่อสร้างเรือ
ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม - พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง


หอมเจ็ดชั้น/Tarenna wallichii

ชื่อวิทยาศาสตร์---Tarenna wallichii (Hook.f.) Ridl.(1923)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/767631-1#synonyms    
---Basionym: Webera wallichii Hook.f.(1880)
---Ixora wallichii (Hook.f. ) Kuntze.(1891)
ชื่อสามัญ ---Scent Pin Flower
ชื่ออื่น---หอมเจ็ดชั้น, จันทนาใบเล็ก (ทั่วไป) ; [THAI: Hom chet chan, Chanthana bai lek (general).].
ชื่อวงศ์---RUBIACEAE
EPPO Code---TNRSS (Preferred name: Tarenna sp.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- ไทย กัมพูชา มลายู อันดามัน บอร์เนียว
Tarenna wallichii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์ นักชีววิทยา และศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Henry Nicholas Ridley (1855–1956) นักพฤกษศาสตร์และนักธรณีวิทยา ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2466

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอินโดจีนถึงแหลมมลายูและบอร์เนียว พบตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ มักพบในที่ร่มรื่นใกล้ลำธาร และพบได้ทั่วไปในป่าดิบชื้นใกล้ทะเลที่ระดับความสูง 400 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นในป่าดิบชื้นภาคใต้
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสุงได้ถึง 2-5 เมตร กิ่งเปราะ เปลือกสีเทาอมดำ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน  กว้าง 2–3 ซม. ยาว 6–10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน ดอกสีขาวนวลหรือขาวปนเหลือง ออกเป็นช่อกระจุก ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีเขียว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1 ซม.ดอกบานพร้อมกันทั้งช่ออยู่ได้นาน 2-3 วันแล้วโรย ส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดเต็มหรือแสงแดดครึ่งวันหรือปลูกในที่ร่มรำไรได้ ดินร่วนซุย, ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง หากปลูกในพื้นที่ที่มีความชื้นตลอดปี จะทยอยออกดอกเป็นระยะ
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกประดับตามสวนสาธารณะและสวนทั่วไป และสวนขนาดเล็ก ปลูกลงแปลงหรือปลูกให้ออกดอกในกระถางได้
สถานะการอนุรักษ์ในท้องถิ่น---มีถิ่นกำเนิดในสิงคโปร์ (สันนิษฐานว่าสูญพันธุ์ในระดับประเทศ (NEx)
ระยะเวลาออกดอก----ตุลาคม-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์----เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง 


หอมหมื่นลี้/Osmanthus fragrans


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Osmanthus fragrans Lour.(1790)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-354988
ชื่อสามัญ---Fragrant Olive, Sweet Olive, Sweet osmanthus, Tea Olive.
ชื่ออื่น---หอมหมื่นลี้, สารภีฝรั่ง, สารภีอ่างกา (ทั่วไป) ;[CHINESE: Guìhuā, Mùxī.];[FRENCH: Olivier odorant.];[GERMAN: Duftblute.];[HINDI: Silang.];[ITALIAN: Osmanto odorato.];[JAPANESE: Gin Mokusei, Kin-mokusei.];[KOREA: Mok seo.];[PORTUGUESE: Flor-do-emperador, Flor-do-imperador, Jasmineiro-do-imperador, Queifa-da-china, Oliveira-cheirosa, Oliveira-doce.];[RUSSIA: Osmantus dushistyy.];[THAI: Hom muen li, Saraphi farang, Saraphi angka (general).].
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
EPPO Code---OSUFR (Preferred name: Osmanthus fragrans.)
ถิ่นกำเนิด----ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--เอเซียตะวันออก-เทือกเขาหิมาลัย จีน ญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Osmanthus' คือคำรวมกันของคำกรีก ''osme'' = กลิ่นและ ''anthos''= ดอกไม้ ; ชื่อสปีซี่ส์ ''fragrans'' เป็นคำภาษาละติน = หอม
Osmanthus fragrans เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะลิ (Oleaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกส ในปี พ.ศ.2333
ความหลากหลาย (Varieties)
---Osmanthus fragrans var. aurantiacus Makino.(1902)
---Osmanthus fragrans var. fragrans
source: The World Checklist of Vascular Plants (WCVP)


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดแถบเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย (อัสสัม นากาแลนด์) เนปาล, สิกขิม, จีน (กุ้ยโจว, มณฑลเสฉวนและยูนนาน) ถึงไต้หวัน กระจายพันธุ์ไปทางใต้ของญี่ปุ่น (คิวชู) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เมียนมาร์ ไทย กัมพูชาและเวียดนาม) เติบโตในป่าดิบเขา พบที่ระดับความสูง 1,200 - 2,100 เมตรในเทือกเขาหิมาลัย, พบที่ระดับความสูง 1,300 - 3,000 เมตรในประเทศเนปาล ในประเทศไทยพบในดอยสูงทางภาคเหนือ
ลักษณะ หอมหมื่นลี้เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 3-6 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปหอกหรือแกมรีขอบขนาน กว้าง 2.6-5 ซม.ยาว 7-15 ซม. ขอบใบหยักเป็นซี่ละเอียด แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ดอกสีขาว เหลืองหรือเหลืองส้ม ออกเป็นกลุ่มตามซอกใบ มีกลิ่นหอม กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก กลีบดอก 4 กลีบ เชื่อมติดกันที่ฐานเป็นหลอด ยาวประมาณ 1 ซม.มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 มม.ปลายกลีบแผ่มนกลม เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดอยู่ด้านในกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน ปลายแยกเป็น 2 แฉก ดอกจะบานพร้อมกันทั้งช่อหากดอกออกเต็มต้นจะสวยงามมากส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน ในช่วงปลายฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ผลเป็นผลสดรูปรี ยาว1-1.5 ซม.เมื่อแก่มีสีม่วงดำ มีเมล็ดเปลือกแข็งเพียงเมล็ดเดียว ผลไม้สุกในฤดูใบไม้ผลิประมาณหกเดือนหลังดอกบาน
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัด (โดยทั่วไปต้องใช้แสง 6-8 ชั่วโมงต่อวัน) ถึงร่มเงาบางส่วน ชอบอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยในพื้นที่ปลูกคือ 14-28°C ทนต่ออุณหภูมิต่ำ จนถึง -15 °C ในช่วงเวลาสั้น ๆ ชอบดินทรายที่ชื้น อุดมไปด้วยสารอินทรีย์ที่เป็นกรดหรือเป็นกลาง ระบายน้ำได้ดี สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้ หรือในที่ที่มีอากาศร้อนได้ แต่ดอกจะน้อยและช่อดอกจะเล็ก
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้สุกจะถูกเก็บรักษาในน้ำเกลือเหมือนมะกอก ในประเทศจีนใช้ดอกหอมหมื่นลี้ผสมในชา (guìhuāchá) เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและใช้ทำแยม (guìhuājiàng ), เค้ก (guìhuāgāo) และสุรา osmanthus (guìhuājiǔ) แยมออสมันตัสใช้เป็นส่วนผสมในข้าวต้ม ชนิดหนึ่งที่ เรียกว่า chátāng ซึ่งทำจากข้าวฟ่างหรือข้าวฟ่างแป้งและน้ำตาลผสมกับน้ำเดือด ออสมันตัสยังใช้ทำขนมจีนโบราณหลายอย่าง เช่นออสมันตัสทังหยวนกับน้ำเชื่อมไวน์ข้าว (Guìhuā jiǔniàng tāngyuán)
-ใช้เป็นยา ในยาจีนโบราณใช้เป็นชาสมุนไพรสำหรับการรักษาของประจำเดือนผิดปกติ ใบ เปลือก ราก และผลยังมีประโยชน์บางอย่าง เช่น บรรเทาอาการปวดและบรรเทาอาการไอ
-ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับลงแปลงหรือปลูกเป็นไม้กระถาง สามารถออกดอกในกระถางได้
-อื่น ๆ ดอกไม้ใช้ในเครื่องสำอางสำหรับผมและผิวหนัง
-ในรัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย ดอกไม้ถูกใช้เป็นยาขับไล่แมลงสำหรับเสื้อผ้า
-เป็นหนึ่งในดอกไม้จีนโบราณที่มีชื่อเสียง ในบทกวีจีนโบราณเกี่ยวกับดอกไม้ จำนวนบทกวีถึง osmanthus มีความสำคัญและมากมาย และเป็นที่รักของคนจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถือได้ว่าเป็นดอกไม้ที่มีชื่อเสียงตามประเพณี
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก---ตุลาคม-กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำ

 จำปีแขก/Magnolia figo


ชื่อวิทยาศาสตร์---Magnolia figo (Lour.) DC.(1817)
ชื่อพ้อง ---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-117574   
---Basionym: Liriodendron figo Lour.(1790)
---Michelia figo (Lour.) Spreng.(1825)
ชื่อสามัญ---Banana-shrub, Banana Magnolia, Portwine Magnolia, Dwarf Chempaka, Brown-stalked Magnolia, Chinese Tulip Tree, Chempaka Ambon, Chenille copperleaf
ชื่ออื่น---จำปีแขก, จำปาแขก (ทั่วไป) ;[CHINESE: Hánxiào huā, Hánxiào méi, Xiào méi, Xiāngjiāo huā.];[FRENCH: Foula figo.];[INDONESIA: Cempaka ambon, Cempaka Mulya, Pisang-pisang.];[MALAYSIA: Kaum Chempaka (Malay).];[THAI: Champi khak, Champa khak (general).].
ชื่อวงศ์ ---MAGNOLIACEAE
EPPO Code---MIAVI (Preferred name: Magnolia figo.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้ เกาหลี
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล'Magnolia' ตั้งชื่อตาม Pierre Magnol (1638-1751) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ศาสตราจารย์ และผู้อำนวยการ Royal Botanic Garden of Montpellier ประเทศฝรั่งเศส Magnol เป็นหนึ่งในผู้คิดค้นการจำแนกประเภทพฤกษศาสตร์สมัยใหม่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเป็นคนแรกที่เผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับตระกูลพืชตามลักษณะทางสัณฐานวิทยา ; ชื่อสปีซี่ส์ 'figo' เป็นภาษาละตินสำหรับ 'attach' หรือ 'fasten down หรือภาษาอิตาลีสำหรับ 'fig tree' ซึ่งอาจอ้างอิงถึงใบคล้ายต้นมะเดื่อของพืช
Magnolia figo เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์จำปา (Magnoliaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกส และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Augustin Pyrame de Candolle (1778-1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส ในปี พ.ศ.2360  

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ทางตะวันออกเฉียงใต้ (อานฮุย กวางตุ้ง กวางสี เจียงซี เจ้อเจียง) และเกาหลี (เชจู-โด) เกิดขึ้นตามป่าดิบแล้งและริมฝั่งแม่น้ำที่ระดับความสูง 60–1,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1.8-5 เมตร บริเวณกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงคลุมแน่น แตกกิ่งจำนวนมาก ทรงพุ่มกลมแน่น ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันตามกิ่งก้านและปลายยอด รูปขอบขนานแกมรูปวงรี ใบกว้าง1.8-4.5 ซม. ยาว 4-10 ซม.แผ่นใบเรียบ หนา เหนียว มีสีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบ โคนและปลายใบแหลม มองเห็นหูใบได้ชัดเจน ดอกออกเดี่ยว ๆที่ซอกใบ ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม.มี 6 กลีบ สีขาวนวลหรือสีเหลืองนวล กาบหุ้มดอกจะปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาลนุ่มคล้ายกำมะหยี่ ผลเป็นผลกลุ่มที่ประกอบด้วยผลย่อยจำนวนมาก เมื่อแก่จะแตกออกได้ตามความยาวของผล มักไม่ติดผลและเมล็ด  
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ชอบอยู่กลางแจ้งแสงแดดจัดหรือในที่ร่มรำไรถึงมีร่มเงาบางส่วน ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์วัตถุ มีการระบายน้ำได้ดี เติบโตในดินที่เป็นกรดและด่างได้เป็นอย่างดี
ศัตรูพืช/โรคพืช---อาจได้รับผลกระทบจากโรคเกล็ด (scales) ซึ่งจะทำให้เกิดการร่วงหล่น

 

ใช้ประโยชน์---พืชได้รับการปลูกเป็นไม้ประดับและพืชสมุนไพรในหลาย ๆ ประเทศในเขตร้อน
-ใช้กิน ใบใช้สำหรับชงชา
-ใช้เป็นยา รากใช้เป็นยาแก้โรคกะบังลมเคลื่อน เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ แก่นใช้เป็นยาทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ใบมีสารอัลคาลอยด์ซึ่งมีสรรพคุณในการต้านเชื้อมาลาเรีย มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ดอกมีน้ำมันหอมระเหย สกัดเป็นน้ำมันใช้ทาแก้ปวดหัว และตาบวม ดอกปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับปัสสาวะ และบำรุงหัวใจ
-ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับที่มีกลิ่นหอม ดอกส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงใกล้พลบค่ำ และ มีกลิ่นหอมแรงตลอดวัน หมั่นแต่งกิ่งให้ออกกิ่งใหม่จะออกดอกได้ทุกกิ่ง ถ้าปลูกในกระถางต้องใช้กระถางขนาดใหญ่และหมั่นแต่งกิ่งควบคุมทรงพุ่ม
-อื่น ๆ เปลือกราก ใช้เป็นยาเบื่อปลา
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2014)
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-พฤษภาคม/กรกฎาคม-สิงหาคม (จีน)
การขยายพันธุ์ ---เมล็ด, ตอนกิ่งหรือทาบกิ่ง โดยใช้จำปาเป็นต้นตอ บ้างเลยเรียกว่า จำปาแขก


มุจรินท์/Ravenia spectabilis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Ravenia spectabilis (Lindl.) Engl.(1874)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Basionym: Lemonia spectabilis Lindl.(1840)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/tro-50136754
ชื่อสามัญ---Ravenia Pink, Lemonia, Limonia.
ชื่ออื่น---มุจรินท์ (ทั่วไป) ;[PORTUGUESE: Limao do mato, Rosa ravena.];[SPANISH: Rosita, Tortugo.];[THAI: Mutcharin (general).
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
EPPO Code---RVESP (Preferred name: Ravenia spectabilis.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง; บราซิล แคริบเบียน, จาเมกา, ตรินิแดด
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Ravenia' สกุลนี้ได้รับเกียรติจากชายชาวฝรั่งเศสชื่อ JF Ravin ที่ไม่ได้ระบุชื่อ ; ชื่อสปีซี่ส์ 'spectabilis' คือคำคุณศัพท์ภาษาละติน ''spectabilis, e'' = โดดเด่นน่าชื่นชม
Ravenia spectabilis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ส้ม (Rutaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย John Lindley (1789-1865) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Heinrich Gustav Adolf Engler (1844–1930) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2417
มี 2 ชนิดย่อย (Subspecies) ที่ยอมรับ ;-
---Ravenia spectabilis subsp. leonis (Vict.) Beurton.(2008)
---Ravenia spectabilis subsp. spectabilis
source: The World Checklist of Vascular Plants (WCVP)


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดใน บราซิล แคริบเบียน (คิวบา, เฮติ), อเมริกากลาง เปิดตัวใน จาเมกา ตรินิแดด
ลักษณะ มุจลินท์เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ตั้งแต่ 1.5-4.5 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลอมเทา ใบรูปยาวรียาว 3-8 ซม. และกว้าง 0.6-2 ซม.โคนมนปลายใบมน ด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง มุจลินท์ใบเขียวดอกสีแดง ส่วนมุจลินท์ใบด่าง ดอกสีชมพูเข้ม ช่อดอกออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 5-8 ซม.ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกกระเทยประมาณ 2-3 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 2.5-3 ซม.มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกไม้ที่อุดมไปด้วยน้ำหวานแสดงถึงปรากฏการณ์ของ proterandry (อวัยวะของเพศชายจะเติบโตเต็มที่ก่อนเพศหญิง) ที่สนับสนุนการผสมเกสรข้าม (cross-pollination) ผลไม้ประกอบด้วย monospermous follicles 1-5 อัน
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มวันหรืออยู่ในร่มรำไร ชอบดินร่วนปนทรายอุดมสมบูรณ์ มีสภาพเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง ต้องการดินที่ระบายน้ำดี การให้น้ำพอประมาณ
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้งหรือปลูกในกระถาง เป็นต้นไม้เขตร้อนที่แข็งแกร่งและสามารถปลูกเป็นพืชบอนไซในร่มได้
-อื่น ๆการศึกษาในห้องปฏิบัติการได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการมีอยู่ของเปลือกไม้และในใบของอัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สารต้านอนุมูลอิสระ และพิษต่อเซลล์ โดยมีความเป็นไปได้ที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับเภสัชตำรับที่เป็นทางการ
ระยะออกดอก----ตลอดปี
ขยายพันธุ์----เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง


ประทัดใหญ่/Quassia amara

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Quassia amara L.(1762)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.com/browse/A/Simaroubaceae/Quassia/
---Quassia amara var. grandiflora Hemsl.(1879)
---Quassia amara f. paniculata (Engl.) Cronquist.(1944)
---Quassia amara var. paniculata Engl.(1874)
ชื่อสามัญ---Stave-wood, Surinam quassia, Suriname wood, Amargo, Bitter-ash, Bitter-wood, Hombre grande.
ชื่ออื่น---ปิง, ประทัด (ภาคกลาง), อมรา, ประทัดจีน, ประทัดใหญ่;[CZECH: Kvasie hořká.];[FRENCH: Bois amer, Bois de quassia, Quassia de Cayenne, Quassia de Surinam.];[GERMAN: Bitterholzbaum, Bitterquassia, Quassiaholzbaum, Quassie.];[PHILIPPINES: Kuasia (Tag.); Corales (Span., Tag.);[PORTUGUESE: Amargo, Leno de quássia, Marauba, Marupá, Murupa, Pau-amarelo, Pau-quássia, Quássia-de-Caiena, Quina, Quina de Caiena, Quinarana.];[SPANISH: Crucete, Cuasia amarga, Cuasia surinamense, Guabo, Guavito, Guavito amargo, Guavo, Hombre grande, Hombrón, Leño amargo, Leño de cuasia, Palo amargo, Palo de cuasia, Palo muñeco, Quassia amara, Quina de Cayena, Suña de Cayeno.];[SWEDISH : Kvassia amara Surinam, Surinamkvassia.];[THAI: Ping, Pra-that (central); Pra-that-Yai.];[TURKISH : Kassia ağaçı.].
ชื่อวงศ์---SIMAROUBACEAE
EPPO Code---QUASS (Preferred name: Quassia sp.)                                                                                             ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้-บราซิล เปรู เวเนซูเอล่า โคลัมเบีย อาร์เจนติน่า กีอาน่า และสุรินัม ประเทศในเขตร้อน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Quassia' ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อGraman Quassi ผู้รักษาและนักพฤกษศาสตร์ที่เป็นทาสซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวยุโรปใช้พืชนี้รักษาไข้ ; ชื่อสายพันธุ์ ''amara '' หมายถึง "ขม" ในภาษาสเปนและอธิบายถึงรสขมมาก
Quassia amara เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ปลาไหลเผือก (Simaroubaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2305 

 

ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกาใต้ ในแคริบเบียน (ตรินิแดดและโตเบโก), อเมริกากลาง (คอสตาริกา, นิการากัว, ปานามา), อเมริกาใต้ตอนเหนือ (เฟรนช์เกียนา, กายอานา, ซูรินาเม, เวเนซุเอลา, บราซิล, เปรู) และตะวันตกเฉียงใต้อเมริกา (โคลอมเบีย, อาร์เจนตินา) พบได้ในป่าฝนอเมซอนที่ระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึง 900 เมตร
ลักษณะ ประทัดใหญ่เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1.5-3 เมตร แตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มเตี้ย เปลือกต้นเรียบ  สีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5-7 ใบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ  ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3ซม.ยาวประมาณ 3-5 ซม.แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบรวมสีแดงมีครีบแผ่ออกทั้งสองข้าง ใบอ่อนสีแดง ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งยาวประมาณ 10-20ซม.ก้านช่อดอกเป็นสีแดง กลีบเลี้ยงดอกมีขนาดเล็กมาก มี 5 แฉกเป็นสีแดง ส่วนกลีบดอกเป็นสีแดงสด มี 5 กลีบ ยาวประมาณ 2-3ซม.โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอกไม่บานจะหุ้มเกสรอยู่เป็นรูปกรวยคว่ำ ง ผล เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปไข่กลับยาว 0.8-1.5 ซม. สีแดงคล้ำ
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---พืชสำหรับเขตร้อนชื้น ตำแหน่งที่มีร่มเงา ชอบดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ชื้น ระบายน้ำดี
ใช้ประโยชน์---บางครั้งพืขถูกเก็บเกี่ยวแบบดั้งเดิมจากป่า และในการเพาะปลูกเพื่อใช้เป็นส่วนผสมเครื่องปรุงอาหารและยา
-ใช้กิน เปลือกและไม้ใช้เป็นสารเติมแต่งในอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องปรุงในเครื่องดื่ม น้ำอัดลม, โทนิคย่อยอาหารและในเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของเหล้า สามารถใช้แทนฮ็อพในการผลิตเบียร์ หรือสามารถเพิ่มลงในขนมอบ
-ใช้เป็นยา ตำรายาไทยใช้รากประทัดใหญ่เป็นยาขมเจริญอาหาร รากใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ เนื้อไม้ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย เนื้อไม้นำมาสกัดเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็ก ใบใช้เป็นยาทาผิวหนังแก้อาการคัน เปลือกต้นและเนื้อไม้ มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำย่อยทำให้อยากอาหาร
-ในอินเดียโบราณในอายุรเวทใช้เป็นยาเพื่อรักษาโรคไขข้อ โรคพิษสุราเรื้อรัง รังแคปัญหาในกระเพาะอาหารและหนอนลำไส้
-ในเฟรนช์เกียน่าใบชาเป็นยาแก้มาลาเรียที่ใช้บ่อยที่สุด
-ในเม็กซิโกยาต้มใช้รักษาโรคเบาหวาน
-ชาวอเมริกันใน NW Guyanaใช้ยาต้มจากเปลือกและใบไม้เพื่อฆ่าเหา
-ใช้ปลูกประดับ ไม้ต้นนี้นิยมปลูกประดับทั่วไป มักพบปลูกตามสวนพฤกษศาสตร์ ** การพูดคุยส่วนตัว รูปต้นนี้ก็ได้มาจากสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระเทพฯ ที่จ.ระยอง**)
-อื่น ๆ ทุกส่วนของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและต้นอ่อนสามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลง ซึ่งสารที่พบได้แก่สารที่มีรสขมจัด ชื่อว่า Amaroid และ Quassia (The name amargo means "bitter" in Spanish and describes its very bitter taste.)
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินล่าสุดใน IUCN Red List ประเภท 'กังวลน้อยที่สุด'
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะเวลาออกดอก---เดือนพฤศจิกายน-เดือนมีนาคม ปีต่อไป
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง


สำมะงา/Volkameria inermis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Volkameria inermis L.(1753)
ชื่อพ้อง--Has 19 Synonyms
---Clerodendrum inerme (L.) Gaertn.(1788)
---Ovieda inermis (L.) Burm.f.(1768)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:866113-1#synonyms
ชื่อสามัญ--Bower Glory, Embrert, Garden quinine, Indian privet, Seaside clerodendrum, Seashore Tubeflower, Scrambling Clerodendrum, Smooth volkameria, Sorcerer's bush, Wild jasmine.
ชื่ออื่น---สำมะลิงา (ชัยภมูิ), เขี้ยวงู (ประจวบคีรีขันธ์), สัมเนรา (ระนอง), สักขรีย่าน (ชุมพร), สำปันงา (สตูล), สาบแร้งสาบกา (ภูเก็ต), สำลีงา ลำมะลีงา สำมะนา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), คากี (ภาคใต้) ;[BENGALI: Banajai.];[CHINESE: Shui hu man, Ku lang shu.];[HINDI: Sankuppi.];[HONG KONG: Foo-long-shu.];[INDONESIA: Gambir laut, Kembang bungang, Wiri solo; Kembang bugang (Sunda).];[JAPANESE: Ibota-kusagi, Manka-hôgi.];[KANNADA: Kumdali, Kundali gida.];[MALAYALAM: Cheruchinna, Puzhamulla, Vishamadari.];[MALAYSIA: Tulang tulang, Bunga pawang, Langa langa, Pawan, Terong gambol, Gambir Laut (Malay).];[MARATHI: Kadu koyanel, Vanajai.];[MYANMAR: Kywe-yan-nge, Pinle-kyauk-pan.];[PALAU: Umbreret.];[PHILIPPINES: Akar kerujo (Borneo).];[PORTUGUESE: Falso-jasmineiro.];[SAMOA: Aloalo tai.];[SANSKRIT: Kundali.];[SPANISH: Bocameria, Volkameria (Espanol).];[TAMIL: Cankan-kuppi, Cankini, Carpparacci, Pampu kanni.];[TELUGU: Etipisangi, Pishinika, Pisingi.];[THAI: Sak khree yaan, Sam-ma-nga, Som nera.];[TONGA: Tutuhina.];[VIETNAM: Trùm gọng.].
ชื่อวงศ์---LAMIACEAE (LABIATAE)
EPPO Code---CLZIE (Preferred name: Volkameria inermis.)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---ออสเตรเลีย เอเซีย Malesia และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เมดิเตอร์เรเนียน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Volkameria' มาจากภาษาละตินตั้งตาม Johann Georg Volkamer (1662–1744) ผู้เขียนดอกไม้แห่งนูเรมเบิร์ก (Nuremberg) ; ชื่อสปีซี่ส์ จากภาษาละติน 'inermis' =ไม่มีที่พึ่ง หรือไม่มีหนาม หมายถึง ลักษณะของพืช
Volkameria inermis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae หรือ Labiatae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2296


ที่อยู่อาศัย พบใน เอเชียตะวันตก (ปากีสถาน) เทือกเขาหิมาลัย อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ อินโดจีน (ยกเว้นลาว) มาเลเซีย จีน (รวมถึงไต้หวัน) ญี่ปุ่น นิวกินีไปยังออสเตรเลีย (ควีนส์แลนด์ นิวเซาท์เวลส์) และหมู่เกาะแปซิฟิก แนะนำในเมดิเตอร์เรเนียนตอนใต้ เติบโตตามพื้นที่ชายฝั่งทะเลเช่นตามชายหาดในป่าโกงกาง นอกจากนี้ยังพบตามริมแม่น้ำและหนองน้ำ ที่ระดับความสูงถึง 100 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มแต่รอเลื้อย สูงได้ถึง 2 เมตร มีขนนุ่มคลุมทั่วไป ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรีกว้าง 1.5-2 ซม.ยาว 3-4.5 ซม.ปลายใบทู่ ผิวใบเกลี้ยงหรืออาจมีขนประปรายทางด้านใต้ใบ ดอกไม้กะเทย สีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อย 3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2-5 ซม.ดอกย่อยรูปแจกันทรงสูง สีขาวอมชมพู ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1 ซม.กลีบรองดอกรูปถ้วย มีกลีบดอก 5 กลีบโคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 2-3 ซม.เกสรผู้ 4 อัน และเกสรเมีย 1 อัน มีก้านเกสรเรียวยาวสีม่วงแดงยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเด่นชัด ผลสดมีเนื้อรูปกลมหรือไข่กลับ มี 4 พู ขนาด 1.2-1.8 ซม.ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผล  ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีดำ เมล็ดแข็งมากส่วนใหญ่มี 1-4 เมล็ด
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---เติบโตได้ดีในตำแหน่งที่มีแดดจัด แสงแดดเต็มวัน (6ชั่วโมงต่อวัน) แสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน น้ำปานกลางถึงน้ำในปริมาณมาก บนชายหาดทนต่อไอน้ำเค็ม เป็นสายพันธุ์ที่มีความต้านทานสูงต่อความผันผวนของความเค็ม อัตราการเจริญเติบโต เร็ว


ใช้ประโยชน์---พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยา บางครั้งได้รับการปลูกเป็นพืชสมุนไพรโดยเฉพาะในอินเดียและปลูกกันทั่วไปเป็นไม้ประดับและพืชป้องกันความเสี่ยงในพื้นที่เขตร้อน
-ใช้เป็นยา รากมีรสขมเป็นยาเย็น ใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด  มีพิษและมีกลิ่นเหม็น มีสรรพคุณเป็นยาขับลมชื้น แก้อาการปวดกระเพาะ แก้ตับอักเสบ แก้ตับและม้ามโต
-ใบมีรสขมเย็น แต่มีพิษ ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
-ใช้ใบตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผงแล้วนำไปโรยบนแผล ช่วยห้ามเลือดและสมานแผลสด
-ทั้งต้นสดหรือต้นแห้ง ต้มกับน้ำอาบหรือใช้ชะล้างแผล ใช้รักษาโรคผิวหนังพุพอง และน้ำเหลืองเสีย
-ตำรายาไทย ใช้ใบเป็นยาภายนอก โดยนำมาพอก ต้มกับน้ำอาบใช้ชะล้างตามร่างกาย หรือใช้ไอน้ำอบร่างกายเป็นยารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้ฝี ประดง แก้หัด อีสุกอีใส ผดผื่นคันตามตัว และผื่นคันมีน้ำเหลือง
-มีรายงานว่าเมล็ดนี้ใช้เป็นยาแก้ปวดท้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดจากอาหารทะเลที่มีพิษ การรักษานี้มักจะรวมกับยาต้มของใบใช้อาบและดื่มพร้อมกัน
-ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้หุ่มประดับ เหมาะสำหรับสวนสาธารณะ และสวนทั่วไป สวนขนาดเล็ก, ริมทะเล / ชายฝั่ง
-วนเกษตร พืชมักใช้ปลูกบนชายหาดเพื่อควบคุมการกัดเซาะ
-อื่น ๆสารสกัดจากใบที่ฉีดพ่นบนต้นยาสูบในช่วงต้นฤดูกาลที่เจือจาง 1:1000 ให้การป้องกันไวรัสโมเสคของยาสูบได้ดี
รู้จักอันตราย---ชนิดนี้พบพิษที่ใบและก้าน ซึ่งใบจะมีพิษมากกว่าราก (รากมีพิษและมีกลิ่นเหม็น) ห้ามนำมารับประทาน และควรใช้อย่างระมัดระวัง
สถานะการอนุรักษ์ในท้องถิ่น---ถิ่นกำเนิดในสิงคโปร์ [Least Concern (LC)]
ระะออกดอก/ผล---เกือบตลอดปี
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ

เขี้ยวกระแต/Psilanthus bengalensis


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Psilanthus bengalensis (Roxb. ex Schult.) J.-F.Leroy.(1981)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.
---Coffea benghalensis B. Heyne ex Schult.(1819)
---Psilanthus bababudanii Sivar., Biju & P.Mathew.(1992)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-166981
ชื่อสามัญ---Bengal coffee, Paracoffea.
ชื่ออื่น---เขี้ยวกระแต เขี้ยวกระแตหอม (ทั่วไป) ;[ASSAMESE: Akajiphul, Dewamali, Bon-kathanda.];[THAI: Kieow kra tae, Kieow kra tae (general).].
ชื่อวงศ์ ---RUBIACEAE
EPPO Code---COFBE (Preferred name: Coffea benghalensis.) syn.
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- อินเดีย ภูฏาน เนปาล บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียตนาม ชวา
Psilanthus bengalensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย  (William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต จากอดีต Josef August Schultes (1773–1831) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย.) และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Jean-François Leroy (1915–1999) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2524
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ภูฏาน เนปาล บังคลาเทศ อินโดจีน
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ่งเปราะ ใบเดี่ยวขนาด 3-6 (-13) x 5-7 ซม.ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรี ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน เส้นใบเห็นไม่ชัด ก้านใบยาว 0.8 ซม.ดอกเดี่ยวสีขาว ออกตามซอกใบ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีขาวยาว 1-2 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ บิดเวียนและซ้อนเกยกัน เมื่อบานขนาด 3-3.5 ซม.ผลกลมขนาด 7 มม.สีดำ ดอกบานวันเดียวแล้วร่วงส่งกลิ่นหอมอ่อนๆตลอดวัน และหอมแรงช่วงหัวค่ำถึงเช้า
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม--- ปลูกในที่มีแสงแดดรำไร การปลูกเขี้ยวกระแตในพื้นที่มีแสงแดดจัดตลอดวันจะทำให้ใบมีสีเขียวปนเหลือง หมั่นตัดแต่งให้ทรงพุ่มโปร่งไม่ทึบเกินไปจะออกดอกดี
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับมีกลิ่นหอม
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ


อ้างอิง, แหล่งที่มา

---อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search
---หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
---เอื้อมพร วีสมหมาย และคณะ. 2551. พรรณไม้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด.
---ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย.  http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=38763
---สารานุกรมไม้ประดับในประเทศไทย(เล่ม1)โดยคณะบรรณาธิการสำนักพิมพ์บ้านและสวน บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน)
---หนังสือ ไม้ประดับเพื่อการตกแต่ง(Ornamental Plants for Decoration) ศาศตราจารย์(พิเศษ)ดร.ประชิด วามานนท์                  ---ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์  BGO Plant Databases, The Botanical Garden Organization http://www.qsbg.org/database/
---สำนักงานหอพรรณไม้. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย  เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช http://www.dnp.go.th/botany/mplant/index.aspx
---The International Plant Names Index and World Checklist of Selected Plant Families 2017. Published on the Internet at http://www.ipni.org and http://apps.kew.org/wcsp/
---The Plant List (TPL) was a working list of all known plant species  http://www.theplantlist.org/
---Useful Tropical Plants. http://tropical.theferns.info/viewtropical.                       
---India Biodiversity Portal. http://indiabiodiversity.org/species/show/                    
---Plants of the World Online Kew Science.www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org
---GBIF.the Global Biodiversity Information Facility.https://www.gbif.org/species/
REFERENCES ---General Bibliography
REFERENCES ---Specific & complementary


Check for more information on the species:


Plants Database    ---Names, synonymy and distribution    The Garden.org Plants Database    https://garden.org/plants/
Global Plant Initiative    ---Digitized type specimens, descriptions and use    หอพรรณไม้ - กรมอุทยานแห่งชาติ    www.dnp.go.th/botany/Herbarium/GPI.html
Tropicos    ---Nomenclature, literature, distribution and collections    Tropicos - Home    www.tropicos.org/
GBIF    ---Global Biodiversity Information Facility    Free and open access to biodiversity data    https://www.gbif.org/
IPNI    ---International Plant Names Index    The International Plant Names Index - home page    http://www.ipni.org/
EOL    ---Descriptions, photos, distribution and literature    Global access to knowledge about life on Earth    Encyclopedia of Life eol.org/
PROTA       ---Uses    The Plant Resources of Tropical Africa    https://books.google.co.th/books?isbn=9057822040
Prelude    ---Medicinal uses    Prelude Medicinal Plants Database    http://www.africamuseum.be/collections/external/prelude
Google Images    ---Images        
            

รวบรวมและเรียบเรียงโดย Tipvipa..V
รูปภาพ--ทิพพ์วิภา วิรัชติ
บริษัท สวนสวรส การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด
สวนเทวา  เชียงใหม่
www.suansavarose.com
www.suan-theva.com

2008-20017

update---20/4/2018, 21/7/2020---17/8/2022-19/9/2022

 

 

 

 


 

 

 


 


                 

ความคิดเห็น

  1. 1
    แนะนำ pgslot รวย
    แนะนำ pgslot รวย Nongnongkraf888@gmail.com 25/01/2024 15:25

    แนะนำ pgslot รวย คนไหนซวยก็เกือบจะไม่มีช่องทางประสบโชคลาภเลย รวมถึงการเล่นเกมออนไลน์เหมือนกัน เว้นเสียแต่ผู้เล่นควรจะมีวิธีสำหรับเพื่อการเล่นเกม PG SLOT แล้ววันนี้

  2. 2
    Penelope
    Penelope ufabet927@gmail.com 16/10/2023 09:21


    This is a good inspirational article. I am very satisfied with your good work. UFABET UFA365 UFABET เข้าสู่ระบบ  ยูฟ่าเบท gives away free credit for new members, 100% automatic system, complete service in one place.

  3. 3
    melbet
    melbet saman@mailna.me 04/08/2022 22:06

    هنگامی که برای مشارکت در سایر رویدادهای ورزشی در سایت بت فوروارد به پول نیاز دارید، ویژگی نقدینگی مفید خواهد بود. اگر از نتیجه نهایی شرط اطمینان ندارید، این تابع به شما کمک زیادی می کند. اگر به نظر می رسد که همه چیز در نیمه راه برای شما خوب پیش می رود و مطمئن نیستید که چگونه به پایان می رسد، می توانید برای دریافت بخشی از برنده های خود، از ویژگی پول نقد استفاده کنید. این از وارد شدن به ضرر کلی جلوگیری می کند.

  4. 4
    pgslot
    pgslot pgslotgfnfg@gmail.com 19/06/2022 14:12

    เราพร้อมดูแลชีวิตประชาชน ด้วย สล็อต Pg ทดลองเล่น ค่ายเกมเเละเว็บไซต์เดียวจบ ครบทุกเกมส์ ยอดเยี่ยมเว็บผู้ให้บริการเกมส์ pg slot ค่ายเกม เกมยิงปลา เกมง่ายๆใช้เวลาน้อย

  5. 5
    22/03/2022 13:24












    slotpg joker123 สล็อต wowc4 สล็อต sa casino 10รับ100











    เว็บสล็อต Promotion gambling website good fine Excellent เครดิตฟรี Promotion Slot online Free 50 รับ 100 10 รับ 100 Promotion just 10 coin get 100 coin
  6. 6
    Economics Assignment Help
    Economics Assignment Help albalisa04@gmail.com 03/03/2022 16:51

    Economics assignments can be hard to prepare and take a lot of time. Students often need economics assignment help as they are occupied with other tasks. If you need a trustable economics assignment writer to create an excellent health economics assignment that impacts the reader, then let’s have a word about this exciting assignment.

  7. 7
    SallieStevens
    SallieStevens SallieStevens@gmail.com 27/01/2022 09:55

    Backlinks are links from a page on one website to another. This is important to us and you are giving us a chance and opportunity to help each other. We are hoping to have the same goal for the future of ours. ole777 casino

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

  Copyright 2005-2009 suansavarose All rights reserved.
view