สมาชิก




ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
 

เมนู

หน้าแรก

รวมรูปภาพ

เว็บบอร์ด

สนทนาคนรักต้นไม้

 

บทความ

หิน-หินเทียม

สารพัดต้นไม้จัดสวน

ไม้ประดับเพื่อการจัดสวน

ปลูกต้นไม้มงคล

เกี่ยวกับเรา

สวนสไตล์ต่างๆ

ต้นไม้ประจำจังหวัด ภูมิสัญญลักษณ์ของเมือง

มหัศจรรย์โลกพฤกษา

ว่าด้วยเรื่อง.....ดิน....และ..ปุ๋ย

พืชจัดสวนมีพิษที่ควรระมัดระวัง

เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็นสวนใหม่

จัดสวนพื้นที่ขนาดใหญ่

จัดสวนด้วยตัวเอง

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

การทำบ่อเลี้ยงปลา และระบบกรองรักษาคุณภาพน้ำอย่างง่าย

มุมสวนสวยสำหรับคุณ

ในนี้มีอะไรเยอะแยะ

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/02/2008
ปรับปรุง 19/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 17,219,323
Page Views 23,359,610
 
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สรรพคุณพืชสมุนไพร1

สรรพคุณพืชสมุนไพร1

ภาพถ่ายจากหน้าอาคารใบไม้สามใบ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล ศาลายา

For information only-the plant is not for sale.

สรรพคุณพืชสมุนไพร 1


พืชสมุนไพร หมายถึง "พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา" โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น5ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ ราก, ลำต้น, ใบ, ดอก, ผล
การปรุงยาสมุนไพร คือการสกัดเอาตัวยาออกจากพืชให้มากที่สุด ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อให้ได้ยาสมุนไพรมาโดย
1 ยาต้ม เป็นการปรุงยาด้วยความร้อนที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
2 ยาชง เป็น การปรุงยาโดยใช้สมุนไพรแห้ง หรือผ่านการอบ ด้วยการเติมน้ำร้อนลงไปเป็นตัวทำละลาย ยาชงเป็นยาที่เก็บไม่ได้นาน ก่อนรับประทานต้องเตรียมใหม่เสมอ
3 ยาดองเหล้า เป็นการปรุงยาโดยใช้เหล้าเป็นตัวทำลายสกัดตัวยาออกมา มีสรรพคุณที่เกี่ยวกับบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว มักใช้กับสมุนไพรที่มีตัวทำละลายได้ดีในแอลกอฮอล์
4 ยาผง เป็น การปรุงยาโดยใช้สมุนไพรที่อบหรือตากแห้ง แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ บดให้เป็นผง การบดนี้ยิ่งบดให้ละเอียดเท่าไหร่สรรพคุณก็จะดีตามขึ้นไปอีก ยาผงที่บดละเอียดจะย่อยง่าย การดูดซึมก็จะดีตามขึ้นไปเรื่อยๆ การนำมารับประทานอาจปั้นเป็นลูกกลอน ชงดื่ม หรือผสมเหล้าได้
5 ยาฝน เป็นการปรุงยาโดยการฝนยาในขันน้ำที่ใส่น้ำสะอาด ฝนยากับหินหรือกับฝาหม้อดินจนได้น้ำยาสีขุ่นข้นเล็กน้อย
6 ยาพอก เป็น ยาที่ใช้ภายนอก โดยเอาสมุนไพรสดมาตำให้ละเอียด ผสมเหล้าเป็นตัวละลาย เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ยิ่งขึ้น คนให้เข้ากันจากนั้นจึงนำยาไปพอกแผลตามต้องการเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
7 ยาตำ คั้นเอาแต่น้ำ โดยการใช้สมุนไพรมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาใช้ส่วนกากทิ้งไป จะได้ยาที่มีกลิ่น รส รุนแรง ตัวยามีความเข้มข้นมาก
 การใช้พืชสมุนไพรให้ถูกวิธี
1 ใช้ถูกโรค ควรศึกษาสรรพคุณของพืชสมุนไพรให้เข้าใจเสียก่อนว่าต้นนั้น ต้นนี้ใช้แก้โรคอะไร และควรใช้ให้ถูกกับโรคที่เป็นอยู่ จะทำให้การใช้พืชสมุนไพรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2 ใช้ถูกต้น ต้องเรียนรู้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพราะชื่อทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่เหมือนชื่ออื่นๆที่อาจ เรียกตามท้องถิ่นอาจทำให้สับสนหรือผิดต้นได้
3 ใช้ถูกส่วน ต้อง เข้าใจว่าส่วนต่างๆของพืชนั้นมีสรรพคุณและโทษต่างกันต้องใช้ให้ถูกส่วน ว่าส่วนไหนดีเช่นใบ ลำต้น ดอก ราก ผล เมล็ดหัว เหง้าราก เป็นต้น
4 ใช้ถูกขนาด  เมื่อเรียนรู้ว่าใช้ส่วนไหนแล้วก็ควรเรียนรู้ว่าจะใช้ปริมาณเท่าไหร่ถึงจะดี ถ้าใช้มากก็อาจเป็นโทษได้ต้องใช้ให้ถูกขนาด
5 ใช้ถูกวิธี เช่นพืชบางชนิดต้องเอาไปต้มก่อนหรือบางชนิดเอาไปตำก่อนต้องเรียนรู้วิธีใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
เอกสารอ้างอิง,แหล่งที่มา: การปรุงยาสมุนไพร ( อาจารย์เศรษฐมันต์ กาญจนกุล, รื่นรมย์พรรณไม้งาม, พืชสมุนไพร 1,2)
 ข้อมูลที่รวบรวมมาต่อไปนี้เพื่อเป็นความรู้ในสรรพคุณเบื้องต้นโดยย่อของพืฃ ฃนิดนั้นๆ เท่านั้นการจะใช้เป็นยารักษาโรคจริง ควรศึกษาข้อมูลและสรรพคุณของพืชที่จะใช้แต่ละชนิดโดยละเอียดเพิ่มเติมต่อไป
 รายชื่อพืชสมุนไพรในบทนี้มี
--- กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบมอญ, กระแจะ, กระดูกไก่ดำ, กระวาน, กรุงเขมา, กวาวเครือขาว, กะทือ, กะเพรา, กัญชา, กาแฟ, กุยช่าย, เกากีฉ่าย, โกโก้, โกฐจุฬาลัมพาไทย--- ขมิ้นชัน, ขมิ้นอ้อย, ขลู่, ข่า, ข่าลิง, ข้าวฟ่าง, ข้าวเย็นเหนือ-ข้าวเย็นใต้, ขิง, ขันทองพยาบาท---- คนทา, คนทีเขมา, คนทีสอ, คนทีสอทะเล, คราม, คว่ำตายหงายเป็น,  ไคร้หางนาค, ไคร้หางสิงห์--- งา--- จักรณารายณ์, เจตพังคี, เจตมูลเพลิงขาว, เจตมูลเพลิงแดง--- ชะพลู, ชะอม, ชะเอมเหนือ, ช้าเรือด--- ซ่อนกลิ่น--- ดีปลี, โด่ไม่รู้ล้ม--- ตรีผลา , ตะขบ, ตะขาบบิน, ตะไคร้, ตะไคร้ต้น , ตะไคร้หอม, ตีนตะขาบ, เตยหอม, แตงกวา, แตงโม--- ถั่วฝักยาว, ถั่วพู, ถั่วลิสง--- ทองพันชั่ง--- ธรณีสาร--- นาวน้ำ, เนียมหูเสือ--- บวบเหลี่ยม, บุก--- ผักชี, ผักชีช้าง, ผักชีล้อม, ผักเชียงดา, ผักแพว, ผักหวานบ้าน--- ฝ้าย
มีต่อพืชสมุนไพร 2
--- พญาไร้ใบ, พรหมตีนสูง, พริกขี้หนู, พริกไทย, พลับพลึง, พลู, พลูคาว, พิมเสน, พิมเสนต้น, เพชรสังฆาต--- ฟักข้าว, ฟักเขียว, ฟักทอง, ฟ้าทะลายโจร, ไฟเดือนห้า--- มะเขือขื่น , มะเขือเทศ, มะเขือพวง, มะเขือยาว , มะรุม, มะอึก, มันแกว, มันเทศ, ม้ากระทืบโรง, ม้าทลายโรง, แมงลัก--- ยอ, ยี่หร่า--- ระงับพิษ, ระย่อมน้อย , รางจืด, รางจืดต้น, เร่ว --- ละหุ่ง, ลำโพงกาสลัก, ลิ้นมังกร, เล็บครุฑ--- ว่านกีบแรด, ว่านกีบแรด, ว่านนาคราช, ว่านน้ำ, ว่านพระฉิม, ว่านลูกไก่ทอง, ว่านสิงหโมรา, ว่านหางจระเข้--- สนแผง, สบู่ดำ, สบู่เลือด, ส้มเช้า-บ่ายมัน, สลัดไดป่า, สะระแหน่, สะระแหน่ญี่ปุ่น, เสนียด, เสลดพังพอน
--- หญ้าหนูต้น, หนุมานประสานกาย, หอมแดง, โหระพา--- อ้อยแดง--- ฮ-ว่านง็อก, ฮ่อสะพายควาย
(อยู่ระหว่างการปรับปรุง)(อยู่ระหว่างการปรับปรุง)(อยู่ระหว่างการปรับปรุง)


กระเจี๊ยบมอญ/Abelmoschus esculentus

ชื่อวิทยาศาสตร์---Abelmoschus esculentus (L.) Moench.(1794)
ชื่อพ้อง--- Has 10 Synonyms
---Basionym: Hibiscus esculentus L.
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2609574
ชื่อสามัญ---Lady's Finger, Okra
ชื่ออื่น---กระเจี๊ยบเขียว, กระเจี๊ยบมอญ, มะเขือทะวาย, มะเขือมอญ (ภาคกลาง); มะเขือพม่า, มะเขือมื่น, มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ);[ARABIC: Bâmyah, Bamije.];[ASSAMESE: Bhendi.];[BENGALI: Dhenras.];[CHINESE: Chan qie, Huang qiu kui, Huang su kui, Ka fei huang kui, Qiu kui.];[FRENCH: Bamia, Bamia okra, Gombeand, Gombo, Ketmie comestible, Mauve comestible.];[GERMAN: Ocker, Okra, Eßbarer Bisameibisch.];
[HINDI: Bhindee, Bhindi.];[INDIA: Vetta-bija.];[INDONESIA: Kopi Arab, Bendi, Kacang bendi, Kacang lender, Kacang lendir, Kachang bendi, Kopi arab.];[ITALIAN: Bammia d'Egitto, Corna dei Greci, Ocra.];[JAPANESE: Amerika neri, Kiku kimo, Okura, Karusu-no-endô.];[KHMER: Pôôt barang.];[LAOS: Khüa ngwàng.];[MALAYALAM: Ventaykka.];[MALAYSIA: Kacang bendi, Sayur bendi, Kacang lender.];[MARATHI:  Bhendi, Ramaturai.];[MOZAMBIQUE: Monhatando.];[MYANMAR: You padi.];[NETHERLANDS: Malve, Eetbare.];[PHILIPPINES: Okra, Saluyot a bunga (Ilocano), Haluyot (Ifugao).];[PORTUGUESE: Quiabeiro, Quiabo, Quiabos, Quimbongo.];[SANSKRIT: Darvika, Gandhamula, Pitali, Bhenda, Tindisha, Bhinda, ASRA-pattraka.];[SPANISH: Dedos de la señora, Hierba de culebra molondrón, Quimbombo, Verdura malvavisco.];[SWEDISH: Gronsakhibisk.];[TAMIL: Ventai, Venaikkay, Vendaikkai.];[TELUGU: Benda, Bendakaya, Penda, Vendakaya.];[THAI: Krachiap-khieo, Krachiap mon, Ma khuea thawai, Ma khuea mon (Central); Ma khuea phama, Ma khuea muen, Ma khuea lawo (Northern).];[TURKISH: Bamya.];[VIETNAM: Mướp tây, Bụp bắp, Đậu bắp, Bông vàng.].
EPPO Code---ABMES (Preferred name: Abelmoschus esculentus.)
ชื่อวงศ์---MALVACEAE
ถิ่นกำเนิด---แอฟริกาตะวันตก - เอธิโอเปีย ซูดาน
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Abelmoschus เชื่อว่ามาจากภาษาอาหรับและหมายถึง "source of musk"= "แหล่งที่มาของมัสค์ "ในการอ้างอิงถึงกลิ่นมัสกี้ของแคปซูลผลไม้ ; ชื่อเฉพาะสายพันธุ์ esculentus หมายถึงการกินหรือกินได้
Abelmoschus esculentus เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Conrad Moench (sometimes written Konrad Mönch; 1744 –1805) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2337

     

ที่อยู่อาศัยอาจมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตกและคิดว่าถูกนำไปยังโลกใหม่ในระหว่างการค้าทาส ตอนนี้มันได้รับการปลูกฝังอย่างกว้างขวางทั่วเขตร้อน มีสายพันธุ์ที่หลากหลายรวมถึงแบบฟอร์มทนความเย็นที่สามารถปลูกได้ไกลถึงแคนาดา มีการเก็บรวบรวมกระเจี๊ยบเขียวในบางส่วนของทวีปอเมริกาเหนือทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐคอนเนตทิคัต เกิดขึ้นใน Anthropogenic (ที่อยู่อาศัยที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือถูกรบกวน) ทุ่งหญ้าและทุ่งนา
ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง ลำต้นและใบมีขนหยาบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปฝ่ามือ กว้าง 8-25 ซม.ยาว 10-30 ซม.ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกใหญ่สีเหลืองสดใส โคนกลีบด้านในสีม่วงแดง ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้งแตกได้ยาว 6-20 ซม.เป็นสันรูปห้าเหลี่ยม ผลแก่จะแตกตามรอยสันของเหลี่ยม เมล็ดกลมรี 5 × 4 มม.เมล็ดอ่อนสีขาว แก่สีเทา
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มที่ ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ดินระบายน้ำดี ปลูกง่าย
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลอ่อนกินเป็๋นผักสดได้ หรือนำมาต้มหรือนึ่งจิ้มนํ้าพริก ใช้เป็นผักในอาหารเอเชียหลายชนิด
-ใช้เป็นยา กระเจี๊ยบ เขียวหรือกระเจี๊ยบมอญมีคุณสมบัติในการรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี มาก มีสารเมือกจำพวก เพคติน (Pectin)และกัม(Gum) ที่มีฤทธิ์ในการเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบาย ที่สำคัญสามารถรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดให้หายได้ ด้วยข้อมูลทางวิชาการ โดยจะต้องรับประทานกระเจี๊ยบเขียวเป็นเมนูอาหารทั่วไป ติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างน้อย 15วัน ตำรายาไทยใช้ผลแห้งป่นชงน้ำ กินบำบัดโรคกระเพาะอาหาร ผลอ่อน ระงับพิษ ขับปัสสาวะ
-ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกในบ้าน โรงเรียน และสวนเศรษฐกิจ เพื่อรับประทานผลไม้ มีผลไม้ยักษ์และพันธุ์ผลไม้สีแดง (มีทั้งผลไม้ที่กินได้) ซึ่งมักปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำอาหารหรือการศึกษา
-อื่น ๆไม้และผลิตภัณฑ์ (เส้นใยต้นกำเนิดที่เก็บเกี่ยวสำหรับทำปอ กระดาษ และสิ่งทอ)
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด


กระเจี๊ยบแดง/Hibicus sabdariffa

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Hibicus sabdariffa L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 10 synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2850461
---Abelmoschus cruentus (Bertol.) Walp.(1842)
---Furcaria sabdariffa Ulbr.(1921)
---Hibiscus cruentus Bertol.(1840)
---Sabdariffa rubra Kostel.(1836P)
ชื่อสามัญ---Red sorrel, Roselle, Jamaican sorrel, Sour-Sour, Florida cranberry
ชื่ออื่น---กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว, กระเจี๊ยบ (ภาคกลาง); ส้มเก็งเค็ง, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ); ส้มตะเลงเครง (ตาก); ส้มพอดี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ;[ARABIC: Karkadeh.];[ASSAMESE: Tengamora.];[BENGALI: Chukai, Lal-mesta, Patwa.];[CENTRAL AMERICA: Saril, Flor de Jamaica.];[CHINESE: Luoshen hua.];[FRENCH: Ketmie rose, Oseille rouge, Oseille de Guinée.];[GERMAN: Rama, Malventee, Rosellahanf.];[INDONESIA: Asam susur.];[ITALIAN: Carcade.];[MALAYALAM: Mathippuli, Pulivenda.];[MYANMAR: Bilat-chinbaung, Chinbaung-ni, Chin-bong, Chinebaune, Phat-swon-pan, Sum-bawng.];[NIGERIA: Isapa.];[PORTUGUESE: Carcadé, Chá-do-sudão, Cânamo-da-guiné, Rosa-de-jamaica, Rosela.];[SPANISH: Acedera de Guinea, Agrio de Guinea, Cáñamo de Guinea, Quimbombó chino, Sereni, Rosa de Jamaica, Rosella, Viña.];[TAMIL: Pulicha keerai.];[TELUGU: Gongura.];[THAI: Krachiap, Krachiap priao, Krachiap daeng  (Central); Som keng kheng (Northern); Som taleng khreng (Tak); Som-pu (Shan-Mae Hong Son).];[VIETNAM: Cây quế mầu, Cây bụp giấm, Cây bụt giấm.].
EPPO Code---HIBSA (Preferred name: Hibiscus sabdariffa.)
ชื่อวงศ์---MALVACEAE
ถิ่นกำเนิด---แอฟริกาตะวันตก- ซูดาน, เอเซียตะวันออกเฉียงใต้-ไทย มาเลเซีย อินเดีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศในกึ่งเขตร้อนและเขตร้อน
Hibicus sabdariffa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296
ที่อยู่อาศัย เป็นพืชพื้นเมืองของเขตร้อน มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน รวมถึงอินเดีย, ซาอุดีอาระเบีย, จีน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ซูดาน, อียิปต์, ไนจีเรียและเม็กซิโก
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มล้มลุก สูง 50-180 ซม.มีหลายสายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ 3หรือ5แฉกกว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15ซม. ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบกลีบดอกออกสีชมพูอ่อนอมแดงระเรื่อ ผลรูปไข่ป้อม ไม่เป็นฝักยาวอย่างกระเจี๊ยบเขียว 1.25-2 ซม.มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้ จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มเมื่อผลแก่ ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อนขนาด 4-6 มม.
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้องการดินที่อุดมไปด้วยอินทรีย์วัตถุในดวงอาทิตย์เต็มวัน ไม่ทนต่อร่มเงาและต้องกำจัดวัชพืช ทนต่อน้ำท่วมลมแรงหรือน้ำนิ่ง ต้องการ pH ในช่วง 4.5 ถึง 8.0 มีระบบรากลึกสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดี
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ใบอ่อนและยอดมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ใช้ต้มหรือแกง กลีบเลี้ยงสีแดงและรสเปรี้ยว มีคุณค่าทางอาหาร ใช้ทำเครื่องดื่ม เช่น ชา น้ำผลไม้ ไวน์ ตลอดจนทั้งทำอาหารหวานบางจำพวก เช่น แยม
-ใช้เป็นยา กลีบเลี้ยงคือส่วนที่นำมาทำน้ำกระเจี๊ยบ แก้กระหายร้อนใน บำรุงสายตา แก้ท้องเสีย ขับเสมหะ สรรพคุณที่สำคัญคือช่วยขับปัสสาวะให้ออกมาในปริมาณที่มากกว่าปกติ อาการขัดเบา หรือโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะน้อยลง ;-ตำรายาไทย ใช้ใบและยอดอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวแก้ไอ เมล็ดบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ ;- ในไต้หวันใช้เมล็ดเป็นยาแผนโบราณเพื่อเป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ และยาบำรุง
-อื่น ๆ เมล็ดมีน้ำมันมาก เส้นใยจากต้นใช้ทำเชือกและกระสอบ
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด


กระแจะ/Naringi crenulata


ชื่อวิทยาศาสตร์---Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson
ชื่อพ้อง --- Has 2 synonyms           
---Hesperethusa crenulata (Roxb.) M. Roem.
---Basionym: Limonia crenulata Roxb
ชื่อสามัญ---Hesperethusa, Elephant Nettle.
ชื่ออื่น---กระแจะ, ขะแจะ (ภาคเหนือ); พญายา, ตุมตัง(ภาคกลาง,ราชบุรี); พินิยา(เขมร).]; [THAI: krachae, khachae (Northern); paya- ya, tum tang (Central, Ratchaburi); phi-ni-ya (Khmer).]; [KANNADA: Nayi belala, Nayi bullal, Kadubilvapatre.]; [MALAYALAM: Dadhiphala,Vilathi,Manmatham,Narinarakam.]; [TAMIL: Magavilvam,Mega Vilvam.].
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย ลาวและเวียดนาม
บันทึก--สกุล Naringi อาจเป็น monotypic เดิมสายพันธุ์นี้เป็นสกุล Hesperethusa


เป็นสายพันธุ์เอเซียที่แพร่กระจาย จากอนุทวีปอินเดีย มณฑลยูนนานของจีน   และในภูมิภาคอินโดจีน เติบโตในป่ากึ่งผลัดใบและป่าผลัดใบเขตร้อนที่ระดับความสูงถึงประมาณ 1,300 เมตร และเป็นเวลาหลายศตวรรษที่ถูกปลูกไว้ใกล้กับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในประเทศไทย พบทางภาคเหนือ และ ภาคตะวันตกเฉียงใต้
ไม้พุ่มผลัดใบถึงต้นไม้ขนาดเล็กสูง 3-10 (–12) เมตร เปลือกสีเหลืองเทา กิ่งก้านมีหนามยาว 1–2 ซม. ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4-13ใบ รูปวงรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง1.5-3ซม.ยาว2-7ซม. ก้านใบแผ่เป็นปีก แผ่นใบมีตุ่มน้ำมันใสเป็นจุดทั่วไป ดอกช่อออกที่ซอกใบ มีประมาณ 10 ดอก ดอกสีขาวอมเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อน ผลสดมีเนื้อรูปทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 มม.มีต่อมน้ำมันเมื่อสุกสีน้ำเงิน-ดำเมล็ด 1-4 เมล็ด เรียบสีเหลือง
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นเครื่องสำอางโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นไม้ชนิดนี้ถูกใช้เป็นพิเศษในประเทศพม่าพบมากทางภาคเหนือตอนล่างของพม่า ใช้เป็นเครื่องสำอางกันแดด ดูแลผิวแบบดั้งเดิม เนื้อไม้ส่วนที่เป็นเปลือกและผิวเนื้อไม้บดเป็นผง จะมีกลิ่นหอมเย็นอ่อน ๆ มีสีออกเหลืองนวลใช้ทาผิวทำให้ผิวเนียน สาวพม่ารู้จักใช้ทานาคามานานกว่า 2000 ปี แทบทุกบ้านมักมีท่อนไม้ทานาคา วางไว้คู่กับกระจกเสมอ เวลาใช้ก็นำเอาท่อนไม้ทานาคามาฝนกับแผ่นหิน เจือด้วยน้ำเล็กน้อย แล้วใช้ทาเรือนร่างโดยเฉพาะใบหน้าจะเน้นมาก นอกจากจะใช้เป็นแป้ง ทาหน้าแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรเช่น ใบแก้โรคลมบ้าหมู ผลแห้งแก้พิษ แก้ไข้ ท้องอืดเฟ้อ บำรุงร่างกาย รากเป็นยาระบาย ขับเหงื่อ ลำต้นใช้ฝนกับน้ำสะอาดทาหน้าแก้สิวฝ้า ป้องกันการอักเสบของผิวหนัง-ยา พื้นบ้านใช้ ต้น ต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ3ครั้ง แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อยเส้นตึง แก้ร้อนใน แก้ประดง(อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย)
-อื่น ๆ ไม้ใช้ทำเครื่องมือการเกษตรและใช้เป็นเชื้อเพลิง
ระยะเวลาออกดอก/ผลแก่---มีนาคม - พฤษภาคม/พฤษภาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์—ด้วยเมล็ด, ปักชำกิ่งอ่อนหรือราก


กระชาย/Boesenbergia rotunda

ชื่อวิทยาศาสตร์---Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
ชื่อพ้อง -- Has 8 synonyms
---Boesenbergia cochinchinensis (Gagnep.) Loes.
---Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.
---Curcuma rotunda L.
---Gastrochilus panduratus (Roxb.) Ridl.
---Gastrochilus rotundus (L.) Alston
---Kaempferia cochinchinensis Gagnep.
---Kaempferia ovata Roscoe
---Kaempferia pandurata Roxb.
ชื่อสามัญ---Chinese keys, Finger root, Lesser galangal , Chinese ginger
ชื่ออื่น---กระชาย (ทั่วไป); กระชายดำ, กะแอน, ขิงทราย (มหาสารคาม); จี๊ปู, ซีพู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); เป๊าะซอเร้าะ, เป๊าะสี่ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ละแอน (ภาคเหนือ); ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) ; [THAI: krachai (General); krachai dam, ka aen, khing sai (Maha Sarakham); po-so-ro,  po-si ((Karen-Mae Hong Son); chi-pu, si-phu (Shan-Mae Hong Son); la aen (Northern); wan phra a thit (Bangkok).]; [CAMBODIA: Khchiëy.];[CHINESE: Ao chun jiang, soh shi.];[GRENCH: Petits doigts.];[INDIA: Canda, manja-kua, chekkur.];[INDONESIA: Temu kunci (Indonesian); tumbu konci (Moluccas), anipa waking, aruhu konci, dumu kunci, ene sitale, konce, koncih, rutu kakusi, sun, tamputi, temmo konce, temu konci, temu kuntji, uni nowo, ni rawu.];[LAOS: Kas'a:y, nè:ngx kiengz.];[MALAYSIA: Temu Kunci (Malay), temu chunchi, Tamo koentji, toemae kontji, temu kunchi.]; [SWEDISH: Kunchi.]; [VIETNAM: ngai num kho.].
ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นพืชวงศ์ขิงสายพันธุ์ที่เติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ; อินเดีย ศรีลังกาและจีนตอนใต้ พบตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา บนเขาหินปูน ตามลำธารจากระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,200 เมตร
พืช ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สูงประมาณ 40-50 ซม. ใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 8-15 ซม. ยาว 15-40 ซม. ผิวใบด้านล่างมีขนสั้น ดอกสีชมพูอมแดงและสีขาว ออกเป็นช่อยาว 5-6 ซม. ที่ซอกใบใกล้โคน ดอกบานเต็มที่ขนาด3-6ซม. ผลรูปรีแก่แล้วแตกกลางพู
การใช้ประโยชน์---ใช้เป็นเครื่องเทศและพืชสมุนไพรโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมักจะปลูกในขนาดเล็กระบบการยังชีพเพื่อทำการเกษตรและมักจะพบขายในตลาดท้องถิ่น เหง้าและรากใช้เป็นอาหารและเครื่องเทศ เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ปวดหลัง ขับปัสสาวะ และทาภายนอกแก้ปวดเมื่อย ตำรายาไทย ใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง
สรรพคุณอื่น
---แก้บิด แก้ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม
---รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน
---แก้ โรคกระเพาะ โดยกินรากสดแง่งสดเท่านิ้วก้อยไม่ต้องอกเปลือก วันละ3มื้อ ก่อนอาหาร 15นาทีสัก 3วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ2สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่3ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาเท่า2ข้อนิ้วก้อยจน ครบ2สัปดาห์
---บรรเทา อาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก2แง่งกับน้ำสะอาด1แก้ว เติมเกลือครึ่งช้อนชากรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ3เวลาจนกว่าแผลหาย ถ้าเฝื่อนเกินไให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่เหลือเก็บไว้ในตู้เย็นได้1วัน
---แก้ ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาดไม่ต้องปอกเปลือกในโถปั่น ปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1ช้อนชา วันละ3มื้อก่อนอาหาร15นาทีประมาณ7วัน
---แก้ กลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า นำรากกระชายทั้งเปลือกล้างน้ำผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่นแล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันมะพร้วหรือน้ำมันมะกอกก็ได้ มาอุ่นในหม้อใบเล็ก เติมผงกระชายและใช้น้ำปริมาณ3เท่าของปริมาณกระชายหุง คนไปคนมาอย่าให้ไหม้ ใช้ไฟอ่อนๆสักพัก ราว15-20นาที กรองกระชายออกเก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชา ใช้ทา
---แก้คันศรีษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรไหนก็ได้แต่ใช้น้ำมันกระชายแทนน้ำมันมะพร้าว
---เป็น ยาอายุวัฒนะ ใช้กระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ3เม็ดก่อนเข้านอน  ตำรับนี้มีผู้รายงานว่าลดน้ำตาลในเลือดได้
ระยะออกดอก/ติดผล---มกราคม-กุมภาพันธ์/ เมษายน-มิถุนายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า

กระชายดำ/Kaempferia parviflora





ชื่อวิทยาศาสตร์---Kaempferia parviflora Wall. ex Baker
ชื่อพ้อง ---Has 1 Synonyms   
---Kaempferia rubromarginata (S.Q.Tong)
ชื่อสามัญ---Thai black ginger, Thai ginseng, Black galingale.
ชื่ออื่น---ว่านกระชายดำ ว่านกระชายม่วง ว่านเพชรดำ ว่านกำบัง. ; [THAI: krachai dam (General).]; [BANGLADESH: Kalahood.]; [GERMAN: Ingwer, schwarze galgantwurzel, schwarzer ginseng, Siamesischer ginseng.]; [MALAYSIA: Kunyit Hitam.]; [MYANMAR: Gamin-ni.];
ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย อินโดจีน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลตั้งตามนายแพทย์ชาวเยอรมัน Engelbert Kaempfer (1651-1716)

กระชายเป็นพืชพื้นเมืองของไทยมี3ชนิดคือ กระชายเหลืองหรือกระชายขาว กระชายแดง กระชายดำ
กระชาย เหลือง กระชาย แดง นิยมใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหารส่วนกระชายดำใช้เป็นสมุนไพรเมื่อผ่าเหง้าหัว ออกดูจะมีสีม่วงคล้ำจนถึงดำมีกลิ่นเหมือนกระชายทั่วไปแต่ฉุนกว่า ลักษณะใบและลำต้นเหมือนกระชายเหลืองและกระชายแดง แต่ขอบใบและก้านใบอาจมีสีม่วงแกม
กระชายดำเป็นสมุนไพรที่มีคนกล่าวถึงกันมาก เพราะมีสรรพคุณที่ขึ้นชื่อว่าเพิ่มพลังทางเพศ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า"โสมไทย" ในอดีตคนโบราณเชื่อว่าเป็นว่านคงกระพันชาตรีและบำรุงกำลังทางเพศได้เป็น อย่างดี นักเลงไก่ชนนิยมนำไปให้ไก่กินเชื่อว่าจะทำให้มีพละกำลังดี หนังเหนียว ทรหดทนแทงไม่เข้า
หัว กระชายดำแท้เวลาฝานเนื้อออก เนื้อในจะมีสีม่วงคล้ำจนถึงดำสนิท ถ้าฝานออกมาแล้วเนื้อในเป็นสีชมพูอ่อนปนน้ำตาลเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน อันนี้ไม่ใช่ของแท้แต่เป็นกระชายม่วง อยากได้ต้นแท้ไปปลูกให้หาหัวพันธุ์ที่เป็นดำแท้ เพราะจะแน่ใจว่าต้นที่ขึ้นมาเป็นกระชายดำสายพันธุ์ดำแท้จริงๆ เพราะลักษณะภายนอกอื่นๆ เช่นใต้ใบ ขอบใบ อาจไม่มีสีม่วงให้เห็นเลย เพราะอาจแปรเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม
การใช้ประโยชน์สรรพคุณ ของกระชายดำสูง จัดได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้คึกคัก กระชุ่มกระชวย สร้างความสมดุลย์ของความดันโลหิตให้ไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใส และแก้โรคบิด ปวดท้อง บำรุงฮอร์โมนเพศชาย เป็นยาอายุวัฒนะชลอความแก่  บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาวทำให้ประจำเดือนมาปกติ แก้โรคกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา

กระไดลิง/Bauhinia scandens var. horsfieldii

ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia scandens var. horsfieldii (Prain) K.Larsen & S.S.Larsen
ชื่อพ้อง---Has 16 Synonyms
---Bauhinia subrhombicarpa Merr.
---Lasiobema horsfieldii Miq.
---(More)
ชื่อสามัญ---Snake Climber
ชื่ออื่น---โชกนุ้ย(ชัยภูมิ); กระไดลิง(ราชบุรี); กระไดวอก(ภาคเหนือ) ; มะลืมดำ(เชียงใหม่) ; THAI: chok-nui (Chaobon-Chaiyaphum);  kradai ling (Ratchaburi); kradai wok (Northern); ma luem dam (Chiang Mai); [CHINESE: pan yuan yang ti jia.]; [VIETNAM: Mấu chàm.]
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE- CAESALPINIACEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน และอินโดนีเซีย


พบในประเทศจีน (ไหหลำ), กัมพูชา, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ไทย, เวียดนาม เกิดขึ้นตามป่าที่ถูกรบกวนในหุบเขาชายฝั่ง ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ เช่น จังหวัดเลย, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, อยุธยา, กาญจนบุรี, สระบุรี, จันทบุรี, ชลบุรี, ปราจีนบุรี, ตราด, ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ โดยมักขึ้นตามป่าดิบแล้งและตามป่าเบญจพรรณชื้น
ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็งเหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-12 ซม.ยาว 6-11 ซม.ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก ก้านใบยาว 1.5-5 ซม.ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่งยาว 12-25 ซม. มีขนประปราย แตกแขนงน้อย แต่ละแขนงมีดอกเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง แยกกัน ฝักแบน รูปรีหรือรูปไข่แกมรี มีขนาดกว้าง 1.5-2 ซม.ยาว  3-4ซม. ฝักแก่สีน้ำตาลแดง ปลายมน มีติ่งแหลมสั้นๆ มื่อแห้งจะแตกออก ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา สรรพคุณเถามีรสเบื่อเมา มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษทั้งปวง แก้พิษฝี แก้ไข้ตัวร้อน ขับเหงื่อ  แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้ร้อนใน แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษโลหิต รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษต่าง ๆ เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้เซื่องซึม ตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานของไทยจะใช้เถาหรือต้นนำมาต้มกับน้ำหรือฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด ในประเทศอินโดนีเซียจะนิยมใช้น้ำเลี้ยง หรือน้ำที่ตัดได้จากเถาหรือต้นสดของกระไดลิงที่ไหลซึมออกมา แล้วใช้ภาชนะรอง นำมาจิบกินบ่อย ๆ เพื่อเป็นยาบรรเทาอาการไอ
-อื่น ๆ เปลือกของต้นกระไดลิงมีความเหนียว สามารถนำมาใช้แทนเชือกได้ ส่วนเถาแห้งที่คดงอไปมานั้นนิยมนำมาใช้ในงานประดิษฐ์หลายอย่าง

 กระทุงลาย/Celastrus paniculatus

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Celastrus paniculatus Willd.
ชื่อพ้อง---Has 10 synonyms
---Catha paniculata (Willd.) Scheidw.
---Celastrus alnifolius D.Don
---Celastrus metzianus Turcz.
---Celastrus nutans Roxb.
---Celastrus racemosus Turcz.
---Celastrus rothianus Schult.
---Ceanothus paniculatus (Willd.) Roth
---Scutia paniculata (Willd.) G.Don
---Alsodeia glabra Burgersd.
---Rinorea glabra (Burgersd.) Kuntze
ชื่อสามัญ---Black ipecac, Black oil plant, Black oil tree, Celastrus dependens, Climbing staff plant, Climbing staff tree, Intellect tree, Oriental bittersweet
ชื่ออื่น---โชด, กระทงลาย, กระทุงลาย (ภาคกลาง); นางแตก (นครราชสีมา); มะแตก, มะแตกเครือ, มักแตก (ภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ; [THAI: chot, kra thong lai, kra thung lai (Central); nang taek (Nakhon Ratchasima); ma taek, ma taek khruea,  mak taek (Northeastern, Northern),]; [ARABIC: Arujee.]; [ASSAM: Kunkunilata.]; [BENGALI: Kijri, Malkangani.]; [CHINESE: Dian nan she teng, Da you guo, Hong guo teng, Xiao huang guo, Huan zhui nan she teng, Deng you teng.]; [HINDI: Malkangani.]; [KANNADA: Kougilu, Jotishmati, Bhavamga, Kariganne.]; [MALAYALAM: Paluzhavam, Valuzhavam.]; [MARATHI: Malkangoni, Kanguni.]; [MYANMAR:  hpak-ko-suk, Myin-gaung-nayaung, Myin-gondaing, Myin-lauk-yaung, new-ni.]; [PHILIPPINES: Bilogo, Lagete, Lañgitñgit (Tag.).]; [SANSKRIT: Jyotishmati, Kangu, Alavan.]; [TAMIL: Mannai-k-katti, Valuluvai, Kuvarikuntal.];[TELUGU:  Kasara-tige, Maneru.].
ชื่อวงศ์---CELASTRACEAE
ถิ่นกำเนิด---เอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย  


มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย พบในออสเตรเลีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล ศรีลังกา ไทย เวียดนาม พบตามความลาดชันของป่า ในสภาพแวดล้อม ที่หลากหลายที่ระดับความสูง 200 - 2,000 เมตร
ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 3-10 เมตร หรือขึ้นพาดพันต้นไม้อื่นไปได้ไกลถึง 10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนสีเทา ผิวขรุขระเล็กน้อย ตามกิ่งจะมีรูอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน เป็นรูปรี หรือรูปวงรี หรือเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบหยักละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบเรียบ ส่วนท้องใบมีขนอยู่ประปราย
ดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง 5 x 8 ซม.ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก  ดอกสีขาวอมสีเหลือง ก้านดอกยาว 6 มม. ดอกมีขนาด 6 มม. กลีบเลี้ยง 5กลีบ
ผลแคปซูลถึง 1 ซม. ผิวผลเรียบ มีพู 3 พู ผลอ่อนสีเขียว พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มปนเหลืองและแตกออกเป็น 3 ซีก มีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-6 เมล็ด
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นอาหาร ดอกอ่อน - ปรุงและใช้กินเป็นผัก
-ใช้เป็นยา สรรพคุณใบมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ด้วยการนำใบมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำกิน สารสกัดด้วยน้ำมันจากเมล็ดสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความจำได้ ผลช่วยบำรุงโลหิต แก่นใช้เป็นยารักษาวัณโรค ใช้ราก เถา และใบ รับประทานเป็นยาแก้ไข้ลงท้องหรืออาการท้องเดิน รากตากแห้งใช้ต้มผสมกับข้าวเปลือก 9 เมล็ด ใช้ดื่มกินแก้อาการปวดท้อง รากตากแห้งใช้ต้มผสมกับข้าวเปลือก 9 เม็ด ใช้ดื่มกินแก้อาการปวดท้อง ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้ร่วมด้วย) ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม เถานำมาต้มหรือฝนเป็นยารับประทานแทนการอยู่ไฟของสตรีหลังคลอดบุตรและอยู่ในเรือนไฟ อีกทั้งยังเป็นยาบำรุงน้ำนมด้วย น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาแผนโบราณในอินเดีย Unani และยาอายุรเวท-ในอินโดนีเซีย ใช้ใบในการรักษาโรคบิด -ในประเทศฟิลิปปินส์มีการใช้เมล็ดที่ถูกบดเป็นตัวกระตุ้นเส้นประสาทพื่อรักษาโรคไขข้ออักเสบและโรคอัมพาต
ระยะออกดอก/ติดผล--- เมษายน - มิถุนายน/ มิถุนายน - กันยายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ชำราก


กระทุงหมาบ้า/Dregea volubilis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f.
ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms

-Apocynum tiliifolium Lam. -Hoya lacuna Buch.-Ham. es Wight  
-Asclepias volubilis Linn. f.  -Hoya viridiflora R. Br. (Unresolved)
-Dregea augustifolia (Hook. f.) Santapau & Irani  -Marsdenia volubilis (L.f.) Cooke
-Dregea formosana T. Yamaz.  -Schollia volubilis (L.f.) Jacq. ex Steud.
-Dregea pubescens (Miq.) Boerl.  -Tylophora macrantha Hance
-Dregea volubilis (Linn.f.) Benth. -Wattakaka angustigolia (Hook.f.) S.D.Deshp.
-Hoya formosana T. Yamaz.   -Wattakaka volubilis (L.f.) Stapf

ชื่อสามัญ---Green wax flower, Cotton Milk Plant, Green Milkweed Climber, Sneezing silk, Sneeze Wort.
ชื่ออื่น---เครือเขาคลอน, เครือเถาหมู, ง่วนหมู, ฮ้วนหมู (ภาคเหนือ); กระทงหมาบ้า, กระทุงหมาบ้า, คันชุนสุนัขบ้า (ภาคกลาง) ; [THAI: khruea khao khlon, khruea thao mu,  nguan mu,  huan mu (Northern); kra thong ma ba, kra thung ma ba,  khan chun sunak ba (Central).]; [ASSAMESE: Hemajivanti lata,Khamal lata,Sagoli shingiya lata.]; [AYURVEDA: Suparnikaa, Madhu-maalati. Muurvaa (substitute). Nak-chhikkini.]; [BENGALI: Jukti phul,Titakunga la.]; [CHINESE: Nan shan teng.]; [HINDI: Akad bel.]; [MALAYALAM: Velipparuthi.]; [MARATHI: Harandodi, Nakhasikani.]; [MYANMAR: Gway Dock.]; [SANSKRIT: Bahuparni,Bahuvalli,Svarnajiva.]; [SIDTHA/TAMIL: Kodippalai.]; [TAMIL: Ankara-valli,Cinkira]; Koti-p-palai.]; [TELUGU: Dudipalatiga.].
ชื่อวงศ์---ASCLEPIADACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีนตอนใต้ ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์


 

มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นไม้เถาเนื้อเข็งเลื้อยพาดพันไม้อื่น ยาวได้ถึง 10 เมตร เถากลมสีน้ำตาลอมเทา มียางสีขาว  ใบ เป็นใบเดี่ยว ยาว 7.5 - 15 ซม. กว้าง 5 - 10 ซม. ออกเรียงตรงข้าม รูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบขนาดประมาณ 1 ซม. ดอกสีเขียวอ่อน ผล เป็นฝักคู่ มีขนสีน้ำตาล
การใช้ประโยชน์---เป็นสมุนไพรที่ใช้กันทั่วไปในอินเดียและเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารยาและแหล่งที่มาของเส้นใย บางครั้งมันถูกปลูกเป็นพืชอาหารเป็นผักสีเขียวที่เป็นที่นิยมในศรีลังกาซึ่ง มักจะขายในตลาดท้องถิ่น
-ใช้กิน หน่ออ่อนและใบ - ดิบหรือปรุงสุก กินในสลัดและแกง ดอกไม้ - ปรุงและกินเป็นผัก เปลือกของผลไม้สุกใช้เป็นผักในอาหารอินเดียแบบดั้งเดิม
-ใช้เป็นยา มี สรรพคุณทางสมุนไพรรากและลำต้นอ่อนมีสรรพคุณ ทำให้อาเจียนขับพิษได้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน กระทุ้งพิษ พิษฝี แก้ไข้พิษ พิษไข้หัว ไข้กาฬ แก้พิษน้ำดีกำเริบ ลำต้น ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ แก้ปวดศรีษะ เถามีรสเมาเบื่อใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ใช้กระทุ้งพิษไข้หัว ไข้กาฬ ปวดศีรษะ น้ำตาตกหนัก แสบร้อนหน้าตาเถาใช้เป็นยาแก้พิษงูกัดได้ ใบมีรสเมาเบื่อเอียนติดขม ใช้เป็นยาแก้แผลที่ถูกน้ำร้อนลวก แก้บวม แก้ฝี แก้ฝีภายใน แก้พิษต่าง ๆ การใช้ภายนอกให้นำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลหรือใช้พอกฝีและบริเวณที่อักเสบ -ในอินเดียใช้กันทั่วไปใน Siddha และอายุรเวทในการรักษาความเป็นพิษต่อตับ,โรคเบาหวาน มีการกำหนดอย่างกว้างขวางในการรักษาเงื่อนไขเช่นโรคตา, อาการอ่อนเพลียทั่วไป, เนื้องอก, โรคหอบหืด, โรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดเงื่อนไขการอักเสบและเจ็บปวด โรคผิวหนังและริดสีดวงทวาร
-อื่น ๆ การสกัดเมทานอลของผงใบได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพในการควบคุมยุง สารสกัดจากพืชสามารถใช้ในแหล่งน้ำนิ่งซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง
ชยาบพันธุ์---เมล็ด


กระบองเพชร เสมา/Opuntia elatior

ชื่อวิทยาศาสตร์ --- Opuntia elatior Mill.
ชื่อพ้อง---Has 5 synonyms
---Cactus elatior (Mill.) Willd.
---Cactus tuna var. elatior (Mill.) Sims
---Opuntia bergeriana F.A.C.Weber ex A.Berger
---Opuntia megalantha Griffiths
---Opuntia nigricans (Haw.) Haw.
ชื่อสามัญ---Prickly pear, Broad prickly pear, Red-flower prickly pear.
ชื่ออื่น---เสมา(ชลบุรี,เพชรบุรี), เสมาบ้าน, เสมาป่า, นิ้วมือผี ; [THAI: sema (Chon Buri, Phetchaburi);  [Australia: Red-flower prickly pear]; [HINDI: chappal-sendh.]; [ITALIAN:  Fico d'India molto alto.]; [NETHERLANDS ANTILLES: chau; shangran; tuna; tuna di baca; tuna spañó.]; [SWEDISH: rivieraopuntia.]; [TAMIL: pattanattukkalli.]; [TELUGU: nagajemudu, nagatali.].
ชื่อวงศ์--- CACTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---เปรู อเมริกากลาง สหรัฐอเมริกา อินเดีย อินโดนีเซีย  ออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Opuntia มาจากหมู่บ้านกรีกโบราณ (Opus)


มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง (คอสตาริกาและปานามา) แคริบเบียนและอเมริกาใต้เขตร้อน (เช่นเวเนซุเอลาและโคลัมเบีย) แพร่กระจายไปยังทวีปเอเซีย- อินโดนีเซียอินเดียและแอฟริกาใต้
เป็นไม้พุ่มอวบน้ำ สูง 2-4 เมตร ลำต้นโคนกลมส่วนปลายเป็นแผ่นแบน รูปไข่กลับ สีเทาหรือสีเขียวเข้ม ใบเล็กมาก ออกตามปุ่มที่จะเกิดหนาม เมื่อแก่ร่วงหมด   ดอกเดี่ยว สีเหลืองเปลี่ยน เป็นสีแดงหรือชมพู ภายในสีขาว ผลเดี่ยวกลม เนื้อนุ่ม แก่แล้วเป็นสีส้มอมแดง มีเกล็ดคล้ายใบอยู่รอบผล
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม---O. elatiorมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นและแห้งแล้งตามฤดูกาลรวมถึงทุ่งหญ้าสะวันนาและภูมิอากาศมรสุม มันสามารถทนต่อปริมาณน้ำฝนที่หลากหลาย จะชอบบริเวณชุ่มชื้น เมื่อเทียบกับOpuntiaชนิด  อื่น ๆ ต้องการตำแหน่งเพาะปลูกกลางแจ้งในที่แห้งดินทรายหรือดินที่ร่วนซุย อาจปลูกในดินเหนียวได้ถ้ามีการระบายน้ำดีและดินไม่ขังแฉะก็สามารถปรับได้ทั้งในดินกรดและด่าง มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง 6 ถึง 7.5
การใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา เป็นพืชที่สำคัญที่ใช้เป็นยาเนื่องจากคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพที่เป็นประโยชน์ ผลไม้ถูกนำมาใช้ในระบบการแพทย์ดั้งเดิมหลายระบบสำหรับการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงโรคโลหิตจาง โรคหอบหืด โรคอักเสบและโรคเบาหวาน มีประวัติการใช้ยาแผนโบราณแบบเม็กซิกันมายาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาโรคเบาหวาน ผลไม้ถูกใช้เป็นยาพอกสำหรับโรคไขข้อ ใช้รักษาอาการท้องเสียหอบหืดและโรคหนองใน
สรรพคุณทางสมุนไพร ใบ รสเมาเย็น ตำพอกดับพิษร้อน แก้อักเสบ ลูก แก้ไอกรน แก้หนองใน ต้น แก้พิษงูกัด ยาง รสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาถ่าย
-ใช้ปลูกประดับ ได้รับการปลูกและจำหน่ายเป็นไม้ประดับ มีรายงานว่าได้รับการปลูกในชวาและอินโดนีเซียเป็นขอบเขตแนวป้องกันความเสี่ยง
-อื่น ๆ น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้ใช้ทำน้ำหอมและเมล็ดพืชเป็นแหล่งของน้ำมัน  -ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์
การขยายพันธุ์---เมล็ด


กระวาน/Amomum verum

ชื่อวิทยาศาสตร์---Amomum verum Blackw.
ชื่อพ้อง---Has 1 synonyms
---Amomum  krervanh Pierre ex Gagnep
ชื่อสามัญ---Siam Cardamom, Round Siam Cardamon, Camphor Seed, True cinnamon, Pure cinnamon, Sri Lankan cinnamon, Mexican Cinnamon, Sweet cinnamon.
ชื่ออื่น---ข่าโคก,กระวานจันทร์, กระวานดำ; กระวาน(ภาคกลาง), กระวานโพธิสัตว์, กระวานขาว; ปลาก้อ(ปัตตานี)  ; [THAI: krawan (Chanthaburi, Pattani); krawan pho thisat, krawan khao (Central); pla ko (Pattani)]; [CHINESE: Sha ren, Yang chun sha ren, Yang ch'un sha.]; [INDIA: Badi elaichi, Kali elaichi.]; [KHMER : Krekô tôm rey.].
ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศศรีลังกา และตอนใต้ของประเทศอินเดีย ไทย ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย
ในธรรมชาติมักจะพบขึ้นทั่วไปตามไหล่เขาในบริเวณป่าดงดิบ  เพาะปลูกมากในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะอินเดียตะวันตก สำหรับประเทศไทยแหล่งผลิตสำคัญจะเก็บได้จากตามป่าบริเวณเขาสอยดาว ในจังหวัดจันทบุรี หรือที่เรียกว่า "กระวานจันทบุรี" ซึ่งเป็นกระวานที่มีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของตลาด
ไม้ ล้มลุกสูง 1-3 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเทียมสูงราว 2เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ แคบยาวรูปขอบขนาน ปลายแหลมไม่มีก้านใบ ดอกช่อแทงจากเหง้า ชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบประดับสีเหลืองนวลมีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ในซอกประดับ มีดอก1-3ดอก กลีบดอกสีเหลืองเป็นหลอดแคบ เกสรเพศผู้เป็นหมันเปลี่ยนเป็นกลีบปากขนาดใหญ่สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลาง
ผล กลมเกลี้ยง เมื่อแก่เปลือกผลจะแห้งและแข็ง เมล็ดมีขนาดเล็ก 12-18 เมล็ด รวมกลุ่มเป็น 3กลุ่ม โดยมีเยื่อบางๆกั้น มีกลิ่นหอมและรสเผ็ด
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน เหง้าอ่อนของกระวานใช้กินเป็นผัก มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดเล็กน้อย ผลใช้เป็นเครื่องปรุงในแกง ใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหาร
-ใช้เป็นยา สรรพคุณทางยาใช้ผลเป็นยาขับลม รักษาโรคท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้ในการรักษาโรคตับและมดลูก, โรคไขข้อ, โรคท้องร่วงและอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ยาแก้ไข้ ดับพิษแอลกอฮอล์ -ผลแก่มีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม ประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) 5-9% มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด-ใช้เป็นส่วนประกอบในพิกัดยาไทย ได้แก่ ตำรับยา "พิกัดตรีธาตุ" ซึ่งประกอบไปด้วย กระวาน ดอกจันทน์ และอบเชย เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ไข้ แก้ลม แก้เสมหะ และยังจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดตรีทุราวสา" อันประกอบไปด้วย ผลกระวาน ผลราชดัด ผลโหระพาเทศ ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ลม แก้เสมหะ แก้พิษตานซาง และช่วยบำรุงน้ำดี
-อื่น ๆ มีการนำผลกระวานมาแปรรูปทำเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยการกลั่นด้วยไอน้ำ โดยน้ำมันกระวานสามารถนำไปแต่งกลิ่นเหล้า หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ รวมไปถึงยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมอีกด้วย
ระยะผลแก่---สิงหาคม-มีนาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

กรุงเขมา/Cissampelos pareira

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cissampelos pareira L.
ชื่อพ้อง---Has 72 Synonyms
---Cissampelos acuminata Benth.
---Cissampelos mauritiana Thouars
---Cissampelos poilanei Gagnep.
---Cissampelos pareira var. hirsuta (Buch.-Ham. ex DC.) Forman
---(more)
ชื่อสามัญ---Ice Vine, Velvet Leaf, Midwife's Herb, Pereira Root, False Pareira Brava, Abuta.
ชื่ออื่น---เครือหมาน้อย (ภาคตะวันออก); เปล้าเลือด (แม่ฮ่องสอน); ก้นปิด (ภาคตะวันตกเฉียใต้); กรุงเขมา (นครศรีธรรมราช); ขงเขมา, พระพาย (ภาคกลาง); สีฟัน (เพชรบุรี); อะกามินเยาะ (มาเลย์-นราธิวาส); [THAI: khruea ma noi (Eastern); plao lueat (Mae Hong Son); kon pit (Southwestern); krung kha mao (Nakhon Si Thammarat); khong kha mao,  phra phai (Central); si fan (Phetchaburi); a-ka-min-yo (Malay-Narathiwat).]; [ASSAMESE: Tubukilota.]; [BENGALI: Kijri.]; [HINDI: Padh,Bhatvel.]; [KANNADA: Parera Beru.]; [MALAYALAM:  Malathaanti, Paataththaali.]; [MARATHI: Lahan Pahadvel, Pahadmul, Dhakati Padaval.]; [MYANMAR: : kywet-nabaung.]; [SANSKRIT: Laghu Patha.]; [TAMIL: Vatta-t-tiruppi.]; [TELUGU: Pata Visah Boddi.]
ชื่อวงศ์---MENISPERMACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีป เอเซีย แอฟริกา อเมริกา
เขตกระจายพันธุ์--- อินเดีย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศในเขตร้อน


พืชพื้นเมืองในเขตร้อนของละตินและเอเชียพบ ในป่าฝนเขตร้อน และพื้นที่ป่าผลัดใบที่ระดับความสูงถึง 2,300 เมตร
ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง เลื้อยพาดพันตามต้นไม้อื่น พบขึ้นในป่าดิบ ป่าผลัดใบ ตามริมแม่น้ำลำธาร เจริญได้ดีในดินร่วนปนทราย ตาม เถา กิ่ง ใบ และช่อดอกของกรุงเขมา มีขนอ่อนนุ่มหนาแน่น และเป็นพืชที่มีรากสะสมอาหารใต้ดิน เลื้อยไปได้ไกลประมาณ1เมตร ลักษณะใบที่ทำให้สังเกตได้ชัดและเป็นชื่อเรียกอีกชื่อว่า ก้นปิด คือใบเป็นรูปกลมหรือค่อนไปทางรูปหัวใจ และก้นใบจะปิด  ใบกว้าง 5.6-6.6 ซม.ยาว 6.9-7.6 ซม. หน้าใบและหลังใบมีขนสีน้ำตาลยาวประมาณ1มม.ปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนแน่นกว่าหน้าใบ ออกดอกที่ยอดหรือปลายกิ่ง ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกมี 4-5 ดอกยาว 6-6.5 ซม. ดอกย่อยแยกจากกัน สีขาว ผลกลมเล็กสีเขียว ผลสุกสีน้ำตาล มี1เมล็ด
การใช้ประโยชน์ ใช้ในระบบยาอายุรเวท, การแพทย์พื้นบ้าน, Siddha, การแพทย์สมัยใหม่, Unani, การแพทย์แผนจีน พืชมักจะใช้ในท้องถิ่นในยาแผนโบราณที่ส่วนใหญ่จะถูกเก็บมาจากป่า
ใช้เป็นอาหาร เถาและใบคั้นเอาน้ำ ผสมเครื่องปรุงอาหารทิ้งไว้ 3-5 นาที จะจับตัวลื่นเหมือนวุ้นรับประทานได้ รสจืดเย็น
สรรพคุณทางยา เป็นยาของผู้หญิง ยาปรับประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน แก้ไข้ทับระดู รากต้มกินไปเรื่อยๆแทนยาคุมกำเนิด แพทย์แผนไทยใช้รากแก้ไข้ ดีซ่าน ดีรั่ว ดีล้น เป็นยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย แก้ไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ยาอายุวัฒนะ ยาช่วยย่อย แก้ท้องร่วง บวมน้ำ แก้ไอ ขัดเบา กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และใช้ในรายถูกงูกัด เป็นยาลดไข้ แก้ปวดท้อง โรคหนองใน บำรุงอวัยวะเพศให้แข็งแรง รากและใบ พอกเป็นยาเฉพาะที่ แก้โรคผิวหนัง หิด ลำต้น ดับพิษไข้ทุกชนิด บำรุงโลหิตสตรี เป็นยาพอกแก้ตาอักเสบ ใบ แก้ร้อนใน พอกแผล ฝี แก้แผลมะเร็ง
ระยะออกดอก---เดือนกรกฏาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

กลอย/Dioscorea hispida

ชื่อวิทยาศาสตร์---Dioscorea hispida Dennst.
ชื่อพ้อง---Dioscorea hirsuta  Blume
ชื่อสามัญ---Asiatic bitter yam, Intoxicating yam, Starch tuber.
ชื่ออื่น---กลอย (ทั่วไป); กลอยขาว (กาญจนบุรี) ; กลอยข้าวเหนียว, กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา); กลอยนก, กอย  (ภาคเหนือ); คลี้ (กะเรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; มันกลอย (ภาคกลาง) ; [THAI: kloi (General); kloi khao (Kanchanaburi);  kloi khao niao, kloi hua niao (Nakhon Ratchasima);  kloi nok, koi (Northern); khli (Karen-Mae Hong Son); man kloi (Central).]; [ASSAMESE: Hati-muria alu.]; [BURMESE: Kywey, Kywe]; [CAMBODIA: dâmlông k'duöch.];[CHINESE: Bai shu liang, Bai, Da.]; [FRENCH: Igname épineuse Amère, Morsure De Cobra.]; [GERMAN: Bittere yamswurzel, Giftige yams.]; [INDONESIA: gadung; ondo; sikapa.]; [JAPANESE: Mitsuba dokoro.]; [LAOS: Houo Koi.]; [MALAYSIA: Gadog, Gadong Mabuk, Gadung (Java);Taring Pelanduk, Ubi Akas, Ubi Arak, Ubi gadung.]; [MALAYALAM: Podava Kelengu.]; [MARATHI: Baichandi, Bhul Kand, Dukar Kand.]; [PHILIPPINES: Nami, Kayos (Tag.);Karoti (Sul.);Bagay (Mbo.);Gagos (Bis.).]; [PORTUGUESE: Inhame.]; [SANSKRIT: Hastyaluka.]; [TAMIL: Kavalakodi, Pei Perendai, Periperendai.]; [TELUGU: Chanda gadda, Puli dumpa.]; [VIETNAM: cur nee.].
ชื่อวงศ์---DIOSCOREACEAE
ถิ่นกำเนิด---เอเซียตะวัออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---จีน อนุทวีปอินเดีย(อินเดีย ภูฏาน) อินโดจีน(กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียตนาม)  นิวกินี


ลำต้นเป็นเถา พาดเลื้อยตามต้นไม้ที่ขึ้นด้านข้าง เถามีขนาดเล็กสีเขียว เถาแตกกิ่งเถาตามความยาวของเถา โดยในหนึ่งหัวจะมีเถาแทงออก 2-5 เถา และเถาที่โตเต็มที่จะมีหนามแหลมคมขนาดเล็ก ใบ เป็นใบประกอบ ลักษณะคล้ายใบถั่ว โคนใบ และปลายใบสอบแหลม โดยปลายใบจะมีติ่งแหลม กลางใบกว้าง แผ่นใบสีเขียว แผ่นใบและขอบใบเรียบ ใบจะร่วงในช่วงฤดูแล้ง พร้อมกับเถาที่แห้งเหี่ยวตาย ดอกออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบบนกิ่ง และลำต้น ปลายช่อห้อยลงดินดอก มี 6 กลีบขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว ผลมีรูปร่างเป็นแผ่น 3 แผ่น เชื่อมติดกันเป็น 3 เหลี่ยม ด้านในมีเมล็ดแบบมีปีกสำหรับช่วยในการลอยตามแรงลม
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นอาหาร หัวเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต ถูกใช้เป็นอาหารหลักในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในอินเดียหัวใต้ดินถูกปรุงด้วยเกลือพริกมะขามและผงขมิ้นและใช้เป็นแกง ในประเทศไทยใช้ทำขนม
-ใช้เป็นยา มีสรรพคุณทางสมุนไพร ใช้ในระบบยาอายุรเวท, การแพทย์พื้นบ้าน, การแพทย์แผนจีน หัวกลอยดิบนำมาต้มน้ำดื่ม แก้อาการเบื่อเมา ทั้งเมาสุรา เมาพืชมีพิษ หรือ เห็ดพิษ -นำหัวกลอยดิบมาฝานเปลือก นำเปลือกมาขยี้ทาแผล รักษาแผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง ช่วยให้แผลแห้งและหายเร็ว ใบกลอยนำมามาบด ใช้ทาผิวหนัง แก้อาการผื่นคันแก้ลมพิษ
รู้จักอันตราย---กลอย มีสารที่ออกฤทธิ์กดประสาททำให้เกิดอาการมึนเมา ก่อนจะรับประทานต้องทำให้สุกโดยการผ่านความร้อนด้วยการต้มหรือย่างเสียก่อน ในประเทศไทยซาไกกำจัดสารพิษด้วยการต้มด้วยขี้เถ้าไม้ ในปาปัวนิวกินีหัวจะถูกหั่นและต้มเป็นเวลาสองวันก่อนที่จะปรุง
ระยะออกดอก/ติดผล--- กันยายน - ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

กวาวเครือขาว/Pueraria candollei var. mirifica


ชื่อวิทยาศาสตร์---Pueraria candollei Wall. ex Benth. var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham
ชื่อพ้อง---Has 1 synonyms
---Basionym: Pueraria mirifica Airy Shaw & Suvat
ชื่อสามัญ---Thai kudzu, White kwao krua.
ชื่ออื่น---กวาวเครือ (ภาคเหนือ);กวาวเครือขาว (ทั่วไป) ; [THAI: kwao khruea (Northern); kwao khruea khao (General).]; [BURMESE: U.mhwun: ping, U.mhwun: (pu.ti:).]; [FRENCH:  Kudzu de Siam.].
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน พม่า ไทย ลาว เวียตนาม กัมพูชา

พบในจีน พม่า อินโดจีน ตามผลัดใบป่าละเมาะบนโขดหินหินปูน ริมลำธารหรือริมน้ำ เลื้อยขึ้นตามพุ่มไม้หรือต้นไม้เตี้ย ๆ ที่ระดับความสูงสูงสุด 1,300 เมตร ในประเทศไทยพบมากในป่าทางภาคเหนือทิศตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 300-800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ไม้เลื้อยในตระกูลถั่ว โดยเป็น 1 ใน 4 ชนิดของกวาวเครือทั้งหมด มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลม มีหลายขนาด เมื่อเอามีดผ่าออกจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในจะมีสีขาวคล้ายมันแกว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก นิยมเพาะปลูกหรือพบมากทางภาคเหนือและอีสานของประเทศ


การใช้ประโยชน์---สรรพคุณของกวาวเครือขาวช่วยบำรุงผิวพรรณให้เต่งตึง นุ่มนวลเรียบเนียน ช่วยขยายทรวงอกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แก้ปัญหาทรวงอกหย่อนคล้อย ช่วยให้ผมขาวกลับคืนสภาพปกติ ลดการหลุดร่วงของเส้นผม แก้อาการปวดประจำเดือน ปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ กวาวเครือขาวเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับเพศหญิง แต่สำหรับเพศชายก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน เพราะมีสรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย และเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข จัดให้กราวเครือขาวเป็นตัวยาชนิดหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย และได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณและยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน ซึ่งสามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
ขยายพันธุ์---เมล็ด


กะทือ/Zingiber zerumbet

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Zingiber zerumbet (L.) Roscoeex Sm. subsp. zerumbet
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms
---Amomum latifolium Lam.
---Amomum sylvestre Lam.
---Amomum zerumbet L.
---Zerumbet zingiber T.Lestib.
---Zingiber sylvestre Garsault
ชื่อสามัญ-Shampoo ginger,Wild ginger,Stone ginger,Broad-Leaved Ginger, Pine Cone Ginger, Pine cone lily
ชื่ออื่น---เปลพ้อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); เฮียวแดง, เฮียวดำ (แม่ฮ่องสอน); เฮียวข่า (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); แฮวดำ, กะแวน, กะแอน, กะทือป่า (ภาคเหนือ); กระทือ (ภาคกลาง)]; [THAI:  ple-pho (Karen-Mae Hong Son); hiao daeng, hiao dam (Mae Hong Son); hiao-kha (Shan-Mae Hong Son); haeo dam, ka waen, ka aen, kathue pa (Northern); krathue (Central).]; [ARABIC: zurunbad; zurunbah.]; [BANGLADESH: jangli adha.]; [CAMBODIA: khnhei phtu; prateal vong prenh atit.]; [CHINESE: hong qui jiang.]; [FRENCH: French: gingembre blanc; gingembre d'oceanie; gingembre fou; gingembre tauvage; zerumbet.]; [GERMAN: Wilder ingwer.]; [INDIA: ghatian; yaiimu.]; [INDONESIA: lampojang; lampuyang; lempuyang.]; [JAPANESE: niga shouga.]; [LAOS: hva:nz ph'ai chai hlüang.]; [MALAYSIA: lampoyang.]; [PALAU: terriabek.];[PHILIPPINES: barik; lampuyang (llonggo); langkawas.]; [PORTUGUESE: gengibre amargo.]; [SAMOA: avapui.]; [SPANISH: jengibre.]; [USA/HAWAII: awapuhi; awapuhi kuahiwi; opuhi.].
ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ภูมิภาคเขตร้อนทั่วโลก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “zingiberis” ที่ใช้เรียกพวกขิงข่า
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และดำเนินการโดยมนุษย์ทั่วทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและได้รับการเพาะปลูกในภูมิภาคเขตร้อนทั่วโลก
ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดิน สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน พักตัวในหน้าแล้งงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบเดี่ยวขนาด 15-40 × 3-8.5 ซม ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปเรียวยาว ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกขนาด 6-15 × 2.5-5 ซม แทงออกจากเหง้าขึ้นมาสูง 10-45 ซม  มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง ผลแห้งแล้วแตก รูปทรงค่อนข้างกลมยาว 0.8-1.5 ซม. สีแดง เมล็ดสีดำ
การใช้ประโยชน์--- พืชที่ได้รับความนิยมและปลูกกันอย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ รากมีจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นใน ชวา
-ใช้กิน ดอกแห้ง หน่ออ่อนและเหง้ากระทือ เป็นอาหาร
-ใช้เป็นยา ใช้ในระบบยา อายุรเวท, การแพทย์พื้นบ้าน, Unani, Siddha สรรพคุณเป็นสมุนไพร  ใช้เหง้าสด บำรุงและขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด บิด ปวดมวนในท้องขับเสมหะ เบื่ออาหาร ใบขับเลือดเน่าในเรือนไฟ ดอกแก้ไข้เรื้อรังและโรคผอมแห้ง รากใช้แก้ไข้ตัวเย็น ในอินโดนีเซีย  ถูกนำไปใช้กับโรคท้องร่วง บิดและปวดท้อง และใช้ภายนอกเพื่อบรรเทาอาการปวด ในประเทศบรูไนดารุสซาลาม เหง้าอยู่ในห้องอาบน้ำหลังคลอด  ใบถูกนำมาใช้เป็นยาพอกกับโรคข้ออักเสบ ในประเทศมาเลเซียเหง้าถูกนำไปใช้กับอาการปวดท้องกับอาการปวดขาและการติดเชื้อหลังคลอดและใช้เป็นยาชูกำลัง
-ใช้ปลูกประดับ  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับอาคารบ้านเรือน เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม เป็นพืชผักสวนครัวและมีสรรพคุณทางยา
-อื่นๆ ในอินเดีย น้ำมันหอมระเหยถูกนำไปใช้เป็นน้ำหอมในสบู่อาบน้ำ หลังจากผสมกับน้ำหอมอื่น ๆ เมือกที่มีอยู่ในช่อดอก ชาวฮาวายใช้เป็นแชมพูและครีมนวดผมตามธรรมชาติ
ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า

กะเพรา/Ocimum tenuiflorum


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Ocimum tenuiflorum L.
ชื่อพ้อง---Has 19 Synonyms
---Ocimum americanum sunsu Bello
---Ocimum micranthum sensu A. Stahl
---Ocimum sanctum L.---(more)
ชื่อสามัญ---Holy Basil,Thai Basil, Sacred Basil, Brush-leaf-tea
ชื่ออื่น--- กอมก้อ, กอมก้อดง (เชียงใหม่); กะเพรา, กะเพราขน, กะเพราขาว, กะเพราแดง (ภาคกลาง); ห่อกวอซู, ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ; [THAI: kom ko, kom ko dong (Chiang Mai); ka phrao, ka phrao daeng, ka phrao khon, ka phrao khao (Central); ho-kwo-su, ho-tu-plu (Karen-Mae Hong Son);  im-khim-lam (Shan-Mae Hong Son); i tu thai (Northeastern).] ; [ASSAMESE: Kola tulasi.]; [BRAZIL: manjericao-branco.]; [CHINESE: sheng luo le.]; [CUBA: albahaca violada; albahaquilla; ibahaca morada criolla.]; [DOMINICAN REPUBLIC: albahaca vaca.]; [GUAM: yerba buena.]; [INDIA: tulsi, Vishnu thulasi (Purple form),Nallathulasi,Thulasi,Rama thulasi (Green form),Maduruthala (Hindi).]; [MALAYALAM: Trittavu.]; [MARATHI: Tulsi,Tulshi.];[MYANMAR: kala-pi-sein; pin-sein-net.]; [NEPAL: krishna tulasi; surasa; tulasi.]; [SPANISH: albahaca cimarrona; albahaca morada.];[SWEDISH: helig basilica.]; [TAMIL: Nalla Thulasi.]; [TELUGU: Krishna thulasi.].
ชื่อวงศ์---LAMIACEAE
ถิ่นกำเนิด ---อนุทวีปอินเดีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “okimon” ที่ใช้เรียกพืชที่มีกลิ่นหอมเช่นใบโหระพา ; ชื่อสายพันธุ์จากคำภาษาละตินสำหรับ ‘sacre'และ tenuiflorum' หมายถึงดอกไม้เรียว
พืชพื้นเมืองของอนุทวีปอินเดียรวมถึงเทือกเขาหิมาลัย, มาเลเซีย, และเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนอื่น ๆ ของเอเชีย และขณะนี้ได้รับการปลูก และแปลงสัญชาติในสถานที่ต่างๆทั่วโลกรวมถึงหมู่เกาะแคริบเบียนหมู่เกาะแปซิฟิกและบางส่วนของแอฟริกา
ไม้พุ่มเล็ก สูง0.3-1เมตร ลำต้นตั้งตรง ลักษณะเป็นรูปเหลี่ยมโคนต้นแข็ง มีขนปกคลุมทั่ว แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบรูปไข่รีถึงรูปไข่ยาว 3-6 ซม. กว้าง 1–2.5 ซม.ใบมีขนปกคลุมทุกส่วนมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ก้านใบยาว 1–2.5 ซม (ต้นใบสีแดงในรูปเจอขึ้นเองในป่าเป็นดง กลิ่นแรงหอมกว่ากระเพราขาวที่เราใช้ทำอาหารตามบ้าน)
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นสมุนไพรในการทำอาหารและยามานานหลายศตวรรษ ถือว่าเป็นวัชพืชทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
-ใช้เป็นอาหาร ใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหารในประเทศไทยอินโดนีเซียและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศส่วนใหญ่มีการใช้งานคล้ายกับใบโหระพา อาหารไทยใช้ใบกะเพราสำหรับสูตรอาหารหลายอย่างเช่นไก่ใบโหระพา, ไก่ใบโหระพา, ไก่ผัดกระเพรา, กระเพราหมู และอื่น ๆ อีกมากมายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการใช้งานคล้ายกับใบโหระพา
-ใช้เป็นยา สรรพคุณ ที่เป็นยาเหมือนกันของกระเพราทั้งสอง ใบและยอดทั้งสดและแห้งแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน หรือใช้ขยี้กับปูนแดงทาท้องแก้อาการได้เหมือนกัน
ใบสดตำแช่กับเหล้าโรงให้ข้นพอสมควร ใช้ทั้งหมดทาให้ทั่วบริเวณที่เป็นเชื้อรา หรือกลากเกลื้อน จะ่ช่วยบรรเทาได้ ใบหรือยอดอ่อนกินสดหรือต้มกับน้ำ ใส่แกงเลียงกินทุกวัน จะช่วยบำรุงน้ำนม รากแก้ไข้ และรักษาโรคหนองใน เมล็ดมีเมือก(mucillage)เป็นยาหล่อลื่นคล้ายแมงลักและโหระพา
-ใช้อื่นๆ  สารสกัดจากใบมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับยากันยุงและในการตรวจสอบการแพร่กระจายของเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระเบิดและโรคใบไหม้ในข้าวด้วยฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดโรครากปม
ความเชื่อ/พิธีกรรม---กระเพราได้รับการยกย่องว่าเป็นสมุนไพรศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดูจึงใช้ก้านไม้ทำลูกปัดอธิษฐานสำหรับลูกประคำ และพืชมักปลูกในวัดฮินดูและสถานที่สักการะบูชา ในอดีตสายพันธุ์นี้บ่อยครั้งปลูกในภาชนะขนาดใหญ่ในลานของป้อมฮินดูและวัดเพื่อทำความสะอาดร่างกาย ( Royal Botanic Gardens Kew, 2014 )-ตามตำนานของโรมันโหระพาเป็นยาแก้พิษของสิ่งมีชีวิต ( Makri และ Kintzios, 2008 )
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ

กาแฟ/Coffea canephora

ชื่อวิทยาศาสตร์---Coffea canephora Pierre ex Froehner
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
---Coffea robusta L.Linden---(more)
ชื่อสามัญ---Robusta Coffee, Congo coffee tree
ชื่ออื่น --- กาแฟ(ทั่วไป) ; [THAI: kafae (General).]; [CHINESE: zhong li ka fei .]; [FRENCH: Café-robusta, Caféier robuste.]; [GERMAN: Robustakaffeestrauch, Robustakaffeebaum.]; [MALAYSIA: Kopi (Malay).]; [PORTUGUESE: Café-robusta.]; [SPANISH: Cafeto robusto.];
ชื่อวงศ์---RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา -ประเทศเอธิโอเปีย
เขตกระจายพันธุ์---เขตร้อน
สำหรับสายพันธุ์หลักของกาแฟที่ปลูกกันทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ กาแฟอาราบิก้า (Coffee arabica) และ กาแฟโรบัสต้า (Coffee canephora) โดยกาแฟอาราบิก้าจะเป็นกาแฟที่ได้รับความในการนิยมดื่มมากกว่ากาแฟโรบัสต้า เนื่องจากกาแฟโรบัสต้ามีรสชาติที่ขมกว่าและให้รสชาติได้น้อยกว่ากาแฟอาราบิก้า ด้วยเหตุผลนี้ กาแฟที่เพาะปลูกกันเป็นจำนวนมากกว่า 3 ใน 4 ของโลก จึงเป็นกาแฟอาราบิก้า แต่อย่างไรก็ตามกาแฟโรบัสต้าก็ยังสามารถพิสูจน์ได้ว่า ก่อให้เกิดโรคได้น้อยกว่ากาแฟอาราบิก้า อีกทั้งยังสามารถปลูกได้ในสภาพแวดล้อมที่กาแฟอาราบิก้าไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นในธุรกิจกาแฟจึงมักจะใช้กาแฟโรบัสต้ามาทดแทนกาแฟอาราบิก้า เพราะมีราคาถูกกว่า
สายพันธุ์นี้เป็นแบบ diploid และได้รับการปลูกฝังในฐานะ "กาแฟโรบัสต้า" มันได้รับการผสมอย่างกว้างขวางกับสายพันธุ์อื่น ๆ เพื่อผลิตพืชกาแฟเชิงพาณิชย์ปลูกในเขตร้อนชื้นในจีน( ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, ไหหลำ, ยูนนาน) แพร่หลายในเขตร้อนของแอฟริกา; เพาะปลูกทั่วโลก ในประเทศไทยนิยมปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ พบมากทางภาคใต้


ไม้พุ่มสูง 2-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดที่ข้อเป็นคู่ตรงข้ามกัน โคนใบและปลายใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นคลื่น ดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอกประมาณ 4-9 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 4-5 ใบ  ดอกจะออกเป็นกลุ่ม ๆ ประมาณ 2-20 ดอก ออกจากกิ่งแขนงจากข้อที่อยู่ใกล้กับลำต้นออกไปหาปลายกิ่งแขนง โดยปกติแล้วต้นกาแฟจะออกดอกตามข้อของกิ่ง ข้อที่ออกดอกออกผลแล้วในปีต่อไปก็จะไม่ออกดอกและให้ผลอีก ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงรี ก้านผลสั้น ผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีส้ม และสีแดง
ประโยชน์--- ด้านเป็นสมุนไพร มีรสขม บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย กระตุ้นประสาท กระตุ้นหัวใจ ไต และกล้ามเนื้อ ขับปัสสาวะ แก้พิษที่ไปกดระบบประสาทส่วนกลาง
 กาแฟมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว การดื่มกาแฟสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหอบ ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด แก้หอบหอบหืดได้
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

การบูร/Cinnamomum camphora


ชื่อวิทยาศาสตร์---Cinnamomum camphora (L.) J. Presl
ชื่อพ้อง---Has 2 synonyms
---Camphora officinarum Nees
---Laurus camphora L.
ชื่อสามัญ---Camphor Tree, Camphor Laure, Camphortree, Japanese Camphor, Chinese Sassafras.
ชื่ออื่น---การบูร, อบเชยญวน (ภาคกลาง); พรมเส็ง (ภาคเหนือ); [THAI: karabun, op choei yuan (Central); phrom-seng (Shan-Northern).]; [AYURVEDA: Karpura, Ghanasaara, Sitaabhra, Hima-valukaa, Himakara, Shitalraja.]; [BURMESE:  Payok, Payuk.]; [CHINESE: Xiang zhang shu, Zhang, Zhang shu.]; [FRENCH: Camphre, Camphrier.]; [GERMAN: Campher, Kampferbaum.]; [HINDI: Karpuram, Karpur.]; [ITALIAN: Albero della canfora.]; [JAPANESE: Kkusu-no-ki, Kuso-no ki.]; [KANNADA: Karpura.]; [KOREAN: Nok na mu.]; [MALAYALAM:  Cutakkarpuram.]; [NEPALI:  Kapuur.]; [PORTUGUESE: árvore-da-camphora.]; [SANSKRIT: Candra, Karpura,   Karpurah.]; [SIDDHA/TAMIL: Indu, Karupporam.]; [SPANISH: Alcanfor, Alcanforero, Arbol del alcanfor.]; [SRI LANKA: kapuru-gaha.]; [TAMIL: Karpuram.]; [TELUGU: Karpuramu, Pacca karpuram.].
ชื่อวงศ์---LAURACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ อียิปต์ จาไมกา บราซิล ออสเตรเลีย ตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ตอนใต้ของยุโรป มาดากัสการ์ และหมู่เกาะในมหาสมุทรที่อยู่ในเขตอบอุ่น
นิรุกติศาสตร์--- ชื่อของสกุล Cinnamomum มาจากภาษากรีกโบราณซึ่งหมายถึง 'เครื่องเทศ'

    

มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี, ไต้หวัน, ญี่ปุ่นตอนใต้, เกาหลี,เวียดนามและได้รับการแนะนำให้รู้จักกับประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย  พบเกิดตามป่าดงดิบเขาสูง
ต้น การบูร เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเรียบ  เปลือกต้นผิวมันเกลี้ยง สีน้ำตาลอมเขียว ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่รากและโคนต้น ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมกันหุ้มอยู่ ใบดกทึบ ใบเดี่ยว กว้าง3-5ซม.ยาว7-12ซม.เรียงสลับ สีเขียว รูปรีปลายแหลม โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีนวล ก้านใบยาว 1.5-4 ซม. ดอกช่อสีขาวอมเขียวหรือเหลือง ขนาดเล็กยาว 7- 10 ซม ก้านดอกขนาดเล็กมาก1 - 2 มม. ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ  ผลการบูรเป็นผลเนื้อขนาดเล็กรูปค่อนข้างกลมสีเขียวเข้มเมื่อแก่สีดำมีเมล็ด1เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดจัดหรือแสงแดดบางส่วน เติบโตได้ดีในดินส่วนใหญ่ แต่ชอบดินทรายที่มีความชุ่มชื้น อุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำได้ดี พืชสามารถทนต่อดินเค็มและลมเกลือ ค่า pH ตั้งแต่ 6.5 - 8 ทนได้ 4.3- 8
ใช้ประโยชน์--- การ ผลิตการบูรใช้การกลั่นจากต้น โดยเอารากและต้นของการบูรที่มีอายุ 40 ปีมาเลื่อยและสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปกลั่นโดยใช้ไอน้ำในเครื่องกลั่นพิเศษที่ทำด้วยไม้ เมื่อกลั่นได้น้ำมันระเหยง่าย การบูรจะตกผลึกแยกออกมา เป็นเกล็ดกลมเล็กๆสีขาวแห้ง อาจจับกันเป็นก้อนร่วนๆแตกง่ายทิ้งไว้ในอากาศจะระเหิดไปหมด เปลือกและราก นำมากลั่นด้วยไอน้ำ ได้การบูรดิบ ส่วน การบูรธรรมชาติเป็นผลึกเล็กๆที่เกิดอยู่ทั่วไปทั้งต้น มักอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ มีมากที่สุดในแก่นของราก รองลงมาคือที่แก่นของต้น การบูรจะละลายอยู่ในน้ำมันระเหยง่าย ที่อยู่ในต้น
การบูรถูกใช้มานานหลายศตวรรษเพื่อเป็นเครื่องเทศในการทำอาหารส่วนประกอบของธูปและเป็นยา อีกทั้งยังเป็นยาขับไล่แมลงและสารฆ่า แมลง
-ใช้กิน หน่ออ่อนและใบ - สุก (ขอแนะนำให้ใช้ความระมัดระวังเนื่องจากมีรายงานว่าพืชมีพิษในปริมาณมาก) ใบไม้แห้ง ใช้เป็นเครื่องเทศ น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากพืชใช้เป็นสารปรุงแต่งอาหารในขนมอบและขนมต่าง ๆ ฯลฯ
-ใช้เป็นยา การบูรมีประวัติอันยาวนานของการใช้เป็นสมุนไพรในตะวันออกพร้อมการใช้งานที่หลากหลาย มันมีการใช้เป็นครั้งคราวภายใน ในการรักษาฮิสทีเรีย แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย การใช้งานภายในไม่แนะนำ-ในการแพทย์โบราณใช้การบูร รส ร้อนปร่าเมา บำรุงธาตุ ขับเสมหะและลม แก้ธาตุพิการ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้เลือดลม ชูกำลัง แก้คัน แก้โรคตา  บำรุงความกำหนัด ขับเหงื่อ แก้ปวดตามเส้น เกลื่อนฝี แก้เคล็ดขัดยอก บวม แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้โรคผิวหนังเรื้อรัง ขับน้ำเหลืองบำรุงหัวใจ ใช้ปรุงกลิ่นรสในยาอื่น
-ใช้ปลูกประดับ ในประเทศจีนและที่อื่น ๆ ในเอเชีย C. Camphora ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาในสวนหรือริมถนน ไม่ว่าในกรณีใดเนื่องจากพื้นผิวและระบบรากที่กว้างขวางขอแนะนำให้ปลูกอย่างน้อย  10 เมตรของอาคารหรือเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน
-วนเกษตร คุณสมบัติระบบรากที่กว้างขวางจึงเป็นต้นไม้ที่เหมาะสำหรับปลูกตามพื้นที่ลาดชัน เพื่อรักษาเสถียรภาพของดินที่มีความเสี่ยงต่อการกัดกร่อน
-อื่นๆ แก่นไม้มีสีน้ำตาลอมเหลืองมีตัวหล่อสีเขียวมะกอกถึงสีน้ำตาลดำ พื้นผิวปานกลางถึงหยาบ มีความแวววาวหรือเป็นเงาไม้มีคุณสมบัติการทำงานที่ยอดเยี่ยมและใช้ขัดได้ดี ใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ตู้พื้นผิวด้านในอาคาร ฯลฯ-มีการใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและน้ำมันหล่อลื่น สำหรับการผลิตสบู่และผงซักฟอก-การบูรใช้เป็นยาฆ่าแมลงและเพื่อทำเซลลูลอยด์และเป็นสารกันบูดไม้ -ไม้ถูกเผาเป็นการรมยาในระหว่างการระบาดของโรค
รู้จักอันตราย---พืชมีพิษในปริมาณมาก น้ำมันหอมระเหยและไม้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตาและผิวหนังในขณะที่น้ำมันหอมระเหยในปริมาณมากอาจทำให้เด็กหายใจล้มเหลว
ระยะออกดอก/ติดผล----เมษายน-มิถุนายน
ขยายพันธุ์----เมล็ด ตอนกิ่ง การบูรเป็นสายพันธุ์ที่มีอายุยืนยาว ที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น Kamō no Ōkusu (蒲生の大楠), Kamou no Ohkusu, มหาการบูรแห่ง Kamo  ( Cam o เป็นชานเมืองของเมือง Kagoshima  - 鹿児島市) ซึ่งมีอายุประมาณ1,500ปี เส้นรอบวงของต้นไม้ 1.3เมตร ความสูง 24.22 เมตร วัดในปี 2544


 กุยช่าย/Allium tuberosum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Allium tuberosum Rottler ex Spreng.
ชื่อพ้อง--- Has 11 Synonyms
---Allium angulosum Lour
---Allium argyi H.Lév.
---Allium chinense Maxim
---Allium clarkei Hook.f.
---Allium roxburghii Kunth
---Allium sulvia Buch. -Ham เช่น D.Don
---Allium tricoccum Blanco
---Allium tuberosum Roxb
---Allium uliginosum G.Don
---Allium yesoense Nakai
---Nothoscordum sulvia (Buch. -Ham . ex D.Don) Kunth
ชื่อสามัญ---Garlic chives, Oriental garlic, Asian chives, Chinese chives, Chinese leek.
ชื่ออื่น---กูไฉ่ (จีน-แต้จิ๋ว)กุยช่าย(กรุงเทพฯ) ; [THAI:  kui chai (Bangkok).]; [CHINESE: jiu.]; [FRENCH: Ciboulette chinoise, Ail chinois.]; [GERMAN: Schnittknoblauch, Chinesischer Schnittlauch.]; [JAPANESE: nira.]; [SPANISH: Cive chino.]; [SWEDISH: Kinesisk gräslök.]
ชื่อวงศ์---ALLIACEAE
ถิ่นกำเนิด---เอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ทั่วโลก
พรรณ ไม้ที่ปลูกมากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีนทั้งต้นจะมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว  เป็นไม้ล้มลุกลำต้นตั้งตรงเป็นใบเกล็ดรูปทรงกระบอกเรียวยาว สูง20-30ซม.ใบเดี่ยวรูปเส้นยาว ดอกช่อสีขาวออกที่ซอกใบ ก้านดอกยาว30-45ซม.กลีบรวมสีขาว ใบประดับเป็นเยื่อบางๆ ผลแห้งแตกได้มี3พู
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---พืชที่ปลูกง่ายมันชอบตำแหน่งที่มีแสงแดดมาก แต่ก็ทนร่มเงา ทนต่อดินส่วนใหญ่รวมถึงดินเหนียว เติบโตได้ดีที่สุดในดินที่อุดมไปด้วยความชุ่มชื้น แต่มีสภาพดีชอบ pH ในช่วง 6 - 6.8 ซึ่งทนได้ 5.3- 8.3
การใช้ประโยชน์--- เป็นอาหารและยา ผักที่ได้รับความนิยมในเอเชียตะวันออกที่มักจะปลูกพืชเพื่อใบกินหัวและก้านดอก มีหลายสายพันธุ์  มีสองประเภทหลักของสายพันธุ์คือ เติบโตขึ้นสำหรับใบ และอื่น ๆ สำหรับก้านดอก
-ใช้เป็นยา ตำรายาไทย ใช้ เมล็ดขับพยาธิเส้นด้าย หรือพยาธิแส้ม้า ขับประจำเดือนที่เป็นลิ่มเป็นก้อนได้ดี ต้นและใบตำละเอียดผสมเหล้าโรงทาบริเวณที่เป็นผดผื่นคันหรือลมพิษ ต้นและใบตำละเอียดผสมเหล้าโรงและสารส้มเล็กน้อยกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ1ถ้วยชา แก้โรคนิ่ว หนองใน ใบมีสรรพคุณฆ่าเชื้อและเป็นยาขับปัสสาวะ ดอกกุยช่ายมีธาตุฟอสฟอรัส วิตามินซีและเบต้าแคโรทีน ในปริมาณที่สูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และมีกากใยช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้ดี เมล็ด แก่ คั่วไฟให้เกรียมดำ บดให้ละเอียด ผสมน้ำมันยางชุบสำลีอุดในรูฟันที่ผุ เพื่อบรรเทาอาการปวด หรือนำมาเผาไฟ รมควันฆ่าแมลงที่เข้าไปในรูหู สำหรับในอินเดียใช้ในการรักษาตัวอสุจิ
-ใช้ปลูกประดับ ใช้เป็นพืชสวนในสหราชอาณาจักรและปลูกเป็นไม้ประดับ
ขยายพันธุ์---เมล็ด


แก่นตะวัน/Helianthus tuberosus


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Helianthus tuberosus L.
ชื่อพ้อง---Has 13 Synonyms
---Helianthus esculentus Warsz.
---Helianthus serotinus Tausch
---Helianthus tomentosus Michx.
---Helianthus tuberosus var. subcanescens A.Gray
---(More)
ชื่อสามัญ --- Jerusalem artichoke , Sunchoke, Sunroot, Earth apple, Topinambour, Canada potato.
ชื่ออื่น --- แก่นตะวัน(ทั่วไป); ทานตะวันหัว (กรุงเทพฯ); ทานหวัน (ภาคใต้) ; [THAI: kaen tawan (General); than tawan hua (Bangkok);  than wan (Peninsular); [ARABIC: taffahh el ard; tartuf.]; [CHINESE: ju yu.]; [DUTCH: Aardpeer.]; [FRENCH: artichaut de Jérusalem; hélianthe tubéreux; navet de Jérusalem; topinambour.]; [GERMAN: Erdbirne, Indianerknolle, Topinambur.]; [ITALIAN: Girasole del Canadà, Topinambur.]; [JAPANESE: kikuimo.];  [LITHUANIA: Gumbinė saulėgrąža.]; [PORTUGUESE: atata-tupinambá; girasol-de-batata.]; [RUSSIA: podsolnečnik klubenosnij.]; [SPANISH: castaña de tierra; pataca; pataca de caña; tupinambo.]; [SWEDISH: jordaertskocka.]; [TURKISH: yerelması.]; [VIETNAM: cúc vu; quyf doji.].
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---ตอนใต้ของประเทศแคนาดา และตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์  tuberosus  หมายถึงหัวที่กินได้ของพืช ; ชื่อสามัญJerusalem artichokeอาจได้มาจากชื่อ girasole articiocco อิตาลี  ซึ่งหมายถึงรสชาติของหัวและลักษณะเหมือนดอกทานตะวัน เยรูซาเล็มอาจจะมาจากการออกเสียงของ  Girasole
แก่นตะวันเป็นไม้ล้มลุก มีอายุ 5-6 เดือน เป็นพืชวงศ์เดียวกันกับทานตะวันและบัวตอง ชื่อเรียกเป็นทางการคือ "ทานตะวันหัว" ส่วนในภาษาอิตาเลี่ยน เรียกว่า กิราโซล (girosole) หมายถึง ดอกไม้ที่หันดอกไปทางดวงอาทิตย์  จากถิ่นกำเนิดที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น แต่มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ จึงสามารถปลูกได้ดีในเขตร้อน และเขตกึ่งหนาวอย่างทวีปยุโรปได้ ในธรรมชาติมักพบได้ตาม ที่รกร้างข้างทาง ทุ่งนา ทุ่งหญ้า ที่ชื้นริมน้ำ ที่ระดับความสูง 300-750 เมตร แต่ในประเทศอินเดียมีการเพาะปลูก ที่ระดับความสูงถึง 3,600 เมตร            
ลักษณะของแก่นตะวัน หัวที่เกิดขึ้นจากความหนาของ stolons ใต้ดินสั้นและอ้วนหรือยาวและเรียว, รูปไข่ถึงกลม, 2-8 (-15) x 3-6 ซม., สีขาว, สีเหลือง, สีแดงหรือสีม่วง ต้นมีความสูง ประมาณ 1.5-3 เมตร มีขนตามกิ่งและใบ ใบรูปไข่-รูปใบหอกยาว 10-20 ซม. ก้านใบยาว 2-4 ซม ส่วนดอกของ "แก่นตะวัน" มีสีเหลืองสดใสคล้ายกับดอกบัวตอง และทานตะวัน แต่ขนาดจะเล็กกว่ามาก ผลเป็นรูปรีถึงรูปขอบขนานยาว 5-7 มม. แบนข้างสีน้ำตาลมีแถบสีเข้มมีขน
ใช้ประโยชน์---สแตนตันและคณะ (1992)ชี้ให้เห็นว่าสารชีวมวลให้ผลผลิตสูงพร้อมกับคุณค่าสารอาหารที่เหมาะสมและคาร์โบไฮเดรตในระดับสูงทำให้H. tuberosusมีการใช้งานที่สำคัญมากมายและมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและมีปริมาณสารอาหารสูง
-ใช้กิน หัวใต้ดินคล้ายมันฝรั่งไว้สำหรับเก็บสะสมอาหาร ซึ่งสามารถนำหัวมารับประทานเป็นอาหารได้
-ใช้เป็นยา มีสรรพคุณย่อๆดังนี้ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน  ช่วยเสริมสร้างกระดูก ดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัส กระตุ้นระบบขับถ่าย ส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ ป้องกันมะเร็งในลำไส้ ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองช่วยลดน้ำหนัก ทำให้หุ่นกระชับ นอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งของอินนูลินซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยไม่ได้ที่แนะนำสำหรับการรวมไว้ในอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนเพราะลดการบริโภคแคลอรี่ แต่ตอบสนองความต้องการโปรตีนและแร่ธาตุ
-อื่น ๆ ใบไม้สดอาจใช้เป็นอาหารสัตว์ส่วนใหญ่สำหรับม้า ล่อและสัตว์เคี้ยวเอื้อง -เดิมปลูกเพื่อผลิตแอลกอฮอล์ในส่วนของฝรั่งเศสและเยอรมนี แต่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุดิบที่ราคาถูกกว่า ตั้งแต่ปี 1980 มีการฟื้นฟูการวิจัยเกี่ยวกับการแปรรูปทางอุตสาหกรรมของH. tuberosusสำหรับเชื้อเพลิงและสารเคมี
ขยายพันธุ์---เมล็ด

กำแพงเจ็ดชั้น/Salacia cochinchinensis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Salacia chinensis L.
ชื่อพ้อง---Salacia prinoides (Willd.) DC.
ชื่อสามัญ---Willow leaf five dragon,  Chinese salacia, Holly-leaved berried spindle tree.
ชื่ออื่น---กำแพงเจ็ดชั้น (ทั่วไป); ตะลุ่มนก (ราชบุรี); ตาไก้ (พิษณุโลก); น้ำนอง, มะต่อมไก่ (ภาคเหนือ); สามชั้น (เลย); หลุมนก (ภาคใต้) ; [THAI: kam phaeng chet chan (General); talum nok (Ratchaburi); ta kai (Phitsanulok); nam nong,  ma tom kai (Northern); sam chan (Loei); lum nok (Peninsular).]; [AYURVEDA: saptachakra.]; [CHINESE: liu ye wu ceng long.]; [KANNADA: ekanayaka.]; [MALAYALAM:  cherukoranti.]; [MALAYSIA: Hempedal ayam, Menjalar (Malay).];[MARATHI: saptarangi.]; [SANSKRIT: saptachakra, ekanayaka,  pitika.]; [TAMIL: cuntan,karukkuvai.]; [TELUGU: nerani.]; [VIETNAM: Cây Chóc máu, Chóp máu, Chóp mào, Chóc máu tàu.];
ชื่อวงศ์---CELASTRACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย พม่า จีน เวียตนาม ไทย  มาเลเซีย อินโดนีเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Salacia= ชื่อภรรยาของดาวเนปจูน, เทพีแห่งทะเลในเทพปกรณัมโรมัน ; ชื่อสายพันธุ์ chinensis หมายถึง ของหรือจากประเทศจีน


พบใน อินเดีย พม่า จีน (ยูนนาน สิบสองปันนา) ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าชายทะเลป่าดิบริมแหล่งน้ำหรือที่โล่ง และป่าเบญจพรรณ ที่มีความระดับความสูงถึง 600 เมตร
กำแพงเจ็ดชั้นเป็นพืชสมุนไพรที่ใกล้สูญพันธุ์ ในธรรมชาติมักพบในป่าลึกแถวบริเวณที่มีจอมปลวกขึ้น เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง ลักษณะลำต้นสูงประมาณ 2-6 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 16 ซม.ใบเป็นใบเดี่ยว9–11(–15) × (2–)3–4 ซม. เรียงตรงข้าม รูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบหยักหยาบๆ ก้านใบยาว 0.6-1.5 ซม.   ดอก ดอกออกเป็นกลุ่มหรือเป็นช่อสั้นๆ ที่ง่ามใบ ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลือง กลีบเลี้ยงเล็กมาก  กลีบดอก 5 กลีบ ผลค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลสุกสีแดงหรือแดงอมส้ม มี 1-3 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 มม. ผลของกำแพงเจ็ดชั้น เนื้อในสีขาว กินได้ ถ้าตัดต้นต้นกำแพงเจ็ดชั้น ตาม ขวางจะเห็นวงกลมซ้อนกัน ในเนื้อไม้ นับได้5ชั้นรวมเปลือกกับเนื้อเยื่ออีก2ชั้นจะได้เจ็ดชั้นตามชื่อทันที
การใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ราก  ขับลม รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง หัว รักษาบาดแผลเรื้อรัง รักษาตะมอยหรือตาเดือนเถา ขับโลหิตระดู ฟอกโลหิต บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ   แก้ไข้   แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้ประดง แก้ซางให้ตาเหลือง แก้ดีพิการใบ แก้มุตกิต ขับโลหิตระดู ขับน้ำคาวปลาดอกแก้บิดมูกเลือด
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์-เมษายน/พฤษภาคม-กรกฏาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

กำลังช้างเผือก/Hiptage benghalensis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Hiptage benghalensis (Linn.) Kurz
ชื่อพ้อง---Has 4 synonyms
---Banisteria benghalensis Linn
---Gaertnera racemosa Roxb
---Hiptage madablota Gaertn
---Hiptage trialata Span
ชื่อสามัญ ---Hiptage
ชื่ออื่น--- กะลังจ่าง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); กำลังช้างเผือก (ภาคเหนือ); โนรา (กรุงเทพฯ); พญาช้างเผือก (แพร่); สะเลา (เชียงใหม่) ; [THAI: nora (Bangkok); ka-lang-chang (Karen-Mae Hong Son); kamlang chang phueak (Northern); phaya chang phueak (Phrae); salao (Chiang Mai).]; [AYURVEDA: Atimukta, Atimuktaka, Maadhavi, Vaasanti, Pundrika, Mandaka, Vimukta, Kaamuka.]; [FRENCH: liane de cerf; liane papillon.]; [GERMAN: Benghalen-Liane.]; [INDIA: adimurtte; adirganti; atimukta; chandravalli; haldavel; kampti; kamuka]; [MAURITIUS: liane de Cythère; liane de fleurs d'oranger; liane rouge.]; [SAUDI ARABIA: liane papillon.]; [SIDDHA/TAMIL: Madhavi; Vasandagala-malligai.];
 ชื่อวงศ์---MALPHIGHIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดีย จีนตอนใต้ ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม จนถึงมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์


 เป็นกลุ่มพืชพื้นเมืองขนาดใหญ่ครอบคลุมเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อินเดียและศรีลังกาไปจนถึงจีนฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ( Randall, 2002 ; PIER, 2007 )มันได้ถูกนำมาใช้กับสวนเป็นไม้ประดับและหนีออกมาได้  ตอนนี้มันกลายเป็นธรรมชาติในพื้นที่เขตร้อนที่มีการกระจายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงพื้นเมืองของจีนมีการบันทึกที่ระดับความสูง (100-) 200-1900 เมตร
กำลังช้างเผือก หรือชื่อที่รู้จักในฐานะเป็นไม้ประดับในประเทศไทย คือ โนรา เป็นไม้เลื้อยยืนต้นเนื้อแข็ง หรือรอเลื้อย คือสามารถตัดแต่งเป็นพุ่ม และแตกกิ่งก้านเป็นไม้พุ่มได้เหมือนกัน สูงประมาณ10-15 เมตร กิ่งก้านเรียวเล็กห้อยลง เปลือกนอกบางสีเทา มีรูระบายอากาศทั่วไป เปลือกในสีขาว ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ 3-5 คู่  หูใบเล็กมาก แผ่นใบรูปหอกถึงรูปไข่กลับ ขนาดกว้าง 3-4 ซม.ยาว 4-8 ซม.ปลายใบแหลมเป็นติ่งยาว โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบอ่อนมีขนสีขาวหนาแน่น ใบแก่เกลี้ยงเป็นมัน แต่ท้องใบมีขนละเอียดดอก ออกเป็นช่อกระจะยาว1-1.5ซม. สีขาวมีแต้มเหลืองหรือชมพู ออกเป็นกลุ่มช่อ ตามปลายกิ่ง และมันจะออกเกือบทุกข้อต้นตามแนวกิ่ง ช่อยาว4-35ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล ผลขนาด3.5-5.5 ซม. แยกออกเป็น3เสี้ยว แต่ละเสี้ยวมีปีกซึ่งมีขน ปีกกลางจะใหญ่ที่สุดยาว 4-6 ซม. และปีกสองข้างยาว 2-3 ซม.
การใช้ประโยชน์--- มักจะใช้เป็นสายพันธุ์ไม้ประดับ สำหรับดอกไม้ที่มีเสน่ห์และมีกลิ่นหอม
-ใช้เป็นยา มีสรรพคุณด้านสมุนไพร  ใบถูกนำมาใช้ในอินเดียเพื่อรักษาโรคหอบหืดและโรคไขข้อ แก่นใช้บำรุงร่างกายแก้อาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เป็นยาอายุวัฒนะ ลำต้นหรือรากต้มน้ำดื่มบำรุงน้ำนมขณะอยู่ไฟ เปลือกไม้ใบไม้และดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ขมฉุน, ฝาด, ขับเสมหะ ต้านการอักเสบ และฆ่าแมลง
ระยะออกดอก---มีนาคม-กรกฎาคม
การขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ

กำลังช้างสาร/Pithecellobium tenue

---ภาพจากวิกิพีเดีย

ชื่อวิทยาศาสตร์     __Pithecellobium tenue Craib
ชื่อพ้อง    ---Has 3 synonyms
---Acacia tenue (Craib) Kosterm.
---Acacia tenuis (W. G. Craib) Kosterm
---Thailentadopsis tenuis (Craib)Kosterm.
ชื่อสามัญ     __Blackbeads
ชื่ออื่น     __ฮ่อสะพายควาย, เหล็กไนผึ้ง
ชื่อวงศ์    __LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE(FABACEAE)
ถิ่นกำเนิด    __เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย
เขตกระจายพันธุ์    __ภาคเหนือตอนล่างแถบจังหวัดตาก นครศวรรค์ และทางภาคตะวันตกที่จังหวัดกาญจนบุรี
ไม้ ยืนต้นสูง5-8เมตรกิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย1-3คู่ รูปไข่กลับ หรือรูปวงรีก้านใบแผ่เป็นครีบ หูใบเป็นหนามดอกช่อออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีขาวจำนวนมาก ผลเป็นฝักแบนคอดเล็กน้อย เมื่อสุกสีน้ำตาล
ยา พื้นบ้านใช้ต้นต้มกับน้ำซาวข้าว ดื่มแก้ไข้แก้ร้อนใน หรือผสมกับแก่นฝาง ต้นพญาท้าวเอว โด่ไม่รู้ล้มทั้งต้น ต้นเครืองูเห่า ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเส้น ปวดเอว
---ออกดอกและผลเดือน มีนาคม - มิถุนายน
---สถานภาพ : พืชถิ่นเดียว และพืชหายากที่ใกล้สูญพันธุ์

กำลังวัวเถลิง/Anaxagorea luzonensis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Anaxagorea luzonensis A.Gray
ชื่อพ้อง---Has 3 synonyms
---Anaxagorea fruticosa (Teijsm. & Binn. ex Miq.) Scheff.
---Anaxagorea zeylanica Hook.f. & Thomson
---Rhopalocarpus fruticosus Teijsm. & Binn. ex Miq.
ชื่อสามัญ---None
ชื่ออื่น---กำลังวัวเถลิง, ช้าวัวเถลิง (ประจวบคีรีขันธ์); ชะแมบ (Trat); ปุนทา (นราธิวาส); ปูน (สุราษฎร์ธานี) ; [THAI: kamlang wua thaloeng, cha wua thaloeng (Prachuap Khiri Khan); cha maep (Trat); pun tha (Narathiwat);pun (Surat Thani).]; [CHINESE: Meng hao zi, Chang bing deng tai shu.]; [PHILIPPINES: Dalairo, Kahoi-dalaga, Koles-talano, Sagaak, Talaylo (Tag.); Pauli (P. Bis.); Bobonoyang (C. Bis.); Bagang-aso (Bik.).]; [VIETNAMESE: Qua dau ngong.].
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย


พบที่ศรีลังกา อินเดีย จีน (ไห่หนาน) พม่า ลาว เวียดนาม คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว ชวา สุมาตรา และฟิลิปปินส์ ในไทยพบทางภาคเหนือตอนล่างจนถึงภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูง 100-700 เมตร
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.5-1เมตร เปลือกต้นสีเทาอมดำ มีกลิ่นฉุน เนื้อไม้เหนียว ใบเดี่ยวรูปไข่กลับ ขนาด 6-9x3-7 ซ.ม ดอกสีขาวกลีบบางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม.ผลขนาด2-3ซม.เป็นผลกลุ่ม เมื่อแก่แล้วเปลือกแตกกลางผล เมล็ดสีน้ำตาลมันเป็นเงาดีดเมล็ดกระเด็นไปได้ไกล
การใช้ประโยชน์--- พืชนี้เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น พืชได้รับชื่อเสียงในการรักษาสมรรถภาพทางเพศและมีการซื้อขายบนอินเทอร์เน็ตเพื่อขายในแคปซูล
-ใช้เป็นยา เป็นต้นไม้พื้นเมืองของประเทศไทยและใช้เป็นพืชสมุนไพรแบบดั้งเดิมในการบำรุงเลือดแก้ปวดท้องและรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร เนื้อไม้,เปลือก ต้มหรือดองสุรารับประทาน บำรุงโลหิต บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงกระดูกให้แข็งแรง เป็นยาอายุวัฒนะ ใบถูกนำไปใช้ทาเพื่อรักษาโรคไขข้ออักเสบ รักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งทำหน้าที่เป็นยาบำรุงเลือดและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ระยะเวลาออกดอก—เดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง

กำลังเสือโคร่ง/Betula alnoides


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Betula alnoides Buch.-Ham. ex D.Don
ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms
---Betula acuminata Wall.
---Betula affinis (Spach) Endl.
---Betula nitida D.Don
---Betulaster acuminata Spach
---Betulaster affinis Spach
---Betulaster nitida (D.Don) Spach
ชื่อสามัญ --- Birch, Indian Birch, Betula trees, Naga Birch.
ชื่ออื่น --กำลังเสือโคร่ง, กำลังพญาเสือโคร่ง (ชียงใหม่) [THAI: kamlang suea khrong, kamlang phaya suea khrong (Chiang Mai).]; [AYURVEDA: Bhojapatra.]; [CHINESE: xi hua]
วงศ์ --- BETULACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พม่า ภูฏาน จีน อินเดีย ไทย เวียตนาม
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน “betula” ที่ใช้เรียกพืชพวก birch tree

พบที่อินเดีย ภูฏาน เนปาล พม่า จีน (ฝูเจี้ยน, กวางสี, ไหหลำ, หูเป่ย, เสฉวน, ยูนนาน) ลาว และเวียดนาม พบตามป่ากึ่งเขตร้อนที่ระดับความสูง 700-2100 เมตร ในประเทศไทยพบกระจายทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลย เพชรบูรณ์ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่กาญจนบุรี และที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก ขึ้นตามป่าดิบเขา ความสูง 1000-1600 เมตร
ไม้ ยืนต้นผลัดใบระยะสั้นต้นสูงถึง 30(40)เมตร เรือนยอดโปร่ง กิ่งก้านลู่ลงเล็กน้อย เปลือกต้นสีน้ำตาลปนดำ หรือสีเทาออกเงิน มีรูอากาศรูปขอบขนานใหญ่ๆหลุดลอกออกเป็นช้อนบางๆในแนวขวางของต้น ในต้นแก่เปลือกจะหยาบขรุขระ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนมีกลิ่นหอมเฉพาะคล้ายการบูร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะลอกออกเป็นชั้นๆคล้ายกระดาษที่ยอดอ่อน ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่รี แกมรูปใบหอก ขนาดของใบกว้าง 2.5-5 ซม.ยาว 6-14 ซม. ขอบใบหยักเป็นซี่จักแหลมไม่สม่ำเสมอ ยอดอ่อนมีขนสีเงินหนาแน่น ใบแก่บางเกลี้ยงหรือมีแผงขนที่ซอกของเส้นใบ ผิวด้านล่างมีจุดน้ำยางเล็กๆมากมาย ดอกออกเป็นช่อแบบหางกระรอก ดอกแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน  ช่อดอกเพศเมีย 3-5 ช่อ ดอกยาวประมาณ 5 ซม สีเขียว  ผลขนาดเล็กหลุดร่วงง่าย 4-6มม. เมล็ด มีปีกแบนสองข้าง และโปร่งแสง1.5-2 มม
การใช้ประโยชน์--- ต้นไม้เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยาแหล่งที่มาของไม้ ฯลฯ
-ใช้เป็นอาหาร เปลือกชั้นใน - สามารถนำไปอบแห้งแล้วบดให้เป็นผงแล้วเติมแป้งสำหรับใช้ทำขนมปังเค้ก
-ใช้เป็นยามีสรรพคุณทางสมุนไพร ทำ ให้เส้นเอ็นแข็งแรง ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด บำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ ขับลมในลำไส้  ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำ อักเสบเนื่องจากการกระทบกระเทือน แท้งบุตร มดลูกไม่แข็งแรงให้หายเป็นปกติ ชาวบ้านนิยมนำเปลือกมาดองเหล้าเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น เปลือกมีน้ำมันหอม เป็นยาหลายขนาน นิยมทำเหล้าพื้นเมือง(เหล้าขาว) พืชถูกใช้เป็นยาแก้พิษในการรักษางูกัด ยาต้มเปลือกใช้สำหรับรักษาอาการกระดูกหัก
-วนเกษตร ต้นไม้ถูกปลูกเป็นสายพันธุ์บุกเบิกในภาคเหนือของประเทศไทยในโครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูป่าไม้พื้นเมือง - ปลูกในป่าเสื่อมโทรมและพื้นที่เปิดโล่งผสมกับพันธุ์อื่น ๆ ที่มีความสามารถในการเติบโตอย่างรวดเร็ว ผลิตทรงพุ่มที่หนาแน่นและปราบวัชพืช ดึงดูดสัตว์ป่าที่กระจัดกระจายโดยเฉพาะนกและค้างคาว
-อื่น ๆ เปลือกนอกชั้นบางใช้เป็นกระดาษ ไม้ - แข็งปานกลาง แข็งแรงทนทาน ใช้สำหรับงานก่อสร้างเล็ก ๆ น้อย ๆ เครื่องใช้ในครัวเรือน ฯลฯ และใช้เป็นเชื้อเพลิง
ระยะออกดอก/ติดผล---ตุลาคม-มกราคม/มีนาคม-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด


โกโก้/Theobroma cacao

ชื่อวิทยาศาสตร์---Theobroma cacao L.
ชื่อพ้อง ---Has 15 Synonyms
ชื่อสามัญ---Cacoa Tree, Cocoa, Chocolate Tree.
ชื่ออื่น---โกโก้, โคโค่ (ภาคกลาง) ; [THAI:  ko ko, kho kho (Central).]; [ARABIC: kâkâû.]; [CAMBODIA: kakaaw.]; [FRENCH: cacaotier; cacaoyer.]; [PORTUGUESE: cacaoeiro.]; [GERMAN: Kakaopflanze, Echter Kakaobaum.]; [INDONESIA: coklat.]; [MALAYSIA: pokok coklat.]; [MYANMAR: kokoe.];[NETHERLANDS: Cacaoboom.]; [SPANISH: Cacaotero, Calabacillo, Forastero, Árbol del cacao.]; [SWEDISH: kakaotraed.]; [VIETNAM: cây ca cao.].
ชื่อวงศ์---STERCULIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---ทั่วไปในประเทศเขตร้อน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “theos” = พระเจ้า และ “broma” = อาหาร หมายถึงอาหารของพระเจ้า ;  คำระบุชนิด “cacao” มาจากภาษา Nahuatl (Aztec) “xocol” หมายถึงขม


พืชพื้นเมืองในภูมิภาคเขตร้อนชื้นของเม็กซิโก มีการกระจายอย่างกว้างขวางงจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโกไปยังลุ่มน้ำอเมซอน และอเมริกาใต้ตอนเหนือ (โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา  บราซิล กายอานา ซูรินาม และเฟรนช์เกียนา) และเป็นพืชผลเพาะปลูกในหลายประเทศในแอฟริกาและในเอเชียเขตร้อน
โกโก้เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง3-8เมตร ใบเดี่ยวรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับยาว 10–40 ซม. กว้าง 5–20 ซม เรียงสลับ ดอกเดี่ยวชนาด1-2 ซม.หรือออกเป็นกระจุกที่กิ่งหรือลำต้น กระจุกละ 3-5 ดอก กลีบเลี้ยงพับงอกลับ ดอกสีขาวแกมเหลือง เกสรตัวผู้เป็นหมันสีม่วงเข้ม ปลายยอดสีขาว ผลสดรูปไข่แกมกระสวย  (โดยทั่วไปเรียกว่า 'ฝักโกโก้') ยาว15-30 ซม.กว้าง 8-10  ซม.ผิวย่น เมื่อสุกสีม่วงหรือเหลือง มี 20 ถึง 60 เมล็ด เมล็ดรูปกระสวยสีน้ำตาลเข้ม
การใช้ประโยชน์--- เมล็ดต้นโกโก้เป็นแหล่งของโกโก้ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากประโยชน์หลายประการคุณสมบัติการใช้งานและรสชาติที่ยอดเยี่ยมของโกโก้จึงกลายเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในการค้าทั่วโลก ความสำคัญนี้เกิดจากคุณภาพที่ดีและปริมาณไขมันสูงของต้นโกโก้ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
-ใช้กิน ทำเป็นช็อคโกแลตและเนยโกโก้ เมล็ดที่ผ่านการหมักนั้นจะมีการคั่วแตกและบดเพื่อให้ได้แป้งที่มีไขมันออกมา ผสมกับน้ำตาลเครื่องปรุงและไขมันโกโก้เพิ่มเติม เป็นเครื่องดื่มช็อกโกแลต  มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมขนมเพื่อทำช็อคโกแลตขนมเค้กไอศครีม
-ใช้เป็นยา ตำรา ยาไทยใช้เมล็ด บำรุงร่างกาย ไขมันที่แยกได้ขณะบดเมล็ดนำมาใช้เป็นตัวยาพื้นในการทำยาเหน็บที่ใช้สำหรับโรคริดสีดวงทวาร เนื้อเมล็ดมีสารทีโอโบรมีนและคาเฟอีนมีผลกระตุ้นประสาทส่วนกลางและขับ ปัสสาวะ คนในชนบทในอเมซอน, บราซิล, ถูเนยโกโก้บนที่ฟกช้ำ และมักจะใช้ในการรักษาผิวแตกและไหม้ การวิจัยแสดงให้เห็นว่ามันสามารถช่วยในการต่อต้านแบคทีเรีย และภาวะโลหิตเป็นพิษ
-ใช้อื่นๆ เนยโกโก้ถูกนำมาใช้ใน การผลิตยาสูบ สบู่และนำไปใช้เป็นเครื่องสำอาง ด้วยความหวังที่จะแก้ไขปกปิดริ้วรอย -เมล็ดมีเม็ดสีที่ถูกกล่าวว่ามีประโยชน์ในฐานะเป็นสีผสมอาหาร
ขยายพันธุ์---เมล็ด
 ---ภาพถ่ายจากสวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล ศาลายา

เกากีฉ่าย/Lycium chinense

ชื่อวิทยาศาสตร์---Lycium chinense Mill.
ชื่อพ้อง    ---Has 7 Synonyms
---Lycium barbarum var. chinense (Mill.) Aiton
---Lycium megistocarpum var. ovatum (Poir.) Dunal
---Lycium ovatum Poir.
---Lycium potaninii Pojark.
---Lycium rhombifolium Dippel
---Lycium sinense Gren.
---Lycium trewianum Roem. & Schult..
ชื่อสามัญ---Chinese Boxthorn, Chinese Desert-thorn, Chinese Matrimony- Vine, Goji, Goji Berry, Chinese Wolfberry, Wolfberry, Chinese teaplant.
ชื่ออื่น---เก๋ากี้, เกากีจี้, เกากีฉ่าย (จีน, กรุงเทพฯ) ; [THAI: kao-ki, kao-ki-chi, kao-ki-chai (Chinese-Bangkok).]; [ CHINESE: gou qi zi.]; [DANISH: Bredbladet bukketorn.]; [GERMAN: Chinesischer Bocksdorn.]; [JAPANESE: kukoshi.]; [KOREAN: kugicha.]
ชื่อวงศ์---SOLANACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ไทย


เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ ยุโรป แพร่กระจายเข้าไปในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แต่ต้นไม้ที่ปลูกในวันนี้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีนที่มี 7 ชนิดถูกบันทึกไว้ในฟลอร่าของจีน พืชส่วนใหญ่เป็นเขตอบอุ่นและกึ่งเขตร้อน แต่สามารถปลูกในเขตร้อนที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงถึง 2,000 เมตร
เป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีหนามแหลม ดอกสีม่วง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ผล รูปกลมรีถึงขอบขนานยาวประมาณ 15 มม. กว้าง 8 มม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดเล็กจำนวนมาก สีขาว รูปไต ออกดอกและผลช่วงฤดูหนาว
การใช้ประโยชน์---พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าและมักจะปลูกเพื่อเป็นอาหารยาและแหล่งวัสดุ
-ใช้กิน ผลไม้และใบไม้ กินได้; ผลไม้ - ดิบปรุงในซุป ฯลฯ หรือทำให้แห้งเพื่อใช้ในภายหลัง; ใบและยอดอ่อน - ดิบหรือปรุงสุก ใช้ในสลัดหรือใช้เป็น potherb อุดมไปด้วยวิตามินเอ ใบยังมีโปรตีนประมาณ 3.9% คาร์โบไฮเดรต 2.25% ไขมัน 0.7% เถ้า 1.4% เมล็ดคั่วชงดื่มแทนกาแฟ ใบแห้งใช้ชงดื่มแทนชา
-ใช้เป็นยา  เป็นสมุนไพรบำรุงกำลังจีนที่มีประวัติการใช้ยามาเกือบ 2,000 ปี พืชเป็นยาชูกำลังที่มีชื่อเสียงในการแพทย์แผนจีนและได้กลายเป็นที่นิยมในประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งผลและรากมีการใช้และเป็นที่เชื่อกันว่าพืชส่งเสริมชีวิตที่ยืนยาว ยาต้มใช้ในการเสริมสร้างไตฟื้นฟูน้ำอสุจิและบำรุงตับ ปกป้องตับจากความเสียหายที่เกิดจากสารพิษ นอกจากนี้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ดวงตามีความกระจ่างใส ลดความดันโลหิต สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดอาการตาฝ้าฟางและกระหายน้ำในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชะลอความแก่ บรรเทาความเหนื่อยล้ากำจัดพิษ บำรุงระบบสืบพันธุ์ ป้องกันเนื้องอก
-ใช้ปลูกเพื่อเป็นเป็นไม้ประดับ,ปลูกเพื่อป้องกันความเสี่ยง พืชมีระบบรากที่กว้างขวางและสามารถปลูกเพื่อสร้างเสถียรภาพเพื่อรักษาเสถียรภาพของดิน
ขยายพันธุ์---เมล็ด  ตอนกิ่ง ปักชำ

โกฐจุฬาลัมพา/Artemisia vulgaris


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Artemisia vulgaris L.
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
---Artemisia opulenta Pamp.
---Artemisia vulgaris subvar. brachystachya DC.
---Artemisia vulgaris var. glabra Ledeb.
---Artemisia vulgaris var. kamschatica Besser
---Artemisia vulgaris var. merkiana Besser
---Artemisia vulgaris subvar. sativa DC.
---Artemisia vulgaris subvar. sylvestris DC.
ชื่อสามัญ---Mugwort, Common wormwood ,Riverside wormwood, Felon herb, Chrysanthemum weed, Old Uncle Henry, Sailor's tobacco, Naughty man, St. John's plant, Green-ginger.
ชื่ออื่น--โกฐจุฬาลัมพา (ภาคกลาง); พิษนาศน์ (ราชบุรี); ตอน่า (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); จิงเหี่ย(จีนแต้จิ๋ว); [THAI: kot chula lampha Thai (Central); phitsanat (Ratchaburi); to-na (Shan-Mae Hong Son); ching-hia (Chinese).]; [CHINESE: hao-shu, ai ye, ye ai, ye ai hao.]; [DANISH: Grå-bynke.]; [FINLAND: pujo.]; [FRENCH: Armoise vulgaire.]; [GERMAN:  Gemeiner Beifuss]; [ITALIAN: Artemisia, assenzio selvatico.]; [JAPANESE: Arutemishia, oushuu yomogi.]; [MEXICO: Ajenjo, altamisa si'isim.]; [NETHERLANDS: Bijvoet; singtjansbrod.]; [PORTUGUESE: artemísia; erva-de-fogo; losna.]; [PHILIPPINES: Damong maria, kamaria.]; [RUSSIA: Polyn' obyknovennaia.]; [SPANISH: altamisa; artemisa vulgar; artemisia; hierba de San Juan.]; [SWEDISH: graabo.]; [USA: Wormwood.]; [VIETNAM: Ngải cứu, thuốc cứu.].
ชื่อวงศ์---COMPOSITAE (ASTERACEAE)
ถิ่นกำเนิด---ยุโรป เอเซีย แอฟริกา อเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---ยุโรป เอเชีย แอฟริกาเหนือ อเมริกาเหนือ  ตะวันตกของเอเชีย จีน


ถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ( Alaska)ตอนนี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วซีกโลกเหนือไปยังอินโดจีนและแอฟริกาเหนือพบได้ตามธรรมชาติที่ระดับความสูงถึง 1600เมตร
ไม้ ล้มลุกอายุสั้นอยู่ได้ปีเดียว ทั้งต้นมีกลิ่นแรง มีขนประปราย เมื่อแก่หลุดร่วงไป ลำต้นมีเหง้าสั้นๆ ต้นสูงประมาณ 1-1.5เมตร  ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย ลำต้นกลม ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 5-10 ซม เนื้อใบบางด้านล่างของใบถูกปกคลุมไปด้วยขนนุ่มสีขาวดูเป็นสีเทา พื้นผิวใบด้านบนมีขนเล็กน้อย ต้นที่กำลังจะออกดอก ใบบริเวณโคนต้น จะแผ่คลุมดิน ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อน บริเวณส่วนยอดจะออกมาก ผลเป็นผลแห้งรูปยาวรีเล็กมากสีดำ ขนาด 2 มม.
การใช้ประโยชน์----ใช้เป็นอาหาร สามารถใช้เป็นสารปรุงแต่งรสขมเพื่อปรุงรสไขมันเนื้อสัตว์และปลา ถูกนำมาใช้เพื่อรสชาติของเบียร์ก่อนที่จะนำฮอปส์มาใช้ ในญี่ปุ่นใช้ทำขนม เค้กข้าว Mugwort หรือkusa mochiใช้สำหรับขนมญี่ปุ่นที่เรียกว่า daifuku (หมายถึง 'โชคดีมาก')
-ใช้เป็นยา โกฐจุฬาลัมพา เป็นชื่อที่แพทย์แผนไทยใช้เรียก "ใบและเรือนยอด (ที่มีดอก) แห้ง" หรือส่วนที่อยู่เหนือดิน ตำรายาไทยจะใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน ซึ่งเป็นไข้จับสั่นประเภทหนึ่ง) แก้ไข้เพื่อเสมหะ ช่วยลดเสมหะ แก้ไข้มาลาเรีย แก้หืด แก้หอบ แก้ไอ ช่วยขับเหงื่อ และใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน-ในอเมริกาเหนือชนพื้นเมืองใช้ mugwort เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาโรคจำนวนมาก ใบที่มีรสขมเผ็ดได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคหวัดและไข้ ใช้ในการล้างและบรรเทาอาการฟกช้ำ, คัน, แผลจากไม้เลื้อยพิษ, กลาก,ใต้วงแขนหรือกลิ่นเท้า ใบแห้งบดและใช้เป็นยานัตถุ์เพื่อบรรเทา เลือดกำเดาไหลและปวดหัว
-ใช้อื่นๆ *ใช้เป็นสมุนไพรไล่หนู ด้วยการใช้ต้นโกฐจุฬาลัมพา 2 ขีด, น้ำ 1 ลิตร และจุลินทรีย์หน่อกล้วยอีก 10 ซีซี นำมาผสมรวมกัน หมักทิ้งไว้ 1 คืน แล้วคั้นเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นรอบแปลงนา (ใช้ในอัตราส่วนสารสกัด 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) โดยใช้ฉีดพ่นรอบแปลงนาในระยะ 7-10 วัน อย่างต่อเนื่องเพียงแค่นี้ก็จะช่วยป้องกันหนูมาทำลายต้นขาวในนาข้าวได้แล้ว แถมยังปลอดภัยไร้สารเคมี ดีต่อนาข้าว และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย* ข้อมูลจากเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
พิธีกรรม/ความเชื่อ--- ในยุคกลางของยุโรปโกฐจุฬาลัมพาถูกใช้เป็นสมุนไพรป้องกันที่มีมนต์ขลัง เพื่อรักษาความเหนื่อยล้าและเพื่อปกป้องนักผจญภัยจากวิญญาณชั่วร้ายและสัตว์ป่า  Mugwort เป็นหนึ่งในเก้าสมุนไพรที่ถูกอัญเชิญใน Anglo-Saxon Nine Herbs Charm ที่บันทึกไว้ในศตวรรษที่ 10 ใน Lacnunga
รู้จักอันตราย---เกสรของพืชชนิดนี้เป็นที่กล่าวกันว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืดในภาคเหนือของทวีปยุโรปอเมริกาและเอเชีย
ระยะออกดอกติดผล---กรกฎาคม-กันยายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า

กัญชา/Cannabis sativa

ชื่อวิทยาศาสตร์---Cannabis sativa  L.
ชื่อพ้อง---Has 2 synonyms  
---Cannabis sativa subsp. indica (Lam.) E.Small & Cronquist,
---Cannabis indica Lam.
ชื่อสามัญ---Cannabis, Hemp, Indian Hemp, Marihuana, Marijuana, Red-root, Soft hemp, True hemp.
ชื่ออื่น---กัญชง, กัญชา, กัญชาจีน (ทั่วไป); คุนเช้า (จีน); ปาง, ยานอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; [THAI: kan chong, kancha, kancha chin (General);  khun-chao (Chinese); pang, ya-no (Karen-Mae Hong Son).]; [ARABIC: hashish; kannab.];[BRAZIL: maconha.]; [CHINESE: ma fen; ta ma.]; [FRENCH: chanvre.];  [GERMAN: Hanf.];[INDIA: charas; ganja.]; [JAPAN: asa.]; [MYANMAR: bhang, se-gyauk.]; [NETHERLANDS: hennep.]; [PORTUGUESE: canhamo.]; [POLAND: kenop.]; [RUSSIA: konoplya.]; [SOUTH AFRICA: dagga.]; [SPANISH: canamo; sinsemilla.]; [SWEDISH: hampa.].
ชื่อวงศ์---CANNABACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกาเขตร้อน ยุโรป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้-บราซิล แถบตะวันออกของสหรัฐอเมริกา
นิรุกติศาสตร์---สายพันธุ์นี้ถูกจำแนกเป็นครั้งแรกโดย Carl Linnaeusในปี ค.ศ. 1753 ; ชื่อสายพันธุ์ "sativa" หมายถึงสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง
เป็นต้นไม้พื้นเมืองในเอเชียตะวันออก แต่ตอนนี้การกระจายทั่วโลกเนื่องจากการเพาะปลูกอย่างกว้างขวาง
ต้นสูงประมาณ 0.50-1 เมตร ใบเลี้ยงคู่ใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก คล้ายใบมันสำปะหลัง ที่ขอบใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะๆ ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน
การใช้ประโยชน์---ได้รับการปลูกฝังมาตลอดประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ใช้เป็นแหล่งที่มาของเส้นใยอุตสาหกรรม ,น้ำมันเมล็ด ,อาหาร ,,ศาสนาและอารมณ์ความรู้สึกทางจิตวิญญาณและการแพทย์ แต่ละส่วนของพืชมีการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
-ใช้เป็นยา ส่วนที่นำมาใช้ได้แก่ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบ และยอดช่อดอกกัญชา ทั้งนี้ กัญชาจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และในประเทศไทยไม่มีการอนุญาตให้นำมาใช้ในทางการแพทย์ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ในหลายประเทศให้ความสนใจศึกษาสารสำคัญในกัญชาเพื่อ ศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต่อร่างกายและประโยชน์ในทางการแพทย์ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยตั้งแต่อดีตเรื่อยมาก็พบว่ากัญชาสามารถใช้เป็นยาในการ บำบัดรักษาอาการป่วยในบางโรคได้ เช่น ลดการอาเจียนระหว่างรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด, ลดการปวดอักเสบในโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย และลดการปวดและเกร็งที่เป็นผลมาจากเส้นประสาทถูกทำลาย สรรพคุณทางเป็นสมุนไพร ใบกัญชา ใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม ด้วยการนำใบสดมาหั่นให้เป็นฝอย แล้วเอาไปตากแห้ง จากนั้นจึงนำมาสูบเป็นยารักษาโรค เมล็ดใช้เป็นยาแก้กระหายน้ำ ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน ตำรายาไทยจะใช้เมล็ดกินเป็นยาชูกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แต่ถ้ากินมากจะมีอาการหวาดกลัวและหมดสติ ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เมล็ดกัญชาจำนวน 3 เมล็ด นำมาผสมกับพริกไทย 3 ผล บดให้เป็นผง ใช้ผสมกับน้ำกินทุกคืนเป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรี ช่วยแก้ประจำเดือนไม่ปกติของสตรี
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด

ข่า/Alpinia galanga

ชื่อวิทยาศาสตร์---Alpinia galanga (Linn.) Swartz.
ชื่อพ้อง---Languas galanga (Linn.) Stuntz
ชื่อสามัญ---Galangal, False galangal, Greater galangal, Blue ginger, Lengkuas.
ชื่ออื่น---สะเออเคย, สะเอเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); กฏุกกโรหินี, ข่า (ทั่วไป); ข่าหยวก, ข่าหลวง (ภาคเหนือ) se-oe-khoei, sa-e-choei (Karen-Mae Hong Son); katuk ka rohini, kha (General); kha yuak, kha luang (Northern) ; [CAMBODIA: romdeng, rumdéng, pras.]; [CHINA: Hong Dou Kou, Da gao liang jiang, San chiang.]; [FRENCH: Galanga de i’Indie, grand galanga.];[GERMAN: Galgant, großer galgant, siam-ingwer, siamesische ingwerlilie.];[HINDI: Kulinjan.];[INDONESIA: Halawas (Bakat); langkuweh (Minang); lawas (Lampung) ; laos (Javanese), laja (Sundanese) ; lengkuas, langkuwas (Malay); aliku (Bugis).];[ITALIAN: Galangga maggiore.];[JAPAN: nankyo, Dai Koryokyo.]; [LAOS: Kha ta deng.];[MALAYSIA: Lengkuas, puar, lengkuas biasa, lengkuas benar, lawas, mengkanang , lankuas.];[MYANMAR: pa de kaw, Pa da go ji, pa de gaw gyi.]; [PHILIPPINES: Lankauas, langkauas.];[PORTUGUESE: Gengibre do laos, gengibre tailandés.];[SANSKRIT: sugandhmula.];[SPANISH: Calanga, garengal.];[TAMIL: arattai, perattai.]; [VIETNAM: Riềng nếp, hồng đậu khấu, sơn nại.].
ชื่อวงศ์ ---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด----ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์----จีน อินโดจีน อินเดีย มาเลเซีย ฯลฯ
นิรุกติศาสตร์--- ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาลี Prospero Alpino (1553-1617)


พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ - จีน (ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กวางสี, ไหหลำ, ไต้หวัน, ยูนนาน), อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า, ไทย, เวียดนาม ขึ้นตามที่โล่ง ชายป่า ที่ระดับความสูง 100-1,300 เมตร
ข่า เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นลงหัวอยู่ใต้ดิน มีข้อปล้องเห็นชัด ส่วนที่อยู่เหนือดินจะเป็นก้าน ใบ สูงราว1-2เมตร เนื้อในเหง้าสีขาวรสขมเผ็ดร้อน แต่ไม่เผ็ดเหมือนขิง มักมีกลิ่นหอมฉุน ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก,  25-35 × 6 - 10 ซม ดอกมีขนาดเล็กสีขาวและมีลายสีแดงเข้ม ผลแคปซูลรี1--1.5 ซม.มี 3-6เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบดินที่อุดมไปด้วยฮิวมัสและชื้นในสภาพที่ได้รับการปกป้อง ร่มรื่นและแห้ง ประสบความสำเร็จในแสงแดดเต็มและสามารถทนความแห้งแล้ง ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 6.5, ทนได้ 5 - 6.8
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นส่วนผสมปรุงอาหารและยา
-ใช้กิน ส่วน ที่นำมาใช้บริโภคคือ เหง้า ดอก หน่ออ่อน เหง้า - ใช้เป็นเครื่องปรุงใช้สดหรือแห้งในอาหารหลากหลายชนิด ดอกไม้และหน่ออ่อนสามารถกินดิบนึ่งเป็นผักหรือใช้เป็นเครื่องเทศ ผลไม้สีแดงกินได้ใช้ในประเทศแทนกระวาน น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากรากนั้นใช้ในการปรุงรสสุราเช่น Chartreuse และ Angostura รวมถึงน้ำอัดลม
- ใช้เป็นยา เหง้ามีการใช้งานที่หลากหลายในการแพทย์แผนโบราณ สรรพคุณทางสมุนไพรมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อรา รักษากลากเกลื้อน ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด  เหง้าอ่อนมีรสเผ็ดใช้ขับลมในลำไส้แก้ปวดมวนในท้อง ดอกอ่อนก็มีรสเผ็ดเช่นเดียวกัน ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายเหง้า
-อื่น ๆ พืชเป็นแหล่งของน้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Essence d'Amali
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม - สิงหาคม/ กันยายน-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า


ข่าน้ำ (ปุด)/Alpinia mutica


ชื่อวิทยาศาสตร์---Alpinia mutica Roxb. var. nobilis (Ridl.) I. M. Turner
ชื่อพ้อง ---Has 7 synonyms   
---Alpinia korthalsii K.Schum
---Alpinia laxiflora Gagnep
---Catimbium muticum (Roxb.) Holttum
---Languas korthalsii (K.Schum.) Merr
---Languas laxiflora (Gagnep.) Merr
---Languas mutica (Roxb.) Merr
---Renealmia mutica (Roxb.) Salisb
ชื่อสามัญ---Small shell ginger, False Cardamom Ginger, Narrow-leaved alpinia, Orchid ginger
ชื่ออื่น---แขแน (มาเลย์-นราธิวาส); ข่าน้ำ (ภาคใต้); ปุด (ทั่วไป) ; [THAI: khae-nae (Malay-Narathiwat); kha nam (Peninsular); put (General).]; [INDONESIA: Kerapat bai, seki pui bai.]; [MALAYSIA: Chengkenam (Peninsula).].
ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดียตอนใต้ พม่า ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย

 

 

มีถิ่นกำเนิดในเกาะบอร์เนียว, ชวา, อินเดีย, พม่า, คาบสมุทรมาเลเซีย, สิงคโปร์, สุลาเวสี, ไทยและเวียดนาม เติบโตในป่าชื้น ใกล้แหล่งน้ำ ริมลำธาร
ลักษณะของข่าน้ำ ลำต้นเป็นเหง้าส่วนเหนือดินสูงประมาณ 1.50-2.00เมตร ก้านใบยาว 3.5 ซม. มีขนยาว แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกขนาด 40-60 x 10-13 ซม. ช่อดอกออกกลางกลุ่มใบยาวไม่เกิน 16 ซม.  กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีขาว ด้านนอกมีขนปกคลุม กลีบดอกสีขาว กลีบปากสีเหลือง มีแถบสีแดงกระจายกลางกลีบ ผลกลมขนาด 3-3.5 x 2-2.5 ซม สุกสีส้มหรือแดง เมล็ดขนาด 6-7 มม.
ใช้ประโยชน์--ต้นอ่อนผลอ่อนรับประทานเป็นผักได้ ใช้เป็นยามีสรรพคุณ เหง้า ต้มนํ้าดื่มช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ระยะออกดอก/ติดผล--- กุมภาพันธ์ - ตุลาคม
การขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า

ข่าลิง/Alpinia conchigera

ชื่อวิทยาศาสตร์---Alpinia conchigera Griff.
ชื่อพ้อง  ---Has 1 synonyms  
---Languas conchigera (Griff.) Burkill.
ชื่อสามั---Joint-whip Ginger, Lesser Alpinia
ชื่ออื่น---กูวะกือติง (มาเลย์-นราธิวาส); ข่าลิง (ภาคใต้,นครราชสีมา) ; [THAI: ku-wa-kue-ting (Malay-Narathiwat); kha ling (Peninsular, Nakhon Ratchasima).]; [BANGLADESH: Khet ranga.]; [CHINESE: Jie bian shan jiang.]; [INDIA: Khetranga.]; [MALAYSIA: Langkuas kechil, chengkenam, jerunang, langkuas kecil, langkuwas, lengkuas padang, ranting, lengkuas ranting, lengkuas kecil, rumput kelemoyang.]; [VIETNAM: Rieng rung.].
ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเดเซีย
เขตกระจายพันธุ์---บังคลาเทศ อินเดีย จีน(ยูนนาน) กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย(สุมาตรา) ที่ระดับความสูง 600 - 1,100 เมตร
พืช ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเทียมสูง 30-50 ซม.ใบรูปรีหรือรูปหอกกว้าง 3-4 ซม.ยาว 7-8 ซม.ปลายใบเรียว แหลม ผิวใบเรียบดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดยาว 10-13 ซม.มดอกย่อยสีเหลืองจำนวนมาก เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีจงอยโค้งห้อยลงเป็นรูปตะขอ
การใช้ประโยชน์--- ใช้ในท้องถิ่นเก็บพืชจากป่าเพื่อใช้เป็นยาและกินได้ เหง้าใช้สำหรับแต่งกลิ่นแอลกอฮอล์และอาหาร
มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร เหง้าและ รากแก้พิษฝี แก้หูน้ำหนวก แก้โรคหืด แก้ประดง รักษากามโรค เกลื้อน ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ แก้พิษสุนัขบ้า
การขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า

ข้าวฟ่างสมุทรโคดม/Sorghum bicolor

ชื่อวิทยาศาสตร์---Sorghum bicolor (Linn.) Moench
ชื่อพ้อง---Has 177 Synonyms
ชื่อสามัญ---Negro Guinea Grass, Millet Grass, Great millet, Sudan grass, common wild sorghum, durra, Egyptian corn, etc.
ชื่ออื่น---เกาเหลียง(จีน) ; ข้าวป้างนก, ข้าวป้างหางช้าง(ภาคเหนือ); ข้าวฟ่างสมุทรโคดม (ชุมพร); ข้าวฟ่างหางช้าง, จังหันมะพุด, สมุทรโคดม (ภาคกลาง); มกโคดม, มุทโคดม(ภาคใต้) ; [THAI: kao-liang (Chinese); khao pang nok (Northern); khao pang hang chang (Northern); khao fang samut khodom (Chumphon); khao fang hang chang, chang han ma phut, samut khodom (Central);  mok khodom,  mut khodom (Peninsular).];[AFRIKAANS:  witkafferkoring.];[GERMAN: Gewöhnliche, Mohrenhirse, Zuckerhirse.];[INDIA: jowar.];[INDONESIA: cantel, jagung cantel.];[JAPAN: morokoshi.];[LAOS: khauz fa:ngz.];[MALAYSIA: jagung, jagong.];[PHILIPPINES: batad, batag (Tagalog), bukakau (Ilokano).];[SPANISH: sorgo forrajero.];[VIETNAM: mien, cor mia hai mau.];
ชื่อวงศ์---GRAMINEAE
ถิ่นกำเนิด---แอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกา อินเดีย เอเซีย ยุโรป และอเมริกา


มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาและปัจจุบันได้รับการเพาะปลูกอย่างกว้างขวางในอินเดียจีนและอเมริกา
พืช ตระกูลหญ้าเป็นพืชฤดูเดียวหรือล้มลุก มีลำต้นเดียว แต่อาจจะแตกกอหรือหน่อได้ ข้าวฟ่างเป็นพวกที่ใช้ประโยชน์จากเมล็ด ดอก จะออกเป็นช่อตรงปลายยอด ยาวประมาณ 30 ซมข้าวฟ่างออกดอกให้เมล็ดแล้วก็ตาย แต่มีข้าวฟ่างหลายประเภทที่สามารถอยู่ข้ามปีได้โดยการแตกกอจากต้นเดิม ผลที่แก่จะมีเนื้อแข็ง ผิวภายนอกจะเป็นมัน จะมีลักษณะกลมเท่าเมล็ดพริกไทย โผล่พ้นออกมาจากเปลือก ส่วนเมล็ด มีแป้งมาก ข้าวฟ่างมีอยู่2ชนิดคือข้าวฟ่างที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เมล็ดจะเป็นสีแดงหรือขาวเมล็ดจะใหญ่ละแข็ง ส่วนอีกชนิดเป็นชนิดสำหรับคนกิน เมล็ดจะเป็นสีน้ำตาลหรือเหลืองเมล็ดจะมีขนาดเล็ก
สรรพคุณ ทางเป็นสมุนไพรของข้าวฟ่าง ใช้เมล็ด แห้ง ต้มน้ำกินรสชุ่ม บำรุงกายและให้พลังงาน รักษาโรคอหิวาตกโรค บิด ฝาดสมานลำไส้และกระเพาะอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ ราก แห้ง และสด ต้มน้ำกิน ใช้ขับปัสสาวะ ห้ามโลหิต ระงับอาการหอบ ไอหอบ ตกโลหิตหลังคลอด สงบประสาท และยังช่วยในการเร่งคลอดทารก
(สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน)
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ขิง/Zingiber officinale

ชื่อวิทยาศาสตร์---Zingiber officinale Roscoe
ชื่อพ้อง  ---Has 8 synonyms
---Amomum zingiber L.
---Zingiber cholmondeleyi (F.M.Bailey) K.Schum.
---Zingiber missionis Wall.
---Zingiber officinale f. macrorhizonum (Makino) M.Hiroe
---Zingiber officinale f. rubens (Makino) M.Hiroe
---Zingiber officinale var. cholmondeleyi F.M.Bailey
---Zingiber officinale var. rubrum Theilade
---Zingiber sichuanense Z.Y.Zhu, S.L.Zhang & S.X.Chen
ชื่อสามัญ---Ginger
ชื่ออื่น---ขิง(ทั่วไป); ขิงเผือก(เชียงใหม่); ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี); สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; [THAI: khing (General); khing phueak (Chiang Mai); khing klaeng,  khing daeng (Chanthaburi);  sa-e (Karen-Mae Hong Son).];[CAMBODIA: chnay; khnhei; khnhei phlung.];[CHINESE: jiang.];[FRENCH: gingembre; gingembre chinos.];[GERMAN: Ingwer.];[GUAM: asngod; hasngot.];[INDIA: aale; ada; adi; adrak; adraka; adu; aduwa; alha; allam; inchi; inji; shing; shonti; shunthi; sunth.];[INDONESIA: atuja; beuing; jae; jahe; jahi; lia.];[ITALIAN: Zenzero.];[JAPAN: oshoga.];[KOREA: saeng gang.];[LAOS: khi:ng.];[MALAYSIA: haliya; jahi.];[MOROCCO: kenjabil.];[MYANMAR: gyin.];[NETHERLANDS: djahe; Gember.];[PALAU: kesol ra ngebard; sionga.];[PAPUA NEW GUINEA: kawawar; kawawari.];[PHILIPPINES: baseng; laya; luya.];[PORTUGUESE: gengibre-comum.];[SPANISH: gengibre; Jengibre; jenjibre dulce; kion.];[SWEDISH: Ingefaera.];[VIETNAM: cay gung.].
ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ป่าดิบชื้นเขตร้อน
เขตกระจายพันธุ์ ---อนุทวีปอินเดีย ถึง เอเชียใต้
นิรุกติศาสตร์--- ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “zingiberis” ที่ใช้เรียกพวกขิงข่า
ไม้ ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ  เหง้าแตกแขนงมีกลิ่นหอม ใบเรียงสลับระนาบเดียวกัน ช่อดอกออกจากเหง้าหรือลำต้น รูปโคนกว้างหรือรูปกระสวย กาบเป็นแผ่นคล้ายเกล็ด ผลแห้งแตกเป็น 3 ซีก เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีขาว จักชายครุย
-ใช้เป็นยา สรรพคุณในตำรายาทั่วไปใบรสเผ็ดร้อน เป็นยาบรรเทาอาการฟกช้ำจากการหกล้ม กระทบกระแทก  ขับลมช่วยย่อยอาหาร ลำต้นเทียมเหนือดินรสเผ็ดร้อน แก้ท้องร่วง จุกเสียด ขับลมในลำไส้ ดอก- รสฝาดร้อน ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ บำรุงไฟธาตุ แก้บิด แก้ขัดปัสสาวะ และโรคประสาทที่ทำให้หัวใจขุ่นมัว แก้คอเปื่อย และทำให้ชุ่มชื่น -เมล็ดรสหวานเผ็ด รักษาอาการไข้ บำรุงน้ำนม บรรเทาอาการคอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ-เหง้า รสหวานเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้ อาเจียน ขับปัสสาวะ แก้หอบ แก้พิษจาก ปู ปลา นก เนื้อสัตว์อื่นๆ ต้มดื่มแก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยขยายหลอดเลือดใต้ผิวหนังทำให้เหงื่อออก ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย-เปลือก เหง้ารสเผ็ดร้อน ใช้เปลือกเหง้าแห้งต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ขับลม รักษาอาการ ท้องอืด จุกเสียดแน่น อาการบวมน้ำ หรือใช้ภายนอกรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและแผลมีหนอง -ราก รส หวานเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม ฆ่าพยาธิ และเจริญอาหาร แก้เสมหะ แก้บิด แก้พรรดึก บำรุงเสียงให้เพราะ ทำให้ผิวหนังสดชื่น แก้นิ่ว แก้ไอ รักษาบิดโลหิตตกเป็นสีขมิ้น ตำรา ยาไทยใช้เหง้าขิงแก่ทั้งสดและแห้ง เป็นยาขับลม แก้อาเจียน แก้ไข้ขับเสมหะ และขับเหงื่อโดยใช้เหง้าสดต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม ในเหง้าขิงมีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ขับลม ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันนอกจากนี้พบสารรสเผ็ดลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง
ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า

เข็มพวงขาว/Ixora finlaysoniana


ชื่อวิทยาศาสตร์--Ixora finlaysoniana Wall. ex G. Don.
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
---Ixora denticulata Pierre ex Pit.
---Ixora findlayana B.S.Williams
ชื่อสามัญ---Siamese White lxora, Fragrant Ixora, Bride's bouquet.
ชื่ออื่น ---เข็มขาว, เข็มหอม, ; [CHINESE: Bao ye long chuan hua.]; [SPANISH: Ramo de novia.]; [PHILIPPINES: Santan-puti (Tag.)]
ชื่อวงศ์ ---RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---อินเดีย อินโดจีน
เขตกระจายพันธุ์ ---ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (อัสสัม), คาบสมุทรอินโดจีนและฟิลิปปินส์
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง1.5-3เมตร พุ่มแน่น ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่เวียนสลับรอบลำต้นและกิ่ง
ใบเดี่ยวรูปรีขอบขนาน  ขอบใบเรียบ  ปลายใบเรียวแหลม  ขนาดของใบกว้างประมาณ 2.5-5ซม.  ยาว 7.5ซม.เนื้อใบค่อนข้างหนาสีเขียวสด ออกดอกรวมเป็นช่อขนาดใหญ่สั้นแน่น ขนาด 10-15 ซม. ก้านดอกยาวกว่าดอกเข็มอื่น ๆ  ปลายดอกแยกออกเป็น 4 กลีบ  ปลายกลีบดอกมนโค้ง  ไม่แหลม ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม เมล็ดกลม สีดำ
สรรพคุณทางสมุนไพร ฆ่าพยาธิ แก้ตาแดง แก้ริดสีดวงในจมูก ราก ใช้ปรุงเป็นยากิน รักษาโรคตา เจริญอาหาร
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ปักชำ


เขยตาย/Glycosmis pentaphylla


ชื่อวิทยาศาสตร์  ---Glycosmis pentaphylla (Retz.) D.C.
ชื่อพ้อง ---Has 6 synonyms   
---Glycosmis arborea (Roxb.) DC.
---Glycosmis chylocarpa Wight & Arn.
---Glycosmis quinquefolia Griff.
---Limonia arborea Roxb.
---Limonia pentaphylla Retz.
---Myxospermum chylocarpum (Wight & Arn.) M.Roem.
ชื่อสามัญ---Ash Sheora, Orangeberry , Gin Berry, Rum Berry, Toothbrush plant.
ชื่ออื่น---เขนทะ (ภาคเหนือ); เขยตาย, ลูกเขยตาย (ภาคกลาง); กระโรกน้ำข้าว, กระรอกน้ำข้าว (ภาคกลาง,ชลบุรี); กระรอกน้ำ (ชลบุรี); ตาระแป (มาเลย์-ยะลา); น้ำข้าว (ภาคกลาง,ภาคใต้); ประยงค์ใหญ่ (กรุงเทพฯ); พุทธรักษา (สุโขทัย); มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์); ส้มชื่น (ภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ; [THAI: khen tha (Northern); khoei tai, luk khoei tai (Central); krarok nam khao, krarok nam khao (Central, Chon Buri); krarok nam (Chon Buri); ta-ra-pae (Malay-Yala); nam khao (Central, Peninsular); prayong yai (Bangkok); phuttha raksa (Sukhothai); man mu (Prachuap Khiri Khan); som chuen (Northeastern, Northern).]; [AYURVEDA: Vana-nimbuukaa, Ashwa-shaakhota.];[BENGALI: ash-sheora,  ban jamir, matkhila.];[CHINESE: Shi ling ju, Shan xiao ju.];[HINDI: Ban Nimbu.];[KANNADA: guruvade, jangama, manikyana gida, pandelu, vadimadige.]; [MALAYALAM: Kuttippannel, Kurumpannal, Panal, Panchi.];[MALAYSIA: Napan, Nerapan, Merapi.];[MARATHI: kirmira.];[PHILIPPINES: Gingging (Tag.).];[SANSKRIT: ashvashakota, vananimbuka.];[SIDHA/TAMIL: Konji, Amam, Kula-pannai.];[TAMIL: Kulu Pannai,Kula pannai.];[TELUGU:  gonji, konda golugu.];
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน เนปาล พม่า ไทย กัมพุชา เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Glycosmis = หอมหวาน ; ชื่อสายพันธุ์จาคำกรีก: penta (ห้า) และphyllum (ใบไม้)

 

เกิดขึ้นตามเนินเขาและหุบเขาป่าไม้ ที่ระดับความสูง 600 - 1,200 เมตร
ไม้พุ่มขนาดกลางสูง3-6เมตรลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกต้นสีเทา ตกกระเป็นดวงสีขาว ทรงพุ่มโปร่งกิ่งก้านมีขนนุ่มทั่วไป ใบประกอบเรียงตรงข้ามแผ่นใบหนา กว้าง3-5ซม.ยาว8-14ซม.รูปรีหรือรูปไข่ โคนใบรูปลิ่ม ปลายแหลม ขอบใบบิดแต่เรียบดอกออกแบบช่อแยกแขนงดอกย่อยมีก้าน เรียงสลับบนแกนกลาง  แต่ละช่อย่อยมีดอกย่อยไม่เท่ากัน มีขนสั้นนุ่ม ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ดอกย่อยขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 0.3 ซม. วงกลีบเลี้ยงเป็นแฉก แต่ละแฉกรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกจำนวน 5 อัน สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน เกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน เกสรเพศเมียจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอมหน่อยๆผลเป็นผลสดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 มม สีชมพูโปร่งแสงมีเนื้อฉ่ำ มีเมล็ดกลมสีดำ 1เมล็ด ผลเมื่อแก่จัดมีรสหวาน
การใช้ประโชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยารักษาโรค ในแคริบเบียนได้รับความนิยมในฐานะผลไม้ที่กินได้ และ ถูกปลูกเป็นไม้ประดับในส่วนต่าง ๆ ของเขตร้อน
-ใช้กิน ผลไม้หวานกินได้
-ใช้เป็นยา พืชมักจะใช้ในยาแผนโบราณทั้งด้วยตัวเองและเป็นส่วนผสมของส่วนผสมยาต่างๆ มีสรรพคุณทางสมุนไพร รากมี รสเมาขื่นปร่าและเปลือกกระทุ้งพิษฝีภายในภายนอก แก้ไข้กาฬแก้ไข้รากสาด, แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม ดอกและผลรักษาหิด ยางสีน้ำนมใช้ทาหูดให้หลุดจากผิวหนัง ลำต้นเผาไฟใช้พอกแผลเน่าเปื่อย มีการนำใบมาผสมกับขิงนำมาใช้กับโรคเรื้อนกวางและโรคผิวหนัง ในยาแผนโบราณของอินเดียพืชชนิดนี้ใช้รักษาอาการท้องร่วง อาการไอ โรคไขข้ออักเสบ โรคโลหิตจางและโรคดีซ่าน
-ใช้อื่นๆ ไม้สีอ่อนบางครั้งใช้สำหรับทำเป็นด้ามจับเครื่องมือ ในเบงกอลตะวันออกใช้ลำต้น เป็นแปรงสีฟันในลักษณะเป็นเส้น ๆ ฝาดและมีรสขมเล็กน้อย
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

ขันทองพยาบาท/Suregada multiflora


ชื่อวิทยาศาสตร์---Suregada multiflora (A. Juss.) Baill.
ชื่อพ้อง---Has 15 Synonyms
---Gelonium fasciculatum,
---Gelonium multiflorum,
---Gelonium tenuifolium---(more)
ชื่อสามัญ---False lime tree
ชื่ออื่น-กระดูก,ยายปลวก,ชายปลวก (ภาคใต้); ขนุนดง (เพชรบูรณ์); ขอบนางนั่ง (ตรัง); ขัณฑสกร (จันทบุรี); ขันทอง (พิจิตร); ขันทองพยาบาท (ภาคกลาง); ข้าวตาก (กาญจนบุรี); ขุนทอง, คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์); โจ่ง (ส่วย-สุรินทร์); ช้องรำพัน (จันทบุรี); ดูกไทร, ดูกไม้ (เลย); ดูกหิน (สระบุรี); ดูกไหล (นครราชสีมา); ทุเรียนป่า, ไฟ (ลำปาง); มะดูก, หมากดูก (ภาคกลาง); มะดูกดง (ปราจีนบุรี); มะดูกเลื่อม (ภาคเหนือ); สลอดน้ำ (จันทบุรี); เหมือดโลด (เลย); เหล่ปอ (กะเหรี่ยง-แหร่); ฮ่อสะพายควาย, ยางปลอก, ป่าช้าหมอง (แพร่); [THAL: mueat lot (Loei); le-po (Karen-Phrae); chong (Suai-Surin); fai (Lampang); kraduk (Peninsular); khanun dong (Phetchabun); khop nang nang (Trang); khan thot sa kon (Chanthaburi); khan thong (Phichit); khan thong phayabat (Central); khao tak (Kanchanaburi); khun thong (Prachuap Khiri Khan); chong ram phan (Chanthaburi); chai pluak (Peninsular); duk sai (Loei); duk mai (Loei); duk lai (Nakhon Ratchasima); duk hin (Saraburi); thurian pa (Lampang); pa cha mong (Phrae); ma duk (Central); ma duk lueam (Northern); ma duk dong (Prachin Buri); yang plok (Phrae); yai pluak (Peninsular); salot nam (Chanthaburi); mak duk (Central); ho sa phai khwai (Phrae).]; [CHINESE: bai shu.]; [HINDI: ban naranga.]; [KHMER: tromong sek.];[MALAYSIA:limau hantu.]; [VIETNAM:cổ ngỗng, man mây, nút áo.].
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย พม่า คาบสมุทรอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษาเตลูกู ในอินเดีย “soora gade” ที่ใช้เรียกพืชชนิดนี้

มีถิ่นกำเนิดในจีน, อนุทวีปอินเดีย (บังคลาเทศ, อินเดีย) อินโดจีน (ลาว, พม่า, ไทย, เวียดนาม), มาลีเซีย (อินโดนีเซีย - สุมาตรา; คาบสมุทรมาเลเซีย) พบจากระดับน้ำทะเลสูงถึง 1,000 เมตร
ไม้ไม่ผลัดใบขนาดเล็กสูง4-15เมตร ทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลแก่ ผิวบางเรียบ  ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานขนาดของใบกว้าง 3-6 ซม.ยาว 9-14 ซม.ใบแก่เหนียว สีเขียวสดด้านบนเป็นมัน
ดอกสีเหลืองกลิ่นหอมออกช่อละ 5-10 ดอกดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ผลกลมโตมีสามพูแตกออกได้ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2-1.8 ซม ผลแก่สีส้มเหลือง แต่ละเสี้ยวมี1เมล็ดมีเนื้อบางๆสีขาวหุ้ม


การใช้ประโยชน์ ใช้ในการแพทย์แผนโบราณของประเทศต้นกำเนิดสำหรับโรคต่าง ๆ สรรพคุณทางสมุนไพร เนื้อไม้และรากมีรสเฝื่อนเมาปนจืด กลิ่นหอมจีด
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา เปลือกและต้น ใช้ถูฟันทำให้เหงือกแข็งแรง เป็นยาถ่าย รักษาโรคตับพิการ แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เป็นยาถ่ายฆ่าพยาธิ เนื้อไม้ต้มดื่มแก้ลมพิษ แก้ไข้ แก้กามโรค
ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม, ติดผลเดือนเมษายน–มิถุนายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ฃมิ้นเครือ/Arcangelisia flava

ชื่อวิทยาศาสตร์---Arcangelisia flava (L.) Merr.
ชื่อพ้อง---Has 9 synonyms
---Anamirta flavescens (Lam.) Miq.
---Anamirta florescens Müll.Berol
---Anamirta lactuosa Miers
---Anamirta lemniscata Miers
---Anamirta loureiroi Pierre
---Arcangelisia inclyta Becc.
---Arcangelisia lemniscata (Miers.) Becc.
---Arcangelisia loureiroi (Pierre) Diels
---Menispermum flavum L.
ชื่อสามัญ---Yellow-fruited moonseed, Yellow root.
ชื่ออื่น---ขมิ้นเครือ (ภาคใต้,จันทบุรี); ขมิ้นฤๅษี, ฮับ (ภาคใต้) ; [THAI: khamin khruea (Peninsular, Chanthaburi); khamin ruesi, hap (Peninsular).]; [CHINESE: Fu shan long.]; [MALAYSIA: Mengkunyit]; [INDONESIA: Areuy ki koneng, sirawan]; [PHILIPPINES: Suma, Abutra, Buti(Tag)]. [VIETNAM: vảy dắng.]
ชื่อวงศ์---MENISPERMACEAE
ถิ่นกำเนิด---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---จีน ไทย เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ชวา บอร์เนียว สุลาเวสี ฟิลิปปินส์ นิวกินี


มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนกระจายอย่างกว้างขวางจากไหหลำ (จีน), อินโดจีน, ภาคใต้ของไทย, คาบสมุทรมาเลเซีย, สุมาตรา, ชวา, เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์, เกาะสุลาเวสี, หมู่เกาะโมลุกกะเหนือประเทศนิวกินี
มักจะพบได้ตามชายป่าใกล้แม่น้ำที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร
ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกลสูงสุด 20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 5 ซม. เปลือกสีเทา เนื้อไม้สีเหลือง  ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่หรือหัวใจสีเขียวสด 10-25 ซม. x 5.5-19 ซม.ปลายใบแหลมก้านใบยาว(4-) 7-15 (-20) ซม  ดอกช่อออกตามเถา ยาว 10-50 ซม.ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น กลีบบาง สีขาวแกมเหลืองหรือแกมเขียว ผลสดรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม.สีเขียวอมเหลือง
การใช้ประโยชน์ พืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในส่วนต่าง ๆ ของเอเชีย ซึ่งมักถูกเก็บเกี่ยวจากป่า ลำต้นถูกขายเพื่อใช้เป็นยาในตลาดท้องถิ่น
-ตำรา ยาพื้นบ้านโบราณไทยไทยใช้เนื้อไม้ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต ขับประจำเดือน แก้ท้องเสีย  ใช้แก้ดีซ่าน บำรุงน้ำดี ดีพิการ ตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง รากเป็นยาระบาย
ตำรากลาง ไม้เทศเมืองไทย ใบต้มกินขับโลหิตเน่าเสีย เป็นลิ่มเป็นก้อนให้ออก ดอกแก้บิดมูกเลือด ต้นขับผายลมให้เรอ แก้น้ำดีพิการ รากบำรุงน้ำเหลือง ฝนเป็นยาหยอดตา แก้ตาเฉะ ตาแดง ตาเปียก ตาอักเสบ
พืชนี้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่ได้รับความนิยมในประเทศฟิลิปปินส์ที่มีการใช้ยาต้มจากไม้ในการทำความสะอาดแผลแผลและการระคายเคืองผิวหนังอื่น ๆ ควันจากไม้ที่ถูกไฟไหม้สูดดมเป็นวิธีการแก้ปัญหาของเยื่อเมือกของจมูกและปาก
-ใช้อื่นๆ สีย้อมสีเหลืองได้จากลำค้น
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ขมิ้นชัน/Curcuma longa


ชื่อวิทยาศาสตร์---Curcuma longa L.
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
---Amomum curcuma Jacq.
---Curcuma brog Valeton
---Curcuma domestica Valeton
---Curcuma longa var. vanaharidra Velay., Pandrav., J.K.George & Varapr.
---Curcuma ochrorhiza Valeton
---Curcuma soloensis Valeton
---Kua domestica Medik.
ชื่อสามัญ---Turmeric, Curcuma longa.
ชื่ออื่น---ขมิ้น (ทั่วไป); ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่); ขมิ้นชัน (ภาคกลาง,ภาคใต้); ขี้มิ้น, หมิ้น (ภาคใต้); ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร); สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; [THAI: khamin (General);  khamin kaeng, khamin yok, khamin hua (Chiang Mai); khamin chan (Central, Peninsular);  khi min, min (Peninsular);  ta-yo (Karen-Kamphaeng Phet); sa-yo (Karen-Mae Hong Son).]; [CHINESE: Jiang Huang]; [JAPANESE: Ukon];[INDONESIA: Kunyit]
ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 มีต้นกำเนิดมาจากเอเชียใต้หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเวียดนามจีนหรืออินเดียตะวันตก ได้รับการปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในบังคลาเทศจีนไทยกัมพูชามาเลเซียอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เป็นที่รู้จักกันเพียงว่าเป็นพืชบ้านและไม่พบในป่า เติบโตได้ดีจากระดับน้ำทะเลถึง 1500 เมตร
ไม้ ล้มลุกอายุหลายปี ใบมักแห้งและลงหัวในฤดูแล้ง แต่จะแตกออกดอก ใบใหม่ในฤดูฝน ลำต้นเทียมสูง 1.30-2เมตร
ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า ยาว 2.5-7.5ซม.กว้าง1-2ซม.เนื้อในเหง้าสีเหลืองเข้มถึงสีส้ม มีกลิ่นเหมือนชันไม้ที่ใช้ยาเรือ  แตกแขนงย่อย มีรากสะสมอาหารจำนวนมาก  ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาวแทงออกจากเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนหุ้มกัน ขนาดกว้าง12-15ซม.ยาว30-40ซม.แผ่นใบเหนียว ช่อดอกออกที่ปลายลำต้นเทียม ยาว7-15ซม.กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวลบานครั้งละ3-4ดอก ผลกลมมี3พู เมล็ดเล็กรูปไข่สีน้ำตาล (ขมิ้นเป็นหมัน เมล็ดไม่สามารถทำงานได้ )
การใช้ประโยชน์ ใช้เป็นเครื่องเทศในอาหารและใช้เป็นยา  เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และช่วยขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหยของขมิ้นชันช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียด อาการแพ้อักเสบ แผลฝีพุพอง แมลงกัดต่อย มีรสฝาดกลิ่นหอม ใช้ เป็นยาบำรุงธาตุ ฟอกโลหิต แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้หุงกับน้ำมันมะพร้าวใช้เป็นยาสมานแผล แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขมิ้นชันสดๆใช้แก้ท้องร่วง แก้กระเพาะอาหารอักเสบ
ในอินเดีย Curcuma Longa ถูกใช้เป็นส่วนผสมในการทำอาหารมาตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล มันถูกใช้เป็นสีผสมอาหารสำหรับแกงและเป็นสารกันบูดสำหรับอาหาร เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดท้องปัญหาผิวหนังปัญหากล้ามเนื้อและโรคไขข้อ ชาวอินเดียเชื่อกันว่าควรบริโภค 80 ถึง 200 มก. ต่อวัน ของสารสกัดจากขมิ้นชัน อินเดียโดยรวมบริโภคขมิ้นปีละ 480,000 ตัน
ในประเทศจีนถูกใช้เป็นยาแก้ปวดเฉพาะที่และสำหรับอาการจุกเสียด ตับอักเสบ กลากและเจ็บหน้าอก
ในยุโรปมีใช้ในอาหารหลายชนิดเช่นสีมัสตาร์ดชีสเนยเทียมเครื่องดื่มและเค้ก ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัยจาก FDA ของสหรัฐอเมริกา มีจำหน่ายในรูปแบบแคปซูลเป็นอาหารเสริมสุขภาพและเป็นเครื่องเทศ
ใช้อื่นๆ ใช้เป็นสีย้อมผ้าและเป็นเครื่องสำอาง
ระยะออกดอก---เดือนสิงหาคม – ตุลาคม
ขยายพันธุ์ ---เหง้า

ขมิ้นอ้อย/Curcuma zedoaria


ชื่อวิทยาศาสตร์---Curcuma zedoaria (Berg) Roscoe
ชื่อพ้อง---Has 4 synonyms    
---Curcuma pallida Lour., nomen illegit.
---Curcuma officinalis Salisb., nomen illegit.
---Curcuma speciosa Link, nomen illegit.
---Curcuma zerumbet Roxb., nomen illegit.
ชื่อสามัญ ---Zedoary, Zedoary root, Long zedoary, Round zedoary, White turmeric, Rose turmeric.
ชื่ออื่น ---แฮ้วดำ (เชียงใหม่); ขมิ้นขึ้น (ภาคเหนือ); ขมิ้นอ้อย (ภาคกลาง); ละเมียด (เขมร) ; [THAI: haeo dam (Chiang Mai); khamin khuen (Northern); khamin oi (Central); la-miat (Khmer).]; [ARABIC: Gadwâr, Satwâl, Zadwâr.];[BANGLADESH: Shoti, Wheet.];[CHINESE: E zhu, Yu jin.];[FRENCH: Curcuma zédoaire, Gingembre bâtard, Zédoaire.];[GERMAN: Zedoarwurzel, Zitwer, Zittwer kurkume.];[HINDI: Kachur.];[INDONESIA: Temu putih, Kunyit Putih.];[ITALIAN: Radice di curcuma, Zedoaria, Zedoaria lunga.];[LAOTIAN: Khi min khay.];[MALAYSIA: Temu kuning, Temu puteh, Temu putih (Indonesia).];[NEPALESE: Kacur, Van haledo.];[PHILIPPINES: Luya-luyahan; Barak, Tamahiba, Tamokansi(Tag.); Alimpuyas, Alimpuying (C. Bis.).];[PORTUGUESE: Zedoária.];[RUSSIAN: Kurkuma zedoarskaia.];[SPANISH:Cedoaria, Cetoal.];[SWEDISH: Zittverrot.];[VIETNAM: Bông truât,Ngái tim,Tam nai.];
ชื่อวงศ์ ---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ประเทศอินเดีย และ อินโดนีเซีย กระจายทั่วเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งสหรัฐอเมริการัฐฟลอริด้า ไปยังหมู่เกาะแปซิฟิกและมาดากัสการ์
ลำ ต้นเทียมสูงกว่า1.5เมตร ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เหง้าหลักรูปไข่แคบ เนื้อในสีเหลืองเข้ม แตกแขนงย่อยไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอกแกมรี ท้องใบจะมีขนนิ่มๆ ช่อดอกออกก่อนใบก้านดอกจะยาวและพุ่งออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ดอกสีชมพูอมม่วงอ่อน พักตัวในฤดูหนาว
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบดินที่มีการระบายน้ำดีในที่ร่มและสามารถรับแสงแดดได้เต็มที่ ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 6.5, ที่ทนได้ 5 - 7.5
ใช้ประโยชน์---เป็นพืชสวนที่มีความสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักจะเติบโตเป็นไม้ประดับและบางครั้งก็เติบโตในเชิงพาณิชย์เป็นเครื่องเทศและพืชสมุนไพรในเขตร้อน
-ใช้กิน ใบใช้เป็นเครื่องปรุงหลากหลายเมนู เหง้า - ดิบหรือสุก เหง้าให้แป้งที่ย่อยง่ายซึ่งรู้จักกันในชื่อ 'shoti' สามารถนำมาใช้ในรูปแบบเดียวกันกับแป้งเท้ายายม่อม เหง้าอ่อน (นำมาจากด้านบน) สามารถรับประทานสดในสลัด เหง้าแห้งใช้เป็นเครื่องเทศ
-ใช่เป็นยา ในยาแผนโบราณ พืชที่ถูกนำมาใช้แบบดั้งเดิมในการรักษาอาการอักเสบปวดและความหลากหลายของโรคผิวหนังรวมทั้งบาดแผลเช่นเดียวกับความผิดปกติของประจำเดือน มีสรรพคุณด้านเป็นสมุนไพรแก้พิษโลหิต แก้ลม แก้บวม ขับเสมหะ แก้ไข้ทั้งปวง ตามแพทย์ชนบทใช้ขมิ้นอ้อยคุมฤทธิ์ยาอื่น ในยาสมุนไพรจีนเหง้ามักใช้แทนขมิ้น (C. Longa)
-ตำรายาพื้นบ้านใช้ขมิ้นอ้อยเป็นยาขับเบา แก้ระดูขาวตกหนัก แก้หนองใน เป็นยาชำระโลหิต หากนำใบขมิ้นอ้อยมาคั้นน้ำดื่ม ช่วยอาการท้องมารโดยขับทางปัสสาวะ
ใช้หุงกับน้ำมันมะพร้าวนำมาใส่แผลทำให้แผลหายเร็ว เหง้าสดนำมาบดแล้วผสมน้ำปูนใสดื่มรักษาโรคท้องร่วง
การขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า

จักรนารายณ์/ Gynura divaricata


ชื่อวิทยาศาสตร์---Gynura divaricata (L.) DC.
ชื่อพ้อง---Has 8 synonyms
---Cacalia albicans Sessé & Moc.
---Cacalia incana L.
---Gynura divaricata subsp. divaricata
---Gynura glabrata Hook.f.
---Gynura hemsleyana H.Lév.
---Gynura incana (L.) Druce
---Gynura ovalis var. pinnatifida Hemsl.
---Senecio divaricatus L.
ชื่อสามัญ---Purple passion vine, Purple velvel plant, Longevity spinach.
ชื่ออื่น---ว่านกอบ, ผักพันปี, กิมกอยมอเช่า, จินฉี่เหมาเยี่ย, แปะตำปึง (จีน), จักรนารายณ์  ; [THAI: pae-tam-pueng (Chinese), chak na-rai. ; [CHINESE: bai zi cai.]; [INDONESIA:  Daun Dewa.]; [MALAYSIA: Daun Dewa.]; [VIETNAM: Kim thất tai, Bầu đất, Tam thất giả, Rau tàu bay.].
ชื่อวงศ์---COMPOSITAE (ASTERACEAE)
ถิ่นกำเนิด----ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศจีน กวางจง ไหหลำ ซีชาน ยูนนาน เวียตนามเหนือ
นิรุกติศาสตร์--- ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “gyne” เพศเมีย และ “oura” หาง ตามลักษณะยอดเกสรเพศเมียที่มีรยางค์เรียวยาว


มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนเกิดขึ้นเนินลาดตามทุ่งนาหินริมทะเล ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,800 เมตร
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม รากอยู่ใต้ดินเป็นเหง้า ก้านใบยาว 0.5-4 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว 2-15 × 1.5-5 ซม เรียงสลับ รูปไข่มน ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบ แผ่นใบหนาและมีขนนุ่ม หลังใบเป็นสีเขียวส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอดลำต้น มีสีเหลืองสดคล้ายดอกดาวเรือง แต่จะมีขนาดเล็กกว่าดอกดาวเรือง ผลสุกสีน้ำตาล
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นยา มีสรรพคุณทางสมุนไพร ราก ก้าน และใบ  ใช้เป็นยาเย็นมีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และม้าม มีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดเย็น ช่วยกระจายโลหิต แก้เส้นเลือดอุดตันและแก้อาการตกเลือด-ในประเทศมาเลเซียใช้แบบดั้งเดิมใช้ห้ามเลือด เชื่อกันว่าเป็นพืชชนิดเดียวกันที่ใช้รักษาฝิ่น
ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---ปักชำ

กะลา/Alpinia nigra

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Alpinia nigra (Gaertn.) B.L.Burtt
ชื่อพ้อง ----Has 4 Synonyms
---Zingiber nigrum Gaertner, Fruct. Sem. Pl. 1: 35. 1788
---Alpinia allughas (Retzius) Roscoe
---Heritieraallughas Retzius
---Languas allughas (Retzius) Burkill
ชื่อสามัญ-----Bamboo-leaved Galangal
ชื่ออื่น---เร่ว, ข่าน้ำ (กรุงเทพฯ); เร่วน้อย (ยะลา); กะลา (ภาคกลาง) ; [THAI: reo, kha nam (Bangkok); reo noi (Yala); kala (Central).]; [INDIA: Malayinjikuva (Malayalam).]
ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิด---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---ภูฏาน จีน อินเดีย ไทย บังคลาเทศ พม่า และ ศรีลังกา

        มีการกระจายส่วนใหญ่ในมณฑลยูนนานและมณฑลไหหลำของจีน แพร่กระจายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้ง ภูฏาน อินเดีย , ไทย , บังคลาเทศ , พม่าและศรีลังกา
เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย มีเฉพาะที่เกาะเกร็ด จ.นนทบุรีเท่านั้น
พืชวงศ์ขิง มีเหง้าเป็นลำต้นอยู่ใต้ดินมีลำต้นบนดินเป็นต้นเทียม ต้นโตสูงประมาณ 3 เมตร ใบยาว 30-50 ซม.กว้าง 10 ซม. รูปขอบขนานรูปใบหอกแหลมมีขนดกเล็กน้อย ดอกออกในกาบ กลีบดอกไม้มีสีเหลือง, แฉกยาว 1.5 ซม. เป็นรูปขอบขนานมีขนด้านนอก ปาก 2.5 ซม., 3 กลีบ รังไข่มีขนหนาแน่น ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำขนาด 2 ซม. มีเมล็ดจำนวนมาก เจรืญเติบโตเป็นกอแน่น ชอบอยู่ในพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง มีแสงแดดส่อง
การใช้ประโยชน์ ---ใช้เป็นอาหาร ไส้ใน (pith) ถูกปรุงเป็นผักและใช้ในแกงสำหรับปรุงแต่ง รากใช้สำหรับปรุงรส ในอำเภอปากเกร็ด (รวมถึงเกาะเกร็ด ) จังหวัดนนทบุรี  ภาคกลางของประเทศไทยมันเป็นส่วนผสมในทอดมัน (Thaifishcake ) ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงซึ่งมีขายที่นี่เท่านั้น
-ใช้เป็นยา พืชสมุนไพรที่ใช้ในอดีตเป็นแหล่งของการบรรเทาในการควบคุมโรคชนิดต่าง ๆ ทั่วโลก ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศกำลังพัฒนานั้นใช้วิธีการดั้งเดิมในการกำจัดการติดเชื้อปรสิตโดยใช้ยาพื้นบ้าน Alpinia nigraเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในส่วนต่าง ๆ ของอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรักษาการติดเชื้อพยาธิลำไส้ รักษาอาการอักเสบความดันโลหิตสูงแบคทีเรียและพยาธิติดเชื้อ-ในประเทศไทยใช้เหง้าหน่อกะลาพอกแผลแก้ผื่นคันตามผิวหนัง เพราะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยายืนยันได้ว่าเป็นภูมิปัญญาไทยที่ถูกต้องว่าสามารถ ยับยั้งเชื้อราบนผิวหนังได้หลายชนิด  ต้นหน่อกะลานั้นยังมีสรรพคุณทางยา โดยจะช่วยแก้อาการท้องอืด แน่นเฟ้อ จุกเสียด และช่วยไล่ลมในร่างกาย เสียด โรคเสมหะ โรคริดสีดวง รักษาอาการปวดหัวใจ บรรเทาอาการกระหายน้ำ
ระยะออกดอก/ ติดผล--- มิถุนายน - มีนาคม/ มิถุนายน - กรกฎาคม
ชยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า

คงคาเดือด/Arfeuillea arborescens


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Arfeuillea arborescens Pierre ex Radlk.
ชื่อพ้อง---Has 1 synonyms
---Koelreuteria arborescens Pierre.
ชื่อสามัญ---Hop Tree
ชื่ออื่น---   คงคาเดือด (ภาคกลาง); ช้างเผือก (ภาคเหนือ); ตะไล (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); ตะไลคงคา (ชัยนาท); สมุยกุย (นครราชสีมา); หมากเล็กหมากน้อย (ภาคตะวันตกเฉียงใต้)  ; [THAI: khong kha dueat (Central); chang phueak (Northern); talai (Southwestern); talai khong kha (Chai Nat); samui kui (Nakhon Ratchasima); mak lek mak noi (Southwestern).];
ชื่อวงศ์---SAPINDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ภูมิภาคอินโดจีน
นิรุกติศาสตร์---สายพันธุ์นี้เป็น monotypic ในสกุล Arfeuillea มีเพียงสายพันธุ์เดียวคือ  Arfeuillea arborescensชื่อสกุลตั้งตาม Arfeuille เพื่อนของ Jean Baptiste Louis Pierre (1833-1905) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส

มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และแพร่กระจายไปยัง  พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม คาบสมุทรมลายู ในประเทศไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้งที่เป็นเขาหินปูน ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 600 เมตร
ไม้ ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 20 เมตรเปลือกต้นสีเทาหรือเทาแกมขาว ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย1-9ใบ รูปไข่ กว้าง2.5-4ซม.ยาว4.5-7ซม. ปลายใบเป็นติ่งหรือเรียวแหลม โคนใบมน แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ บริเวณเส้นกลางใบทั้งสองด้านมีขนประปราย
ดอกออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อยาวถึง15-25 ซม. ดอก สีขาวมีกลิ่นหอมขนาดประมาณ 1 ซม.  กลีบดอก2-4กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีน้ำตาลแกมม่วง ผลมีขนาดประมาณ  3.2-5.5 ซม. มี4ปีกตามยาว แห้งแล้วแตก เมล็ดสีดำ รูปรี ยาวประมาณ 5 มม. มีขนสีน้ำตาล


การใช้ประโยชน์--- นอกจากการเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาใบเขียวครึ้มและสถานภาพที่เป็นไม้นอกประเภทหวงห้ามแล้วด้านสมุนไพรยังมีสรรพคุณและคุณค่ามากมาย
-ใช้เป็นยา นำเปลือกต้นของคงคาเดือด ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ แก้คัน แก้แสบร้อนตามผิวหนัง แก้ซาง แก้ร้อนใน เจริญอาหาร เนื้อไม้ฆ่าพยาธิผิวหนัง ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้พุพอง น้ำเหลืองเสีย แก้ผิวหนังเปื่อยเน่า -ตำรา ยาไทยใช้แก่น ฝนกับน้ำกินเป็นยาฆ่าพยาธิ เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้และช่วยเจริญอาหาร ต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาอาการคัน แสบร้อนตามผิวหนังและโรคซาง (โรคของเด็กเล็ก มีอาการสำคัญคือ เบื่ออาหาร ซึม มีเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า)
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

คนทา/Harrisonia perforata

ชื่อวิทยาศาสตร์ --- Harrisonia perforata (Blanco) Merr.
ชื่อพ้อง---Has 10 Synonyms
---Harrisonia bennetii (Planch.) A. W. Benn.
---Harrisonia paucijuga (Benn.) Oliv.---(more)
ชื่อสามัญ---Perforated harrisonia
ชื่ออื่น--- กะลันทา (ภาคกลาง); โกทา (ภาคตะวันออกฉียงใต้); ขี้ตำตา (เชียงใหม่); คนทา (ภาคกลาง); จี้, จี้หนาม (ภาคเหนือ); มีชี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สีเตาะ (ภาคเหนือ); สีฟัน, สีฟันคนตาย, สีฟันคนทา (ภาคกลาง); หนามจี้ (ภาคเหนือ) ; [THAI: ko tha (Southeastern); ka lantha, khontha, si fan, si fan khon tai, si fan khontha (Central); khi tam ta (Chiang Mai); mi chi (Karen-Mae Hong Son); chi, chi nam, si to, nam chi (Northern).]; [CHINESE: Nin jin guo][INDOONESIA: Sesepang (Lam-pung); garut (Sundanese); ri kengkeng (Javanese).];[LAOS: Dok kin ta.]; [MALAYSIA: Kait-kait (Murut, Sabah).]; [PHILIPPINES: Asimau, Mamikil, Laiya (Tagalog); Muntani (Bisaya); Kamuñgi (Sul.); Sapsapang (Ilk.).]; [VIETNAM: Saan, da da,].
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด--- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์--- จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลตั้งตามนักทำสวนชาวอังกฤษ Arnold Harrison หรือ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับไม้ผลชาวอังกฤษ Charles Harrison

 

แพร่กระจายตั้งแต่จีนตอนใต้  พม่า ผ่านประเทศไทย ไปยังลาว เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ทางใต้ ไปยังคาบสมุทรมาเลเซีย สุมาตราใต้, เกาะบอร์เนียว (ซาบา), สุลาเวสี, ชวาและหมู่เกาะ Lesser Sunda พบตามที่โล่งในป่าผลัดใบ ป่าละเมาะและป่าเขาหินปูน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงถึง 700 (-900) เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือที่โล่ง ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 900 เมตร
ไม้ พุ่มแกมไม้เถา สูงถึง 4 (-6) เมตร ลำต้นกิ่งก้านมีหนาม ยอดอ่อนมีสีแดง ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับปลายคี่ ก้านและแกน ใบแผ่ขยายออกเป็นปีกแคบๆ ใบย่อย1-15ใบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง1-1.5ซม.ยาว2-2.5ซม.ขอบใบหยักห่างๆ ดอก ช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ กลีบดอกด้านนอกสีแดงแกมม่วง ด้านในสีนวล ออกเป็นช่อ ดอกย่อยขนาด5-8มม. ภายในมีแป้นดอก กลีบรองดอกและกลีบดอก มีอย่างละ4-5กลีบ  ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม  เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม.ผิวนอกคล้ายแผ่นหนัง ภายในมีเมล็ดแข็ง1-2 เมล็ด
การใช้ประโยชน์--- ส่วนต่าง ๆ ของพืชถูกรวบรวมจากป่าและใช้ในท้องถิ่นเป็นยา
-ใช้เป็นยา เปลือกต้นและรากมีรสขม ใช้ยาต้มเปลือกราก รักษาโรคท้องร่วงและโรคบิด การรักษามีประสิทธิภาพมากสำหรับโรคท้องร่วงและโรคบิด รากแห้งถือว่าเป็นยาลดไข้และต้านการอักเสบใช้ในการรักษาโรคทางเดินลำไส้และท้องเสีย หน่ออ่อน ลำต้นเป็นยาแก้ท้องร่วง ขี้เถ้าของใบคั่วผสมกับน้ำมันหรือเพียงแค่ใบบดนำมาใช้กับผิวเพื่อบรรเทาอาการคัน สารสกัดจากใบจากกิ่ง มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียในหลอดทดลอง
-อื่น ๆ เนื้อไม้มีความเหนียว ไม่หักง่าย และมีความยืดหยุ่น จึงนำไปใช้ทำเป็นคานหาบน้ำ เนื้อไม้ใช้สำหรับทำเป็นฟืนในพิธีกวนข้าวทิพย์ (คนเมือง) กิ่งก้านมีรสเฝื่อนขม สามารถนำมาใช้แปรงฟัน หรือสีฟันเพื่อรักษาฟันได้ ผลสดสามารถนำมาสกัดน้ำสีที่ใช้สำหรับย้อมผ้าให้สีเทาม่วง
การขยายพันธุ์---เมล็ด


คนทีเขมา/Vitex negundo

ชื่อวิทยาศาสตร์---Vitex negundo L.
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Agnus-castus negundo (L.) Carrière
ชื่อสามัญ---Chaste tree, Common Chaste Tree, Chinese chaste tree, Five-leaved chaste tree, Negundo chest nut, Indian privet, Horseshoe vitex.
ชื่ออื่น---กุโนกามอ (มาเลย์-ปัตตานี); กูนิง (มาเลย์-นราธิวาส); คนทีเขมา (ภาคกลาง) ; [THAI: ku-no-ka-mo (Malay-Pattani); ku-ning (Malay-Narathiwat); khon thi kha mao (Central).]; [ARABIC: Uslaq.]; [ASSAMESE: Pasutia, Aggla-Chita, Pochatia, Aslok.]; [BENGALI: Nisinda, Samalu, Nirgundi, Sinduari.]; [CHINESE: Huang jing zi, Huang ping, Huang ching, Man ching.]; [HINDI: Samhalu, Saubhalu, Nirgandi.]; [INDIA: Sambhalu, Nirgundi, Sindvar.]; [KANNADA: Bile-Nekki.]; [KHMER: Trasiet.]; [MALAYALAM: Indrani.]; [NEPALI: Simali.]; [PERSIA: Panchaguskt, Sisban.]; [PHILIPPINE: Lagundi, Kamalan (Tag.); Turagay (Bis.); Dangla, Limo-limo (Ilk.).]; [SANSKRIT: Nirgundi, Sindhuvara, Indrasursa, Indranika, Sinduka.] ;[SIDDHA: Noohi.]; [SPANISH: Agno-casto.]; [SWEDISH: kinesiskt kyskhetsträd.]; [TAMIL: Nirkunnchi, Nallanochi.]; [TELUGU: Nallavalli, Vavilli, Tellavavilli.]; [VIETNAMESE: Ngux traro.].
ชื่อวงศ์---LABIATAE (LAMIACEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกาและทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซีย-เอเชียตอนใต้ ถึงญี่ปุ่น


มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ของทวีปแอฟริกาทางใต้และตะวันออก และทวีปเอเชีย มันได้รับการปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในเอเซียตอนใต้จนถึงญี่ปุ่น พบได้ใกล้แหล่งน้ำ,พื้นที่ที่ถูกรบกวน, ทุ่งหญ้าและป่าเปิดผสมบนเนินเขาที่ระดับความสูง 200 - 1,400 เมตรในประเทศจีน สามารถปลูกได้ในเขตอบอุ่นไปจนถึงเขตร้อนซึ่งประสบความสำเร็จในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึงประมาณ 2,000 เมตร
ไม้ พุ่มสูง 3-4 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย (3-)5(-7)ใบ รูปใบหอกแคบ ขนาดของใบกว้าง1-2.5 ซม.ยาว 4-7ซม .ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ15ซม.ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมาก กลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็น5แฉก มีขนด้านนอก กลีบดอก5กลีบ ขนาดไม่เท่ากันที่โคน ปลายกลีบล่างแผ่โค้ง เกสรผู้4อัน ผลรูปไข่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มม.เมื่อสุกสีม่วงดำ

 

การใช้ประโยชน์---ไม้พุ่มอเนกประสงค์เป็นยาแผนโบราณที่ได้รับความนิยมให้ผลผลิตเมล็ดที่กินได้และให้ผลผลิตอื่น ๆ อีกมากมาย ได้รับการปลูกฝังเป็นพืชป้องกันความเสี่ยงและสมุนไพร บางครั้งก็ปลูกเป็นไม้ประดับ
-ใช้กิน เมล็ด - ใช้เป็นเครื่องปรุงเป็นครั้งคราวแทนพริกไท เมล็ดเมื่อล้างเพื่อเอาความขมออกนำมาบดเป็นผงและใช้เป็นแป้งทำอาหาร จะใช้กันมากเมื่อทุกอย่างล้มเหลว  รากและใบใช้ทำชาชงดื่ม
-ใช้เป็นยา ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการแพทย์พื้นบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งใน สิบยาสมุนไพรที่ได้รับการรับรองจากกรมสุขภาพฟิลิปปินส์ในฐานะยาสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพพร้อมค่าการรักษาที่พิสูจน์แล้ว ใบดอกเมล็ดและราก สามารถใช้เป็นยาสมุนไพรได้ ใช้ในการรักษาโรคหวัด, ไข้หวัดหลอดลม โรคหอบหืดเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ บรรเทาอาการของโรคอีสุกอีใส ในตำรายาไทยใช้รากและใบต้มกินเป็นยาลดไข้แก้ปวดท้อง
-วนเกษตร ใช้ในการปลูกป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นฟูป่าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและในพื้นที่แห้งแล้ง
-อื่น ๆ ใบให้น้ำมันหอมระเหย ใบมีคุณสมบัติฆ่าแมลงและใช้ในการขับไล่แมลงในร้านขายเมล็ดพืช สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ฆ่าแมลง ใบสดถูกเผาด้วยหญ้าเป็นยารมควันป้องกันยุง
ระยะออกดอก--- เมษายน-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


คนทีสอ/Vitex trifolia

ชื่อวิทยาศาสตร์---Vitex trifolia L
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
---Vitex indica Mill.
---Vitex integerrima Mill.
---Vitex variifolia Salisb.
ชื่อสามัญ---Chastetree simpleleaf, Simpleleaf chastetree, Hand -of- Mary, Indian Privet, Arabian Lilac, Indian Three-Leaf Vitex , Indian Wild Pepper.
ชื่ออื่น---คนทีสอ ดินสอ คนทีสอขาว คุนตีสอ โคนดินสอ ดอกสมุทร สีเสื้อน้อย ทิสอ สีสอ , [THAI: khon dinso, phee suea noi.]; [BENGALI: Paniki-shumbala; Pani-samalu.];[CHINA: man jing, san ye man jing]; [HINDI: Nichinda; Panikisanbhalu; Sufed-sanbhalu.];[INDIA: asla, chiruvavili, karunocci, neerinochi, nirgundi, schiru-vavili, surasa, vaavili ]; [INDONESIA: galumi, legundi.]; [JAPAN: mitsu-ba-hama-go.]; [MALAYSIA: lenggundi, lemuning, Lemuni.]; [PAPUA NEW GUINEA: pitipitikoto].[PHILIPPINES: dangla, lagunding-dagat]; [SAMOA: namulega.]; [SANSKRIT: Jalanirgundi; Sindhuka; Surasa; Vrikshaha.];[TAMIL: Nirnochchi; Shirunoch-chi.];[TELUGU: Niruvavili; Shiruvavili.];[TONGA: lalatahi.].
ชื่อวงศ์---LABIATAE (LAMIACEAE)
ถิ่นกำเนิด---แอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---เขตร้อนของ แอฟริกาตะวันออก  หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก


แพร่หลายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนจากแอฟริกาตะวันออกผ่านเอเชียไปจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือและหมู่เกาะแปซิฟิก พบตามแนวชายฝั่ง และในผืนแผ่นดินหลังฝังทะเลในป่า และทุ่งหญ้าแพรรี ส่วนใหญ่อยู่ในดินทรายหรือหิน จากระดับน้ำทะเล ถึงระดับความสูงที่ 1,100 เมตร
ไม้ พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง2-5เมตร เปลือกสีเทา กระดำด่างขาวและเขียว ก้านใบยาว 1-3 ซม.ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 3 ใบรูปใบหอกกว้างกว้าง 2.5-3 ซม.ยาว 4-6 ซม. หลังใบสีเขียว ท้องใบสีนวลขาว ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งยาวประมาณ 3-18 ซม กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 0.5 ซม.กลีบดอกสีม่วง ปลายแยกเป็น2ปาก ปากบนมี2กลีบ ปากล่าง3กลีบ  ผลเป็นผลสดรูปกลม
การใช้ประโยชน์--- พืชถูกรวบรวมจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายเป็นไม้ประดับ
-ใช้เป็นยา ตำรา ยาไทยใช้ใบ ตั้งตรีสมุฎฐานให้เป็นปกติ รักษาอาการสาบคายในกาย เป็นยาขับเสมหะ บำรุงธาตุ  ผลแก้หืดไอ มองคร่อ(อาการไอชนิดหนึ่ง) ริดสีดวงทวาร
ดอกใช้รักษาอาการไข้ซึ่งบังเกิดแต่ในทรวง รากรักษาโรคตับ รากและใบต้มแก้ไข้ ขับเหงื่อ ใช้รักษาอาการไข้ซึ่งมีอาการอันกระทำให้ร้อน เปลือกใช้รักษาอาการกระทำให้เย็นรักษาอาการคลื่นเหียน ใบแช่น้ำอาบแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
-ใช้อื่นๆ ใบไม้ถูกเผาเป็นยาขับไล่แมลง น้ำมันจากใบมีฤทธิ์ขับไล่ยุงได้ดี พืชแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่สำคัญในฐานะสารกำจัดศัตรูพืชซึ่งอาจใช้ได้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร ส่วนไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิง
รู้จักอันตราย เป็นที่ทราบกันว่าพืชสามารถกระตุ้นปฏิกิริยาการแพ้ต่าง ๆ เช่นจามปัญหาระบบทางเดินหายใจเวียนศีรษะปวดศีรษะและคลื่นไส้
ขยายพันธุ์ ---เมล็ด ปักชำยอด

คนทีสอต้น/Vitex trifolia  subsp trifolia.

ชื่อวิทยาศาสตร์--- Vitex trifolia L. subsp. trifolia
ชื่อพ้อง    Has 15 Synonyms
---Vitex benthamiana Domin
---Vitex bicolor Willd.
---Vitex iriomotensis Ohwi
---Vitex negundo var. philippinensis Moldenke
---Vitex neocaledonica Gand.
---Vitex paniculata Lam.
---Vitex petiolaris Domin
---Vitex rotundifolia f. heterophylla (Makino ex H.Hara) Kitam.
---Vitex trifolia var. acutifolia Benth.
---Vitex trifolia var. bicolor (Willd.) Moldenke
---Vitex trifolia var. heterophylla (Makino ex H.Hara) Moldenke
---Vitex trifolia var. parviflora Benth.
---Vitex trifolia var. subtrisecta (Kuntze) Moldenke
---Vitex trifolia var. variegata Moldenke
---Vitex triphylla Royle
ชื่อสามัญ---Simple Leaved Chaste tree
ชื่ออื่น---คนทิสอ ดินสอ คนทิสอขาว คนตีสอ โคนดินสอ ดอกสมุทร สีเสื้อน้อย ทิสอ ผีเสื้อ ผีเสื้อน้อย มูดเพิ่ง สีสอ
ชื่อวงศ์---LAMIACEAE
ถิ่นกำเนิด---แอฟริกา เอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เขตร้อนของแอฟริกาตะวันตก  หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก -ฟิจิ วานูอาตู ซามัว ตองกา


คนทีสอต้นจัดเป็นไม้พุ่ม ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 3 ใบ  รูปขอบขนานแกมไข่กลับ ดอกออกเป็นช่อ กลีบดอก สีม่วง ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 2 กลีบ ปากล่างมี 3 กลีบ ผลเป็นผลสด รูปกลม
สรรพคุณทางสมุนไพร         
ใบใช้เป็นยาขับเสมหะ บำรุงธาตุ รากใช้ รักษาโรคตับ ผลใช้ แก้หืดไอ  มองคร่อ (อาการไอชนิดหนึ่ง) ริดสีดวงทวาร รากและใบ แก้ไข้ ขับเหงื่อ ใบ แช่น้ำอาบ แก้โรค ผิวหนังผื่นคัน


คนทีสอทะเล/Vitex trifolia var litoralis Steenis.

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Vitex trifolia L. subsp. litoralis Steenis
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms
---Vitex ovata Thunb.
---Vitex repens Blanco
---Vitex rotundifolia L.f.
---Vitex rotundifolia f. albiflora Y.N.Lee
---Vitex rotundifolia f. albiflora S.S.Ying
---Vitex rotundifolia f. rosea Satomi
---Vitex trifolia var. obovata Benth.
---Vitex trifolia var. simplicifolia Cham.
---Vitex trifolia var. unifoliolata Schauer
ชื่อสามัญ---Beach vitex, Round-leaf Vitex, Roundleaf chastetree.
ชื่ออื่น---กูนิง (มาเลย์-นราธิวาส); คนทิ (ประจวบคีรีขันธ์); คนทิสอทะเล(เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์) ; [THAI: ku-ning (Malay-Narathiwat); khon thi (Prachuap Khiri Khan); khon thi so thale (Phetchaburi, Prachuap Khiri Khan).]; [CHINESE: dan ye man jing, manjingzi]; [JAPANESE: hamagô]; [FRENCH: gatilier à feuilles simples]; [KOREA: man hyung ja]; [USA/Hawaii: hinahina kolo; kolokolo kahakai]
ชื่อวงศ์ ---LABIATAE (LAMIACEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ชายฝั่งทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก


 

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียรวมถึงจีนและญี่ปุ่นและโอเชียเนีย รวมถึงออสเตรเลียและปาปัวนิวกินี และแพร่ไปยังสหรัฐอเมริกา ในเจ็ดของรัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ เติบโตตามชายฝั่งที่ระดับความสูงจาก 0 - 15 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ไม้ เลื้อยตามผิวดินสูง 10-40 (-90) ซม. ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว รูปไข่กลับยาว 2.5-5 ซม. กว้าง 1.5-3 ซม.เรียงตรงข้าม สีเขียวซีด ผิวใบมีนวล ดอกช่อออกปลายกิ่งกลีบดอกสีม่วง ผลสดรูปกลมมีเนื้อ สีเขียวเมื่อสดสีม่วงอมฟ้าถึงสีดำเมื่อสุกกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่อแห้ง
การใช้ประโยชน์--- ตำรายาไทยใช้รากรักษาโรคตับ ใบเป็นยาบำรุงธาตุ ขับเสมหะ ต้มน้ำอาบ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน
ถ้า ถูก แมงกระพรุน ไม่มียาแก้แผนปัจจุบัน ใช้รากคนทีสอทะเล (ที่เห็นตามชายหาดเป็นเถา ดอกสีม่วงเป็นช่อ) ฝนกับน้ำฝนทาบริเวณที่ถูกแมงกระพรุน อาการเจ็บปวดจะทุเลาลง
ในยาพื้นบ้านใช้ในการรักษาอาการปวดหัวโรคตาโรคหอบหืดโรคหลอดลมอักเสบและโรคระบบทางเดินอาหาร
ส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากผลไม้มีความคล้ายคลึงกับVitex agnus-castus(chasteberry) มาก ซึ่งประกอบไปด้วยสารคล้ายฮอร์โมนและสามารถใช้เป็นตัวดัดแปลงฮอร์โมนและใช้รักษาโรค premenstrualหรือที่เรียกว่าความตึงเครียดก่อนมีประจำเดือน
ขยายพันธุ์---เมล็ด เมล็ดพันธุ์ในดิน มีความสามารถในการอยู่รอดและผลิตต้นกล้าใหม่เกินกว่า 4 ปีหลังจากพืชทั้งหมดถูกกำจัดออกไป


คราม/Indigofera tinctoria

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Indigofera tinctoria L.
ชื่อพ้อง--- Has 1 Synonyms   
---Anil tinctoria (L.) Kuntze
ชื่อสามัญ---Common indigo, Indian indigo, True Indigo, Dye Indigo, Black Henna, Bengal Indigo.
ชื่ออื่น---คราม (ทั่วไป); นะฆอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; [THAI: khram (General); na-kho (Karen-Mae Hong Son).]; [BRAZIL: anil.]; [CHINESE: mu lan.]; [CUBA: añil; añil cimarrón; añil de Guatemala.]; [FRENCH: indigotier.]; [GERMAN: Faerber- Indigostrauch.]; [HAITI: digo digot.]; [MYANMAR: me; me-nai; me-net.]; [PORTYGUESE: Anileiro.]; [PUETO RICO: añil verdadero.]; [SPANISH: indigo.][SWEDISH: Indigo.].
ชื่อวงศ์--- FABACEAE (LEGUMINOSAE -PAPILIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา


สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซียและเติบโตในแอฟริกาตามธรรมชาติ แม้ว่าต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์จะยังไม่ชัดเจน แต่ได้รับการปลูกฝังอย่างกว้างขวางในอินเดีย จีน ชวา แอฟริกา มาลากาซี และอเมริกาเขตร้อนและเป็นที่รู้กันว่ามีการหลบหนีจากการเพาะปลูกในหลายพื้นที่เหล่านี้ และยังแพร่หลายไปทั่วภูมิภาคเขตร้อนทั่วโลก เติบโตได้ดี ในทุ่งหญ้าและป่าทุติยภูมิ ทุ่งหญ้าที่มีน้ำท่วมตามฤดูกาล ชายฝั่งทราย ริมถนนและริมตลิ่ง ที่ระดับความสูง0-300เมตร
สายพันธุ์นี้มีศักยภาพที่จะบุกระบบนิเวศดั้งเดิมและก่อให้เกิดภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต สายพันธุ์นี้รวมอยู่ในพืช Invasive 2013 ของอเมริกาเหนือ
ไม้ พุ่มสูง 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านออกจากโคนต้น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ  ใบย่อยรูปวงรีแกมขอบขนาน ช่อดอกยาว 5-10 ซม มีหลายดอก ออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว  มีสีเขียวอ่อนอมครีม เริ่มบานมีสีแดงหรือชมพู ผลเป็นฝักคล้ายฝักถั่ว ยาว 3-3.5 ซม เมล็ดขนาดเล็ก2 มม สีน้ำตาลอ่อน
การใช้ประโยชน์--- เป็นแหล่งสำคัญในการใช้เป็นสีย้อม มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถูกเรียกว่าเป็น 'ราชาแห่งสีย้อม' และไม่มีพืชย้อมสีอื่น ๆ ในอารยธรรม จะมากที่สุดเท่าประเภทนี้  มีการ ปลูกกันอย่างกว้างขวางเพื่อจุดประสงค์นี้ แต่ด้วยการมาถึงของสีสังเคราะห์ความต้องการสำหรับพืชได้ลดลงอย่างมาก พืขชนิดนี้ถูกใช้มานานกว่า 4,000 ปีโดยมีตัวอย่างการใช้งานในผ้ามัมมี่อียิปต์โบราณ  ยังมีการใช้แบบดั้งเดิมอื่น ๆ อีกมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแพทย์แผนโบราณ
-ใช้กินได้ สีย้อมสีน้ำเงินเข้มที่ได้จากใบ ใช้เพื่อต่อต้านสีเหลืองเล็กน้อยของน้ำตาลไอซิ่ง
-ใช้เป็นยา มีสรรพคุณทางเป็นสมุนไพร ใบเป็นยาดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อนและแก้ปวดศีรษะ ลำต้น เป็นยาแก้กระษัย แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ เปลือกใช้แก้พิษงู แก้พิษฝีและแก้บวมถ้าถูกมีดบาดหรือเป็นแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก สามารถนำเนื้อครามทาเพื่อสมานแผลได้ ผ้าที่ย้อมครามก็มีคุณสมบัติทางยาเช่นกัน เพียงนำผ้าครามไปนึ่งให้อุ่น ประคบตามรอยช้ำก็สามารถบรรเทาอาการได้ การใช้เป็นยาพื้นบ้านอื่น ๆ รวมถึงน้ำจากใบป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และเป็นยาต้มสำหรับ รักษาโรคหนองใน สารสกัดจากพืช รักษาโรคลมชัก, โรคประสาท, โรคหลอดลมอักเสบ, และเป็นยารักษาแผล, แผลเก่า,  ริดสีดวงทวาร; รากสำหรับโรคตับอักเสบ แมงป่องต่อย และขับปัสสาวะ
-วนเกษตร ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินและปุ๋ยพืชสด ในระบบการปลูกข้าวแบบน้ำฝนแบบดั้งเดิมในประเทศฟิลิปปินส์พืชชนิดนี้เป็นปุ๋ยพืชสดที่ได้รับความนิยมเพิ่มผลผลิตข้าว ลดการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนราคาแพงได้50%
-ใช้อื่นๆ น้ำคั้นจากใบสดช่วยบำรุงเส้นผม ป้องกันผมหงอก สารสกัดครามทั้งต้น (ยกเว้นใบ) เป็นส่วนผสมในสีที่ใช้ย้อมผม ครามยังเป็นพืชที่มีการนำมาใช้ย้อมสีมากที่สุด เนื่องจากเป็นพืชให้สีน้ำเงินใช้ในการย้อมฝ้ายได้ผลดีโดยใช้ ต้นสดหมักในน้ำ สีน้ำเงินจะตกอยู่ที่ก้นภาชนะ เทใส่ถุงผ้าหนาๆทับให้สะเด็ดน้ำ 1-2 น้ำ นำผงสีไปทำให้แห้ง ใช้เป็นสีย้อมผ้า สารที่มีสีคือ indigo-blue
ขยายพันธุ์---เมล็ด ชำราก

ไคร้หางนาค

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Phyllanthus taxodiifolius Beille
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name
ชื่ออื่น--ไคร้หางนาค (ปราจีนบุรี); ตะไคร้หางสิงห์ (สุพรรณบุรี); เสียว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); เสียวเล็ก, เสียวน้อย (ขอนแก่น); เสียวน้ำ (ปราจีนบุรี) ; [THAI: khrai hang nak (Prachin Buri); ta khrai hang sing (Suphan Buri); siao (Northeastern); siao lek, siao noi (Khon Kaen); siao nam (Prachin Buri).]; [CHINESE: luo yu shan ye xia zhu].
ชื่อวงศ์--- EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- จีน(ยูนนาน) กัมพูชา ไทย เวียตนาม
พืชสกุลที่รู้จักกันดีที่มีการกระจายอย่างกว้างขวางในหลายประเทศในเอเชียรวมทั้งประเทศไทย  พบที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 500-800 เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ขึ้นตามที่โล่งใกล้แหล่งน้ำ ที่ระดับความสูง 50-700 เมตร
ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสันเหลี่ยมสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ออกหนาแน่น ใบมีขนาดเล็ก หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า แผ่นใบแผ่บาง ใบอ่อนสีแดง ก้านใบสั้นมาก ดอก ออกเดี่ยวๆที่ ซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกย่อยสีขาว ผลแบบแคปซูลกลม เปลือกบางสีน้ำตาล แห้งแล้วแตก เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 มม. มี 6 ริ้ว แตกเป็น 3 ซีก ก้านผลยาวประมาณ 3 มม. มี 2 เมล็ดในแต่ละซีก รูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 2.5 มม. มีเส้นใยฝอย
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นยา พืชในสกุลนี้มีความหลากหลายที่ดีของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและมีการใช้ในยาแผนโบราณในการรักษาโรคจำนวนมากรวมทั้งความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะอักเสบและลำไส้ ยาแก้ปวดและกิจกรรม cytotoxic-ต้านมะเร็ง สารสกัดหยาบของมันแสดงให้เห็นถึงผลยับยั้งในเซลล์มะเร็งปอดขนาดเล็ก
มีสรรพคุณทางสมุนไพร ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ราก ต้มน้ำดื่ม แก้มดลูกอักเสบ ตำรายาไทยไม่ระบุส่วนที่ใช้ เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้เลือดออกตามไรฟัน
ระยะ ออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม-กันยายน/กันยายน-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

คันทรง/Colubrina asiatica

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Colubrina asiatica (L.) Brongn.
ชื่อพ้อง----Has 8 Synonyms
---Ceanothus asiaticus L.
---Ceanothus capsularis G.Forst.
---Rhamnus asiatica (L.) Poir.
---Rhamnus splendens Blume
---Sageretia splendens (Blume) G.Don
---Tralliana scandens Lour.
---Trymalium capsulare G.Don
---Tubanthera katapa Raf
ชื่อสามัญ---Latherleaf, Peria Laut, Peria Pantai, Asian nakedwood, Wild coffee, Asian snakewood, Hoop withe
ชื่ออื่น---เพลโพเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); กะทรง (ภาคใต้); ก้านถึง, ผักก้านถึง (ภาคเหนือ); คันทรง (ภาคกลาง) ; (THAI: phle-pho-do (Karen-Mae Hong Son);  kasong (Peninsular); kan thueng, phak kan thueng (Northern); khan song (Central).]; [CHINESE: Ya zhou bin zao, She teng.]; [FIJI: Poro, Tartarmoana, Vera, Veravera, Vuso levu.];[HAWAII: Vihoa, Anapanapa, Kauila anapanapa];[MALAYSIA: Peria pantal.]; [PHILIPPINES: Kabatiti, Palialaut (Tag.); Kayaskas (Ilk.); Parid-la'ud (Sul.).]; [TONGA: Fiho'a.].
ชื่อวงศ์---RHAMNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ชายฝั่งทะเลประเทศในเขตร้อน
เขตกระจายพันธุ์---ตะวันออกของแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย หมู่เกาะแปซิฟิก


มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลกเก่าจากแอฟริกาตะวันออกไปยังประเทศอินเดีย ,เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , เขตร้อนของประเทศออสเตรเลียและหมู่เกาะแปซิฟิก พบได้ในแหล่งอาศัยต่างๆใกล้ทะเลตั้งแต่ป่าชายหาดไปจนถึงพื้นที่ชายฝั่งกระจายไปยังพื้นที่ธรรมชาติที่อยู่ติดกัน
เป็นชนิดที่แพร่กระจายและมีความสามารถในการแทนที่พืชพื้นเมืองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ  ถูกระบุว่าเป็นผู้บุกรุกที่แปลกใหม่ประเภท 1 โดยสภาพืชศัตรูพืชฟลอริดา (Florida Exotic Pest Plant Council)
ไม้พุ่มไม่ผลัดใบลำต้นตรงแตกกอหลายกอ กิ่งก้านมากคล้ายลักษณะรอเลื้อย สูง 1-4 เมตร เปลือกนอกสีน้ำตาล มีร่องแตกตามยาว ใบ เดี่ยวเรียงสลับรูปไข่ กว้าง 3-6 ซม.ยาว 5-9 ซม.ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อยละเอียด ท้องใบมีขน เนื้อใบบาง ดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ซอกใบดอกย่อยประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ2-3ดอกและดอกเพศผู้หลายดอก กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียวเกสรสีเหลืองเป็นกระจุกตรงกลาง ผลสดรูปทรงกลมแป้น ฐานรองดอกติดที่ผล ขนาดผล 0.7-1.3 ซม.ผลอ่อนสีเขียวผลแก่สีน้ำตาลดำ มีเมล็ด 3เมล็ดสีน้ำตาลเทา
การใช้ประโยชน์--- เป็นพืชสมุนไพรที่มีค่ามากชนิดหนึ่ง ปลูกเพื่ออนุรักษ์ไว้และใช้เป็นยา สรรพคุณใช้รากกินแก้บวม ตานขโมยในเด็ก แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและเปลือกต้น แก้เม็ดผื่นคัน บวม
ใช้อื่นๆ ใบมีรสขม พบว่ามีสารซาโปนิน ขยำกับน้ำจะเกิดฟองใช้แทนสบู่ ใบและผลเป็นพิษต่อปลา
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด เมล็ดจะยังคงทำงานได้เป็นเวลาหลายเดือนเมื่อแช่ในน้ำเกลือและยังคงทำงานได้เป็นเวลาหลายปีเมื่ออยู่ในดิน


คว่ำตายหงายเป็น/Bryophyllum pinnatum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken
ชื่อพ้อง---Has 5 synonyms
---Bryophyllum calycinum Salisb.
---Cotyledon pinnata Lam.
---Crassula pinnata L. f.
---Kalanchoe pinnata (Lam.) Pers.
---Sedum madagascaricum Clus.
ชื่อสามัญ---Air plant, Cathedral bells, Life plant, Miracle leaf, Goethe plant, Mother of thousands, Mother-in-law, Live-leaf-of-resurrection plant.
ชื่ออื่น---เบญจฉัตร, กระลำเพาะ, คว่ำตายหงายเป็น, ต้นตายใบเป็น, นิรพัตร (ภาคกลาง); เพรอะแพระ (ประจวบคีรีขันธ์); แข็งโพะ, โพะเพะ (นครราชสีมา); กะเร (ภาคใต้,ชลบุรี); กาลำ (ตราด); ต้นตายปลายเป็น (จันทบุุรี); ตาละ (มาเลย์-ยะลา); ปะเตียลเพลิง (เขมร-จันทบุรี); มะตบ, ยาเท้า, ล็อบแล็บ, ลุบลับ, ลุมลัง (ภาคเหนือ); ส้มเช้า (ภาคใต้,ประจวบคีรีขันธ์) ; [THAI: bencha chat, kralam pho,  khwam tai ngai pen, ton tai bai pen , niraphat (Central); phroe phrae (Prachuap Khiri Khan); khaeng pho, pho phe (Nakhon Ratchasima);  kare (Peninsular, Chon Buri); ka lam (Trat);  ton tai plai pen (Chanthaburi); ta-la (Malay-Yala); pa-tian-phloeng (Khmer-Chanthaburi);  ma top, lop laep, lup lap, lum lang (Northern); ya thao (Northeastern); som chao (Peninsular, Prachuap Khiri Khan).]; [CHINESE: Lao di sheng gen.]; [FIJI: Bulatawamudu, Thakamana.]; [FRENCH: Gros pourpier clochette, Herbe tortue, Kalanchoé penné, Mangé-tortue, Soudefafe.]; [HAWAII: Oliwa ku kahakai.]; [HINDI: Zakhm-hayat, Airavati.]; [INDONESIA: Daun sejk, Buntiris.]; [LAOS: Pount tay, Poun po.]; [MALAYSIA: Sedingin, Seringing.]; [PHILIPPINES: Katakataka (Tag.).]; [SAMOA: Mimiti, Pagi.]; [SPANISH: Hoja del aire,]; [TONGA: Pipi vao, Ta‘e kosi.].
ชื่อวงศ์---CRASSULACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---กระจายทั่วไปในเขตร้อนของโลก เช่น ไทย  ลาว เวียดนาม กัมพูชา
มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสการ์และแอฟริกาตอนใต้ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,600 เมตร
ไม้ เนื้ออ่อนอายุหลายปี สูงได้ถึง1เมตร ทุกส่วนอวบน้ำ เมื่อต้นแก่ลำต้นจะแข็ง ใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่ปลายใบมนยาว 5-25 ซม. และกว้าง 2-12.5 ซม สีเขียวหรือสีเหลืองอมเขียว แตกต้นอ่อนตามขอบใบ ช่อดอกออกที่ปลายยอดเป็นช่อกระจะแยกแขนง ยาวกว่า30ซม.กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดห้อยลงยาว2-3ซม.ปลาย แยกเป็น5กลีบ สีแดงเรื่อ
การใช้ประโยชน์--- เป็นสมุนไพรยืนต้นที่เติบโตอย่างกว้างขวางและใช้กันอย่างแพร่หลายในการแพทย์พื้นบ้านในแอฟริกาเขตร้อนอเมริกาเขตร้อนอินเดีย
-ใช้เป็นยา เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้กันทั่วไปในการแพทย์แผนโบราณของอินเดียและประเทศอื่น ๆ สำหรับการรักษาโรคติดเชื้อต่าง ๆ
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใบนำมาเผาไฟเล็กน้อย หรือตำให้ละเอียดจนมีน้ำเมือกลื่นๆใช้ทาบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นยาฆ่าเชื้อ รักษาตาปลา หรือวางบนศรีษะแก้ปวดหัว วางบนหน้าอกแก้ไอและเจ็บหน้าอก ใช้พอกฝี น้ำคั้นจากต้นแก้ท้องร่วง เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไขข้ออักเสบหรือหยดลงบริเวณที่เป็นหิด ขี้เรื้อน หรือนำน้ำคั้นจากใบผสมการบูร ใช้ทาถูนวดแก้เคล็ด แก้ขัดแพลง แก้กล้ามเนื้ออักเสบ-ในตรินิแดดและโตเบโกถูกนำมาใช้เป็นแนวทางการรักษาแบบดั้งเดิมสำหรับความดันโลหิตสูง
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสำคัญของยาใหม่สำหรับโรคที่ยังขาดการรักษาเช่นมะเร็ง จากผลการวิจัยใบpinnataสามารถใช้ประโยชน์และมีศักยภาพในการรักษาต่อต้าน HPV และ  รักษาการติดเชื้อ HPV และมะเร็งปากมดลูก
-อื่น ๆ ใบถูกทำให้สุก, แช่ในน้ำแล้วใช้เป็นแชมพู
รู้จักอันตราย-พืชมีสาร bufadienolide cardiac glycosides ที่สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจวายโดยเฉพาะในสัตว์เลี้ยง
ระยะออกดอก---ธันวาคม-มีนาคม
ขยายพันธุ์---ปักชำลำต้น ปักชำใบ

งาขาว/Sesamum orientale


ชื่อวิทยาศาสตร์---Sesamum orientale L.
ชื่อพ้อง--- This name is a synonym of Sesamum indicum L.
ชื่อสามัญ---Sesame, Benne, Bennesee, Beniseed, Oriental sesame.
ชื่ออื่น---งาขาว (ทั่วไป) ; [THAI: nga khao (General).] ; [AFRIKAANS: sesam.]; [CHINESE: Zhīma.];[FRENCH: sésame.]; [INDIA: Karuthellu,Ellu,Yelluchedi.]; [INDONESIA: wijen.]; [JAPANESE: Goma.];[KOREA: chamkkae.]; [PORTUGUESE: gergelim, sésamo.]; [SPANISH: ajonjolí, sésamo.]; [VIRTNAM: Vừng.].
ชื่อวงศ์---PEDALIACEAE
ถิ่นกำเนิด---แอฟริกา อินเดีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเขตร้อนทั่วโลก
นิรุกติศาสตร์---คำว่า  "sesame" มาจากภาษาละติน sesamumและกรีก sēsamon ; ซึ่งในทางกลับกันจะได้มาจากโบราณภาษาเซมิติเช่นอัคคาเดีย šamaššamu จากรากเหล่านี้คำที่มีความหมายทั่วไป-- "น้ำมัน,ไขมันเหลว" ได้มา
ไม้ ล้มลุกสูง0.3-1เมตร ลำต้นเหลี่ยมมีร่องตามยาวและขนปกคลุม ก้านใบยาว 4.5 ซม.ใบเดี่ยว 6-12 x 3-6 ซม.เรียงตรงข้ามดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบกลีบดอกสีขาวหรือชมพู ผลแคปซูล 1.5-2 x 0.4-0.6 ซม แห้งแล้วแตก เมล็ดสีดำรูปไข่กลับเรียบ ยาว 2 มม.น้ำตาลหรือขาว
การใช้ประโยชน์--- ใช้ น้ำมันระเหยยากซึ่งบีบจากเมล็ด หุงเป็นน้ำมันใส่บาดแผล และทานวดแก้ขัดยอก พบมีสารลดการอักเสบบรรเทาอาการระคายเคือง ขับระดู ขับปัสสาวะ  แก้ไอ ใบสดช่วยบรรเทาอาการคันศรีษะ ที่เกิดจากรังแคหรือหนังหัวลอก เมล็ดงาดิบหุงเคี่ยวเพื่อสกัดเอาน้ำมันออกมาใช้ชโลมผมช่วยให้ผมดกดำเป็นประกายเงางาม
เมล็ดงาคั่วแล้วบดเป็นผง ชงกับน้ำร้อนเติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งกินเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการเจ็บคอ
ระยะออกดอก/ ติดผล--- มิถุนายน - กรกฎาคม/สิงหาคม - ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


เจตพังคี/Cladogynos orientalis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Cladogynos orientalis Zipp. ex Span
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
---Adenogynum Rchb.f. & Zoll.
---Baprea Pierre ex Pax & K.Hoffm.
---Chloradenia Baill.
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตองตาพราน (สระบุรี), สมี (ประจวบคีรีขันธ์), มนเขา (สุราษฎร์ธานี), ตะเกีย เปล้าเงิน หนาดตะกั่ว (นครราชสีมา), ใบหลังขาว (ภาคกลาง), เปล้าน้ำเงิน (ภาคใต้), พังคี, พังคีใหญ่ ; [THAI: tong ta pran; sami; mon khao; takia; plao nam ngoen.]; [CHINESE:  Bai da feng.]
ชื่อวงศ์--- EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ) และภาคใต้ของ จีน (มณฑลกวางสี)

 

พบได้ทั่วไปในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในป่าหินปูน ที่ระดับความสูง  200-500 เมตร
ไม้ พุ่มขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบสูง 1-2 เมตร รากเรียวและยาว เปลือกหุ้มรากเป็นเยื่อบางสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม กิ่งก้านมีขนรูปดาวสีขาว ก้านใบยาวเรียว  1.5-5 ซม., สีขาว ใบเดี่ยว กว้าง3-8 ซม.ยาว 6-15 ซม.เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปวงรี  ผิวใบด้านบนสีเขียวอ่อนและมีขนเล็กน้อยด้านล่างใบ เคลือบขาวเด่นชัดมาก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดขนาดเล็กยาว 2.5 ซม.มักจะแตกแขนงครั้งเดียวมีขน ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแคปซูลกลม ขนาด0.8ซม. มี 3 พู ลักษณะเป็นเส้นใยสีขาว ผลแห้งไม่แตก เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นยา รากของพืชชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนไทยเป็นยาขับลมและป้องกันอาการท้องอืดและอาการจุกเสียด ถูกบันทึกไว้ในบัญชีรายชื่อยาสำคัญแห่งชาติปี 2013 สรรพคุณทางสมุนไพร ตำรายาไทย ใช้ รากซึ่งมีรส เผ็ดขื่น เฝื่อนเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม ขับลม แก้ท้องขึ้น ปวดแน่นท้องหรือใช้รากฝนกับน้ำปูนใสทาท้องเด็กอ่อนทำให้ผายลมแก้ท้องอืดเฟ้อหรือใช้ร่วมกับมหาหิงคุ์ หรือการบูรก็ได้ ยา พื้นบ้านใช้ทั้งต้นต้มน้ำหรือทำเป็นผง หรือดองเหล้า กินแก้ลมจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ท้องร่วง รากผสมกับรากกำยานต้มน้ำดื่มบำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ หรือผสมกับไพล กะทือบ้าน กะทือป่า กระเทียม ขิง พริกไทย ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง บดเป็นผงละลายน้ำ เติมน้ำตาลทรายพอหวานดื่มเป็นยารักษาธาตุ เจริญอาหาร ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ผิวหนังกลากเกลื้อน แก้คุดทะราด ตับอักเสบ มดลูกพิการ
-อื่น ๆ * นำมาแปรรูปเป็นตำรับยาสมุนไพรสำเร็จรูป ในชื่อของตำรับยา "ยาประสะเจตพังคี" โดยจัดเป็นตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ซึ่งมีสรรพคุณแก้กษัยและแก้อาการจุกเสียด โดยประกอบไปด้วยสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ดังนี้ กานพลู การบูร กรุงเขมา เกลือสินเธาว์ ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ลูกสมอทะเล ลูกกระวาน ใบกระวาน รากไคร้เครือ พญารากขาว เปลือกหว้า (ทั้งหมดนี้อย่างละ 1 ส่วน), และยังมีพริกไทยล่อน บอระเพ็ด ระย่อม (อย่างละ 2 ส่วน), ข่า (16 ส่วน) และเจตพังคี (34 ส่วน) ใช้รับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็น ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายด้วยน้ำสุก* ข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-พฤศจิกายน
ขยยพันธุ์---เมล็ด


เจตมูลเพลิงขาว/Plumbago zeylanica


ชื่อวิทยาศาสตร์---Plumbago zeylanica L.
ชื่อพ้อง---Has 17 Synonyms

-Findlaya alba Bowdich -Plumbago littoralis Mure
-Molubda scandens (L.) Raf. -Plumbago maximowiczii Gand.
-Plumbagidium scandens (L.) Spach -Plumbago mexicana Kunth
-Plumbago americana Weigel -Plumbago occidentalis Sweet
-Plumbago flaccida Moench -Plumbago sarmentosa Lam.
-Plumbago floridana Nutt. -Plumbago scandens L.
-Plumbago juncea Bojer -Plumbago toxicaria Bertol.
-Plumbago lactea Salisb. -Plumbago viscosa Blanco
-Thela alba Lour.

ชื่อสามัญ---Ceylon leadwort, White leadwort, Wild leadwort, Doctorbush, Wild white plumbago.
ชื่ออื่น---ปิดปิวขาว, ปิ๋ดปี๋ขาว, ปี่ปีขาว, เจตมูลเพลิงขาว, ; [THAI: chettamun phloeng khaao (central), pit piu khaao (northern).]; [CHINESE: Bai Hua Dan.]; [PHILIPPINES: bama (Java), bangbang.]; [FRENCH: Dentelaire de Ceylan.]; [LAOS: pit pi' khao.]; [INDONESIA: daun encok (general), bama (Java., Bali).]
ชื่อวงศ์---PLUMBAGINACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียใต้-อนุทวีปอินเดีย (ประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟ)


มีต้นกำเนิดมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกิดขึ้นเกิดขึ้นทั่วแอฟริกาเขตร้อน
ไม้ พุ่มลำต้นสูงไม่เกิน2เมตร สีเขียวออกแดง ก้านใบยาว 0-5 มม. มีใบหูเล็ก ๆ อยู่ในใบอ่อน ใบเดี่ยว 2.5–13 ซม. × 1–6 ซม.รูปมนรีออกสลับตามข้อต้น โคนใบมนปลายใบแหลม ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายใบมะลิ แตะจะมีขนาดใหญ่กว่า  ช่อดอกเป็นช่อแข็งยาว 6–30 ซม. ใบประดับรูปไข่ถึงรูปใบหอกยาว 3-7 มม. ก้านช่อดอกยาว 1-1.5 ซม.ดอกออกเป็นช่อที่ยอด ดอกย่อยสีขาว โคนดอกเป็นหลอดเล็กๆส่วนปลายดอกจะบาน แยกเป็น5กลีบ กลีบเลี้ยงมีสีเขียวมีขนเหนียวติดมือ  ผลแคปซูลกลมรูปขอบขนาน ยาว 7.5–8 มม. ปลายยอดแหลมมี 5 ร่อง 1 เมล็ด เมื่อแก่จะแตกออก เมล็ดยาว 5-6 มม. สีน้ำตาลแดงถึงน้ำตาลเข้ม
การใช้ประโยชน์--- ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วทั้งแอฟริกาและเอเชียในฐานะที่เป็นยารักษาโรคผิวหนังการติดเชื้อและพยาธิในลำไส้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อน, หิด, กลาก, ผิวหนังอักเสบ, สิว, แผล ทุกส่วนของพืชถูกนำมาใช้ แต่รากนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด -ในประเทศไนจีเรียรากที่ทุบด้วยน้ำมันพืชถูกนำไปใช้กับอาการบวมรูมาติก ในเอธิโอเปีย ใช้รากหรือใบในการรักษาโรคหนองใน, ซิฟิลิส, วัณโรค, อาการปวดไขข้อ, ไขข้อบวมและแผล ในประเทศแซมเบียยาต้มจากรากที่ต้มกับน้ำนมจะถูกกลืนเพื่อรักษาอาการอักเสบในปากลำคอและหน้าอก ในแอฟริกาตอนใต้จะใช้รากกับน้ำส้มสายชูนมและน้ำเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่และไข้ดำ-มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรใช้แทนรากเจตมูลเพลิงแดงได้ ใช้ รากรสร้อนขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร สารสกัดจากรากมีฤทธิ์บีบมดลูก และมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราสาร Plumbagin ที่แยกได้จากรากมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ลดไขมันในเลือด
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำ


เจตมูลเพลิงแดง/Plumbago indica

  

ชื่อวิทยาศาสตร์---Plumbago indica L.
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
---Plumbagidium roseum (L.) Spach
---Plumbago rosea L.
---Thela coccinea Lour.
ชื่อสามัญ---Indian leadwort, Scarlet leadwort, Whorled plantain, Rose-colored leadwort, Red plumbago.,Rosy leadwort, Rosy-flowered leadwort.
ชื่ออื่น---ปิดปีแดง , ปิดปิวแดง(ภาคเหนือ) , ไฟใต้ดิน (ภาคใต้) ,เจ็ดหมุนเพลิง, เจตมูลเพลิงแดง (ภาคกลาง) ; [THAI: chettamun phloeng daeng (central), pit piu daeng (northern), fai tai din (peninsular).]; [ARABIC: Shittermul, Shitarajehmar, Shitturridge.]; [BENGALI: Rakt-chitrak.]; [CHINESE: Xie san niang, Zi hua dan.]; [HINDI: Lal chitrak.]; [INDONESIA: akar binasa (Malay, Moluccas), ceraka merah (Malay).]; [KANNADA: Chitramulika.];[MALAYALAM: Kotuveli.]; [MALAYSIA: cheraka merah, setaka.]; [MYANMAR: kanchopni, kenkhyokeni.]; [PHILIPPINES: pampasapit, Hangad-ang-babae, Panting-panting (Tagalog); laurel (Bikol, Tagalog).]; [PORTUGUESE: Plumbago de flor vermelha.]; [SANSKRIT: Rakta chitrak.]; [SRI LANKA: Rath nitul.]; [SWEDISH: Röd blyblomma.]; [TAMIL: Akkini.]; [VIETNAM: Đuôi công hoa đỏ, Xích hoa xà.].
ชื่อวงศ์---PLUMBAGINACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---อินเดีย จีนตอนใต้ กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์


พบได้ในบริเวณใกล้เคียงกับกิจกรรมของมนุษย์ กึ่งธรรมชาติ  ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร
ไม้ พุ่มสูง 0.8-1.5 เมตร ยอดอ่อนสีแดง ลำต้นกลมเรียบมีสีแดงบริเวณข้อ ใบเป็นใบเดี่ยว 5–15 ซม. × 2-8 ซม. เรียงสลับรูปไข่ ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งยาว 10-30 ซม ใบประดับรูปไข่ยาว 2-3 มม. ปลายยอดแหลม ก้านช่อดอกยาว 2-10 ซม. กลีบเลี้ยงเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง ผลเป็นผลแห้งแตกได้
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแดดจัด ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นและมีการระบายน้ำดี มีค่า pH 5.5 - 6 หากค่า pH ต่ำกว่า 5 หรือสูงกว่า 7 อาจนำไปสู่การเจริญเติบโตแบบแคระแกรน
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นยาแผนโบราณที่นิยมในอินเดีย เป็นส่วนผสมสำคัญในส่วนผสมของสมุนไพรที่ใช้ในการแพทย์อายุรเวท และในส่วนของแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใบใช้เป็นยาพอกในการรักษาโรคไขข้อและปวดหัว รากจะใช้ภายในเพื่อกระตุ้นการย่อยอาหาร; เพื่อชำระเลือด; เพื่อส่งเสริมการไหลของประจำเดือนและ / หรือเพื่อกระตุ้นการทำแท้ง รากใช้เป็นยาสำหรับโรคเรื้อน โรคไขข้ออักเสบ อัมพาต เนื้องอก ปวดฟัน ริดสีดวงทวาร สารสกัดจากเอทานอลของใบมีฤทธิ์ต้านไวรัสเริมชนิดที่ 1 (HSV-1) มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ตำรายาไทยให้ใช้รากแห้งขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร และเพิ่มความอยากอาหาร
-ใช้อื่นๅ ปลูกเป็นไม้ประดับในส่วนต่าง ๆ ของเขตร้อน
รู้จักอันตราย---การใช้ควรระวังเพราะพบว่ามีสาร plumbaginซึ่งระคายเคืองกับทางเดินอาหารอาจเป็นพิษได้
ระยะออกดอก---ตลอดปี
การขยายพันธุ์---เมล็ดพันธุ์ไม่สามารถใช้ได้ ใช้วิธี ปักชำ 


ชะอม/Acacia Pennata

ชื่อวิทยาศาสตร์---Senegalia pennata (L.) Maslin
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms
---Acacia insuavis Lace
---Acacia pennata (L.) Willd.
---Basionym: Mimosa pennata L.
---Senegalia insuavis (Lace) Pedley
ชื่อสามัญ ---Climbing wattle,  Feather Acacia, Narrow-Leaved Soap Pod
ชื่ออื่น---ผักหละ (ภาคเหนือ), อม (ภาคใต้), ผักขา (ภาคอีสาน อุดรธานี), พูซูเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน), โพซุยโดะ (กะเหรี่ยง)  ; [THAI: Cha-om]; [AYURVEDA: Lataakhadira, Aadaari, Ari.]; [HINDI: Biswal, Latakhadira.]; [KANNADA: Kaadu seege.];[MALAYALAM: Kaariinja, Mala inja.]; [MARATHI: Shembarati, Shembi.]; [NEPAL: Arare, Arfu.]; [SIDHA/TAMIL: Indan, Indu.]; [TAMIL: Inthu, Kattintu, Kattuchikai.]; [TELUGU: Guba korinda.].
ชื่อวงศ์--- FABACEAE (LEGUMINOSAE- MIMOSOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--เอเซียใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาใต้


มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ และพบได้ในที่ราบลุ่มและพื้นที่สูงซึ่งเป็นป่าผลัดใบเป็นที่ราบแห้งแล้งที่ระดับความสูงถึง 1,700 เมตร
ลักษณะของชะอม เป็นไม้พุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมใบเป็นใบประกอบขนาดเล็กมีก้านใบแยกเป็นใบ  ออก 2 ทาง 8 ถึง 20 คู่ ลักษณะ คล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อยใบอ่อนมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอ ใบย่อยรูปรีมีประมาณ 13-28 คู่ขอบใบเรียบปลายใบแหลมดอกออกที่ซอกใบสีขาวหรือ ขาวนวลดอก มีขนาดเล็ก  ฝักตรง, แบน, บาง, แห้ง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---สปีชีส์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิดแบคทีเรียเหล่านี้ก่อตัวเป็นก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้ในพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถนำไปใช้กับพืชอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้เช่นกัน
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นอาหาร ใบไม้ใช้ในการปรุงอาหาร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ชาวเหนือในประเทศไทยนิยมรับประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่น ฉุนบางครั้งอาจทำให้ปวดท้อง อีกเรื่องใครเลี้ยงนกขุนทองไว้ ระวังนกจะตายถ้าได้กลิ่นชะอมนอกจากว่านกตัวนั้นเกิดในป่าชะอมถึงจะทนกลิ่นชะอมได้
-ใช้เป็นยา สรรพคุณ ทางเป็นยา รากของชะอมแก้ท้องเฟ้อขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้อง ยอดชะอม ใบอ่อน มีรสจืดช่วยลดความร้อนของร่างกาย ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง สำหรับแม่ลูกอ่อนนั้นไม่ควรกินชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง
-อื่น ๆ ไม้มีรูพรุนสีน้ำตาลแดงมีความแข็งปานกลาง เป็นไม้ที่ค่อนข้างดี ใช้ทำกรอบหรือกล่องได้ดี เปลือก (มีแทนนิน 90%) ใช้สำหรับฟอกอวนจับปลาในอินเดีย
ขยายพันธุ์---ปักชำ ตอนกิ่ง


ชะเอมไทย/Albiziz myriophylla

ชื่อวิทยาศาสตร์---Albizia myriophylla Benth.
ชื่อพ้อง ---Has 4 synonyms
---Albizia microphylla J.F.Macbr.
---Albizia thorelii Pierre
---Albizia vialeana thorelii (Pierre) P.H.Ho
---Mimosa microphylla Roxb.
ชื่อสามัญ ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตาลอ้อย (ตราด), อ้อยสามสวน (อุบลราชธานี), ย่านงาย เซเบี๊ยดกาชา (ตรัง), อ้อยช้าง (สงขลา, นราธิวาส), ชะเอมป่า (ภาคกลาง), ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ), เพาะซูโฟ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ; [THAI: som poi wan (northern), cha-em thai (central), oi chang (peninsular), Pho-su-pho.];[ASSAMESE: Hitharu ,Koroi.]; [KHMER: tronom a au k.]; [LAOS: khua kha:ng hung khuang]; [MALAYSIA: akar manis, akar kulit manis, tebu gajah (Peninsular)]; [VIETNAM: Xống rắn nhiều lá, Cam thảo cây]
ชื่อวงศ์ ---FABACEAE (LEGUMINOSACEAE -MIMOSOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ ---  อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม มาเลเซีย


ถิ่นดำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยและอินเดียผ่านพม่า อินโดจีน (กัมพูชาลาวและเวียดนามตอนใต้) และประเทศไทยไปจนถึงคาบสมุทรมาเลเซียตอนเหนือ พบตามขอบป่า ริมฝั่งแม่น้ำและหาดทราย พื้นที่ที่ถูกรบกวน ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 300 เมตร
ไม้ เถายืนต้น มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน ใบประกอบขนนกสองชั้น ยาว10-15ซม. 8-20 คู่ โคนก้านใบป่องออก ใบย่อยรูปขอบขนาน25-60 คู่ต่อใบ ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาวกลิ่นหอม ผลเป็นฝัก  14 ซม. × 2.5 ซม.สีเหลืองถึงน้ำตาล
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นอาหารและยาในท้องถิ่น
-ใช้เป็นอาหาร เปลือกมีรสหวานและมักใช้เป็นเครื่องปรุงรสในการปรุงอาหาร
-ใช้เป็นยา ในประเทศมาเลเซียมีการใช้ราก พื่อป้องกันไข้ภายใน โลชั่นที่ทำจากรากใช้แทนชะเอมเทศ ( Glycyrrhiza glabra L.) และใช้ร่วมกับพืชชนิดอื่น ๆ ทาบริเวณศีรษะสำหรับเด็กที่มีไข้ และรักษาอาการปวดหู เปลือกไม้นั้นใช้ในการแพทย์แผนโบราณในอินโดจีนเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
ตำรา ยาไทยใช้รากที่มีรสหวานเป็นยาแก้กระหายน้ำ สกัดเป็นชาสมุนไพร ดื่มช่วยบำรุงหัวใจ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอทำให้ชุ่มคอ แก้กำเดา แก้ลม ผลขับเสมหะ เนื้อไม้มีรสหวานแก้โรคในคอ แก้ไอขับเสมหะ
-ใช้อื่น ๆ ลำต้นใช้เป็นเชื้อเพลิง
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ชะเอมเหนือ/Derris reticulata


ชื่อวิทยาศาสตร์---Derris reticulata Craib
ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name
ชื่อสามัญ---Three-leaf derris.
ชื่ออื่น---ชะเอมเหนือ อ้อยสามสวน, ; [ THAI: Cha-em-nuea; Oi sam suan.]
ชื่อวงศ์---LEGUMINOSACEAE (FABACEAE) -PAPILIONOIDEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ พบในพื้นที่กึ่งร่มเงาของป่าดิบแล้งป่าดิบชื้น (ป่าเต็งรัง) ป่าไผ่และตามลำธาร ที่ระดับความสูง 50 - 450 เมตร
ไม้ เลื้อยมีเนื้อไม้ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อยประมาณ 5ใบ รูปใบหอกถึงใบหอกแคบ กว้าง1.5-4ซม.ยาวได้ถึง18ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันสีม่วงแดง กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีขาวถึงแกมม่วงอ่อน ผลเป็นฝักแห้งแตกรูปขอบขนานมีปีกตามแนวยาว เมล็ดรูปไต
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ทนต่อสภาพดินหลากหลายตั้งแต่ดินอุดมสมบูรณ์ไปจนถึงพื้นที่แห้งแล้ง สายพันธุ์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิด แบคทีเรียเหล่านี้ก่อให้เกิดก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้โดยพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถใช้โดยพืชอื่น ๆ
การใช้ประโยชน์--- พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยาและสารให้ความหวาน
-ใช้กิน ลำต้นมีสารหวานและใช้เป็นสารให้ความหวานในยาท้องถิ่น
-ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้เปลือกต้น เคี้ยวอม ขับเสมหะแก้ไอ
-อื่น ๆ นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่าสารสกัดจากลำต้นD. reticulata มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งจำนวนมากและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปากที่มีศักยภาพสำหรับการรักษาโรคฟันผุในอนาคต (Derris Reticulata: Worthwhile Remedy against Dental Caries) https://acenews.pk/derris-reticulata-worthwhile-remedy-against-dental-caries/
การขยายพันธุ์---เมล็ด


ซ่อนกลิ่น/Polianthes tuberosa


ชื่อวิทยาศาสตร์---Polianthes tuberosa Linn.
ชื่อพ้อง---This is a synonym of Agave amica (Medik.) Thiede & Govaerts
ชื่อสามัญ---Tuberose, Polyanthus lily
ชื่ออื่น---ซ่อนกลิ่น หอมไก๋ ดอกเข่า ; [THAI: Son klin, hom kai. dok khao.]; [AYURVEDA: Rajanigandhaa.]; [CHINESE: Ye lai xiang.]; [FRENCH: Tubereuse.]; [GERMAN: Nachthyazinthe, Tuberose.];[ITALIAN: Tuberosa.]; [PHILIPPINES: Azucena; Baston de San Jose (Span.,Tag.); Nardo (C. Bis.).]; [SIDHA/TAMIL: Nilasampangi.]; [SPANISH: Nardo, Nardo com.];
ชื่อวงศ์--AGAVACEAE
ถิ่นกำเนิด---อเมริกาใต้
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้ เอเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์มาจากภาษาละติน tuberosaผ่านฝรั่งเศส tubéreuse = บวมหรือหัว ในการอ้างอิงถึงระบบรากของมัน
มีถิ่นกำเนิดในภาคกลางและภาคใต้ของเม็กซิโก ไม่พบในป่าปัจจุบันมีการปลูกในประเทศเขตร้อน
ซ่อนกลิ่นเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเหง้าแตกเป็นกระจุก สูง40 ถึง 60 ซม ใบเรียวยาว ดอกออกเป็นช่อยาวรวมกัน ดอกมีสีขาว ช่อดอกจะแทงออกมากลางกอและชูช่อตั้งชันขึ้นสูง 0.5 ถึง 1 เมตร ดอกออกเรียงจนเต็มก้าน ดอกซ่อนกลิ่นจะมีกลิ่นหอมแรงในเวลากลางคืน
การใช้ประโยชน์ เป็นพืชเพาะปลูกเป็นไม้ดอกหอมและใช้เป็นอาหารและยา
-ใช้เป็นอาหารนิยมนำดอกไปปรุงอาหาร ผัด แกงจืด ในบางประเทศสกัดเอากลิ่นผสมช็อกโกแลตเพื่อเพิ่มความหอม
-ใช้เป็นยา สรรพคุณ ทางยา ดอกซ่อนกลิ่นช่วยเป็นยาระบาย และบำรุงผิวพรรณ ในกัมพูชาลาวและเวียดนามเหง้าถูกนำมาใช้เพื่อทำให้เกิดอาการชักและรักษามาลาเรีย ในประเทศจีนเหง้าใช้ในการรักษาแผลไฟไหม้การติดเชื้อและบวม ในอินเดียถือเป็นยาเพิ่มกำหนัด แนะนำหญิงสาวที่ไม่ได้แต่งงานไม่ให้สูดดมกลิ่นดอกไม้หลังจากมืด
-ใช้อื่นๆ น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ใน สุคนธบำบัด  ในน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่อบอุ่นและเย้ายวนใจมีประโยชน์ในฐานะที่ สะกดจิต ผู้หญิงที่ทรมานจากการนอนไม่หลับและมีความสุขกับการมีเพศสัมพันธ์ต่ำ ในอินเดียและบังคลาเทศมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการทำมาลัยดอกไม้ซึ่งมีให้แก่เทพเจ้าหรือใช้เป็นเครื่องประดับสำหรับงานแต่งงาน
การขยายพันธุ์---เหง้า


ดีปลี/Piper chaba


ชื่อวิทยาศาสตร์---Piper chaba Hunt.
ชื่อพ้อง---Has 2 synonyms
---Piper retrofractum Vahl.,
---Piper officinarum (Miq.) C. DC.
ชื่อสามัญ---Long pepper, Java long pepper root, Wild pepper, Thai Lonr Pepper, Pepper chaba.
ชื่ออื่น--- ดีปลีเชือก (ภาคใต้), ปานนุ ประดงข้อ (ภาคกลาง), พิษพญาไฟ  ; [THAI: Di pli, Di pli chueak, pannu, pradong kho, pit ohaya fai.]; [AYURVEDA: Pippali Mula.]; [BANGLADESH: Chui Jhal; Choi Jhal (Bengal).]; [HINDI: Chab.]; [MALAYALAM: Malayalam: Chavyam, kattumulaku.]; [MARATHI: Kankala, chavak.]; [SANSKRIT: Chavya, chavila.]; [TAMIL: Chavyam, kattumilagu.]; [TELUGU: Chavakam.]
ชื่อวงศ์---PIPERACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พบทั่วอินเดียและภูมิภาคอื่น ๆ ที่ร้อนชื้นใน เอเชีย รวมทั้ง มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และ ศรีลังกา


มีถิ่นกำเนิดในเอเซียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และพบในภูมิภาคอบอุ่นอื่นๆของเอเซีย
ไม้ เถาเลื้อยพันข้อมีรากฝอยสำหรับยึดเกาะ ลำต้นค่อนข้างกลม เปราะหักง่าย คดไปมาใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง3-5ซม.ยาว7-10ซม.สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยเรียงแน่นบนช่อ ดอกแยกเพศ ผลอัดแน่นบนแกนช่อโคนกว้างปลายมน เป็นผลสด สีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลสุกใช้ปรุงเป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหาร ถูกใช้เป็นเครื่องเทศในอาหารประเภทเนื้อสัตว์และปลา ในประเทศส่วนใหญ่ของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลของเถาวัลย์เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นเครื่องเทศ และมีการบริโภคทั้งในรูปแบบสดและแห้ง
-ใช้เป็นยาได้รับการปลูกในส่วนต่าง ๆ ของอินเดียและหมู่เกาะมาลายา รากและผลไม้ของมันพบการใช้งานจำนวนมากในการแพทย์และมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรคหอบหืด, หลอดลมอักเสบ, ไข้และความเจ็บปวดในช่องท้อง สรรพคุณทางสมุนไพรแต่ละส่วน ราก-รสเผ็ดร้อน แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต พิษปัตคาด แก้ตัวร้อน แก้พิษคุดทะราดให้ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้  แก้คุดทะราด เถา -รสเผ็ดร้อน แก้พิษงู ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้เสมหะพิการ แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้มุตฆาต(เมื่อปัสสาวะออกมาจะปวด ขัด เจ็บ เป็นหนองข้นขุ่น) ใบ -รสเผ็ดร้อน แก้เส้นสุมนา(โรคเส้นที่อยู่ตรงสะดือแล้วแล่นไปในอกไต่ไปลำคอออกมาที่ลิ้น) แก้เส้นอัษฎากาศ(เส้นขึ้นเบื้องสูง) แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น ดอก -รสเผ็ดร้อน  แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลมในลำไส้ แก้หืด ไอ แก้ริดสีดวง คุดทะราด แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย แก้ปถวีธาตุ 20 ประการ แก้อัมพาต และเส้นปัตคาด -ตำรายาไทย ใช้ ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล1กำมือ (ประมาณ10-15ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้งครึ่งผลฝนกับมะนาวแทรกเกลือ ใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ ฤทธิ์ขับลมแก้ไอ
ขยายพันธุ์---เมล็ด

โด่ไม่รู้ล้ม/Elephantopus scaber

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Elephantopus scaber L.
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
---Asterocephalus cochinchinensis Spreng.
---Scabiosa cochinchinensis Lour.
ชื่อสามัญ---Elephant's Foot, Prickly-leaved elephant's foot, False tobacco.
ชื่ออื่น---ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ) ; [THAI: khi fai nok khum.]; [ASSAMESE: Hasti-pada,Bon-dopha.]; [BENGALI: Hasti pod.]; [CHINESE: Ku di dan, Di dan tou, Mo di dan, Lu er cao, Di dan cao, Di dan tou.]; [HINDI: Samduri, Ban-tambakhu, adhomukha.]; [MALAYALAM: Anayatiyan.]; [MALAYSIA: Tutup bumi, Tapak sulaiman (Malay).]; [MARATHI: Hastipata.]; [MYANMAR: ka-tu-pin, ma-tu-pin, sin-che.];  [PHILIPPINES: Dila-dila, Tabatabakohan (Tag.); Kabkabron (Ilk.).]; [SANSKRIT: Gojivha.]; [SPANISH: Lengua de vaca.]; [TAMIL: yanai-c-cuvati.]; [TELUGI: Enugabira.]; [VIETNAM: Cúc chỉ thiên, chân voi nhám, cỏ lưỡi mèo , bồ công anh.].
ชื่อวงศ์---ASTERACEAE (COMPOSITAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกาเขตร้อน เอเชียตะวันออก อนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของ ประเทศออสเตรเลีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศในเขตร้อนชื้นหรือ กึ่งเขตร้อนทั่วโลก


เกิดขึ้นในทุ่งหญ้า, ที่รกร้างว่างเปล่า, ริมถนน, ตามทุ่งนาและในเขตป่าที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,500 เมตร
โด่ไม่รู้ล้มเป็นไม้ล้มลุกลำต้น  สูง 0.2-1.5 เมตร ใบเดี่ยว ยาว 6-60 ซม. กว้าง 1.5–10 ซม. เรียงซ้อนสลับเป็นวง มักแผ่ราบกับผิวดิน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ดอกแทงช่อออกจากกลางต้น .ก้านช่อแตกแขนง3–11 ซม ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงออกเป็นกระจุก ที่ปลายก้านดอกรองรับด้วยใบประดับแข็งรูปรีปลายแหลม2อัน ก้านช่อดอกเหนียว ไม่หักล้มง่ายๆแม้ว่าจะถูกเหยียบย่ำ ก้านช่อดอกก็จะตั้งขึ้นมาใหม่เหมือนเดิม จึงได้ชื่อว่า "โด่ไม่รู้ล้ม" ผลเป็นผลแห้งไม่แตกเมล็ดแบนสีน้ำตาลยาว 4-6 มม.
การใช้ประโยชน์---พืชมักถูกรวบรวมมาจากป่า ใช้เป็นอาหารและยา ในท้องถิ่น
-ใช้เป็นอาหาร  ใบอ่อนปรุงแลกินเหมือนผักขม ผงที่ทำจากพืชจะถูกเพิ่มเข้าไปใน 'marcha' เค้กหมักที่ใช้ในการเตรียมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท้องถิ่น
-ใช้เป็นยา เป็นพืชที่ได้รับความนิยมที่มีการใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิดรวมถึงโรคมะเร็ง, เบาหวาน, อาการบวมน้ำ, โรคกระเพาะ, ดีซ่าน, โรคดีซ่าน, ระดูขาว, โรคไขข้อ, ไข้และหิด-ในฟิลิปปินส์มีการใช้รากและใบต้มเป็นยาขับปัสสาวะ ยาแก้ไข้และทำให้ผิวนวล โรคทางเดินหายใจส่วนบน:  หวัด, ต่อมทอนซิลอักเสบ, โรคกล่องเสียงอักเสบ, เยื่อบุตาอักเสบ โรคไตอักเสบ, โรคเหน็บชา, อาการบวมน้ำ, ตับอักเสบ, อาการเจ็บหน้าอก, มีไข้ หิด กลาก  ใบ ราด สดโขลกตำพอกสำหรับทาแผลงูกัด น้ำของผลและใบตำนำไปใช้กับหนังศีรษะเพื่อชะลอการสูญเสียเส้นผม-ในคอสตาริกายาต้มถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะสำหรับโรคบิด ในมาดากัสการ์ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาแก้ไข้ ในบราซิลใช้เป็นยาทำให้ผิวนวลและอ่อนเยาว์ในรูปแบบของยาต้มหรือยาพอก นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาขับปัสสาวะเพื่อลดไข้และกำจัดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ- -ตำรายาไทยใช้ใบต้มน้ำเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะ กระตุ้นกำหนัด ใบและรากเป็นยาคุมกำเนิด และยาบำรุงสำหรับผู้หญิงหลังคลอด- ใบ ต้มเป็นยาหล่อลื่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง บิด โรคบวม และปวดแผลในกระเพาะ ใบต้มกับน้ำมะพร้าว  รักษาแผลและผิวหนัง หรือบดผสมพริกไทย แก้ปวดฟัน แก้อาเจียน แก้อาการท้องร่วง กระเพาะอาหารเป็นแผล หรือนำมาต้มให้สตรีคลอดบุตรอาบ ช่วยรักษากามโรคในสตรี แก้โรคมุตกิด นอกจากนี้น้ำสกัดจากต้นยังมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ
-ใช้ปลูกประดับตามบ้านเรือนเพื่อความสวยงาม
ตวามเชื่อ/พิธีกรรม---มีความเชื่อว่าการปลูกว่านโด่ไม่รู้ล้มไว้ประจำบ้านจะช่วยป้องกันเสนียดจัญไรได้
การขยายพันธุ์---เมล็ด


ตองแตก/Baliospermum solanifolium

ชื่อวิทยาศาสตร์---Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh
ชื่อพ้อง---Has 12 Synonyms

-Baliospermum angulare Decne. ex Baill. -Baliospermum polyandrum Wight
-Baliospermum axillare Blume -Baliospermum raziana Keshaw, Murthy & Yogan.
-Baliospermum indicum Decne. -Croton polyandrus Roxb.
-Baliospermum montanum (Willd.) Müll.Arg. -Croton roxburghii Wall.
-Baliospermum moritzianum Baill. -Croton solanifolius Burm.
-Baliospermum pendulinum Pax -Jatropha montana Willd.

ชื่อสามัญ----Red physic nut, Wild castor, Wild croton, Wild sultan seed
ชื่ออื่น---นองป้อม ลองปอม (เลย), ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์), ทนดี (ตรัง), เปล้าตองแตก (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ถ่อนดี (ภาคกลาง), โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ยาบูเวอ หญ้าโวเบ่อ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ; [THAI: Tong taek (Central); thon di (Central, Trang); nong pom (Loei); long pom, nong pom, pho-bho-cho, tho-klo, thon-di, tong taek.]; [ASSAMESE: Phuljelong,Donti.]; [BANGLADESH: Tungkramon.]; [BENGALI: Hakum,Danti.]; [CHINESE: Ban zi mu.]; [HINDI: Danti,Hakum,Junglijamalgota.]; [INDONESIA: Kasingsat (Sundanese); srintil, adal-adal (Javanese).]; [KANNADA: Kaduhalaru,Danti.]; [MALAYALAM: Nirantimuttu,Nagadanti,Neruvam,Dantika.]; [MALAYSIA: Akar kara nasi, terap kompong, maharaja lela (Peninsular).]; [MARATHI: Danti,Dantimul,Jamalgota.]; [MYANMAR: Natcho.]; [NEPAL: Ajaphal ka bot.]; [NEPALI: Harital.]; [SANSKRIT: Raktadanti,Shweta-ghanta.]; [TAMIL: Nirethimuthu.]; [TELUGU: Kanakapala.]; [TIBET: Da nti.]; [VIETNAM: Cam tu nusi.].
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดีย-อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน เนปาล ศรีลังกา---อินโดจีน-พม่า กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม---มาเลเซีย- สุมาตรา ชวา สุลาเวสี มาลูกู เกาะซุนดาน้อย


เกิดขึ้นในป่าผสม ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 700 เมตร
ไม้ พุ่มขนาด 1-2 เมตร กิ่งแตกแขนงจากโคนต้น ยอดอ่อนมีขน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบที่บริเวณยอดรูปใบหอกกว้าง3-4ซม.ยาว6-7ซม. ใบที่บริเวณโคนต้นมักมีขอบหยักเว้าเป็น3-5แฉกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง7-8ซม.ยาว15-18ซม.ดอกช่อ แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันหรือบนช่อเดียวกัน ออกเป็นช่อตามง่ามใบสีขาว ดอกเพศผู้จำนวนมากอยู่ตอนบนของช่อช่อดอกยาว 15 ซม. ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงสีเหลืองแกมเขียว4-5กลีบ ดอกเพศเมียอยู่ที่โคนช่อไม่มีกลีบดอกช่อดอกยาว 1 ซม. ผลขนาด 0.8 -1.3 ซมมี3พู ปลายเว้าเข้าโคนผลกลม ยังมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่แห้งแตกตามยาวที่กลางพู แต่ละพูมี1เมล็ด
การใช้ประโยชน์---บางครั้ง พืชถูกรวบรวมมาจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น
-ใช้เป็นยา มีสรรพคุณด้านสมุนไพรตำรายาไทยใช้ ใบตองแตกมีรสจืด ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย หรือแช่น้ำดื่ม รักษาโรคหืด เมล็ดรสจืดเป็นยาถ่ายอย่างแรง ใช้แทนน้ำมันสลอดได้ ราก มีรสจืดต้มน้ำดื่ม ฝนน้ำกิน เป็นยาถ่ายที่ไม่รุนแรง ถ่ายลมพิษ (ผื่นคัน หรือตุ่มหนองที่ผิวหนัง) ถ่ายพิษพรรดึก (อาการท้องผูก ถ่ายเป็นก้อนแข็งคล้ายขี้แพะ) ถ่ายเสมหะเป็นพิษ (เช่นเสมหะเขียวเป็นก้อน) ขับพยาธิ แก้ม้ามอักเสบ-ใช้ภายนอก ใบใช้ตำพอกแผล ห้ามเลือด รากใช้ฝนทาแก้อาการฟกช้ำ น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาทาแก้อาการปวดตามข้อ
ระยะออกดอก/ะติดผล---มกราคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตะขาบหิน/Muehlenbeckia platyclada


ชื่อวิทยาศาสตร์---Homalocladium platycladum (Fv Muell.) Bailey
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Muehlenbeckia platyclada (FJ Müll.) Meisn
ชื่อสามัญ--- Centipede- plant, Tapeworm plant, Ribbon-bush, Tapeworm Plant.
ชื่ออื่น---ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ), ว่านตะขาบ (เชียงใหม่), เพว (กรุงเทพฯ), ตะขาบปีนกล้วย ต้นตีนตะขาบ (ไทย) ;  [THAI: Wan ta kheb, wan ta khab (Northern).]; [CHINESE: Zhú jié liǎo.];[FIJI: Vono ni vavalangi.];[INDONESIA: Kismis (Sundanese); Enceng-enceng, Jakang.];[PHILIPPINES: Jangkang (Java), Alupihan.];[PORTUGUESE: Solitária, Fita-de-moça, Carqueja.];[SPANISH: solitaria, tenia];[VIETNAM: Trúc tiết liệu , biển trúc hoa, bách túc thảo, lân bách.].
ชื่อวงศ์---POLYGONACEAE
ถิ่นกำเนิด---โอเชียเนีย
เขตกระจายพันธุ์---หมู่เกาะทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก เขตร้อน
ถิ่นกำเนิด อาจจะอยู่ในหมู่เกาะโซโลมอนและปาปัวนิวกินี เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในขอบป่าและพุ่มไม้ในที่อยู่อาศัยที่ชื้นและมีอากาศถ่ายเทสะดวก
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงสูง 1-2เมตร ลำต้นแบนเป็นข้อๆ สีเขียว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ต้นแก่โคนต้นเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนสีเขียว แบนเรียบ ใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้น มีใบน้อย หรือไม่มีเลย กว้าง 0.5-1.5ซม. ยาว 2-5 ซม. ใบเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบและท้องใบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนนิ่ม ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เป็นกระจุกเล็กๆออกที่บริเวณข้อ    ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก กลีบรวมสีขาวแกมเขียว มี 5 กลีบ รูปไข่ ก้านดอกสั้น โคนกลีบดอกติดกัน ผลสด มีเนื้อ ฉ่ำน้ำ  รูปกลมสีเขียว เมื่อสุกสีแดง มีรสหวาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 มม. เมล็ดเดี่ยว สีเหลือง เป็นสัน 3 สัน
-ใช้ประโยชน์ ใช้เป็นยา สรรพคุณทางยา ระบุว่าทั้งต้น รสหวานสุขุม แก้ร้อนใน ดับพิษต่างๆ  พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี แก้ฝีในปอด แก้เจ็บคอ เจ็บอก ใช้ภายนอกระงับปวด แก้เจ็บตามผิวหนัง แก้ผื่นคันแก้น้ำเหลืองเสีย แก้ฝีตะมอย แก้งูสวัด-การนำมาใช้ประโยชน์ของชาวบ้านจะใช้ต้นและใบสด ตำผสมเหล้า หรือกับน้ำซาวข้าว คั้นเอาน้ำใช้ทา ส่วนกากใช้พอก ถอนพิษแมงป่อง และตะขาบกัดต่อยและแก้ฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอก หรือใช้ส่วนต้นและใบตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา ทาแก้เคล็ดขัดยอก
-ใช้ปลูกประดับ ขึ้นง่าย เลี้ยงง่าย ปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับ ตามต่างจังหวัดที่มีภูมิอากาศชื้น หรือมีพวกตะขาบชุก จะนิยมปลูกริมรั้วเป็นทั้งไม้ประดับและใช้ประโยชน์ได้ด้วย
ขยายพันธุ์---เมล็ด, ปักชำ


ตะไคร้/Cymbopogon citratus

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cymbopogon citratus (DC.) Stapf
ชื่อพ้อง ---Has 5 Synonyms
---Andropogon cerifer Hack.
---Andropogon citratus DC.
---Andropogon citriodorus Desf.
---Andropogon nardus subsp. cerifer (Hack.) Hack.
---Andropogon roxburghii Nees ex Steud.
ชื่อสามัญ---Lemongrass, Oilgrass, West Indian lemon grass, Citronella grass.
ชื่ออื่น---จะไคร, ไครั , เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์),[THAI: Ta-khrai.]; [BRAZIL: Cana-cidreira, Cana-limão, Capim-cidró, Capim-santo, Patchuli-falso.]; [CHINESE: Xiang mao cao.]; [COSTA RICA: Sontol.]; [ETHIOPIA: Tej-sar.]; [FRENCH: citronelle, citronnelle, Herbe citron, Lemongrass.];[GERMAN: westindisches Zitronengras, Zitronengras.]; [HINDI: Sera, Verveine.]; [INDONESIA: Sereh.]; [MALAYSIA: Sakumau, Serai makan, Serai.]; [PERU: Yerba luisa.]; [PORTUGUESE: Erva-cidreira.]; [SPANISH: Pasto limón, Zacate dete, Zacate limón.][SWEDISH: Citrongräs.]; [TAMIL: Sera, Verveine.].
ชื่อวงศ์---GRAMINEAE  (POACEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เขตร้อน ไทย อินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย และทวีปอเมริกาใต้
อาจมีต้นกำเนิดในศรีลังกาหรือมาเลเซีย เป็นพืชเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนที่พบได้ในระดับความสูงถึง 1,400 เมตร
พืช ล้มลุก สูง1-เมครโคนใบแผ่เป็นกาบอัดกันแน่น เรียกว่าต้นตะไคร้   ใบคล้ายใบหญ้ามีต่อมน้ำมันหอมระเหย ยาว 45-90 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ดอกออกเป็นช่อยาว 30-60 ซม.มีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก
การใช้ประโยชน์--- พืชได้รับการปลูกฝังอย่างกว้างขวางในเขตร้อนทั้งในเชิงพาณิชย์และในสวนโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารสำหรับอาหารเอเชีย เป็นสมุนไพร แหล่งที่มาของน้ำมันหอมระเหย และในฐานะที่เป็นพืชที่ทำให้ดินเสถียร
-ใช้เป็นอาหาร  ต้น ใบ นำมาแต่งกลิ่นอาหารแก้หรือดับกลิ่นคาวปลาและเนื้อสัตว์ได้ดีมาก ใช้เป็นเครื่องปรุงในแกง
น้ำมันหอมระเหยใช้เป็นเครื่องปรุงในอุตสาหกรรมอาหารในน้ำอัดลมและอาหารต่าง ๆ น้ำต้มใบทำเครื่องดื่ม แก้กระหาย หรือใช้ดื่มก่อนดื่มเหล้าจะทำให้ดื่มได้น้อยลงและทำให้เจริญอาหาร ในกรณีที่หลวมตัวดื่มมากไปหน่อย ดื่มมาแล้วเมามาก ใช้ต้นตะไคร้สดโขลกคั้นเอาแต่น้ำดื่มแก้อาการเมา จะทำให้สร่างเร็ว
-ใช้เป็นยา สรรพคุณทางสมุนไพรนำมาเป็นยาคือน้ำมันจากใบและต้น ทำเครื่องดื่มและทำสบู่ ลำต้นแก่หรือเหง้านำมาปรุงอาหารแก้ท้องอืด ขับปัสสาวะแก้นิ่วและขับประจำเดือน แก้เบื่ออาหาร ขับลมในลำไส้ นอก
-วนเกษตร ใช้ปลูกเป็นพืชปรับการเสื่อมสภาพของดิน ปลูกตะไคร้เป็นแนวแบ่งเขตสวน กั้นไม่ให้พืชรุกรานที่เป็นอุปสรรคและป้องกันวัชพืช
-ใช้ในพิธีกรรม แอฟริกันอเมริกันดั้งเดิม เป็นส่วนผสมหลักของ van van oil หนึ่งในน้ำมันที่นิยมมากที่สุดที่ใช้ใน Hoodoo เพื่อป้องกันความชั่วร้ายทำความสะอาดบ้านทางวิญญาณและนำโชคดีในเรื่องความรัก
-ใช้อื่น ๆ น้ำมันหอมระเหยที่ได้ ใช้ในน้ำหอมสบู่ กลิ่นน้ำมันใส่ผม เครื่องสำอาง และเป็นยาขับไล่แมลง มีสารฆ่าเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการรักษาเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคในพืชสบู่ดำ พืชใช้สำหรับผลิตเซลลูโลสและกระดาษ
ขยายพันธุ์---เมล็ด (มักไม่เกิดขึ้น) แยกกอ

ตะไคร้หอม/Cymbopogon winterianus


ชื่อวิทยาศาสตร์     ---Cymbopogon winterianus Jowitt.
ชื่อพ้อง    ---Cymbopogon nardus mahapengiri (L. ) Rendle
ชื่อสามัญ     ---Java Citronella, Barbed wire grass, Silky heads, Citronella grass, East Indian Lemon Grass
ชื่ออื่น     ---จะไคมะขูด, ตะไครมะขูด, มะไคร้แดง, ตะไคร้แดง, [THAI: Dton ja kai ma koot.];[CHINESE: Feng mao, Zhao wa xiang mao];[SPANISH: Pasto de camellos.];[FRENCH: Citronelle de Java.].
ชื่อวงศ์    ---GRAMINEAE (POACEAE)
ถิ่นกำเนิด    ---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์    ---เอเชีย-อินโดนีเซีย ไทย ไต้หวัน แอฟริกา ออสเตรเลีย


พืชเขตร้อนชื้นที่ลุ่มซึ่งพบได้ในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร
ตะไคร้หอมมีอยู่2ชนิดคือ
1 Cymbopogon nardus (Linn.)Rendle ---- Java Citronella
2 Cymbopogon winterianus Jowitt --- Ceylon citronella
เป็นพืชยืนต้นเหง้ารากตื้น เป็นกอแน่นสูงได้ถึง2เมตรลักษณะ  ส่วนใหญ่จะคล้ายตะไคร้ธรรมดา ต่างกันที่กลิ่น กาบใบและแผ่นใบ กาบใบของตะไคร้หอมจะมีสีเขียวปนม่วงแดง แผ่นใบยาว40-80 ซม.,กว้าง 1.5-2.5 ซม และนิ่มกว่าเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินมากกว่าตะไคร้ธรรมดาดอกช่อสีน้ำตาลแดงแทงออกจากกลางต้น ผลแห้งไม่แตก
การใช้ประโยชน์ พืชที่ปลูกส่วนใหญ่มักจะอยู่ใน ชวา และส่วนอื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในใบของมัน ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมน้ำหอม สายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตน้ำมันหอมระเหยมากถึงสองเท่าของ Cymbopogon nardus ที่เกี่ยวข้อง (ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกในศรีลังกา) และน้ำมันมีคุณภาพดีกว่า
-ใช้เป็นยามีสรรพคุณทางเป็นสมุนไพร ใช้ เหง้าเป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว
-วนเกษครป้องกันการกัดเซาะและคลุมดิน และถูกนำไปใช้ปลูกประดับ
-ใช้อื่น ๆ ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์น้ำหอมและเครื่องสำอางทั้งโดยตรงหรือเป็นวัสดุเริ่มต้นสำหรับการผลิตของสารประกอบกลิ่นหอมอื่น ๆ น้ำมันที่สมบูรณ์ส่วนใหญ่จะใช้เป็นยาขับไล่แมลงสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงและใช้ในสบู่ผงซักฟอกยาฆ่าแมลงในครัวเรือน การเตรียมน้ำมันตะไคร้หอมดิบผสมกับใบสะเดา และเหง้าของข่าถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงชีวภาพในการผลิตผักและในสวนส้มใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหยใช้เป็นยากันยุง โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม7ส่วนในแอลกอฮอล์เช็ดแผล (70%) ฉีดพ่น หรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:1 ชุบสำลีแขวนไว้ตรงประตูทางเข้าออกหรือ ใช้ใบสดมัดแล้วทุบให้ช้ำวางไว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง  มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืชด้วย
ขยายพันธุ์---เมล็ด (มักไม่เกิดขึ้น) แยกกอ

ตะไคร้ต้น/Litsea cubeba

ชื่อวิทยาศาสตร์---Litsea cubeba (Lour.) Pers.
ชื่อพ้อง---Has 25 Synonyms
---Litsea citrata Blume---(more)
ชื่อสามัญ---Litsea, Mountain pepper, Pheasant-pepper, Aromatic Litsea, May chang
ชื่ออื่น---จะไค้ต้น (เชียงใหม่); ตะไคร้ (กาญจนบุรี); ตะไคร้ต้น (เลย) ; [THAI:  cha khai ton (Chiang Mai); ta khrai (Kanchanaburi); ta khrai ton (Loei).]; [CHINA: Shān hújiāo, shan ji jiao, shān cāng shù.]; [INDIA: Mejankori(Assamese).]; [INDONESIA: Sambal.]; [SWEDISH: Kubeba-lager.]; [TAIWAN: Mǎ gào.].
ชื่อวงศ์---LAURACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน เอเชียตะวันออก อินเดีย อินโดจีน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษาจีน “litse” หมายถึงผลคล้ายผลพลัมขนาดเล็ก
ประเทศจีน ,อินโดนีเซีย ,ไต้หวันและส่วนอื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในป่าโปร่ง ป่าทึบและตาม ริมน้ำที่ระดับความสูง 300 - 3,200 เมตร
ไม้ เนื้ออ่อนกึ่งผลัดใบสูง 10-12 เมตร ลำต้นเกลี้ยงหรือมีขนบางอ่อนนุ่ม ใบรูปไข่ 4-11 × 1.1–2.4 ซม. เรียงสลับ ใบแก่บางไม่มีขน ด้านล่างมีสีนวลเทา เส้นข้างใบนูนเด่นขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบ ยาว0.6-2 ซม. ดอกสีเหลืองสดออกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม4-6ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.8-1 ซม. สีน้ำตาลอมเหลือง มี 6 กลีบ ผลสีเขียวอมเหลืองเมื่อสุกสีดำ ฉ่ำน้ำเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม
การใช้ประโยชน์--- พืชมักจะใช้ในยาแผนโบราณ ใช้ในระบบยาอายุรเวท และยาจีนโบราณ เป็นแหล่งของเครื่องปรุงอาหารน้ำมันหอมระเหยและไม้ มันได้รับการปลูกในเชิงพาณิชย์โดยเฉพาะในประเทศจีนญี่ปุ่นอินโดจีนและชวา ผลิตน้ำมันหอมระเหยที่มีการซื้อขายระหว่างประเทศ
-ใช้เป็นอาหาร ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ถูกนำมารับประทานหรือใช้เป็นเครื่องปรุงสำหรับชงชา ผลไม้กินเป็นอาหารเคียงกับผักและเป็นสิ่งที่ใช้กันทั่วไปแทนพริกไทย  ผลไม้เปลือกไม้และใบไม้มักจะถูกใช้โดยชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยเป็นส่วนผสมแกงในจานที่เรียกว่า 'แกงเหนือ'
-ใช้เป็นยา  มีคุณสมบัติต้านเชื้อราและเชื้อโรคหลายชนิด ใบใช้สำหรับรักษาโรคผิวหนัง เปลือกและรากใช้รักษาไข้ ผลเป็นเครื่องเทศ และเป็นยารักษาโรคกระเพาะ
ในน้ำมันหอมระเหยน้ำมันจะใช้รักษาสิว ต่อต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวและกำจัดสิว และโรคผิวหนังและเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลและความเครียด รักษาโรคทางเดินอาหารอาการปวดหลังและโรคหอบหืด ในกาลิมันตันตะวันออกจะใช้ผลไม้และเปลือกไม้เป็นยารักษาโรคในช่องปากและทาเฉพาะที่สำหรับทารกและผู้ใหญ่ กรณีเป็นไข้ ปวดท้อง ปวดหน้าอกและเป็นยาชูกำลัง นอกจากนี้ยังเป็นยาถอนพิษในการรักษาอาการเมา รากแห้งมีการใช้กันมานานเป็นยาพื้นบ้านในการแพทย์แผนจีนใช้รักษาโรคไขข้อ
-วนเกษตร  เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตรวดเร็วสามารถใช้เป็นสายพันธุ์บุกเบิกได้เมื่อเรียกคืนป่าด้วยความหลากหลายของการใช้จะเป็นทางเลือกที่ดีเมื่อสร้างสวนป่า ถูกใช้ปลูกเป็นสายพันธุ์บุกเบิกในภาคเหนือของประเทศไทยในโครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูป่าไม้พื้นเมือง - ปลูกในป่าเสื่อมโทรมและพื้นที่เปิดโล่งผสมกับสายพันธุ์อื่น ๆ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว สร้างร่มเงาที่หนาแน่นและปราบวัชพืช ดึงดูดสัตว์ป่าที่กระจัดกระจายโดยเฉพาะนกและค้างคาว
-ใช้อื่น ๆ น้ำมันจากผลและใบ ใช้ในงานอุตสาหกรรมและยา  บางครั้งใช้ไม้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์และงานฝีมือ
ขยายพันธุ์ เมล็ด ตอนกิ่ง


แตงกวา/Cucumis sativus


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cucumis sativus L.
ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms
---Cucumis esculentus Salisb.
---Cucumis hardwickii Royle
---Cucumis muricatus Willd.
---Cucumis rumphii Hassk.
---Cucumis sativus f. hardwickii (Royle) W.J.de Wilde & Duyfjes
---Cucumis sativus var. xishuangbannanensis J.Qi & Z.Yuan ex S.S.Renner
ชื่อสามัญ---cucumber
ชื่ออื่น---แตงเห็น, แตงอ้ม (เชียงใหม่); แตงกวา (ทั่วไป); แตงขี้ไก่, แตงขี้ควาย, แตงช้าง, แตงร้าน (ภาคเหนือ); แตงปี, แตงยาง (แม่ฮ่องสอน); ตาเสาะ (เขมร) ; [THAI: taeng hen, taeng om (Chiang Mai); taeng kwa (General); taeng khi kai, taeng khi khwai, taeng chang, taeng ran (Northern); taeng pi, taeng yang (Mae Hong Son); ta-so (Khmer).]; [ASSAMESE: tiyoh, tihu.]; [BENGALI: sasa.]; [BURMA: thakhwa.]; [CAMBODIA: trâsâk.]; [CHINA: gu gua, huang gua.]; [HINDI: khira.]; [INDONESIA: ketimun, mentimun (Javanese).]; [KANNADA: sautekayi.]; [LAOS: tèèng.]; [MALAYALAM: vellari.]; [MARATHI: kakadi, kankadi, khira, tavashi.]; [NEPALI: kankro, khiro.]; [PHILIPPINES: pipino (Tagalog).]; [SANSKRIT: alpanah, alpanakah, charbati, irvaaruh, kshirakah.]; [TAMIL: vellari.]; [TELUGU: dosa, kira.].
ชื่อวงศ์---CUCURBITACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ทั่วทุกทวีป
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณเชิงเขาหิมาลัยตอนใต้ของเอเชีย สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ที่มีฤดูการปลูกที่อบอุ่นและยาวนานจากเขตอบอุ่นไปจนถึงเขตร้อนซึ่งพบได้ที่ระดับความสูง 2,000 เมตร
เป็นไม้เถาเลื้อย ใบบางส่วนเป็นมือม้วนงอจับไม้ค้างหรือนั่งร้าน ลำต้นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุม เลื้อยได้ไกล 3-5 เมตร มีรากแก้ว ก้านใบยาว 5-20 ซม.ใบเดี่ยว 7-20 ซม. × 7-15 ซม.รูปฝ่ามือ 3-5 แฉก ดอก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมียบนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก ดอกเพศเมียมีสีเหลืองพบเป็นดอกเดี่ยวเห็นรังไข่ได้ชัดเจน ผลยาวทรงกระบอกปลายสอบอาจยาวได้ถึง 60 ซม. ผลอ่อนมีหนามขนาดเล็กเห็นได้ชัดเจน พบทั้งที่มีหนามสีขาวและสีดำ  เมล็ดรูปไข่รูปขอบขนานขนาด 8-10 มม. x 3–5 มม.
การใช้ประโยชน์--- เป็นที่รู้จักกันดี ปลูกโดยทั่วไปสำหรับผลที่กินได้ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก
-ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อนและลำต้น - ดิบหรือสุกเป็น potherb ผล - ดิบหรือปรุงสุกกินเป็นผัก น้ำมันจากเมล็ด ลักษณะคล้ายน้ำมันมะกอกใช้ทำน้ำสลัดและอาหารฝรั่งเศส
-ใช้เป็นยา สรรพคุณในการช่วยบำรุงรักษาผิวให้มีความชุ่มชื้น  ผลไม้สดจะใช้ภายใน ในการรักษาผิวที่เป็นสิวผดผื่นความร้อน ใช้ภายนอกเป็นยาพอกสำหรับแผลไฟไหม้ ฯลฯ
แตงกวามีคุณสมบัติออกฤทธิ์เย็น สามารถช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกายและช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น นอกจากนี้แตงกวายังมีสรรพคุณเป็นยา ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด กระหายน้ำ ส่วนใหญ่นิยมนำน้ำแตงกวามาใช้ดื่มเพื่อให้ความสดชื่น แก้ร้อนในบรรเทาอาการเจ็บคอและช่วยขจัดของเสียตกค้างในร่างกาย ส่วนรากแตงกวาสามารถนำเอามาแก้อาการท้องเสีย บิด
-ใช้อื่น ๆ ใช้กับผิว เป็นเครื่องสำอางทำความสะอาดผิวให้นุ่มและขาว เยาว์วัย และเพื่อให้ใบหน้ามีความสดใส สารสกัดต่าง ๆ ของพืชถูกนำมาใช้เป็นสารทำให้ผิวนวลและครีมบำรุงผิวในการเตรียมเครื่องสำอางเพื่อการพาณิชย์-เปลือกแตงกวาใช้ขับไล่แมลงสาบ
ขยายพันธุ์---เมล็ด


แตงโม/Citrullus lanatus


ชื่อวิทยาศาสตร์---Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum & Nakai
ชื่อพ้อง---Citrullus vulgaris Schrad.
---Basionym: Momordica lanata Thunb
ชื่อสามัญ---Watermelon, Afghan-melon, Bastard-melon, Dessert watermelon.
ชื่ออื่น---แต่เต้าส่า (แม่ฮ่องสอน); แตงโม (ภาคกลาง); แตงจีน(ภาคใต้); มะเต้า (ภาคเหนือ); อุลัก (เขมร-บุรีรัมย์); [THAI: tae-tao-sa (Mae Hong Son); taeng mo (Central); taeng chin (Peninsular); ma tao (Northern); u-lak (Khmer-Buri Ram).]; [ASSAMESE: Tarmuj.]; [BENGALI: Tormuj.]; [CAMFODIA: 'öö'wllök.]; [CHINESE: Choei Koa, Shi Yong Xi Gua, Ts´ing Teng Koa, Shi yong xi gua; Xi gua.]; [FRENCH: Melon d'eau, Pastèque.]; [GERMAN: Wasser-Melone, Wassermelone.]; [HINDI: Tarbooz.]; [INDONESIA: Semangka, Cimangko.]; [ITALIAN: Cocomero, Melone D´acqua, Pastecca.]; [JAPAN: Suika.]; [KANNADA: Kallangadi Balli.]; [KOREA: su bak.]; [LAOS: Môô, TèngMôô.]; [MALAYSIA: Tembikai, Mendikai.]; [MARATHI: Kadu Vrindavana.]; [NAMIBIA: Kwanyama.]; [PHILIPPINES: Pakwan (Tagalog), Sandiya (Bicol), Dagita (Marinduque).]; [PORTUGUESE: Melancia.]; [SOUTH AFRICA: Waatlemoen.]; [SPANISH: Albudeca, Sandía, Melon de agua, Patilla.]; [SWEDISH: Vattenmelon.]; [TELUGU: Eriputccha.]; [TURKISH: Karpuz.].
ชื่อวงศ์---CUCURBITACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทะเลทรายคาลาฮารีตอนเหนือของทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---เขตอบอุ่นทั่วโลก
ไม้เถา มีมือเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน มีรอยหยักเว้าแบบนิ้วมือ 3-7 แฉก แต่ละแฉกมีรอยหยักเว้าตื้นๆ แบบขนนก ผิวใบเป็นรอยขรุขระ ดอกเดี่ยว แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้ก้านดอกเล็กมีขนนุ่ม กลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีขนอ่อนนุ่ม กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ผลกลมหรือค่อนข้างกลม ผิวเรียบ สีเขียวแก่ หรือเขียวอ่อน หรือเขียวแก่และเขียวอ่อนสลับกันภายในมีเนื้อสีแดง รสหวาน ฉ่ำน้ำ เมล็ดมีจำนวนมาก รูปไข่ แบน ผิวเรียบ สีน้ำตาลเข้ม
-ใช้เป็นยา ราก แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ร้อนในกระหายน้ำ เปลือก แก้ปวดฟัน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ ผล แก้ร้อนใน บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ แก้อ่อนเพลีย เมล็ด ขับพยาธิ
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ถั่วเขียว/Vigna radiata

ชื่อวิทยาศาสตร์---Vigna radiata (L.) R.Wilczek
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms    
---Phaseolus aureus Roxb.
---Basionym: Phaseolus radiatus L.
ชื่อสามัญ---Mung bean, Mung, Moong bean, Green bean.
ชื่ออื่น---ถั่วเขียว (ทั่วไป); ถั่วจิม (เชียงใหม่); ถั่วดำเม็ดเล็ก, ถั่วทอง (ภาคกลาง); ถั่วมุม (ภาคเหนือ) ; [THAI:  thua khiao (General); thua chim (Chiang Mai); thua dam met lek, thua thong (Central); thua mum (Northern);[AZERBAIJANI: Atly Lobya.];[CHINESE: Lǜ dòu.];[FRENCH: Ambériqueม Bourbour, Haricot Dore, Pois De Yeruzalem.];[GERMAN: Mungbohne, Jerusalembohne.];[HINDI: Moong.];[INDONESIA: Kacang ijo [Javanese];Kacang hijau.];[ITALIAN: Fagiolo mungo.];[JAPANESE: Enari, Ryokutō.];[KOREA: Nogdu.];[MALAYALAM: Ceṟupayar.];[PHILIPPINES: Monggo, Munggo (Tagalog).];[PORTUGUESE:  Feijão-da-china, Feijão-mungo.];[SINHALESE: Bu-me, Mun, Mun-eta.];[SPANISH: Frijol mungo, Judía de mungo, Poroto chino.];[SWEDISH: Mungböna.];[TAMIL: Chiruppayaru, Pani-payir.][TELUGU: Pesalu.];[VIETNAM: Đậu xanh.].
ชื่อวงศ์--- FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ประเทศอินเดียและเอเชียกลาง
เขตกระจายพันธุ์---พม่า ไทย ศรีลังกา ปากีสถาน อิหร่าน จีน และในภาคตะวันออกของอดีตสหภาพโซเวียต
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาลี Domenico Vigna (1577-1647)


มีต้นกำเนิดมาจากอนุทวีปอินเดีย ที่ซึ่งมันถูกเพาะพันธุ์ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ถั่วเขียวที่เพาะปลูกได้แพร่ไปสู่เอเชียใต้และตะวันออก, แอฟริกา, ออสเตเรียเซีย, อเมริกาและหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ตอนนี้แพร่หลายไปทั่วเขตร้อนและพบได้จากระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,850 เมตรในเทือกเขาหิมาลัย
พืชล้มลุกอายุสั้นราว 65-70 วัน ลำต้นตั้งตรงเป็นพุ่ม สูงประมาณ 30-120 ซ.ม. ลำต้นแตกแขนงที่บริเวณโคนและส่วนกลาง ใบเป็นใบประกอบแบบใบย่อย 3 ใบ เกิดแบบสลับอยู่บนลำต้น มีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป ดอก ออกเป็นช่อ แบบช่อกระจะ มีดอกย่อยอยู่หนาแน่น ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-25 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือสีขาว หรือสีม่วงมีกลีบ 5กลีบ ฝักรูปร่างกลมยาว อาจมีความยาวถึง 15ซม. ปลายฝักอาจโค้งงอเล็กน้อย เมื่อฝักแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวนวล สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ โดยในฝักหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10-15 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตในดินหลากหลายชนิด แต่ชอบดินที่มีการระบายน้ำดีหรือดินร่วนปนทรายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 5- 8 ค่อนข้างทนต่อดินเค็ม ทนต่อความแห้งแล้ง
ใช้ประโยชน์---ถั่วเขียวเป็นเมล็ดพืชตระกูลถั่วที่กินได้ที่สำคัญในเอเชีย (อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก)และในยุโรปใต้และทางใต้ของสหรัฐอเมริกา เมล็ดที่แก่แล้วจะให้แหล่งโปรตีนที่ย่อยสลายได้สำหรับมนุษย์
-ใช้กิน ถั่วเขียวปรุงสดหรือแห้ง  ทำเป็นแป้งซุปโจ๊กของขบเคี้ยวขนมปังก๋วยเตี๋ยวและไอศครีม ถั่วเขียวสามารถนำมาแปรรูปเป็นวุ้นเส้น, เส้นก๋วยเตี๋ยว- เมล็ดงอก "ถั่วงอก" ในภาษาอังกฤษและเรียกว่า "germes de soja" หรือ "pousses de soja" ในภาษาฝรั่งเศสใช้กิน- ฝักอ่อนและใบอ่อนจะถูกกินเป็นผัก
-ใช้เป็นยา เมล็ด มีสรรพคุณช่วยขับร้อน ถอนพิษ ขับของเหลวในร่างกาย บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต รักษาอาการกระหายน้ำ ไตอักเสบ หรือลำไส้อักเสบ ไข้หวัด ผื่นคัน เบาหวาน รักษาพิษจากพืชและสารหนู ช่วยทำให้ เจริญอาหาร เมล็ดถั่วขึยวต้มแล้วกินเป็นยาขับปัสสาวะ สำหรับคนที่เป็นโรคเหน็บชา เมล็ดถั่วเขียวที่ดิบ หรือต้มสุกแล้วใช้ตำพอก บ่มให้ฝีสุก
-วนเกษตร ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินควบคุมการกัดเซาะหรือการทำให้ทรายเสถียรและใช้เป็นปุ๋ยพืชสด
-อื่น ๆใช้เลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ฟาง, ฟางหรือหญ้าหมัก
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ถั่วพู/Psophocarpus tetragonolobus


ชื่อวิทยาศาสตร์---Psophocarpus tetragonolobus (Linn.) DC.
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
---Botor tetragonoloba (L.) Kuntze
---Dolichos ovatus Graham
---Dolichos tetragonolobus L.
ชื่อสามัญ---Goa bean, Winged pea, Four-angled bean, Four-cornered bean, Manila bean, Dragon bean, Princess Bean, Wing Bean, Winged Bean, Short-day asparagus pea.
ชื่ออื่น---ถั่วพู (ทั่วไป); บอบ่ะปะหลี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; [THAI: thua phu (General); bo-ba-pa-li (Karen-Mae Hong Son).];[BURMESE: e saung ya, Hto pong, Ku bemya.]; [CHINESE: Si leng dou, Si jiao dou.]; [DUTCH: Ketjipir.];[FRENCH: Pois asperge, Pois carré, Haricot ailé, Pois ailé.]; [GERMAN: Flügelbohne.];[HINDI: Chaukoni sem.]; [ITALIAN: Fagiolo quadrato.];[JAPANESE: Shikaku mame, Tousai, Urizun.]; [KHMER: Prâpiëy.];[LAOS:Thwàx ph'uu.]; [MALAYSIA: Kecipir, Kethipir, Ketjeepir, Kachang botol, Kacang kelisa.];[PHILIPPINES: Kalamismis, Segidilla, Sigarilyas, (Tag.); Kabey (Bis.).][PORTUGUESE: Fava de cavalo.];[SINHALESE: Dara-dambala.];[SPANISH: Dólico de Goa, Frijol alado, Judia careta, Calamismis.];[SWEDISH: Vingböna.];[VIETNAMESE Dau rong.].
 ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ --ไทย ลาว พม่า อินเดีย ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ประเทศในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ไม้ ล้มลุกเลื้อยพัน เลื้อยได้ไกล  3-4 เมตร มีรากสะสมอาหารเป็นหัวใต้ดิน ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ดอกช่อออกที่ซอกใบรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงินหรือสีขาว ผลเป็นฝักแบนมีครีบ4ครีบตามยาว เมล็ดสีขาว สีน้ำตาลแกมเหลืองหรือดำ
เงื่อนไขการเติบโต---เติบโตได้ดีที่สุดในตำแหน่งที่มีแดดจัด ชอบดินร่วนปนดินที่มีกรดเล็กน้อย pH ในช่วง 5.5 - 7 ซึ่งทนได้ 4.3 - 8.5
การใช้ประโยชน์---พืชอเนกประสงค์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งที่ปลูกเป็นพืชอาหารในเขตร้อน ใช้เป็นอาหารและยา
-ใช้กิน พืชทั้งหมดกินได้  ใบไม้ดอกไม้และรากก็กินได้เช่นกัน เมล็ดอ่อน ใช้ในซุป - ฝักอ่อนกินดิบหรือใส่ในสลัด - ดอกไม้กินดิบหรือปรุงสุก รสหวานเพิ่มในสลัด - ใบอ่อนสามารถดองหรือเตรียมเป็นผักเช่นผักโขม - ใบและยอดอ่อน, ดิบหรือปรุงสำเร็จ เป็นแหล่ ของวิตามิน A และ C, แคลเซียมและธาตุเหล็ก - เมล็ดคั่วใช้แทนกาแฟ
-ใช้เป็นยา ตำรายาไทยใช้หัวใต้ดินรสขมขื่นเล็กน้อย บำรุงกำลังแก้อ่อนเพลีย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น การศึกษาได้แนะนำใช้เป็นยาต้านจุลชีพ, ต้านการอักเสบ, สารต้านอนุมูลอิสระ, ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด
-วนเกษตร ใช้สำหรับการปรับปรุงดินและฟื้นฟู ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนได้ดีเยี่ยม
-อื่น ๆ เป็นแหล่งอาหารที่มีศักยภาพสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์ปีก ปลาและปศุสัตว์อื่น ๆ
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ถั่วฝักยาว/Vigna unguiculata sesquipedalis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Vigna unguiculata sesquipedalis (L.) Verdc
ชื่อพ้อง ---Has 3 synonyms
---Basionym: Dolichos sesquipedalis L.
---Vigna sesquipedalis (L.) Fruwirth.
---Vigna sinensis sesquipedalis (L.) Van Eselt.
ชื่อสามัญ---Yardlong bean, Bora, Bodi, Long-podded Cowpea, Asparagus bean, Pea bean, Snake bean, Chinese long bean.
ชื่ออื่น---ถั่วไส้หมู, ถั่วชิ้น, ถั่วดอ, ถั่วปี, ถั่วสายเสื้อ, ถั่วหมาเน่า, ถั่วหลา (ภาคเหนือ); ถั่วฝักยาว (ทั่วไป); ถั่วพุงหมู (ปราจีนบุรี) ; [THAI: thua sai mu, thua chin, thua do, thua pi, thua sai suea,  thua ma nao, thua la (Northern); thua fak yao (General); thua phung mu (Prachin Buri).]; [ARABIC: Lubya baladi.]; [CHINESE:  Dou jiao, Hong dou, Chang jiang dou, Dau gok, Dou jiao, Jiang dou, Cheung kung tau.]; [FRENCH: Dolique asperge, Dolique géante, Haricot kilomètre, Haricot asperge.]; [GERMAN: Spargelbohne, Langbohne.]; [INDIA: Eeril.]; [ITALIAN: Fagiolo asparago, Fagiolo gigante.]; [JAPANESE: Juuroku sasage]; [KHMER: Sandaek troeung.]; [MALAY: Kacang belut, Kacang panjang, Kacang tolo.]; [PHILIPPINES: Sitaw, Sitao (Tag.); Hamtak, Banor (Bis.).]; [PORTUGUESE: Feijao-chicote, Feijao-espargo, Dolico gigante.]; [RUSSIAN: Boby sparzhevye, Metrovye boby.]; [SPANISH: Dolico esparrago, Judía espárrago, Poroto esparrago, Dólico gigante.]; [VIETNAMESE: Dau dua, Dau giai ao.].
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ไม่แน่นอน
เขตกระจายพันธุ์---เขตอบอุ่นของเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนใต้ของประเทศจีน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาลี Domenico Vigna (1577-1647)
ช่วงดั้งเดิมนั้นไม่แน่นอนอาจเป็นเขตร้อนของแอฟริกา กระจายไปในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ไม่เป็นที่รู้จักในป่า สามารถปลูกได้ในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร
ถั่ว ฝักยาวเป็นไม้เถา ลำต้น มีขนเล็กน้อย เถาแข็งและเหนี่ยว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6 -10 ซม. ดอก เป็นดอกช่อออกตามซอกใบกลีบดอกคล้ายผีเสื้อมี สีขาว หรือม่วงอ่อน หรือสีขาวออกเหลืองผลหหรือฝัก กลม เล็กเรียวยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 - 1 ซม. ยาว 20 - 80 ซม. มีหลายเมล็ด รูปไตยาว 9 - 12 มม.
เงื่อนไขการเติบโต---ต้องใช้ตำแหน่งที่มีแดด ประสบความสำเร็จในดินหลากหลายตั้งแต่ดินร่วนปนทรายจนถึงดินเหนียวตราบใดที่มีการระบายน้ำดี นอกจากนี้ยังเจริญได้ดีในดินเลนพืชสามารถทนเค็มในระดับปานกลางในดิน ต้องการ pH ในช่วง 5.5 - 7 ซึ่งทนได้ 4.3 - 7.5
ใช้ประโยชน์---พืชมักจะปลูกเพื่อเมล็ดและฝักที่กินได้และใช้เป็นยาในท้องถิ่น
-ใช้กิน ฝักดิบหรือสุก สามารถใช้ในสลัดผัดผัดนึ่งและใช้เป็นผัก ใบอ่อนและหน่ออ่อน - ปรุงและใช้แทนผักโขม เมล็ดแห้งคั่วสามารถใช้แทนกาแฟได้
-ใช้เป็นยาใบ รักษาหนองในหรือปัสสาวะเป็นหนอง ฝักระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอวและแผลที่เต้านม เมล็ดในฝักมีรสชุ่มเป็นยาบำรุงม้ามและไตแก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกระปริบกระปรอยและตกขาว รากนำมา เผาไฟให้เป็นเถ้าเกรียม แล้วนำมาบดให้เป็นผง ผสมทารักษาฝีเนื้อร้าย จะช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น หรือใช้รากสดนำมาต้มเคี่ยวให้งวด ใช้น้ำกินรักษาหนองในที่มีหนองไหล ใบที่บดแล้วจะใช้เป็นยาพอกรักษากระดูกหัก
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ถั่วลิสง/Arachis hypogaea

ชื่อวิทยาศาสตร์---Arachis hypogaea L.
ชื่อพ้อง ---Has 15 Synonyms
---Arachidna hypogaea (L.) Moench
---Arachis africana Lour.
---Arachis americana Ten.
---Arachis asiatica Lour.
---Arachis guaraniana Bertoni
---Arachis hypogaea var. aequatoriana Krapov. & W.C.Greg.
---Arachis hypogaea subsp. fastigiata Waldron
---Arachis hypogaea subsp. nambyquarae (Hoehne) A.Chev.
---Arachis hypogaea var. nambyquarae (Hoehne) Burkart
---Arachis hypogaea f. nambyquarae (Hoehne) F.J.Herm.
---Arachis hypogaea var. peruviana Krapov. & W.C.Greg.
---Arachis hypogaea subsp. procumbens Waldron
---Arachis nambyquarae Hoehne
---Arachis oleifera A.Chev.
---Arachis rasteiro A.Chev.
ชื่อสามัญ ---Goober, Groundnut, Monkey Nut, Peanut, Peanuts, Virginia Peanut.
ชื่ออื่น ---ถั่วใต้ดิน (ภาคใต้); ถั่วคุด (ประจวบคีรีขันธ์); ถั่วดิน (ภาคกลาง,ภาคเหนือ)); ถั่วยี่สง, ถั่วลิสง (ภาคกลาง) [THAI: thua tai din (Peninsular); thua khut (Prachuap Khiri Khan); thua din (Central, Northern); thua yisong, thua lisong (Central).];[FRENCH: Arachide; Cacahouète.]; [GERMAN: Erdnuss.]; [ITALIAN: Brustolini Americani.]; [SPANISH: Cacahuete.].
ชื่อวงศ์-- FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่ลุ่มน้ำอเม
เขตกระจายพันธุ์--เขตร้อน


ไม้ ล้มลุกอายุหนึ่งปี ตั้งตรงหรือทอดราบกับพื้นบางส่วน สูงได้ถึง 30 เซนติเมตร ใบเรียงสลับ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2 คู่ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1-7 เซนติเมตร รูปไข่กลับหรือรูปรี เกลี้ยง หรือมีขนด้านท้องใบประปราย หูใบยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร รูปใบหอกแกมรูปแถบ ดอกออกตามซอกใบ กลีบคลุมยาวได้ถึง 1.5 เซนติเมตร สีเหลือง เส้นใบแดงเมื่อติดผล ผลกว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว ประมาณ 6 เซนติเมตร ก้านชูเกสรเพศเมียยื่นยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร แทงลงในพื้นดิน ผลเป็นฝักแบบถั่ว ผนังผลหนาแข็ง เมล็ดรูปไข่ เมล็ด 1-3 ต่อฝัก
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ก้านและใบ ใช้สดและแห้งถ้าสดใช้ประมาณ 40 กรัม ถ้าใช้แห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกินน้ำหรือใช้ภายนอกตำพอกรักษาแผลหกล้มกระทบกระแทกหรือแผลที่มีหนอง เรื้อรังใช้กินเป็นยาลดความดันโลหิตสูง เมล็ดแห้งประมาณ 60-100 กรัม นำมาบดชงหรือต้มกินจะมีรสชุ่มหล่อลื่นปอดรักษาอาการไอแห้ง ๆ บำรุงกำลัง บำรุงน้ำนมในสตรีหลังคลอดที่มีน้ำนมน้อย สมานกระเพาะอาหารและในเมล็ดนั้นจะมีน้ำมันประมาณ 40-50% สารประกอบพวกที่มีไนโตนเจน เซลลูโลส แห้ง เถ้า และพวกวิตามินต่าง ๆ สารไนโตรเจนนอกจากจะเป็นโปรตีนแล้วยังมีพวกกรดอมิโน อัลคาลอยด์ และวิตามินได้แก่วิตามินบีหนึ่ง น้ำมันจากเมล็ด ใช้ประมาณ 30-60 มล. นำมาผสมกินจะมีรสชุ่ม เป็นยาระบาย หล่อลื่นลำไส้ ถ้าใช้ภายนอกให้ใช้ทาถูนวด นอกจากนี้แล้วน้ำมันในเมล็ดยังประกอบด้วยกรดไขมันและกลีเซอไรด์
ขยายพันธุ์---เมล็ด

เถาขยัน/Lysiphyllum strychnifolium


ชื่อวิทยาศาสตร์---Lysiphyllum strychnifolium (Craib) A.Schmitz
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Bauhinia strychnifolia Craib
ชื่อสามัญ--Hooker's bauhinia, Mountain ebony.
ชื่ออื่น--ขยัน, เครือขยัน (ภาคเหนือ); ย่านางแดง, หญ้านางแดง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); สยาน (ลำปาง, ตาก); [THAI: Ykhayan, khruea khayan (Northern); ya nang daeng (Northeastern); sayan (Lampang, Tak).]
ชื่อวงศ์ ---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
พืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบทางภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง กำแพงเพชร นครสวรรค์ และสุโขทัย ขึ้นหนาแน่นหรือกระจายห่าง ๆ ในป่าเบญจพรรณหรือที่โล่ง ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 300 เมตร
ไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ อายุหลายปี เถามีขนาดเล็กเลื้อยได้ไกลถึง 5 เมตร  ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขนาดของใบกว้าง 3-4 ซม.ยาว 5-8 ซม. ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบ มีมือพันออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ยาวได้ถึง 0.15-1 เมตร สีแดง กลีบเลี้ยงรูประฆัง กลีบดอก5กลีบรูปไข่กลับ มีขนสีน้ำตาลทั้งสองด้าน ดอกขนาด8มม. มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์3อัน ก้านเกสรสีแดงสด ผลเป็นฝักรูปขอบขนานปลายมีจะงอย มี 8-9 เมล็ด
การใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา มีคุณสมบัติทางสมุนไพรเถาหรือรากต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอดขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น เหง้าฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าวหรือต้มดื่ม ใช้กระทุ้งพิษไข้ กินพิษยาเบื่อเมา ยาสั่ง ในการแพทย์แผนไทยใบลำต้นและรากถูกนำมาใช้เพื่อลดไข้และพิษจากแอลกอฮอล์ ก้านนี้ยังถูกนำมาใช้สำหรับการป้องกันการติดเชื้อ HIV-1 ใบและลำต้นใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเพื่อการล้างพิษและรักษาพิษของยาฆ่าแมลงในมนุษย์ พืชชนิดนี้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาไวรัสไข้หวัดใหญ่และเป็นยาปฏิชีวนะ
ชยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง


ทองพันชั่ง/Rhinacanthus nasutus


ชื่อวิทยาศาสตร์     ---Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz
ชื่อพ้อง  ---Has 11 Synonyms

-Justicia gendarussa Macrae ex Nees -Justicia silvatica Nees
-Justicia macilenta E.Mey. -Justicia sylvatica Vahl
-Justicia nasuta L. -Pseuderanthemum connatum Lindau
-Justicia odoratissima Bojer ex Nees -Rhinacanthus macilentus C.Presl
-Justicia rottleriana Wall. -Rhinacanthus osmospermus Bojer ex Nees
-Rhinacanthus rottlerianus Nees

ชื่อสามัญ---Snake Jasmine, Dainty Spurs, White crane flower,
ชื่ออื่น---ทองคันชั่ง, ทองพันชั่ง, หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง); [THAI: thong khan chang, thong phan chang, ya man kai (Central).]; [BENGALI: Juipana.]; [CHINA: Bai he ling zhi, Pai ho ling chih, Hsuan-tsao.]; [HINDI: Jahipani, kabutar ka phul.];  [INDONESIA: Daun burung (Malay, Ambon), tarebak (Sundanese), tereba jepang (Malay, Jakarta).]; [LAOS: Thong kan sang.]; [MALAYSIA: Chabai emas.]; [MARATHI: Gajakarni.]; [MYANMAR: Anitia.]; [PHILIPPINES: Ibon-ibonan, Tagak-tagak (Tag.).]; [SANSKRIT: Yuthikaparni.]; [SPANISH: Pajarito.]; [SRI LANKA: Aniththa.]; [TAMIL: Nagamalli.]; [TELUGU: Nagamalle.]; [VIETNAM: Kiến cò, Bach hac.].
ชื่อวงศ์---ACANTHACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน จีนตอนใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาดากัสการ์
ถิ่นกำเนิด ศรีลังกา อินเดีย อินโดจีนและจีนตอนใต้ กระจายไปยัง มาดากัสการ์ แอฟริกาตะวันออก เขตร้อนประเทศไทยและภูมิภาคมาเลเซีย (คาบสมุทรมาเลเซีย, Java, Moluccas, ฟิลิปปินส์) พบได้ที่ระดับความสูงไม่เกิน 750 เมตร
ไม้ พุ่มขนาดเล็กสูง 0.5-1 เมตร กิ่งและใบอ่อนมีขนปกคลุมลำต้นมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอก ช่อออกที่ซอกใบ ดอกย่อยโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น2ปาก กลีบดอกสีขาว ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผลเป็นฝักกลมยาว ผลแห้งแตกง่ายภายในมีเมล็ด4เมล็ด
เงื่อนไขการเติบโต---ต้องการแสงแดดเต็มที่ถึงร่มเงาบางส่วน เจริญได้ดีที่สุดในดินที่มีความชื้นและมีการระบายน้ำดี
การใช้ประโยชน์---พืชมักถูกรวบรวมจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น รักษาด้วยสมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก
-ใช้เป็นยา ส่วน ที่ใช้ ใบสดหรือราก ใบรสเบื่อเมาเป็นยาเย็นดับพิษไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไอเป็นเลือด ฆ่าพยาธิกลากเกลื้อนแก้มะเร็ง  ห้ามเลือด รากรสเบื่อเมา ต้มรับประทานแก้พิษไข้ แก้โรคมะเร็ง เรื้อน วัณโรค แก้ผมหงอกจากเชื้อรา ยาไทยใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1สัปดาห์ เอาน้ำทาแก้กลากเกลื้อน
- มาเลย์ใช้น้ำจากรากและใบผสมกับกำยานและกำมะถันเพื่อใช้รักษากลาก - ในMoluccasยอดอ่อนบดในน้ำส้มสายชูใช้รักษาเกี่ยวกับผิวหนังที่เรียกว่า "cascado"- ในไต้หวันพืชใช้รักษาโรคเบาหวานโรคตับอักเสบความดันโลหิตสูงและโรคผิวหนัง- ในอินเดียรากและใบสดตำผสมกับน้ำมะนาวใช้เป็นยาสำหรับกลากและผิวหนังอื่น ๆ ในบางแห่งรากใช้เป็นยาแก้พิษงูกัด (ข้อจำกัด ห้ามใช้กับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง เป็นโรคหัวใจ ความดันต่ำ โรคมะเร็งในเม็ดเลือด.)
ประโยชน์ต่อสุขภาพที่มีค่าและน่าประทับใจที่สุดอย่างหนึ่งคือผลกระทบที่พิสูจน์แล้วเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทเช่นสมองเสื่อมและโรคพาร์กินสัน ส่วนผสมของสารต้านอนุมูลอิสระสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์บางส่วนและกระตุ้นเซลล์ประสาทใหม่ที่จะก่อตัวขึ้นชะลอการลุกลามของโรคเหล่านี้หรือหยุดยั้งทั้งหมด มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อในระดับสูง
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้คลุมดินประดับสวน
-วนเกษตร ใช้ปลูกเพื่อกันการพังทะลายของหน้าดิน
-ใช้อื่น ๆ เมล็ดใช้สำหรับใส่เสื้อผ้าที่มีกลิ่น
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ.

ธรณีสาร/Phyllanthus pulcher

ชื่อวิทยาศาสตร์---Phyllanthus pulcher Wall. ex Mull.Arg.
ชื่อพ้อง ---Has 10 synonyms
---Diasperus pallidifolius Kuntze
---Diasperus pulcher (Wall. ex Müll.Arg.) Kuntze
---Epistylium glaucescens Baill.
---Epistylium phyllanthoides Baill.
---Epistylium pulchrum Baill.
---Phyllanthus asteranthos Croizat
---Phyllanthus lacerilobus Croizat
---Phyllanthus pallidus Müll.Arg.
---Phyllanthus zollingeri var. microphyllus Müll.Arg.
---Reidia glaucescens Miq.
ชื่อสามัญ---Tropical leaf-flower, Dragon-of-the-world.
ชื่ออื่น---เดอกอเนาะ (มาเลย์-นราธิวาส); เสนียด, ว่านธรณีสาร (กรุงเทพฯ); กระทืบยอบ (ชุมพร); ก้างปลา (นราธิวาส); ก้างปลาแดง, ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี); ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์); ก้างปลาดิน, ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช); คดทราย (สงขลา); รุรี (สตูล); [THAI: doe-ko-no (Malay-Narathiwat); sa niat,  wan thorani san (Bangkok); kra thuep yop (Chumphon); kang pla (Narathiwat); kang pla daeng,  khrip yot (Surat Thani); kang pla din,  dok tai bai (Nakhon Si Thammarat); khot sai (Songkhla); trueng ba dan (Prachuap Khiri Khan); ru ri (Satun); [CHINESE: Yun gui ye xia zhu.]; [GERMAN: Schöne Blattblüte.]; [MALAYSIA: Naga buana, saga buana, naga jumat, kelurut tanjung, nohok penuduk, kayu putih, semilit patung.];
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเชีย
เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้ พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ถิ่นกำเนิดประเทศไทย และกระจายไปยังส่วนต่างๆในเอเซีย พบตามป่าหรือริมแม่น้ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 700 - 1,800 เมตรในภาคใต้ของจีน
ไม้ พุ่มสูง30-150ใบประกอบแบบขนนก15-30คู่ กว้าง0.8-1ซม.ยาว1.5-2.5ซม. ก้านใบยาว0.8-1.5ซม.ดอกออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง แยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกที่โคนกิ่ง ดอกเพศเมียมักออกตอนปลายกิ่ง สีเขียวอ่อน โคนกลีบสีแดงเข้ม ก้านดอกยาว ผลเป็นผลแห้งแตกได้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มม. มีสีน้ำตาลและเรียบ
การใช้ประโยชน์---  เป็นพืชผักและเป็นยาในเอเชีย มีคุณสมบัติเป็นยามากมายรวมถึงต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดไข้ บรรเทาอาการปวด ลดความดันโลหิต และแสดงศักยภาพที่ดีในการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทยเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ทั้งต้นต้มน้ำ ดื่มแก้ปวดท้อง ใช้เป็นยาล้างตา ทาผิวหนังแก้ฝี แก้คัน ทาท้องแก้ไข้หรือทาท้องเด็ก ช่วยให้ไตทำงานปกติ ใบตำเป็นยาพอกเหงือกแก้ปวดฟัน พอกฝีแก้บวม หรือนำมาบดเป็นผงผสมพิมเสน ใช้กวาดคอเด็กแก้ตัวร้อน แก้พิษตานซางในเด็ก และช่วยขับลมในลำไส้ด้วย ตำรายาไทย ใช้ใบแห้งบดเป็นผงแทรกพิมเสน กวาดคอเด็กเพื่อลดไข้และรักษาแผลในปาก ภายนอกใช้พอกฝี บรรเทาอาการบวมคัน
-ใช้อื่น ๆ ใน อดีตใช้สำหรับประพรมน้ำมนต์ โดยเฉพาะน้ำมนต์ธรณีสาร แต่ภายหลังหายากจึงใช้ใบมะยมหรือหญ้าคาแทน ว่านนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักสำหรับป้องกันผีร้าย โบราณมักปลูกไว้หน้าบันไดบ้านเพื่อเป็นสิริมงคลและเก็บมาทำยาได้สะดวก
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด

น้ำเต้า/Lagenaria siceraria

ชื่อวิทยาศาสตร์---Lagenaria siceraria (Molina) Standl.
ชื่อพ้อง---Has 21 Synonyms
---Lagenaria leucantha Rusby,
---Lagenaria vulgaris Ser.
---(More)
ชื่อสามัญ---Bottle Gourd, Flower Gourd, Calabash Gourd, Opo squash, Long melon, Suzza melon, Aka calabash.
ชื่ออื่น---คิลูส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); น้ำเต้า (ภาคกลาง); มะน้ำเต้า (ภาคเหนือ) ; [THAI: khi-lu-sa (Karen-Mae Hong Son); namtao (Central); ma namtao (Northern).]; [ASSAMESE: Jati-lao,Pani-lao.]; [BENGALI: lao.]; [CHINESE: hu lu.]; [CZECH: divenice obecná, lagenárie, kalabasa.]; [COSTA RICA: calabaza.]; [FRENCH: calebassier, gourde bouteille.]; [GERMAN: flaschenkürbis, gewöhnlicher flaschenkürbis, kalebasse.]; [HINDI: ghiya, lauki, ujala kaddu.]; [INDIA: dudhi.]; [JAPANESE: hyōtan.]; [KANNADA: sorekayi.]; [KOREA: bag.]; [MALAYALAM: churakka.]; [MARATHI: dudhi bhopala.]; [PAKISTAN: toomba, lauki, kaddu.]; [POLAND: tykwa pospolita.]; [PORTUGUESE: cabaco.]; [SANSKRIT: iksvakuh, shramagni.]; [SPANISH: acocote, cajombre, calabaza, guiro amargo.]; [SWEDISH: flaskkurbits.]; [TAMIL: suraikkaai.]; [TELUGU: sorakaaya.].
ชื่อวงศ์---CUCURBITACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียยุโรปและอเมริกา ประเทศในเขตร้อนชื้นทั่วโลก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อพืชสกุล Lagenaria มาจากคำภาษากรีก, lagenos= "แจกัน"

มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาจากซิมบับเวและมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน และมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อน ที่อยู่อาศัยในที่ ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือพื้นที่ทีถูกรบกวน  ชายฝั่งของแม่น้ำหรือทะเลสาบ สามารถปลูกได้ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,600 เมตร
น้ำเต้าเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่อยู่ใน ตระกูลแตง เป็นหนึ่งในพืชตระกูลแรก ๆ ที่มีหลักฐานการเพาะปลูกย้อนหลังไปราว 13,000 ปีก่อนคริสตกาลในเปรู ลักษณะเป็นไม้เถา ขนาดใหญ่ อาจมีความยาวกว่า 10 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะที่แยกออกเป็น 2 ทาง ใบมีขนาดใหญ่คล้ายรูปหัวใจ ผิวใบ มีขนนุ่มทั้ง 2 ด้านผลมีเนื้อในสีขาวหรือสีเขียวค่อนข้างจะนุ่ม เปลือกมีสีเขียวเป็นลายน้ำเต้ามีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าพื้นบ้าน น้ำเต้าทรงเซียน เปลือกผลของน้ำเต้ามีสีเขียวออกขาว ถ้าไม่เก็บผลไปรับประทานเมื่อปล่อยทิ้งไว้นานเปลือกจะแข็งมีสีน้ำตาล
เงื่อนไขการเติบโต---ชอบตำแหน่งที่มีแดดอบอุ่นที่กำบังจากลม ชอบดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพดี ต้องมีความชื้นในฤดูปลูก ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 7 ซึ่งทนได้ 4.5 - 7.5
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นอาหาร ยาและแหล่งวัสดุ
-ใช้กิน ผลไม้อ่อน - สุก ใช้เป็นผัก ใบและยอดอ่อน - สุกและใช้เป็น potherb ในญี่ปุ่นผิวของผลไม้เส้นยาวมักถูกต้มแช่ในซอสถั่วเหลืองพร้อมน้ำตาลเล็กน้อยและใช้เป็นส่วนผสมของ 'ซูชิ'-น้ำมันที่บริโภคได้นั้นมาจากเมล็ด มันถูกใช้สำหรับการปรุงอาหาร-เมล็ดสุกคั่วกินได้
-ใช้เป็นยา สรรพคุณ ทางสมุนไพร ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการบวมน้ำ ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วงหรือใช้ล้างแผล เมล็ดแก้เจ็บหน้าอก น้ำต้มผลใช้สระผม เปลือกผลใช้สุมหัวทารกแก้ไข้ ผลดิบกินเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่อย่ากินมากจะทำให้อาเจียน น้ำเต้ามีคุณสมบัติและรสชาดที่เย็นจืด บรรเทาอาการร้อนใน แก้กระหายได้ดี ลดไข้ทำให้โล่งศรีษะคลายเครียด น้ำคั้นของน้ำเต้ามีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแผลในกระเพาะอาหาร ยังเป็นยาที่ช่วยเจริญอาหารและเพิ่มกำลังวังชาให้กับร่างกาย สุขภาพจะดีขึ้นหากกินน้ำเต้าเป็นประจำ
-ใช้อื่น ๆ ผลไม้เมื่อแห้งสามารถใช้เป็นภาชนะท่อเขย่ามีเสียงและการใช้งานอื่น ๆ อีกมากมายและเพื่อจุดประสงค์ในการตกแต่งเมื่อมีการประดับประดาอย่างประณีตก่อนขาย
ขยายพันธุ์---เมล็ด

บวบเหลี่ยม/Luffa acutangular

ชื่อวิทยาศาสตร์---Luffa acutangular (L) Roxb.
ชื่อพ้อง---Cucumis acutangulus
ชื่อสามัญ---Angled luffa, Chinese okra, Chinese squash, Dish cloth gourd, Ridged gourd, Sponge gourd, Vegetable gourd, Strainer vine, Ribbed loofah, Silky gourd, Silk gourd,Sinkwa towelsponge.
ชื่ออื่น--เดเรเนอมู, เดเรส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); กะตอรอ (มาเลย์-ปัตตานี); บวบเหลี่ยม (ภาคกลาง); บวบหวาน (แม่ฮ่องสอน); มะนอย, หมักนอย (เชียงใหม่); มะนอยเลี่ยม, มะนอยงู (ภาคเหนือ); [THAI: de-re-noe-mu, de-re-sa (Karen-Mae Hong Son); ka-to-ro (Malay-Pattani); buap liam (Central); buap wan (Mae Hong Son); ma noi, mak noi (Chiang Mai); ma noi liam,  ma noi ngu (Northern).];[ASSAMESE: Jhinga,Jika.];[BENGALI: Titotorai, Titojhinga, Titodhundul.];[CHINESE: Yue Si Gua, Man gua, Si gua, Guang dong si gua.];[CUBA: estropajo.];[FRENCH: Papengaye, Liane torchon.];[HAITI: liane torchon.];[HINDI: Jhimani, Karviturai, Karvitori.];[INDONESIA: Gambas (Java), Hoyong, Ketola, Ketola Sagi, Oyong.];[JAPANESE: tokado-hechima.];[KANNADA: Kahire, Kahi heere, Naaga daali balli.];[KHMER: Ronôông Chrung.];[LAOS: Looy.];[MALAYALAM: Athanga.];[MALAYSIA: Petola Sagi, Petola Sanding.];[MARATHI: Divali, Dadudodaka.];[PHILIPPINES: Patola, Patolang (Tagalog).];[SANSKRIT: Ghantali, Kosataki, Ksweda, Mridangaphalika.];[SINHALESE: Veta Kola, Wetakolu.];[SINGAPORE: Guang Dong Si Gua, Kak Kuey.];[SPANISH: Calabaza De Aristas.];[SWEDISH: kantgurka.];[TAMIL: Peyppirkam, Akacaveni, Akacavenkkoti.];[TELUGU: Adavibira, Chedubira.];[TONGA: Pulu kaukau.];[VIETNAM: Muop khia.].
ชื่อวงศ์---CUCURBITACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดีย เอเชีย ประเทศในเขตร้อนชื้น
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอนุทวีปอินเดีย กระจายในเอเชียกลางและเอเซียตะวันออกไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทั่วไปจะเติบโตได้ถึงระดับความสูง500เมตร
เป็นไม้เถาอายุปีเดียว เถามีความยาว 6-8 เมตร ใช้ยอดเลื้อยพัน เลื้อยได้ไกล1-3 เมตรมีมือเกาะแยกแขนง ใบออกตรงข้ามรูปหัวใจ ขนาดกว้าง5-10ซม.ยาว1-12ซม.ขอบใบหยักเว้าเป็นพูตื้นๆ 5 พู โคนใบเว้าเป็นแฉกลึก ดอกรูปกรวยตื้นออกตามซอกใบ เป็นดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองโคนเชื่อมติดกันปลายแผ่เป็น5กลีบ ขนาดดอก9-15ซม.ผล ของบวบมีเนื้อ รูปทรงกระบอกมีเหลี่ยมนูนขึ้นเป็นสันแข็งตามความยาวผลยาว30-50ซม. เมล็ดมีลักษณะเป็นวงรีรูปหยดน้ำ ยาว 11-12 มม. สีดำ-น้ำตาล ผิวขรุขระ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว อายุ 45-50 วัน หลังหยอดเมล็ด และสามารถเก็บผลผลิตได้เป็นเดือน ถ้ามีการดูแลรักษาที่ดี
เงื่อนไขการเติบโต---เติบโตได้ดีที่สุดในตำแหน่งที่มีแดดจัด พืชประสบความสำเร็จในดินที่ไม่ดี แต่ให้ผลดีที่สุดในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ปลูกในดินที่ระบายน้ำได้ดีและมีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 7 ซึ่งทนได้ 4.5 - 7.5
ใช้ประโยชน์---ผักยอดนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พืชนี้ยังมีการใช้ยาแบบดั้งเดิมต่างๆและใช้เป็นยาฆ่าแมลง มันมักจะได้รับการปลูก เพื่อจุดประสงค์เหล่านี้ในภูมิภาคเขตร้อนของโลก
-ใช้กิน ผลอ่อนสามารถนำมา แกงส้ม หรือนำมาต้มจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงเลียงเรียกน้ำนมให้สตรีหลังคลอดบุตร
-ใช้เป็นยา ใบบวบใช้ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ขับเสมหะ ถอนพิษไข้ แก้ริดสีดวงทวาร ถอนพิษแมลงกัดต่อย แก้คัน ผลบวบบำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้ร้อนใน ระบายท้อง ขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ รากใช้ต้มดื่มแก้อาการบวมน้ำ ระบายท้อง
-อื่น ๆ ผลที่สุกแล้วเมื่อแห้งจะเป็นเส้นใยใช้เป็นฟองน้ำทำความสะอาดตามธรรมชาติ ใช้เป็นแปรงสำหรับขัดผิว หรือใช้ล้างภาชนะปรุงอาหาร -พืชรวมทั้งเมล็ดใช้เป็นยาฆ่าแมลง
ขยายพันธุ์---เมล็ด

บอระเพ็ด/Tinospora crispa


ชื่อวิทยาศาสตร์---Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thomson
ชื่อพ้อง---Has 16 Synonyms

-Chasmanthera crispa (L.) Baill. -Menispermum tuberculatum Lam.
-Cocculus bantamensis Blume -Menispermum verrucosum Roxb.
-Cocculus crispus (L.) DC. -Tinospora gibbericaulis Hand.-Mazz.
-Cocculus rimosus Blume -Tinospora mastersii Diels
-Cocculus verrucosus (Roxb.) Wall. -Tinospora rumphii Boerl.
-Menispermum bantamense (Blume) Spreng. -Tinospora thorelii Gagnep.
-Menispermum crispum L. -Tinospora tuberculata (Lam.) Beumée ex K.Heyne
-Menispermum rimosum (Blume) Spreng. -Tinospora verrucosa (Roxb.) W.Theob.

ชื่อสามัญ---Heavenly elixir.
ชื่ออื่น---เครือเขาฮอ, จุ่งจิง (ภาคเหนือ); เจตมูลหนาม (หนองคาย); เถาหัวด้วน, ตัวเจตมูลยาน (สระบุรี); บอระเพ็ด (ทั่วไป); หางหนู (สระบุรี, อุบลราชธานี) ; [THAI:  khruea khao ho, chung ching (Northern); chetta mun nam (Nong Khai); thao hua duan, tua chetta mun yan (Saraburi); bora phet (General); hang nu (Saraburi, Ubon Ratchathani).];[AYURVEDA: Guduchi, Giloy.];[BANGLADESH: Guloncho-ban, Golonchi.];[CAMBODIA: Bandaul pech.];[CHINESE: Bo ye qing niu dan, Fa leng teng, Da ye ruan jinteng.];[FRENCH: Liane-quinine.];[INDIA: Giloya.];[INDONESIA: Brotawali (Java);  Antawali, Andawali.]; [JAPANESE: Ibottsu fuji.]; [LAOS: Khua kao ho.];[MLAYSIA : Putar wali,  Akar patawali, Akar seruntum, Patawali.]; [PHILIPPINES: Makabuhai (Tag., Bis., Ilk.); Makabuhay (Tag., Ilk.); Taganagtagwag (Tag.,Bis.); Paliaban, Pañgiauban, Taganagtagua, Tagua (Bis.).]; [VIETNAM: Day coc.];
ชื่อวงศ์---MENISPERMACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ตอนใต้ของจีน อินเดีย ศรีลังกา เวียตนาม ลาว ไทย กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

มีการกระจายไปทั่วเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน พบตาม ป่าดิบชื้นและป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร
ไม้เถาเนื้ออ่อนเลื้อยพัน มี รากอากาศคล้ายเชือกเส้นเล็กๆห้อยลงมาเป็นสาย เถาอ่อนสีเขียวผิวเรียบ เถาแก่สีน้ำตาลปนเขียวผิวขรุขระและมีปุ่มกลมนูนขึ้นมาโดยทั่วตลอดรอบๆเถา ยางมีรสขมจัด ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่จนถึงค่อนข้างกลม โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ มีปุ่มใกล้ฐานใบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบบาง ดอก แยกเพศอยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อ ดอกขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว แดงอมชมพู เขียวอ่อน เหลืองอ่อน ติดผลเป็นช่อ มีผลอ่อนจำนวนมากรูปกลมผลอ่อนสีเขียว แก่สีเหลืองเปลือกผลนิ่มมี1เมล็ด    
การใช้ประโยชน์--- พืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ พืชจะถูกรวบรวมจากป่าเพื่อใช้เป็นยา พืชได้รับการปลูก ในประเทศไทย อินเดีย และศรีลังกา
-ใช้เป็นยา มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะแก้มะเร็งเม็ดเลือด แก้ท้องเฟ้อ มดลูกเสีย กินทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นหวัด ตำรายาไทยใช้เถารสขมจัด เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อแก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน รสขมทำให้เจริญอาหาร ใบ นำมาโขลกให้ละเอียดใช้พอกปิดฝี แก้ฟกบวม แก้ปวดแสบปวดร้อน รากนำมาตำผสมมะขามเปียกและเกลือ หรือใส่ในยาดองเหล้า กินครั้งละ1ช้อนชา ช่วยลดไข้ เจริญอาหาร รักษาไข้มาลาเรียขึ้นสมอง หากมีอาการร้อนในและกระหายน้ำ ให้นำเอาเถาบอระเพ็ดตัดเป็นท่อนๆลอกผิวออก และดึงไส้ออก แช่ลงในน้ำซาวข้าวใส่เกลือ นำไปลวกจนกว่าจะหายขม แล้วนำไปเชื่อมกับน้ำตาล ใส่โหลดองกินเป็นประจำ -ในปัจจุบัน องค์การเภสัชกรรมผลิตทิงเจอร์บอระเพ็ด เพื่อใช้แทน Tincture Gentian ซึ่งเป็นส่วนผสมของยาธาตุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ-ในบรูไนพืชจะใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูงเบาหวานและบรรเทาอาการปวดท้อง ในอินโดจีนมีการแช่ลำต้นเพื่อดื่มแก้ไข้ (เมื่อเกิดจากโรคมาลาเรีย)และโรคดีซ่าน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ

บอระเพ็ดพุงช้าง/Stephania suberosa

ชื่อวิทยาศาสตร์---Stephania suberosa Forman
ชื่อพ้อง---Stephania suberosa L.L.Forman
ชื่อสามัญ--Heart leaved moonseed
ชื่ออื่น---กลิ้งกลางดง สบู่เลือดเถาตัวเมีย บอระเพ็ดพุงช้าง (ราชบุรี); [THAI: bora phet phung chang (Ratchaburi).];
ชื่อวงศ์---MENISPERMACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย ประเทศไทย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออก เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย


ไม้เถาอายุหลายปีอยู่วงศ์เดียวกับสบู่เลือด พบครั้งแรกในประเทศไทยที่เขาหินปูนที่บ้านวังขนาย จังหวัดกาญจนบุรี และพบขึ้นกระจายตามเขาหินปูน พระพุทธบาท จังหวัด สระบุรี
ลักษณะมีหัวกลม อยู่เหนือดินอาจมีน้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัมและอาจมีอายุ 100 ปีขึ้นไป โคนต้นมีเปลือกแข็งคล้ายไม้ก๊อกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ลำต้นอ่อนเรียวเรียบ ปลายยอดเรียบและเหี่ยวแห้งในฤดูแล้ง  สูงได้ถึง 4 เมตรหรือมากกว่า ก้านใบยาว 5-17 ซม.ใบเป็นใบเดี่ยว ยาว 9-15 ซม กว้าง 8-14 ซม เด็ดดูที่ใบจะไม่มียางสีแดง ถ้ามียางสีแดงคือเป็นต้นสบู่เลือดหรือเรียกกันว่าสบู่เลือดเถาตัวผู้ (Stephania venosa Spreng.) ดอกออกเป็นช่อ แยกเพศ ออกที่ซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมเหลือง ผลสดกลมมีขนาดเล็ก
การใช้ประโยชน์---ยาสมุนไพรยอดนิยมในประเทศไทยที่พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าและบางครั้งก็ปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาด้วยยา มันยังปลูกโดยชาวสวนผู้เชี่ยวชาญบางคนว่าเป็นไม้ประดับ
-ใช้เป็นยา  มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการแพทย์พื้นบ้านสำหรับการรักษาโรคต่าง ๆ เช่นโรคหอบหืด, วัณโรค, โรคบิด, น้ำตาลในเลือดสูง, มาลาเรีย, โรคมะเร็ง หัวสกัดน้ำมัน เอาไปใช้ทำพิมเสน หรือตากแห้ง แล้ว นำไปต้มน้ำดื่มรักษาโรคเบาหวาน(คนเมือง) หัวใต้ดิน หั่นเป็นแว่น ตากให้แห้งแล้วบดเป็นผงผสมผงหัวไพล และเกลือ รับประทานแก้อาการปวดท้อง จากท้องอืด อาหารเป็นพิษ มีรสขม(คนเมือง)  หัวต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง ขับเสมหะ หรือหั่นเป็นแว่นแล้วตากแห้ง นำมาต้มให้เด็กดื่ม ช่วยลดไข้
ระยะออกดอก---กรกฎาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

บุก/Amorphophallus konjac


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Amorphophallus konjac K.Koch
ชื่อพ้อง---Has 10 synonyms

-Amorphophallus mairei H.Lév. -Conophallus konjak Schott
-Amorphophallus nanus H.Li & C.L.Long -Conophallus konniaku Schott ex Fesca
-Amorphophallus palmiformis Durieu ex Rivière -Hydrosme rivierei (Durand ex Carrière) Engl.
-Amorphophallus rivierei Durand ex Carrière -Proteinophallus rivierei (Durand ex Carrière) Hook.f.
-Brachyspatha konjac (K.Koch) K.Koch -Tapeinophallus rivierei (Durand ex Carrière) Baill.

ชื่อสามัญ---Devil’s tongue, Shade palm, Umbrella arum, Voodoo lily, Snake palm, Elephant yam.
ชื่ออื่น---บุกหูช้าง, บุกโคราช, บุกไ,ข่ บุกเนื้อทรา,ย บักกะเดื่อ, มันซูรัน,; [THAI: buk (General).]; [CHINA: hua mo yu.]; [JAPAN: Kon'nyaku.]; [KOREA : ony gonyak ]; [UKRANIAN:  liliya vudu, zmiyina palʹma, slonyachyy yam.].
ชื่อวงศ์---ARACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศในเอซียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “amorphos” รูปร่างผิดปกติ และ “phallos” อวัยวะเพศชาย ตามลักษณะรูปร่างช่อดอก
มีถิ่นกำเนิดในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนและได้รับการปลูกไปทั่วเขตกึ่งร้อนที่อบอุ่นไปจนถึงเอเชียตะวันออก จากญี่ปุ่นและจีนตอนใต้และพบพบมากที่สุดที่อินโดนีเซียมีมากกว่า80ชนิด
ไม้ ล้มลุกมีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ ใบส่วนมากมีใบเดียว ส่วนมากจักลึกชั้นเดียวหรือสองชั้น หรือแตกสองแขนง ก้านใบยาว ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ ส่วนมากออกเดี่ยว ๆ โคนมีเกล็ดประดับ (cataphylls) ช่วงออกดอกมักทิ้งใบ ก้านช่อดอกคล้ายก้านใบ ช่อดอกสั้นหรือยาวกว่ากาบ ช่วงดอกเพศผู้รูปทรงกระบอกหรือรูปกรวย อยู่ติดช่วงดอกเพศเมียหรือมีดอกที่เป็นหมันคั่น เกสรเพศผู้ 1-6 อัน แกนอับเรณูหนา อับเรณูมีรูเปิดที่ปลายหรือด้านข้าง รังไข่เรียงหนาแน่น มี 1-4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลเม็ดเดียว ปลายช่อเป็นรยางค์ ส่วนมากเรียวยาว ที่โคนหรือทั้งช่อมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันหนาแน่น ผลสด รูปรีหรือกลม เมล็ดรูปรี เปลือกบาง เจริญงอกงามในฤดูฝน พอหนาวก็เหี่ยวพักตัว  
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อนรับประทานได้นิยมต้มกินกับน้ำพริก หัวใต้ดินใส่แกงส้ม
-ใช้เป็นยามีสรรพคุณทางเป็นยาคือ ใช้กัดเสมหะ กัดเถาดานเลือดเป็นก้อน หรือนำไปหุงเป็นน้ำมันใส่แผลกัดฝ้ากัดหนอง หัวบุกมีสารกลูโคแมนแนน เป็นแป้งที่มีเส้นใยมากสามารถดูดน้ำได้มากจนขยายใหญ่กว่าเดิม ถึง30เท่า ใน1ชั่วโมง ทำให้อิ่มเร็ว อุจจาระนิ่ม ถ่ายคล่อง และยังช่วยดูดซับสารพิษ ออกไปกับเส้นใยนั้นทางอุจจาระได้มากและรวดเร็วจึงมีผลลดการเกิดมะเร็งลำไส้ และยังช่วยลดแรงกดดันกระเพาะปัสสาวะทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่ เกิดการอักเสบทำให้การดูดซึมของไขมันและน้ำตาลลดลง จึงใช้ลดน้ำหนัก ลดระดับไขมัน เบาหวาน ใช้เป็นยาแก้โรคท้องมาน แก้ไอ ขับเสมหะ โรคตับ
-ใช้อื่น ๆ บุกสามารถใช้สำหรับอุปกรณ์นวดหน้าซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในเกาหลีและได้รับความนิยมในตะวันตก โดยทั่วไปแล้วนี่คือการใช้ฟองน้ำบุกซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่สามารถใช้กับผิวที่บอบบางซึ่งอาจระคายเคืองได้ง่ายด้วยเครื่องมือขัดผิวที่พบบ่อยมาก (เช่นรังบวบหรือ washcloths) -ในการผลิตกระดาษด้วยมือแบบดั้งเดิมในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดาษย้อมสี
ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า


บุกคางคก/Amorphophallus paeoniifolius

ชื่อวิทยาศาสตร์---Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson
ชื่อพ้อง---Has 30 Synonyms
---Basionym: Dracontium paeoniifolium Dennst.
---Amorphophallus rex Prain
---(More)
ชื่อสามัญ---Elephant foot yam, Elephant yam, Stanley’s water-tub, Whitespot giant arum, Corpse flower, Leopard palm, Stanley's washtub.
ชื่ออื่น---เบีย, เบือ, บุกหนาม, บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน); บุกคางคก (ภาคกลาง, ภาคเหนือ); บุกคุงคก (ชลบุรี); มันซูรัน (ภาคกลาง); หัวบุก (ปัตตานี); [THAI: bia, buea,  buk nam, buk luang (Mae Hong Son); buk khang khok (Central, Northern); buk khung khok (Chon Buri); man suran (Central); hua buk (Pattani).]; [ASSAMESE: Baghraj,Ol/ Ol-kochu,Ol kochu.];[BENGALI: Ol.];[CHINESE: Xie bn yu, Nan xing tou, Nan yu, Ji zhao yu, Chou mo yu, You bang mo yu.];[FRENCH: Gouniah d'Annam.];[GERMAN: Elefantenkartoffel.];[HINDI: Suran, Jamikand, Jimmikand.];[INDONESIA: Suweg.];[MALAYALAM: Chena,Kattuchena.];[MALAYSIAN: Suran, Jimmikand.];[MARATHI: Randraksha.];[NEPALESE: Ole.];[PHILIPPINES: Pungapung, Apong-apong (Tag.); Pamangkilon (Bis.);Tigi-nga-magmanto (Ilk.); Bagong (Bik., Sul.).];[POLISH: Dziwadlo.];[SANSKRIT: Suranah.];[SPANISH: Suran.][VIETNAMESE: Nua chuong.];
ชื่อวงศ์--ARACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---มาดากัสการ์ อินเดีย จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก


ไม้ล้มลุก หัวใต้ดินกลม แบน ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางหัวโตได้ถึง 50 ซม. ใบประกอบแบบแยกแขนง แกนใบประกอบมีปีก ใบย่อยรูปรี ถึงรูปใบหอก หรือแกมรูป ปลายใบแหลมยาว ก้านใบยาวประมาณ 0.3-2 ม. มีตุ่มกระจาย ก้านช่อยาว 3-20 ซม. กาบรูประฆังกว้าง สีเขียวอมแดงถึงน้ำตาลเข้ม มีจุดสีอ่อนกระจาย โคนด้านในมีตุ่มหนาแน่น ขอบย่น โคนม้วนเข้า ช่อดอกสั้นหรือยาวกว่ากาบ ช่อผลรูปทรงกระบอก ยาว 10-50 ซม. ผลย่อยรูปรี ยาว 1.5-2 ซม. สุกสีแดง
การใช้ประโยชน์--- ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในงระบบยาอินเดีย: อายุรเวท , สิทธาและUnani เพื่อใช้รักษาโรคต่าง ๆ-ในอายุรเวท ใช้แบบดั้งเดิมในโรคปวดข้อ, เท้าช้าง, เนื้องอก, ริดสีดวงทวาร, ตกเลือด, อาเจียน, ไอ, โรคหลอดลมอักเสบ, โรคหอบหืด, อาการอาหารไม่ย่อย, อาการจุกเสียด, ท้องผูก, ตับ - ม้ามโต
บุกคางคกเป็นพืชวงศ์เดียวกันกับบุกชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus konjac K.Koch แต่ต่างพันธุ์กัน ซึ่งมีคุณสมบัติและสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกัน และสามารถนำมาใช้แทนกันได้ ; https://medthai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81/
ขยายพันธุ์---เมล็ด

เปล้าใหญ่/Croton oblongifolius


ชื่อวิทยาศาสตร์---Croton oblongifolius Roxb.
ชื่อพ้อง---Croton roxburghii N.P. Balakr.
ชื่อสามัญ---Oblong-leaved croton
ชื่ออื่น--เปล้าหลวง, เปาะ, เปล้าใหญ่ (ภาคกลาง) ; [THAI: plao yai (Central).];[ASSAMESE: Mahunda, Naagadanti.];[AYURVEDIC: Naga Danti.];[BURMESE: Thak-ring, Thetyin-gyi.];[CAMBODIA: Trapung.];[HINDI: Chucka.];[MALAYALAM: Kattupatolam, Koteputol.];[MALAYSIA: Kote,Putol.];[NEPALESE: Ach, Aule.];[SANSKRIT: Bhutamkusam, Bhutankusa, Bhuthalabhairi, Hastidanti (as C. roxburghii).];[TAMIL: Bhutankusam, Milagunari, Milgunari, Millakumari.];[VIETNAM: Lampon, Cù đèn.];
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศอินเดีย เนปาล ภูฎาน บังคลาเทศ ภูมิภาคอินโดจีน พม่า และในประเทศไทย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “kroton” เห็บ ตามลักษณะของเมล็ด


กระจายจากอินเดียผ่านอินโดจีน (รวมถึงประเทศไทย) ไปยังประเทศจีนตอนใต้ มักขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูงไม่เกิน 950 เมตร
ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-8 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล-เทา บางเรียบ หรือมีรอยแตกเล็กน้อย กิ่งก้านแตกเป็นวงรอบ ใบเดี่ยวยาว 9-10 ซม. กว้าง 4-5 ซม.  รูปไข่ แกมขอบขนาน  ขอบใบมีซี่หยักแต่ไม่สม่ำเสมอ ใบอ่อนสีน้ำตาลออกชมพู ใบแก่สีเขียวหม่น ดอกช่อ1-3 ดอก ยาว 15-30 ซม. ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ อาจจะอยู่ในต้นเดียวกันหรือ ต่างต้น กลีบดอก สีเหลืองแกมเขียว เกสรเพศผู้ 10-12 อัน อับเรณูสีเหลือง ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงที่มีเกล็ดขนเล็กๆปกคลุม ผล 9x7-8มม. รูปทรงกลมหรือรี มี 3 พู เหนียว มีเกล็ดเล็กๆห่างๆ เมล็ดมีรูปไข่ สีน้ำตาล มันวาวเล็กน้อย
ใช้ประโยชน์--- ใช้กิน ผลแก่กินได้
-ใช้เป็นยามีสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพร เปล้าใหญ่ มักใช้ร่วมกับเปล้าน้อย เรียกว่าเปล้าทั้งสอง ใบบำรุงธาตุ ดอก-ขับพยาธิ ผลใช้ ดองสุรา ดื่มหลังคลอด เปลือกต้นและกระพี้ ช่วยเจริญอาหาร เปลือกต้นและใบ แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต แก่น เป็นขับพยาธิไสเดือน รากมีสรรพคุณ ช่วยขับเสมหะ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน น้ำเหลืองเสียได้ ในอินเดียผู้คนใช้เปลือกรากผลไม้และเมล็ดเป็นยาแก้งูกัด รากใช้ในการรักษาอาการปวดหลัง, โรคไขข้อ, สี่หวัด, ปวดท้อง บางครั้งใช้เนื้อไม้แทนราก คือการใช้เป็นยาแก้ตะขาบและงูกัด
-อื่น ๆ ไม้นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ส่วนต้นใช้เลี้ยงครั่ง น้ำยางจากใบใช้ทาเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ริมฝีปากในช่วงฤดูหนาว ผลอ่อนใช้ย้อมผ้า
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์-เมษายน/มีนาคม-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

 

เปล้าน้อย/Croton fluviatilis

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Croton fluviatilis Esser.
ชื่อพ้อง---Oxydectes sublyrata (Kurz) Kuntze)
---Croton stellatopilosus Ohba.
---Croton sublyratus Kurz.
ชื่อสามัญ---Thai croton
ชื่ออื่น---เปล้าน้อย,  เปล้าท่าโพ (ทั่วไป) ; [THAI: plao noi, plao tha po (General).];
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พืชถิ่นเดียวของไทย

 

พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันออกที่อุบลราชธานี สุรินทร์ ขึ้นริมลำธารในป่าดิบแล้งที่เป็นดินทราย ที่ระดับความสูง 100-250 เมตร เป็นชนิดเดียวในสกุล Croton ของไทยที่เป็นพืชทนน้ำท่วม (rheophyte)
เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปใบหอกรียาว มีความยาวประมาณ 10-15 ซ.ม.กว้าง 4-6 ซ.ม.ปลายใบแหลม โคนใบเรียว แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ส่วนขอบใบเป็นจักคล้ายซี่ฟันดอกออกเป็นช่อขนาดเล็ก ออกบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อย เป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกเป็นเส้นเมื่อบานแล้วจะโค้งไปด้านหลัง มีประมาณ 10-15 กลีบสีขาวนวล ผลค่อนข้างกลม เปลือกผลเมื่อแห้งมีสีน้ำตาลและแตกได้ง่าย โดยผลจะแบ่งออกเป็นพู 3 พู มีรอยกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ก้นผล ในแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ใบใช้กินเป็นผักกับน้ำพริก ใบสดชงเป็นชาสมุนไพร
-ใช้เป็นยา ตำรายาไทย  ใช้  ใบ รสร้อน แก้คันตามตัว รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี ผล รสร้อน ต้มน้ำดื่ม ขับหนองให้กระจาย ดอก เป็นยาขับพยาธิ เปลือกต้น รสร้อน ช่วยย่อยอาหาร
เปลือกและใบ รักษาโรคท้องเสีย บำรุงโลหิตประจำเดือน รักษาโรคผิวหนัง ราก รสร้อน แก้ลมขึ้นเบื้องบนให้เป็นปกติ แก่น รสร้อน ขับโลหิต แก้ช้ำใน
รู้จักอันตราย--- ในการใช้ยารักษาโรคกระเพาะที่สกัดมาจากเปล้าน้อย (Plaunotol) อาจมีอาการข้างเคียงได้ เช่น ท้องเสีย แน่นท้อง ท้องผูก หรือมีผื่นคัน ดังนั้นในการใช้ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเสมอ
ระยะออกดอก/ ติดผล---กุมภาพันธ์-มิถุนายน/มีนาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ผักชีช้าง/Artemisia sp.


ชื่อวิทยาศาสตร์---Artemisia L.
ชื่อสามัญ---Absinth, Artemisia, Mugwort, Wormwood, Sagebrush.
ชื่ออื่น---ผักชีช้าง (ทั่วไป) ; [THAI: phak chi chang.];
ชื่อวงศ์---ASPARAGACEAE
ถิ่นกำเนิด---อเมริกาเนือ
เขตกระจายพันธุ์---ตะวันออกกลาง จีน ยุโรป
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Artemisia มาจากเทพธิดากรีก Artemis (Roman Diana) ซึ่งเป็นชื่อของราชินีกรีก อาร์เทมิเซีย I และ II


สกุล  อาร์เทมิเซีย  มีประมาณ 200 ถึง 400 สปีชีส์  สปีชีส์ส่วนใหญ่ในสกุลอาร์เทมิเซียนั้นมีคุณค่าสำหรับน้ำมันหอมระเหยหรือเป็นไม้ประดับ สายพันธุ์ Artemisia อาศัยอยู่ในทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศหลายแห่งทั่วโลก
เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ต้นสูงประมาณ 80 ซม. ทุกส่วนเมื่อขยี้มีกลิ่นหอมใบ เป็นเส้นฝอย ออกเวียนรอบกิ่ง  ช่อดอกออกที่ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว เมล็ดมีขนาดเล็ก สีดำ
ชอบดินชุ่มชื้น มีน้ำขังเล็กน้อย แสงแดดรำไรถึงครึ่งวัน สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ หรืออาหารรสจัดต่าง ๆ ช่วยดับกลิ่นคาว
-ใช้เป็นยา สรรพคุณทางสมุนไพร รากนำมาต้มน้ำดื่มแก้โรคเบาหวาน น้ำต้มจากใบใช้อาบแก้ซางเด็ก
ขยายพันธุ์---ปักชำกิ่งหรือเพาะเมล็ด


ผักชีล้อม/Oenanthe javanica


ชื่อวิทยาศาสตร์---Oenanthe javanica (Blume) DC
ชื่อพ้อง---Has 22 Synonyms
---Dasyloma javanicum (Blume) Miq.
---Falcaria javanica (Blume) DC.
---Oenanthe japonica (Miq.) Drude.
---Oenanthe stolonifera Wall.---(more)
ชื่อสามัญ---Water dropwort, Java water-dropwort, Indian- pennywort, Water- celery, Japanese parsley, Chinese-celery.
ชื่ออื่น---จีอ้อ, ผักอัน, ผักอันอ้อ (เชียงใหม่); ผักชีล้อม (กรุงเทพฯ) ; [THAI:  chi o, phak an, phak an o (Chiang Mai); phak chi lom (Bangkok).];[CHINESE: Shui qin.];[FRENCH: Céleri chinois.];[GERMAN: Java-Wasserfenchel.];[JAPANESE: Seri, mitsubaseri]; [INDIA: Jateraa (Meghalaya); Pan-turasi (Bengal).];[KOREAN: mi na ri, minali.][MALAY: Selom, Tespong];[RUSSIA: Omezhnik iavanskii.];[TAIWAN: Shui qui cai.];[VIETNAMESE: Rau cần, Cần nước.].
ชื่อวงศ์---APIACEAE
ถิ่นกำเนิด--- ทวีปเอเซียเอเชีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออก-จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน, เอเชียเขตร้อน-ปากีสถาน, ออสเตรเลีย-ควีนส์แลนด์
มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย - เขตร้อนและเอเชีย - เขตอบอุ่น พบ ทั่วประเทศจีน อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, นิวกินี, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, รัสเซีย, ไทย, เวียดนาม เกิดขึ้น ตามที่น้ำขังตื้น ๆ ทุ่งหญ้า, ชายป่า, หนองน้ำ ทะเลสาบ ชายฝั่งทะเล แม่น้ำลำธาร ที่ระดับความสูง 600–4,000 เมตร.
ลักษณะ ต้นสูง10-80 ซม  ก้านใบยาว5-10 ซม.ใบ 0.5–5 × 0.5–2 ซม.รูปไข่ปลายแหลมขอบใบจักซี่เลื่อย ดอกออกเป็นช่อซี่ร่มสีขาวมีกลิ่นฉุน  ก้านดอก 1.5–4 มม กลีบเลี้ยง 0.5 มม. ดอก 1.2-2 มม.  ผลรูปไข่  2.5 × 2 มม
เงื่อนไขการเติบโต---ต้องใช้ดินที่อุดมสมบูรณ์หรือน้ำตื้นและมีแดดจัด ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 6.5 ทนได้ 4.5 - 7
การใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยารักษาโรค มีการปลูก ในหลายภูมิภาคจากเขตร้อนไปยังเขตอบอุ่นที่เป็นอาหารและขายในตลาดท้องถิ่น มีบางสายพันธุ์ที่มีชื่อ
-ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อนและลำต้น-ดิบหรือสุกกินเป็นผัก ใช้แต่งกลิ่นอาหารคาว เป็นเครื่องเคียงที่ปรุงนึ่งหรือลวก ใช้เป็นเครื่องปรุงรสในซุป ฯลฯ ใบเป็นแหล่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ราก-สุกได้รับความนิยมอย่างสูงในญี่ปุ่น
-ใช้เป็นยา  ยาต้มใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่  ดีซ่านขับปัสสาวะ ลูกผักชีล้อมกินเป็นยาขับลมในลำไส้ ต้มอบไอน้ำรมเข้ากระโจมทั้งตัวรวมกับผักบุ้ง แก้บวม ขับเหงื่อ  แก้เหน็บชา ใบ เคี้ยวกับขิงป่าและเกลือ แบบดั้งเดิมเป็นยาแก้พิษ เป็นยาแผนโบราณที่ได้รับความนิยมในเอเชียแสดงคุณสมบัติทางชีวภาพต่าง ๆ รวมถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  สามารถป้องกันเซลล์ประสาทจากความเสียหายจากการขาดเลือดชั่วคราวและผลต่อระบบประสาท
-วนเกษตรใช้เป็นพืชคลุมดินที่ดีสำหรับพื้นที่เปียกชื้น สายพันธุ์ที่แตกต่าง 'Flamingo' ได้รับการแนะนำโดยเฉพาะ
รุ้จักอันตราย---แม้ว่าจะไม่มีการกล่าวถึงความเป็นพิษที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสายพันธุ์นี้ แต่มันเป็นของพืชสกุลที่มีพิษสูงมากดังนั้นจึงควรใช้ความระมัดระวัง
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ


ผักเชียงดา/Gymnema inodorum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Gymnema inodorum (Lour.) Decne.
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms
---Basionym: Cynanchum inodorum Lour.
---Gymnema syringifolium (Decne.) Boerl.
---Gymnema tingens Roxb. ex Spreng.
---Parsonsia inodora (Lour.) M.R.Almeida & S.M.Almeida
ชื่อสามัญ---Kwangtum gymnema
ชื่ออื่น---เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักจินดา, ผักม้วนไก่, เครือจันปา, ผักอีฮ่วน,[THAI: Phak chiang daa (Chiang Mai).]; [AYURVADIC: Madhunashini.];[CAMBODIA: Voë toahs.]; [CHINA: Guang dong chi geng teng.]; [INDIA: gurma, gudmar (Hindi).]; [INDONESIA: Sayor pepe, uta mata (the Moluccas).];[PHILIPPINES: Kalalaki-ti-du-gep (Iloko).]; [VIETNAM: Thìa canh lá to, Dây thìa canh lá to.].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซียและทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์--- อินเดีย ศรีลังกา ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน แอฟริกาและออสเตรเลีย


กระจายทั่วไปใน เอเซียเขตร้อน ทวีปแอฟริกา, ออสเตรเลีย, ภาคใต้และภาคกลางของอินเดีย พบได้ ในป่าชั้นรองและป่าเปิด
ไม้เลื้อย ลำต้นสีเขียว มีน้ำยางใสสีขาวคล้ายน้ำนม เลื้อยได้ไกลถึง 25 เมตร ก้านใบยาว 2-6 ซม ใบเป็นใบเดี่ยว ยาว4-14 ซม. กว้าง x 2-9 ซม เรียงสลับเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปรีหรือรูปกลมรี ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ง่ามใบ สีเหลือง,เหลืองอมส้มหรือสีเขียว ผลเป็นฝักรูปร่างคล้ายหอก
การใช้ประโยชน์ ---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารยาและแหล่งของสีย้อม สีย้อมสีน้ำเงินหรือสีเขียวแกมน้ำเงิน ได้จากใบไม้
-ใช้เป็นอาหาร เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยานิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหาร
-ใช้เป็นยามีสรรพคุณทางสมุนไพร หมอยาพื้นบ้านจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงานช่วยทำให้เจริญอาหาร และช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน ใบนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือนำไปประกอบในตำรายาแก้ไข้อื่น ๆ ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง และแก้กามโรค ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน ต้นใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ ต้นแห้งหรือต้นสดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคบิด ช่วยแก้อาการบวมน้ำ หัวมีรสมันขม ใช้เป็นยาแก้พิษอักเสบ พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม
พืชชนิดนี้ได้รับการกล่าวถึงในตำราอินเดียโบราณของอายุรเวทว่า " Madhunashini "ซึ่งในภาษาสันสกฤตหมายถึง 'เรือพิฆาตน้ำตาล' เป็นไปได้ว่าการบริโภค อาจป้องกัน prediabetics (ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน) จากการเป็นโรคเบาหวาน และยังสามารถช่วย ควบคุมน้ำหนักด้วยการลดความอยากน้ำตาลลง
-อื่น ๆ สีย้อมสีน้ำเงินหรือสีเขียวแกมน้ำเงิน ได้จากใบไม้
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ


ผักแพว/Persicaria odorata

ชื่อวิทยาศาสตร์---Persicaria odorata (Lour.) Soják---This name is unresolved,
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Basionym: Polygonum odoratum Lour.
ชื่อสามัญ ---Vietnamese mint, Vietnamese coriander, Cambodian mint, Hot mint, Laksa leaf, Praew leaf.
ชื่ออื่น---จันทน์โฉม (นครราชสีมา); ผักแพว, ผักไผ่(ภาคเหนือ); พริกม้า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); หอมจันทน์ (พระนครศรีอยุธยา) ; [THAI:  chan chom (Nakhon Ratchasima); phak phaeo,  phak phai (Northern); phrik ma (Northeastern); hom chan (Phra Nakhon Si Ayutthaya).];[CHINESE: Yuht naahm heung choi, Laak saa yihp.]; [FRENCH: Renouée odorante.];[MALAY: Kesom.]; [PORTUGUESE: Coriandro de Vietname, Menta vietnamita, Cilantro vietnamita, Menta de Camboja, Menta picante.]; [SINGAPORE: Daun kesum, Daun laksa, Daun .];[SWEDISH: Korianderpilört.];[VIERNAMESE: Rau ram.].
ชื่อวงศ์---POLYGONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเชีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย


เป็นพืชล้มลุกปีเดียว มีกลิ่นแรง ขึ้นได้ดีบริเวณพื้นดินที่มีความชื้นสูง ลำต้นสูง 30 - 35 ซม. ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะ บริเวณข้อจะมีรากงอกออกมาเมื่อสัมผัสกับพื้นดิน ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยวกว้าง 2.5 - 3 ซม. ยาว 5.5 - 8 ซม.ออกแบบสลับ สีเขียว ใบเรียวเล็ก คล้ายรูปหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ฐานใบรูปลิ่ม  ก้านใบสั้นมีหูใบลักษณะเป็นปลอกหุ้มรอบลำต้น บริเวณเหนือข้อ ดอก จะออกเป็นช่อ ดอกเล็กสีขาวอมชมพูม่วง ผลขนาดเล็กมาก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เดิม ผักแพวเป็นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ภายหลังแหล่งธรรมชาติได้หายไป ผักแพวจึงถูกนำมาปลูกเป็นผักสวนครัวที่ขาดไม่ได้ มีอายุเพียงปีเดียว แต่โอกาสจะอยู่ชั่วอายุขัยของต้นยาก เพราะมักจะถูกชาวบ้านหักกินตั้งแต่โคนต้นมากินตลอดสามารถกินยอด กินใบได้ตลอดลำต้น เพราะใบอ่อน เส้นใยไม่หยาบกระด้าง
ผัก แพวเป็นพืชปลูกง่าย ทำได้ด้วยการชำกิ่งเท่านั้น เพราะบริเวณข้อลำต้นรากจะงอกได้ง่าย ต้นสูงสักคืบสองคืบเท่านั้น เป็นไม้ล้มลุก สามารถปลูกในกระถางจะง่ายและขายเป็นกระถางได้เลย
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ใช้เป็นเครื่องปรุงในครัวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ใบอ่อนสดdbogxHozydหรือนำมาปรุงเป็นเครื่องปรุง
-ใช้เป็นยา สรรพคุณ ทางยา มีรสเผ็ดร้อน ช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีฟอสฟอรัสสูง มีวิตามินเอสูงมาก นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมและวิตามินซีอีกด้วย ยังช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ลดการอักเสบ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกายทำให้ร่างกายแก่ชราช้าลง ในเวียตนาม  ใบใช้สำหรับเป็นยา กินเพื่อรักษาโรคเบาหวาน, ปวดท้องและลดความต้องการทางเพศ
ขยายพันธุ์---เมล็ด, ปักชำ


ผักหวานบ้าน/Sauropus androgynus

ชื่อวิทยาศาสตร์---Sauropus androgynus (L.) Merr.
ชื่อพ้อง---Sauropus albicans Blume
ชื่อสามัญ---Star goose-berry, Sweet leaf, Sweet leaf bush, Chekkurmanis.
ชื่ออื่น---โถหลุ่ยกะนีเด๊าะ, ก้านตง, จ๊าผักหวาน (ภาคเหนือ); นานาเซียม (มาเลย์-สตูล); ผักหวาน, ผักหวานบ้าน (ทั่วไป); ผักหวานใต้ใบ (สตูล); มะยมป่า (ประจวบคีรีขันธ์); [THAI: tho-lui-ka-ni-do (Karen-Mae Hong Son); kan tong, cha phak wan (Northern); na-na-siam (Malay-Satun); phak wan, phak wan ban (General); phak wan tai bai (Satun); ma yom pa (Prachuap Khiri Khan).];[CAMBODIA: Dom nghob.]; [LAOS: Hvaan baanz.];[CHINESE: Mani cai.];[INDIA: Katuk.];[INDONESIA: Katuk (Sundanese); Babing, Katukan  (Javanese); Simani (Minangkabau);  kerakur (Madura).];[JAPANESE: Amame shiba.];[MALAYSIA: Chekop manis, Cekur manis (Peninsular); Asin-asin, Assin-assin, Sayur Manis (Malay).];[MYANMAR: Yo-ma-hin-yo.];[PHILIPPINES: Binahian (Tagalog).];[VIETNAM: Rau ngót.].
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน, อินเดีย, ศรีลังกา, ไทย, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ปาปัวนิวกินี


ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในการเพาะปลูกและไม่ทราบที่มาที่แน่นอน  พบได้ในเนปาล อินเดีย ศรีลังกา พม่า  อินโดจีน จีนตอนใต้ และทั่วทั้งภูมิภาค Malesia (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์) ที่ระดับความสูง 100- 1300 เมตร
ไม้พุ่มขนาดเล็กลำต้นตั้งตรงสูง2-3เมตร แตกกอจำนวนมาก กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น ยอดอ่อนเป็นส่วนที่นิยมรับประทานเป็นผักและสุก ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง1.5-3ซม.ยาว2-7ซม.หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวอ่อน เนื้อใบบาง ดอกออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ มีดอกเพศเมีย1-3ดอก มีดอกเพศผู้จำนวนมากไม่มีกลีบดอก ผลสีขาวขนาด1.5ซม.มีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่ที่ขั้วผล ผลแก่แห้งแตกได้
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ประสบความสำเร็จในแสงแดดเต็มและกึ่งร่มเงา เอาชีวิตรอดในสภาพแห้งและไม่ต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์ ทนต่อดินเหนียวมาก ต้องการดินที่ระบายน้ำดี ชอบ pH ในช่วง 6 - 7 ทนได้ 5.5 - 7.5
การใช้ประโยชน์--- เป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายเป็นพืชสมุนไพรและเป็นผัก  มักจะวางขายกันในตลาดท้องถิ่น
-ใช้เป็นอาหาร ยอด อ่อนและใบอ่อนรสหวาน นิยมนำมาลวกรับประทานกับน้ำพริกหรืออาหารรสจัดต่างๆ ใบเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี (ประมาณ 6 - 10% ) และมีคุณค่าทางโภชนาการ ผลไม้สุกสามารถทำเป็นขนมหวานได้ สีเขียวที่ได้จากใบไม้ใช้สำหรับการย้อมสีอาหาร
-ใช้เป็นยา ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยในการยืดหดของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี รวมทั้งป้องกันโรคภูมิแพ้จากมลพิษทางอากาศ สรรพคุณ ด้านเป็นสมุนไพร รสหวานเย็น บรรเทาอาการร้อนใน กระหายน้ำ รากแก้ไข้ ถอนพิษไข้ซ้ำ ไข้กลับ แก้คางทูม ถอนพิษผิดสำแดงกินของแสลงเป็นพิษ ใบเป็นยาพอกแผล ฝี ขับเหงื่อ แก้โรคกำเดา ดอกขับโลหิต
ระยะออกดอกออกผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ


ฝาง/Caesalpinia sappan


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Biancaea sappan (L.) Tod.
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
---Caesalpinia angustifolia Salisb.
---Caesalpinia sapang Noronha
---Caesalpinia sappan L.
ชื่อสามัญ---Sappanwood, Sappan tree, Indian redwood, False sandalwood, Bukkum wood, Sappan lignum.
ชื่ออื่น---ง้าย(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ฝาง (ทั่วไป); ฝางส้ม (กาญจนบุรี) ; [THAI: ngai (Karen-Kanchanaburi); fang (General); fang som (Kanchanaburi).]; [BURMESE: Teing-nyet.]; [CHINESE: Su fang, Su fang mu, Hóng zǐ, chìmù.]; [FRENCH: Bois Sappan, Bois de sappan, Sappan campêche.]; [HINDI: Vakam, vakum.]; [INDONESIA: Secang, Sepang; Kayu secang, Soga Jawa; Naga, Pasa, Dolo ( Sulawesi); sèfèn (Weda), sawala, singiang, sinyianga, hinianga (Maluku).]; [JAPANESE: Suou.]; [LAOS: Faang, fang deeng.]; [MALAYSIA: Sepang.]; [PHILIPPINES: Sapang (Ilk., Bis., Tag.); Sibukau (Tag., Sul., Bis.); Sibukaw (Bis.).]; [SANSKRIT:  Kuchandana, Lohita, Patanga, Ranjana, Patranga.];[SINHALESE: Pattangi.]; [SPANISH: Campeche sappan.]; [VIETNAMESE: To moc, Vang nhuom.]
 ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE -CAESALPINIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

 

เกิดขึ้นในอินเดียผ่านพม่าไทยอินโดจีนจีนตอนใต้จนถึงมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ในป่าทุติยภูมิ ใกล้ถนน ชายป่าเขาหินปูน เติบโตในระดับต่ำและปานกลางในพื้นที่ที่เป็นเนินเขา ดินเหนียวและหินปูน
แม้ว่าต้นไม้โดยทั่วไปจะไม่ถือว่าถูกคุกคาม แต่ประชากรย่อยในเวียดนามนั้นถูก จำกัด และถูกพิจารณาว่าเป็นประเภท 'ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง' พืชโดยรวมจัดเป็น 'ความกังวลน้อยที่สุด' ใน IUCN Red List of Threatened Species (2011)
ไม้ พุ่มสูง 5-8 เมตร ต้นมีหนามแหลมทั้งต้น ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นยาว0.50เมตร เรียงตรงข้าม20คู่ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนานกว้าง 0.6-0.8ซม.ยาว1.5-1.8ซม. โคนใบเฉียง ดอกช่อออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งดอกย่อยสีเหลืองเส้นผ่านศูนย์กลาง 2- 2.5 ซม.ผลเป็นฝักแข็งสีน้ำตาลยาว 7ซม.กว้าง 3.5-4 ซม.ผลแก่รูปข้าวหลามตัดมีจงอยที่มุมด้านบน
การใช้ประโยชน์--- ไม้ของต้นไม้ถูกนำมาใช้เป็นเวลาหลายร้อยปีในฐานะแหล่งย้อมสีแดงและ หลายร้อยตันถูกส่งออกไปยังโลกอิสลามและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทุกปีนับจากยุโรปในยุคกลางเป็นต้นไปจนถึงมีสีสังเคราะห์เข้ามาใช้ทดแทน ความต้องการส่วนใหญ่จึงตกไปเหลือที่ยังคงใช้อยู่สำหรับการย้อมสิ่งทอในขนาดเล็กโดยช่างฝีมือและศิลปิน
-ใช้กิน กิ่งแก่ต้มกินเหมือนชาได้ ในปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปเป็นน้ำดื่มสมุนไพรฝาง
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ เปลือกไม้ แก่นไม้ เมล็ด ใช้ในยาแผนโบราณของประเทศเอเซียต่างๆ การวิจัยสมัยใหม่ได้ระบุสารประกอบที่มีฤทธิ์ทางการแพทย์หลายชนิดในพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งบราซิลซึ่งพบในแก่นไม้ แสดงให้เห็นว่ามีผลดีต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน; รวมถึงการดำเนินการลดน้ำตาลในเลือดและการเผาผลาญกลูโคสที่เพิ่มขึ้น -ในอายุรเวทมีประโยชน์ในเงื่อนไข vittated ของ Pitta, ความรู้สึกแสบร้อน, แผล,โรคเรื้อน, โรคผิวหนัง, ท้องร่วง, โรคบิดและโรคเบาหวาน -ในยา Unani ใช้ในการหยุดเลือดจากหน้าอกและปอดสำหรับการรักษาบาดแผลการรักษาโรคไขข้อและเพื่อปรับปรุงผิว -มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรยาพื้นบ้านใช้ แก่น บำรุงเลือด แก้ปอดพิการ ขับเสมหะ ทำให้เลือดเย็น แก้ท้องร่วง ส่วนเนื้อไม้ให้สีแดงนำมาใช้ทำน้ำยาอุทัยใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำสีย้อม ทำยาชา ทำให้ประจำเดือนมาปกติ
-วนเกษตร ปลูกเป็นรั้วมีชีวิต เนื่องจากการเจริญเติบโตง่ายและนิสัยการเจริญเติบโตที่หนาแน่นของมันจะใช้สำหรับการกำหนดขอบเขตของที่ดินและการปกป้องสวนกับสัตว์กินหญ้า สปีชีส์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิดแบคทีเรียเหล่านี้ก่อตัวเป็นก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้โดยพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถใช้โดยพืชชนิดอื่น
-ใช้อื่น ๆ เนื้อไม้มีลักษณะเป็นเส้นตรงที่มีความละเอียดถึงละเอียดปานกลางค่อนข้างหนักแข็งและเป็นเงา เนื้อไม้แห้งยากไวต่อความแปรปรวนและล่มสลาย แต่มีความทนทานและทนต่อการโจมตีของปลวก  มักใช้สำหรับการแกะสลัก และงานฝังชิ้นงานตกแต่งภายใน มีคุณค่าอย่างยิ่งในการทำคันชักไวโอลินและไม้เท้า -สีย้อมสีแดงนั้นได้มาจากไม้ สีย้อมสีเหลืองนั้นได้มาจาก ราก,เปลือกไม้ใช้ทำสีย้อมผ้าและไหมได้ หรืออาจใช้เป็นสีผสมอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ  ผลไม้มีแทนนินและถูกนำมาใช้ในอดีตเพื่อเตรียมสีย้อมสีดำร่วมกับธาตุเหล็ก ต้นอ่อนนั้นถูกใช้เช่นเดียวกับสายพันธุ์อื่นที่เกี่ยวข้องรวมถึงโปรโตซัลเฟตของเหล็กเพื่อทำหมึกหรือย้อมสีดำ ใบสามารถใช้ในการเร่งการสุกของผลไม้เช่นกล้วยและมะม่วง Gum ได้มาจากลำต้น
ระยะออกดอก/คิดผล---มิถุนายน-ธันวาคม/สิงหาคม-พฤษภาคม(ปึถัดไป)
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ฝ้าย/Gossypium  herbaceum

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ --Gossypium  herbaceum  L
ชื่อพ้อง---Has 31 Synonyms
---Gossypium hirsutum L.    
---Gossypium prostatum Schumach. & Thonn.    
---Gossypium punctatum Rich., Guill. & H. Perrier    
---Gossypium zaitzevii Prokh.---(more)
ชื่อสามัญ---Arabian cotton, Levant Cotton, Sea Iceland Cotton, Short-Staple American Cotton, Syrian cotton, short-staple cotton.
ชื่ออื่น---ฝ้ายเทศ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ฝ้ายชัน (ลำปาง), ฝ้ายดอก (เชียงใหม่) ; [THAI: fai (General).]; [AFRIKAANS: Katoenbossie.]; [CHINESE: Cǎo mián.]; [CZECH: Bavlna, Bavlník zelinný, Bavlník bylinný.]; [FRENCH: Cotonnier d'Asie.]; [KOREAN: Chomyeon.]; [MALTESE: Qotin malti.]; [PORTUGUESE: Algodoeiro-asiático.]; [SPANISH: Algodonero, Algodonero herbáceo.]; [VIETNAMESE: Bông vải.].
ชื่อวงศ์---MALVACEAE
ถิ่นกำเนิด---แอฟริกาใต้
เขตกระจายพันธุ์---เพาะปลูกทั่วไปในเขตร้อน
เป็นสายพันธุ์ของฝ้ายพื้นเมืองในภูมิภาคกึ่งแห้งแล้งของ sub-Saharan Africa ได้แก่ โมซัมบิก, ซิมบับเว, บอตสวานา, นามิเบีย แอฟริกาใต้ และไปยัง อารเบียถึง อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ไม่เป็นที่รู้จักในป่า สามารถปลูกในเขตร้อนชื้นพบได้ในระดับความสูงถึง 2,200 เมตร
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.60-1.8เมตรลำต้น มีสีน้ำตาลแดงอาจเป็นเหลี่ยม มีขนรูปดาวปกคลุมประปรายหรือเกลี้ยง ใบเดี่ยว 6 ×5–7ซม. รูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเป็นรูปหัวใจ  ก้านใบยาว2-2.5ซม. ดอก เดี่ยว มีใบประดับ 5 กลีบติดกัน กลีบดอกสีเหลือง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2ซม.ปลายยาวแหลม เมล็ด รูปไข่ มีขนสีขาวยาว 3.7-5ซม.รอบเมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบตำแหน่งที่มีแดดมากในดินที่อุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี พืชสามารถทนต่อเกลือในระดับปานกลาง ชอบ pH ในช่วง 6 - 7.2 ทน 5.3 - 8.5  ต้องการตำแหน่งที่กำบังจากลมแรง
-ใช้กิน เมล็ด - คั่วกินได้ สามารถใช้แทนกาแฟได้ น้ำมันที่ได้จากเมล็ด ใช้ในสลัดหรือเป็นน้ำมันปรุงอาหาร น้ำมันยังใช้ในการผลิตเนยเทียม (gossypol มักจะถูกลบออกก่อนที่น้ำมันจะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการกิน)
-ใช้เป็นยาสรรพคุณ เปลือกและรากฝ้ายเป็นยาบีบมดลูก ใช้สำหรับการปวดประจำเดือน และเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในแม่ที่ให้นมลูก ใบจะถูกนำมาใช้ภายในสำหรับกระเพาะและลำไส้อักเสบ รอยฟกช้ำและแผล เมล็ดใช้เป็นยา สำหรับโรคบิด โรคไข้เป็นระยะ ๆ , เนื้องอก, เริม, หิด, แผล,
-ใช้อื่น ๆ ลำต้นพืชสามารถใช้สำหรับทำกระดาษ เส้นใยฝ้ายมีการใช้อย่างกว้างขวางรวมถึงการทำเสื้อผ้า ผ้ายาง - ยาง วัสดุบรรจุสำหรับหมอน,หมอนอิง ฯลฯ -ใช้น้ำมันกึ่งแห้งที่ทำจากเมล็ดเพื่อทำสบู่-สีเหลืองและสีน้ำตาลได้จากกลีบดอก
รู้จักอันตราย---พืชและโดยเฉพาะน้ำมันจากเมล็ดมี gossypol เชื่อว่าสารนี้เมื่อกลืนกินจะทำให้มีผลต่อการลดการผลิตอสุจิและอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในเพศชาย
ระยะออกดอก---ธันวาคม-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ระย่อมน้อย/Rauvolfia serpentina


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Rauvolfia serpentina (L.)Benth.ex Kurz.
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
---Ophioxylon album Gaertn.
---Ophioxylon obversum Miq.
---Ophioxylon salutiferum Salisb.
---Ophioxylon serpentinum L.
---Ophioxylon trifoliatum Gaertn.
---Rauvolfia obversa (Miq.) Baill.
---Rauvolfia trifoliata (Gaertn.) Baill.
ชื่อสามัญ-Indian Snakeroot,Sarpagandha,Serpentine Roots,Devil pepper,Java Devil Pepper,Insanity Herb.
ชื่ออื่น---กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); กะย่อม (ภาคใต้); เข็มแดง (ภาคเหนือ); คลาน, ตูมคลาน, มะโอ่งที (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ระย่อม (ภาคกลาง); สะมออู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ; [THAI: kayom (Peninsular); khem daeng (Northern); rayom (Central); ko-me (Karen-Mae Hong Son); khlan, tum-khlan, sa-mo-u, ma-ong-thi (Karen-Kanchanaburi).];[ASSAMESE: Arachoritita, Sarpagandha.];[CHINESE: She gen mu, Yin du luo fu.]; [BENGALI: Chandra.];[BURMESE: Bongmaiza.]; [HINDI: Sarpagandha, Chandrabhaga, Nakuli, Chota-chand.];[KANNADA: Arachoritita, Sarpagandha.];[JAPANESE: Indo shaboku, Indo shaboku.]; [MALAYALAM: Chuvannavilpori, Amalpori, Sarppagandh, Vanduvazha.];[MALAYSIA: Akar tikus, Pule pandak (Java).];[MARATHI: Harkaya,Harki,Nakuli.];[PHILIPPINES: Serpentina (Tag.).][SANSKRIT: Chandrika,Nakuli,Sarpagandha,Patalgaruda.];[TAMIL: Chevanamalpodi.];[TELUGU: Patalaguni,Sarpagandha,Patalagaruda.].
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย-
เขตกระจายพันธุ์--- ศรีลังกา อินเดีย เนปาล พม่า ภูฏาน จีน เวียดนาม ไทย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Rauvolfiaเป็นเกียรติแก่ Leonhard Rauwolf แพทย์ชาวเยอรมันนักพฤกษศาสตร์และนักเดินทาง ; ชื่อสายพันธุ์  serpentina มาจากภาษาละติน หมายถึงงู

 

ถิ่นกำเนิดอนุทวีปอินเดียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบที่ศรีลังกา อินเดีย เนปาล ภูฏาน พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 800 - 1,500 เมตร
ไม้พุ่มขนาดเล็กมีรากสะสมอาหารแบบรากกระชาย  สูงประมาณ30-70 ซม. มียางขาว ใบเดี่ยว กว้าง 4-8 ซม.ยาว 7-20 ซม  เรียงตรงข้ามหรือออกรอบข้อข้อละ3ใบ รูปวงรีหรือใบหอก .ดอกเป็นช่อออกแบบซี่ร่มที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีขาวแกมเขียว กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกสีแดง เมื่อกลีบดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง  ผลออกเป็นคู่ รูปวงรี ขนาด 0.5-10 มม.เป็นผลสดเมื่อสุกสีม่วงดำ
การใช้ประโยชน์--- มีการใช้เป็นยาในอินเดียมานานกว่า 2,000 ปี ใช้ในยาอายุรเวท Unani และยาพื้นบ้านรวมถึงยาแผนโบราณแบบตะวันตก มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับทำยากล่อมประสาทและลดความดันโลหิต ถูกเก็บจากป่าและมีการซื้อขาย เป็นแหล่งของสารประกอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมยา
-ใช้เป็นยา สรรพคุณที่ใช้เป็นยา ราก แก้ไข้ เจริญอาหาร ต้มดื่มลดความดันโลหิตและกล่อมประสาท แก้บ้าคลั่ง ปัจจุบันทำเป็นยาเม็ดสำหรับลดความดันโลหิต เป็นยากล่อมประสาท เป็นยาขับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร น้ำจากใบรักษาโรคแก้วตามัว รากสดของต้นระย่อมน้อย ตำละเอียด ผสมน้ำสะอาดเล็กน้อย หรือน้ำมันพืช ทากำจัดหิด เปลือกไม้ใบไม้และรากใช้ต่อต้านงูและพิษของแมงป่อง
ระยะออกดอก/ติดผล--- มีนาคม - พฤษภาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


อ้อยแดง/Saccharum officinarum

ชื่อวิทยาศาสตร์---Saccharum officinarum L.
ชื่อพ้อง---Has 11 Synonyms
---Saccharum atrorubens Cuzent & Pancher ex Drake
---Saccharum fragile Cuzent & Pancher ex Drake
---Saccharum occidentale Sw.
---Saccharum officinarum var. brevipedicellatum Hack.
---Saccharum rubicundum Cuzent & Pancher ex Drake
---Saccharum violaceum Tussac---(more)
ชื่อสามัญ---Sugar-cane, Noble sugarcane
ชื่ออื่น---กะที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); อ้อย (ทั่วไป): อ้อยแดง, อ้อยขม, อ้อยดำ (ภาคกลาง); อำโป (เขมร) ; [THAI: ka-thi (Karen-Mae Hong Son); oi (General); oi daeng, oi khom, oi dam (Central); am-po (Khmer).];[ARABIC: Qasab el-sokkar.];[ASSAMESE: Kunhiar, Kushyar, Akh.];[BENGALI: Aankha, Ukha, Uuka.];[CAMBODIA: 'Am-pëu.];[CHINESE: Hong gan zhe, Guo zhe, Gan zhe.];[FRENCH: Canne à sucre.];[GERMAN: Ueberjaehriges Zuckerrohr; Zuckerrohr.];[INDIA: Ganna.]; [INDONESIA: Tebu; Tep; Tiwu.];[JAPANESE: Sato-kibi.]; [KOREAN: Sa t'ang su su.];[LAOs: 'Oyz.]; [MALAYALAM: Karimbu, Karimpu.];[MARATHI: Usa.];[MALAYSIA: Tebu, Tebu telur, Tebu (Indonesia).];[NEPALESE: Ganna, Sahacar, Ukhu.];[PAPUA NEW GUINEA: Ale; Kowu; Tuma.];[PHILIPPINES: Agbo (Ibn.); Tubo (Tag., Bik.); Tubu (Sul.).];[PORTUGUESE: Cana-de-açúcar, Cana do açúcar, Canna de assucar.];[RUSSIAN: Sakharnyi trostnik kul'turnyi.];[SANSKRIT: Ikshava.];[SPANISH: Cana de azucar, Caña dulce, Cañamiel, Caña melar, Caña sacarina, Caña común.];  [SWEDISH: Sockerröer.];[TAMIL: Kaarumbu (Karumbu).];[TURKISH: Seker kamis.];[VIETNAM: Misa, Cây mía, Mía.]
ชื่อวงศ์---GRAMINEAE (POACEAE)
ถิ่นกำเนิด---นิวกินี เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์--- ประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก


รู้จักในการเพาะปลูก ไม่รู้จักเป็นพืชป่า เติบโตได้ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,600 เมตร
ไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ  ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก อ้อยมีหลายพันธุ์ แตกต่างกันที่ความสูงความยาวของข้อและสีของลำต้น
การใช้ประโยชน์--- พืชที่ปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีความสำคัญในเขตร้อนที่ปลูกส่วนใหญ่สำหรับ sap ในลำต้นที่ใช้สำหรับทำน้ำตาล แอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงเป็นต้น พืชยังเป็นแหล่งชีวมวลที่สำคัญและขี้ผึ้งที่มีประโยชน์   
-ใช้เป็นยา สรรพคุณทางสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด  หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำดื่ม  ก่อนอาหาร แก้ไตพิการ หนองในและขับนิ่ว แพทย์พื้นบ้านใช้ขับเสมหะ
ขยายพันธุ์---ปักชำ


ต้าง/Hoya kerrii

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Hoya kerrii Craib
ชื่อพ้อง ---Has 1 synonyms
--- Hoya obovata var. kerrii (Craib) Costantin
ชื่อสามัญ---Wax Hearts, Wax Plant, Sweetheart Hoya, Sweetheart Plant, Valentine Hoya, Porcelain Flower, Heart Leaf, Lucky Hearts
ชื่ออื่น---หัวใจทศกัณฐ์ (ภาคกลาง); เทียนขโมย (ภาคกลาง); เครือหนอนตาย (หนองคาย); ด้าง (กรุงเทพฯ); ต้าง (อุบลราชธานี) ; [THAI: huachai thot sa kan (Central); thian khamoi (Central); khruea non tai (Nong Khai); dang (Bangkok); tang (Ubon Ratchathani).];[CHINESE: Xīn yè qiú lán, Ao ye qiu lan.]; [FRENCH: Plante Coeur.]; [GERMAN: Porzellanblumen, Wachsblumen.]; [PORTUGUESE: Flor-de-cera.]; [RUSSIA: Khoyya Kerra.].
ชื่อวงศ์ ---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย-เกาะชวา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ Thomas Hoy (1750-1822) ; ชื่อสายพันธุ์ตั้งตาม  Arthur Francis George Kerr แพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ
Hoya kerrii เป็นสายพันธุ์ของ Hoya พืชพื้นเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย อาร์เธอร์ฟรานซิสจอร์จเคอร์ เก็บตัวอย่างในปี 2453 หรือ 2454 ที่ดอยสุเทพทางตะวันตกของเชียงใหม่ (ภาคเหนือของประเทศไทย) ที่ระดับความสูง 390 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มันถูกย้ายไปที่ Kew Gardens ที่ซึ่งมีการออกดอกในเดือนสิงหาคมปี 1911 และได้รับการอธิบายครั้งแรกโดย William Grant Craib จากพืชและคอลเลกชันป่าในปี 1911 พื้นที่กำเนิดของมันคือภาคใต้ของจีน เวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทยและเกาะอินโดนีเซีย ของ Java (ที่มา: Wikipedia)
พืช ชนิดนี้เป็นไม้เถาอิงอาศัย ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว มีอายุยืนนานหลายปี เถาเหนียวเลื้อยได้ไกล 1-4 เมตร ก้านช่อดอกยาว 2-6 ซม.ดอกออกเป็นช่อแบบครึ่งวงกลมซี่ร่ม กว้าง 4-5 ซม มีดอกย่อย10-15ดอก กลีบดอกสีชมพูอมเขียว มีขนฟูเป็นกำมะหยี่เมื่อบานกลีบดอกจะพลิกกลับไปด้านหลัง ชอบเกาะอยู่ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่อยู่กลางแจ้งจะนำมาปลูกก็ตัดแยกเอาส่วน เถามาผูกติดกับต้นไม้อื่นรดน้ำปกติก็ออกราก และจะยึดติดต้นไม้นั้นไปเอง
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นยายาพื้นบ้านอีสาน ใช้  ต้นและใบ ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน น้ำยางขาว ใช้ทาแผลสด เช่นแผลมีดบาด ช่วยสมานแผล ใบสด ตำผสมปูนที่กินกับหมาก ทารักษาแผลเน่าเปื่อยของกระบือ ตำรายาไทย  ใช้  ใบ ภายนอก รักษาบาดแผล บวม รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ ช่วยสมานแผลและห้ามเลือด และใช้ภายใน รักษาสมองอักเสบ โรคปอดบวม และอัณฑะอักเสบ ยาพื้นบ้านภาคเหนือ  ใช้ ใบสด อังไฟให้ร้อน นาบแก้อาการบวมตามข้อ
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ


ลำโพงกาสลัก/ Datura metel var. fastuosa


ชื่อวิทยาศาสตร์--- Datura metel var. fastuosa (L.) Saff.
This name is a synonym of Datura metel L..
ชื่อพ้อง --- Datura fastuosa L.
ชื่อสามัญ--- Black Datura, Blackcurrant Swirl, Downy thorn-apple, Double Blackcurrant Swirl, Double Purple, Purple Hindu, Angel’s trumpet, Devil’s trumpet, Downy thorn apple. Horn of plenty
ชื่ออื่น---เลี๊ยก (เขมร-สุรินทร์); แตรนางฟ้า (ทั่วไป); กาสลัก (ลำปาง); มะเขือบ้า (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); มะเขือบ้าดอกดำ (ลำปาง); มั่งโต๊ะโล๊ะ (จีน,กรุงเทพฯ); ละอังกะ (ส่วย-สุรินทร์); ลำโพง (ภาคกลาง); ลำโพงกาลัก (ชุมพร,สุราษฎร์ธานี); ลำโพงกาสลัก (ภาคกลาง,สุโขทัย) ; [THAI: liak (Khmer-Surin); trae nang fa (General); ka salak (Lampang); ma khuea ba (Northeastern, Northern); ma khuea ba dok dam (Lampang); mang-to-lo (Chinese, Bangkok); la-ang-ka (Suai-Surin); lam phong (Central); lam phong kalak (Chumphon, Surat Thani); lam phong ka salak (Central, Sukhothai),];[ASSAMESE: Dhutura,Dhatura.];[CHINESE:  Yang Jin Jiang, yang jin hua.];[GERMAN: Indischer St.]; [HINDI: sada dhatura.]; [INDONESIA: Kecubong, Kecubu (Melayu); Kacubueng (Minangkabau); Kucubung (Sunda); Kacubung (Jawa).];[KOREAN: huindogmalpul.]; [MALAYALAM: Ummam,Neelaummam,Karummattu,Omathinkai,Kariymmatta,Madanam.];[MALAYSIA: Kecubong, Terung Pungak.];[MALTESE: Stramonjum abjad.];[NEPALI: Kalo dhatura, Hakugu dudhale.];[PORTUGUESE: Burbiaca.];[SANSKRIT: Dhustura.];[SPANISH: burladora.];[SWEDISH: Indisk spikklubba,];[TAMIL: Karu Umathai,Karu-Oomatthai.];
ชื่อวงศ์---SOLANACEAE
ถิ่นกำเนิด---ไม่แน่ชัด
เขตกระจายพันธุ์--- อินเดีย แอฟริกาตะวันออก โอเชียเนีย


เกิดขึ้นได้ในระดับความสูง50-2200เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ลำโพงขาว (ต้นเขียว ดอกสีขาว), และลำโพงกาสลัก (ต้นสีแดงเกือบดำ ดอกสีม่วงเป็นชั้น ๆ) และในด้านการทำยาจะนิยมใช้ลำโพงกาสลักดอกสีม่วงม่วงดำ ยิ่งซ้อนชั้นมากยิ่งมีฤทธิ์แรง เป็นหนึ่งในห้าสมุนไพรพื้นฐานที่ใช้ในการแพทย์แผนจีน ดอกนำมาหั่นตากแดดผสมกับยาสูบ ใช้สูบแก้อาการหอบหืด แก้การบีบตัวของหลอดลม ส่วนใบมีสรรพคุณแก้หอบหืด และขยายหลอดลม รากใช้สุมให้เป็นถ่านปรุงเป็นยาแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้เซื่องซึม ราก ใช้ฝนทาแก้พิษร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดบวม แก้อักเสบ เมล็ด นำมาคั่วให้หมดน้ำมัน ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้กระสับกระส่าย น้ำคั้นจากต้นเมื่อนำมาหยอดตาจะทำให้ม่านตาขยาย น้ำมันจากเมล็ด ใช้ปรุงเป็นยาใส่แผล แก้กลากเกลื้อน หิด เหา ผื่นคัน
ทุกส่วนของต้นมีฤทธิ์เป็นยาเสพติด ช่วยระงับอาการปวด และแก้อาการเกร็ง                                                      ขยายพันธุ์---เมล็ด


หญ้าหนูต้น/Dianella ensifolia

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Dianella ensifolia (L.) DC.
ชื่อพ้อง---Has 12 synonyms

-Anthericum adenanthera G. Forst. -Dianella odorata Blume
-Dianella ensata (Thunb. & Dallm.) R.J.F. Hend. -Dianella sandwicensis Hook. & Arn.
-Dianella javanica Kunth -Dracaena ensata Thunb. & Dallm.
-Dianella mauritiana Blume -Dracaena ensifolia L.
-Dianella montana Blume -Phalangium adenanthera Poir.
-Dianella nemorosa Lam. -Walleria paniculata Fritsch

ชื่อสามัญ---Flax lily, Umbrella Dracaena, Common Dianella, Sword leaf dianella, Cerulean Flaxlily.
ชื่ออื่น---โก่กำแล่น, หางไก่เถื่อน, มะพร้าวป่า, ศรีคันไชย, ลำพัน, [THAI: Ko kam laen (Eastern), ma phraao paa (Northern), lamphan (South-eastern).];[BRUNEI: Akar yanyang (Sengkurong).];[CHINESE: Shan jian, Shan mao er, Shan jian lan.];[FIJI: Varavara.];[INDONESIA: Jamaka (Sundanese), Menuntil (Sumatra).];[JAPANESE: Biibii (Okinawa); kikyô-ran.];[MADAGASCAR: Betratra, rangazaha, rangazaha ala, ran-gazaka.];[MALAYSIA: Benjuang, Sagatit, Siak-siak jantan, Akar siak (Peninsular); Labeh-labeh, Lenjuang Benar, Meroyan Bangkai (Malay); Maneng padi (Borneo).]; [PHILIPPINES: Ablaas (Bagobo), Bariu-bariu (Panay Bisaya).]; [VIETNAM: Cay huong lau.];
ชื่อวงศ์---LILIACEAE
ถิ่นกำเนิด--- ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---มาดากัสการ์ อินเดีย ศรีลังกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก


เกิดขึ้นจากแอฟริกาเขตร้อนผ่านมาดากัสการ์ อินเดียและศรีลังกา ไปยังเทือกเขาหิมาลัย เอเชียเขตร้อน จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เมลีเซียและหมู่เกาะแปซิฟิก เกิดขึ้นในหลากหลายที่อยู่อาศัยจากทุ่งหญ้าเปิดไปยังป่าหลัก ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง จากระดับน้ำทะเลถึงความสูง 3,000 เมตร
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ขึ้นเป็นกอขนาดเล็ก สูง 0.6-1 (-2) เมตร เหง้ามีแขนงสีขาวหนา 6-10 มม. มีเกล็ด ยาว 2-8 ซม.  รากเป็นเส้นยาวแตกแขนงมีกลิ่น เฉพาะตัว ใบรูปรีแคบถึงรูปหอกแคบยาว 30-60 ซม. กว้าง 2-3 ซม  แตกเป็นกระจุกที่โคนต้น ขอบใบเรียบ ก้านใบแผ่เป็นแผ่นหุ้มซ้อนกัน ดอกช่อ ออกจากซอกใบที่โคนต้น 30-60 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกัน สีขาวปนม่วง เป็นหลอดเล็กๆ ปลายแยกเป็นกลีบ 6 กลีบ เกสรเพศผู้มี 6 อัน สีเหลือง ผลสดรูปทรงกลม 9-15 มม.เมื่อสุกมีสีม่วงอมน้ำเงิน เมล็ด 3-4 เมล็ด รูปรี ยาว 5 มม. มีขนยาวเรียบสีดำเงา  
การใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นยา ในประเทศจีนพืชชนิดนี้เคยถูกใช้ภายใน(กิน)ในการรักษาโรคบิด แต่ทุกวันนี้มันถูกนำไปใช้ภายนอกเท่านั้น ในรูปแบบโขลก ตำ เนื่องจากมีรายงานความเป็นพิษ ใบใช้กับบาดแผล ขี้เถ้าของรากและใบใช้เป็นครีมสำหรับการรักษาฝี, คัน, ดีซ่าน, แผลเริมและโรคไขข้อ พืชทั้งหมดเป็นส่วนผสมในการรักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้ รากและใบ เข้ายากับแส้ม้าฮ้อ ดีปลากั้ง และซิ่นบ่ฮี ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลังทางเพศ ราก บำรุงกำหนัด ขับปัสสาวะ ยาพื้นบ้าน ใช้ ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็งและแผลเรื้อรัง (อาการแผลเรื้อรัง เน่าลุกลาม รักษายาก) ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องผูก ช่วยขับลม
-ใช้อื่นๆ น้ำจากผลเป็นแหล่งของสีย้อมสีฟ้าอ่อน เหง้าหอมและรากเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและน้ำหอม เหง้าสดโขลกผสมกับข้าวคั่วใช้สำหรับฆ่าหนู
ระยะออกดอก---ตุลาคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด แยกกอ


ว่านกีบแรด/Angiopteris evecta


ชื่อวิทยาศาสตร์---Angiopteris evecta (G.Forst.) Hoffm
ชื่อพ้อง---Has 1 synonyms
---Basionym: Polypodium evectum Forst
ชื่อสามัญ-Giant fern,Elephant Fern,Mule’s-foot fern,Madagascar tree fern,Oriental vessel fern,Turnip Fern.
ชื่ออื่น---กีบม้า (ลำพูน); กีบม้าลม (ภาคเหนือ); กีบแรด (แพร่); กูดซาง (เชียงใหม่); ดูกู (มาเลย์-ภาคใต้); ว่านกีบม้า (ภาคกลาง); ว่านกีบแรด (ทั่วไป) ; [THAI: kip ma (Lamphun); kip ma lom (Northern); kip raet (Phrae); kut sang (Chiang Mai); du-ku (Malay-Peninsular); wan kip raet (General); wan kip ma (Central).];[CHINESE: Lian zuo jue.];[MALAYSIA: Paku gajah, Paku gajah daun keras, Paku raksasa (Malay).];[SAMOA: Nase, Oli oli.];[TAHITIAN: Nahe.];[TONGA: hulufe tano, hulufe vai, ponga.];[VIETNAM: Quan âm toạ liên, Móng trâu, Nưa ông, Tai voi, Toà sen.].
ชื่อวงศ์---MARATTIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซียและทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---ศรีลังกา เวียตนาม ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลียและหมู่เกาะแปซิฟิก
เกิดขึ้นในภาคตะวันออกและภาคเหนือของประเทศออสเตรเลียและคาบสมุทรมลายู นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเติบโตในหมู่เกาะใกล้เคียงเช่นเกาะบอร์เนียว ,สุมาตรา ,นิวกินีและสถานที่ต่าง ๆ ในลินีเซียและมาดากัสการ์ เติบโตอยู่ในร่มเงาลึกของพื้นป่ามักจะอยู่ใกล้กับลำธารพบได้ในพื้นที่เขตร้อนของเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นสายพันธุ์ที่รุกรานในฮาวายและจาไมก้า ที่รู้จักกันในเรื่องการสร้างความหนาแน่นสูง ที่แทนที่และสร้างร่มเงาแก่พืชพื้นเมือง และลดความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ
พืชจำพวกเฟินมีเหง้า สูง 60-180ซม.โคนต้นพองออก ใบประกอบแบบขนนกสองหรือสามชั้นยาวได้ถึง 5-9 เมตร ใบย่อยรูปขอบขนานปลายแหลมขอบเรียบ ว่านนี้ลงหัวจะมีลักษณะคล้ายกีบเท้าของแรดหรือกระบือ หัวสีน้ำตาลเกือบดำ มีขนาดใหญ่ที่สามารถมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 1 เมตร เนื้อในสีเหลืองเหมือนขมิ้น สัตว์ป่าชอบกินมาก หัวของกีบแรดนี้เมื่อเก็บมาต้องนำมาตากแดดให้แห้งแล้วย่างไฟอีกทีจึงจะเก็บ ไว้ได้นานไม่อย่างนั้นจะเปื่อยผุง่าย
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยาสรรพคุณเป็นสมุนไพร หัวรสเย็นชืดแก้ไข้เพื่อกาฬ แก้กาฬมูตร ใช้หัวว่านเป็นยาแก้พิษตานทรางในเด็ก ในจังหวัดสุโขทัย ใช้หัวและต้นกินแก้ ไข้ ใบอ่อนกินเป็นผักได้ ใช้กินแก้ปวดหัว ขับปัสสาวะและใช้เป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย ตำรายาไทยใช้หัวใต้ดินเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง อาเจียน ปวดศรีษะ ขับปัสสาวะและใช้รากห้ามเลือด
ขยายพันธุ์---สปอร์ แยกเหง้า


ว่านลูกไก่ทอง/Cibotium barometz

ชื่อวิทยาศาสตร์     __ Cibotium barometz (L.) J. Smith
ชื่อพ้อง    __Has 6 synonyms
---Aspidium barometz (L.) Willd.
---Cibotium assamicum Hook.
---Dicksonia barometz (L.) Link
---Nephrodium barometz (L.) Sweet
---Polypodium barometz L.
ชื่อสามัญ     --- Golden chicken fern, Woolly fern, Golden Moss, Chain Fern Rhizome, Scythian Lamb.
ชื่ออื่น     __ ว่านไก่น้อย, หัสแดง, นิลโพสี, กูดเสือ, กูดผีป่า, กูดพาน, ละอองไฟฟ้า, เฟินลูกไก่, [CHINESE: jin mao gou ji, huang mao gou, gou ji]; [JAPAN: kuseki]; [KOREAN: kuchok]
ชื่อวงศ์    __ DICKSONIACEAE
ถิ่นกำเนิด    __ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์    __จีน, ญี่ปุ่นตอนใต้, อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, พม่า, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย


พืชจำพวกเฟินที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มีเหง้าใต้ดินซึ่งปกคลุมด้วยขนสีเหลืองทอง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นยาวได้ถึง1.5-2เมตร
การใช้ประโยชน์ พืชถูกรวบรวมมาจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น เหง้ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ, โลหิตจาง ใช้ในการรักษาโรคไขข้ออักเสบ, โรคปวดเอว, ปวดสะโพก ขนสีเหลืองบนเหง้ามีแทนนินและมีความฝาด  ใช้ พอกบนแผลเพื่อหยุดเลือด
ตำราไทยใช้ ขนสดจากเหง้า ปิดแผล หรือตากแห้งบดเป็นผงโรยห้ามเลือด ทำให้เลือดแข็ง  รักษาแผลปลิงเกาะและบาดแผลทั่วไป
ขยายพันธุ์---สปอร์ เหง้า


ว่านพระฉิม/Dioscorea bulbifera

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Dioscorea bulbifera L.
ชื่อพ้อง ---Has 20 Synonyms
---Dioscorea anthropophagorum A.Chev.
---Dioscorea hoffa Cordem.
---Dioscorea crispata Roxb.
---Dioscorea heterophylla Roxb.
---Dioscorea pulchella Roxb.---(more)
ชื่อสามัญ--- Air potato, Aerial yam, Bulbilbearing yam, Potato yam
ชื่ออื่น ---มันอีโม้ (สุโขทัย), มันอีลุ้ม (จันทบุรี), อีรุมปุมเป้า (ปราจีนบุรี), มันกะทาด (นครราชสีมา), มันหลวง (ประจวบคีรีขันธ์), มันเสิน มันตกเลือด (นครศรีธรรมราช), มะมู หำเป้า (ภาคเหนือ), มันขมิ้น ว่านสามพันตึง (ภาคกลาง)[ASSAMESE: Gosh Alu,Goch-aloo/ Bon-aloo.];[BENGALI: Ban Alu.];[CHINESE: Huang du.]; [FIJI: Kaile; Kaile manu; Sarau.];[FRENCH: Igname bulbifere; Igname massokor; Igname pousse en l’air.];[GERMAN: Brotwurzel, Yamswurzel, Knollen- Yam.];[HINDI: Gainthi, Kadu Kanda.];[KANNADA: Kuntagenasu.];[MALAYALAM: Pannikizhangu,Alanthal.];[MALAYSIA: Kaachil.]; [MARATHI: Dukar-kand, Varahi, Kadu-karanda.];[PORTUGUESE: Batata-de-rama; Cara-de-aire; Cara-de-sapateiro.];[SANSKRIT:  Varahi-kand, Aluka.];[SENEFAL: danda.]; [SPANISH:  ñame; ñame blanco; ñame bobo; ñame cimarrón, papa caribe; papa del aire; papa voladora.];[TAMIL: Pannukkizhangu, Kaatu-c-ciraka-valli, Kaattu-k-kaay-valli.];[TELUGU: Adavi Dumpa.];[USA/HAWAII: Hoi.]
ชื่อวงศ์ --- DIOSCOREACEAE
ถิ่นกำเนิด--- ทวีปแอฟริกา เอเซีย ออสเตรเลีย
เขตกระจายพันธุ์--- อินเดีย ศรีลังกา มัลดิฟส์ จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ลาตินอเมริกา เวสต์อินดีส
มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาเอเชียและออสเตรเลียตอนเหนือ ไปยัง หลายภูมิภาค ในละตินอเมริกา ,หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ,ตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาและหมู่เกาะในมหาสมุทรต่าง ๆ พบได้ที่ระดับความสูง 1,000-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในบางสถานที่เช่นฟลอริด้านั้นถือว่าเป็นวัชพืชพิษเนื่องจากต้นเถาวัลย์ขนาดใหญ่ที่เติบโตอย่างรวดเร็วนั้นแพร่กระจายอย่างเหนียวแน่นและเกิดร่มเงาปิดบังพืชอื่น ที่อยู่ข้างใต้ กระเปาะที่อยู่บนเถาจะแตกหน่อและกลายเป็นเถาใหม่ บิดไปมาเป็นแผ่นหนา หากต้นพืชถูกตัดลง หัวใต้ดินสามารถอยู่รอดเป็นระยะเวลานานและเกิดต้นใหม่ในภายหลัง
ไม้เถาล้มลุกเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น เถาเลื้อยแบบหมุนเวียนซ้าย อาจยาวได้ถึง 6 เมตร ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยงเป็นเหลี่ยมคล้ายปีกหรือคล้ายหนามปราศจากขน มีหัวอยู่ใต้ดินขนาดหญ่มีลักษณะโป่งนูนเป็นลูก ๆโดยเชื่อมติดกันที่โคนต้น หัวย่อยหรือหัวอากาศเกิดตามซอกใบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-5ซม.สีน้ำตาลถึงสีเทา อาจมีน้ำหนักถึงครึ่งกิโลกรัมหรือ 2 กิโลกรัม เนื้อในหัวเป็นสีเหลืองซีด มีจุดสีม่วงกระจายอยู่ จะเปลี่ยนเป็นสีส้มเมื่อถูกอากาศ และมีลักษณะเป็นเมือก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลมบ้างเป็นจะงอย โคนใบเว้ามนหรือเว้าลึก ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-20 ซม. ยาวประมาณ 7-25ซม.ก้านใบยาวประมาณ 2.5-12 ซม. ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่กันคนละต้น ดอกออกเป็นช่อยาวตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก ผลเป็นแบบแคปซูล หรือเป็นฝักทรงรี ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 1.1-5 ซม.ยาว2ซม.โค้งพับลง มีปีกสีน้ำตาลเป็นมัน ส่วนเมล็ดมีขอบคล้ายปีกที่ฐาน
ข้อกำหนอสิ่งแวดล้อม--ต้องการดินร่วนปนทรายที่ลึกและระบายน้ำได้ดี ชอบค่า pH ในช่วง 6 - 6.7 ซึ่งทนได้ 5.3 - 8
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน  ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้กินเป็นผักสด ผักลวก หรือนึ่งกิน หัวนำมาฝานตากแห้ง ใช้ปรุงเป็นอาหารแป้ง และกินเป็นยารักษาโรคกระเพาะ
-ใช้เป็นยา ถูกนำมาใช้เป็นยาพื้นบ้านในการรักษาโรคตาแดง โรคท้องร่วงและโรคบิด มีสรรพคุณทางสมุนไพรใน ตำรายาไทยใช้หัวใต้ดินนำมาทำให้สุกใช้รับประทานเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร น้ำของรากถูกนำไปขับไล่พยาธิใบไม้ ใช้หยดลงในบาดแผลเพื่อขับไล่หนอนและเชื้อโรค
-อื่น ๆ ชาวเมี่ยนจะนำหัวว่านพระฉิมมาทุบใส่แผลให้สุนัข
ความเชื่อ---หัวนำมากินหรือใช้ติดตัวเชื่อว่าจะคงกระพันชาตรี
รู้จักอันตราย---Dioscorea ชนิดที่กินได้มีใบตรงข้ามในขณะที่ชนิดที่เป็นพิษมีใบแบบอื่น
ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม-กันยายน/กันยายน-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---สายพันธุ์นี้ไม่ค่อยผลิตเมล็ดพวกเขาไม่ได้ใช้เพื่อเผยแพร่ การขยายพันธุ์ใช้วิธีแบ่งหัว


ปีบฝรั่ง/Hippobroma longiflora

ชื่อวิทยาศาสตร์     __ Hippobroma longiflora(L.) G.Don
ชื่อพ้อง    __ Has 7 Synonyms
---Isotoma longiflora (L.) C.Presl
---Isotoma longiflora var. runcinata (Hassk.) Panigrahi, P.Daniel & M.V.Viswan.
---Isotoma runcinata Hassk.
---Laurentia longiflora (L.) Peterm.
---Lobelia longiflora L.
---Rapuntium longiflorum (L.) Mill.
---Solenopsis longiflora (L.) M.R.Almeida
ชื่อสามัญ     __ Star of bethlehem, Madamfate, Madam Fate
ชื่ออื่น     __ปีบฝรั่ง, แสนประสะ, [CHINESE: ma zui cao]; [FRENCH: etoile de Bethléem, herbe-poison, lastron blanc]; [PORTUGUESE-BRAZIL:jasmin de cachorro, jasmin de Italia ]; [SPANISH: flor de San Juan, flor de sapo, lágrimas de María]; [GERMAN: Stern von Bethlehem].
ชื่อวงศ์    __ CAMPANULACEAE
ถิ่นกำเนิด    __ ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์    __ ประเทศในเขตร้อน

 

มีถิ่นกำเนิดในประเทศจาเมกา อเมริกาใต้ เกิดขึ้นตามริมฝั่งที่ลาดชันและตามเส้นทาง ริมถนนในดินเหนียวบนหินปูนที่ระดับความสูงความสูง 60- 810 เมตร
ไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี รากเนื้อสีขาวมียางมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-30 เซนติเมตร โคนของลำต้นเป็นแกนแข็ง ตามลำต้นมีขนขึ้นประปราย ใบเดี่ยว ยาวประมาณ 5-15 ซม. และกว้าง 1-3.5 ซม. ออกเรียงเวียนรอบลำต้นรูปไข่กลับ รูปยาวรี หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยหรือหยักเว้าไม่สม่ำเสมอ หลังใบและท้องใบเรียบ ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบเป็นสีขาว
ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ สีขาว มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ผลเป็นรูปทรงรี ยาว 1-1,5 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 0,8-1,2 ซม. ผลเป็นผลแห้งแตก เมื่อแก่จะโป่งออกและโค้งลง มีเมล็ดรูปรีจำนวนมาก ยาว 0.7 มม. มีสีน้ำตาลอ่อน
การใช้ประโยชน์ เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น พืชนี้ยังได้รับการปลูก เป็นครั้งคราวเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรคและเป็นไม้ประดับ
มีสรรพคุณทางสมุนไพรทั้งต้นมีรสเฝื่อนร้อน นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยารักษาโรคลมบ้าหมู  ใช้เป็นยาแก้โรคหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ รักษากามโรค  ด้วยการใช้ลำต้นหรือทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำรับประทานใบสดนำมาตำให้ละเอียดเอามาอุดบริเวณฟันที่ปวด เป็นยาแก้ปวดฟัน ใบมีรสเฝื่อนร้อน ใช้เป็นยาถูทาให้ร้อนแดง พืชถูกใช้เป็นยาแก้โรคหูดในบราซิล
รู้จักอันตราย พืชที่มีพิษรุนแรง
ขยายพันธุ์---เมล็ด


พญามือเหล็ก/Strychnos lucida

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Strychnos lucida R.Br
ชื่อพ้อง---Strychnos ligustrina Blume
ชื่อสามัญ---Strychnine Bush, Saintignatus Bean
ชื่ออื่น ---เสี้ยวดูก(ภาคเหนือ); พญามือเหล็ก,พญามูลเหล็ก(ภาคกลาง); ยามือเหล็ก(กระบี่) ; [THAI: siao duk (Northern); phaya mue lek,  phaya mun lek (Central); ya mue lek (Krabi).]; [INDONESIA: Widoro Laut, Widoro Putih (Jawa); Bidara Pahit, Bidara Putih, Kayu Ular.].
ชื่อวงศ์ ---STRYCHNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “strychnon” กลิ่นฉุน ขม ตามลักษณะของผล


พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้-ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย เกิดตามป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งอื่น ๆ มักจะอยู่ในป่าทุติยภูมิ นอกจากนี้ยังพบบนภูเขาหินปูนในประเทศไทย พบที่ระดับความสูงถึง 200- 400 เมตร  
ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูงประมาณ 6-12เมตร ลำต้นคดงอ เนื้อไม้แข็งสีเหลืองอ่อน เปลือกต้นสีเขียวหม่น ใบเดี่ยวกว้าง1.5-6ซม.ยาว2.5-10ซมรูปไข่ปลายแหลม ขอบและผิวมัน (คล้ายใบแสลงใจ แต่ใบเรียวและบางกว่า) มีเส้นใบหลักสามเส้น ดอกออกเป็น ดอกช่อ ดอกสีขาวมี5กลีบ  ผลกลม ขนาด2-2.5ซม, เมล็ดคล้ายเมล็ดแสลงใจ มี2-3เมล็ด
การใช้ประโยชน์--- มีการเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น
-ใช้เป็นยา เปลือกไม้รสขมและรากใช้ในยาแผนโบราณเพื่อรักษาไข้ งูกัด แผลเปื่อย แผลในกระเพาะอาหารและ พยาธิลำไส้ เยื่อผลไม้ใช้กับผิวเพื่อรักษาอาการผิดปกติของผิวหนัง เช่น หิด, ผื่นแดง, ไฟไหม้, โรคเรื้อน, แผลไข้ทรพิษและฟื้นฟูผิว สรรพคุณทางสมุนไพร ใบ รสขมเมา แก้ฟกบวม เนื้อไม้ รสขมเมา กัดเสมหะในลำคอ ตัดไข้จับ ดับพิษไข้ แก้กระษัยเลือด แก้ไข้จับสั่น ฝนทาศีรษะเด็กแก้คัน แก้รังแค แก้ไข้ที่มีพิษร้อนให้ละเมอเพ้อพก ราก รสขมเมา แก้ไข้เรื้องรัง แก่น รสขมเมา แก้พิษดีและโลหิต แก้ไข้จับ แก้ไข้ร้อน
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-มิถุนายน/สิงหาคม-กันยายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด


พลับพลึง/Crinum asiaticum

ชื่อวิทยาศาสตร์ --- Crinum asiaticum L.
ชื่อพ้อง ---Has 2 Synonyms   
__ Bulbine asiatica (L.) Gaertn.
--Crinum brevifolium Roxb.
ชื่อสามัญ---Giant crinum lily, Grand crinum lily, Crinum lily , Cape lily, Spider lily, Poison bulb
ชื่ออื่น --- ลิลัว , วิรงรอง (ชวา), พลับพลึงขาว, พลับพลึงดอกขาว ;[THAI: Phlapphueng, Lilua.]; [ : INDIA: Nagadamani, Sudarshan (Hindi); Bon-naharu (Assamese)]; [BANGLADESH: Bara kanur.]; [PHILIPPINES: Bakong (Tag)]; [CHINESE: Wen zhu lan]; [JAPANESE: Hama-Omoto.]; [MALAYSIA: Bakong, Bawang hutan.]; [INDONESIA: Bakung, Kajang-kajang]; [PAPUA NEW GUINEA: Morabau, Didil, Pokaan].
ชื่อวงศ์ --- AMARYLLIDACEAE
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์ --- เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ; จีน, ฮ่องกง, อินเดีย ญี่ปุ่น มัสคารีนส์
ไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลม โตเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12-15 เซนติเมตร และมีความสูงราว 90-120 เซนติเมตร ใบแคบ เรียวยาว ขอบใบจะเป็นคลื่น ปลายใบแหลม ใบหนาอวบน้ำ ดอกออกเป็นช่อใหญ่ มีกลิ่นหอม แต่ละช่อมีดอกประมาณ 15-40 ดอก ก้านดอกชูขึ้นจากตรงกลางลำต้น ผลกลมสีเขียวอ่อน
การใช้ประโยชน์  มีสรรพคุณทางสมุนไพร นำมาใช้ได้แค่ภายนอกเท่านั้น จะไม่ใช้พลับพลึงเป็นยากินหรือใช้ภายในเนื่องจากมีพิษ
รากใช้ตำพอกแผล ใช้รักษาพิษยางน่อง หัวใช้เป็นยาบำรุง ยาระบาย ใบ ประคบแก้เคล็ดยอก ข้อเท้าแพลง สามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้ออักเสบ หมอพื้นบ้านนิยมนำใบพลับพลึงมาลนไฟให้ตายนึ่ง แล้วพันตามอวัยวะที่เคล็ดขัดยอก บวม หรือหักแพลง ถอนพิษได้ดี แถบสุพรรณบุรีใช้ใบลนไฟ รักษาโรคไส้เลื่อน
และใบพลับพลึงยังสามารถนำมาใช้กับสตรีที่เพิ่งคลอดบุตรหรือกำลังอยู่ไฟได้ ด้วยการใช้ใบประคบบริเวณหน้าท้อง จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำให้น้ำคาวปลาแห้ง ช่วยขับของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ นอกจากนี้ยังช่วยขจัดไขมันส่วนเกินได้อีกด้วย เมล็ด เป็นยาบำรุง ยาระบาย ขับเลือดประจำเดือน และขับปัสสาวะ
ระยะออกดอก---ทยอยออกดอกตลอดปี
ขยายพันธุ์---ด้วยวิธีการแยกหน่อที่ขึ้นบริเวณโคนต้นและวิธีการเพาะเมล็ด

เอกสารประกอบ,อ้างอิง,แหล่งที่มา

---The International Plant Names Index and World Checklist of Selected Plant Families 2017. Published on the Internet at http://www.ipni.org and http://apps.kew.org/wcsp/
---สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549 http://www.dnp.go.th/botany/
---อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search
---ขันทองพยาบาท---สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) (Concise Encyclopedia of Plants in Thailand) http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Suregada0multiflora0(A.0Juss.)0Baill.
---เว็บไซต์เมดไทย (MedThai) URL: https://www.medthai.com
---หนังสือ สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).
---หนังสือ สมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).
---หนังสือ พจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
---หนังสือ รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช).
---หนังสือ การปรุงยาสมุนไพร ( อาจารย์เศรษฐมันต์ กาญจนกุล, รื่นรมย์พรรณไม้งาม, พืชสมุนไพร 1,2)
---หนังสือ สารานุกรมสมุนไพร. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540.โอเดียนสโตร์:กรุงเทพมหานคร.
---หนังสือ รื่นรมณ์พรรณไม้งาม พืชสมุนไพร 2. เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. 2550. เศรษฐศิลป์:กรุงเทพมหานคร.
---หนังสือ ร้อยพรรณพฤกษาว่าน. เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. 2553. เศรษฐศิลป์:กรุงเทพมหานคร.
---พจนานุกรม สมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4 วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2539..ประชุมทองการพิมพ์: กรุงเทพมหานคร.
---หนังสือ สยามไภษัชยพฤกษ์ ภูมิปัญญาของชาติ. วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล, พร้อมจิต ศรลัมพ์, วิชิต เปานิล. 2538. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร.
---หนังสือ สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, วิชิต เปานิล, รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล, นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, พร้อมจิต ศรลัมพ์. 2539. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง:กรุงเทพมหานคร.                         --บอระเพ็ดพุงช้าง----ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551หน้า 197

Check for more information on the species:

REFERENCES ---General Bibliography
REFERENCES ---Specific & complementary

Plants Database           ---Names, synonymy and distribution                             ----The Garden.org Plants Database    https://garden.or/plants/
Global Plant Initiative    ---Digitized type specimens, descriptions and use            ---หอพรรณไม้ - กรมอุทยานแห่งชาติ    www.dnp.go.th/botany/Herbarium/GPI.html
Tropicos                      ---Nomenclature, literature, distribution and collections    ---Tropicos - Home    www.tropicos.org/
GBIF                           ---Global Biodiversity Information Facility                        --- Free and open access to biodiversity data    https://www.gbif.org/
IPNI                           ---International Plant Names Index                                 ---The International Plant Names Index - home page    http://www.ipni.org/
EOL                            ---Descriptions, photos, distribution and literature            ---Global access to knowledge about life on Earth    Encyclopedia of Life eol.org/
PROTA                        ---Uses                                                                       ---The Plant Resources of Tropical Africa    https://books.google.co.th/books?isbn=9057822040
Prelude                       ---Medicinal uses                                                          --- Prelude Medicinal Plants Database    http://www.africamuseum.be/collections/external/prelude
Google Images            ---Images        
            
รวบรวมและเรียบเรียงโดย Tipvipa..V
รูปภาพ--ทิพพ์วิภา วิรัชติ
บริษัท สวนสวรส การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด
สวนเทวา  เชียงใหม่
www.suansavarose.com
www.suan-theva.com

 

 

 



















Tags : สมุนไพร ต้นไม้ จัดสวน ไม้พุ่ม

ความคิดเห็น

  1. 1
    George Nichols
    George Nichols segaebgaweig@gmail.com 21/02/2024 09:47

    Fine post. This blog is impressive; I was consistently checking it. Outstanding information, particularly the final section; I greatly value such details. I spent quite some time in pursuit of this specific information. Your gratitude and best wishes! doodle baseball

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

  Copyright 2005-2009 suansavarose All rights reserved.
view