สมาชิก




ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
 

เมนู

หน้าแรก

รวมรูปภาพ

เว็บบอร์ด

สนทนาคนรักต้นไม้

 

บทความ

หิน-หินเทียม

สารพัดต้นไม้จัดสวน

ไม้ประดับเพื่อการจัดสวน

ปลูกต้นไม้มงคล

เกี่ยวกับเรา

สวนสไตล์ต่างๆ

ต้นไม้ประจำจังหวัด ภูมิสัญญลักษณ์ของเมือง

มหัศจรรย์โลกพฤกษา

ว่าด้วยเรื่อง.....ดิน....และ..ปุ๋ย

พืชจัดสวนมีพิษที่ควรระมัดระวัง

เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็นสวนใหม่

จัดสวนพื้นที่ขนาดใหญ่

จัดสวนด้วยตัวเอง

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

การทำบ่อเลี้ยงปลา และระบบกรองรักษาคุณภาพน้ำอย่างง่าย

มุมสวนสวยสำหรับคุณ

ในนี้มีอะไรเยอะแยะ

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/02/2008
ปรับปรุง 08/06/2024
สถิติผู้เข้าชม 17,553,927
Page Views 23,945,440
 
« June 2024»
SMTWTFS
      1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30      

เนระพูสีไทย..ดอกไม้สีดำ

เนระพูสีไทย..ดอกไม้สีดำ

 


เนระพูสีไทย ดอกไม้สีดำ

   ที่พบแห่งเดียวในโลก

และที่สำคัญคือ เป็นดอกไม้ป่าของไทย


ชื่อสามัญ : Bat Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tacca chantrieri.,Andr.

ชื่ออื่น : ว่านหัวลา ,ว่านหัวฟ้า ,ดีปลาช่อน ,ค้างคาวดำ, มังกรดำ,ดีงูหว้า
วงศ์ : TACCACEAE

ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย


ในโลกแห่งพฤกษศาสตร์ เชื่อกันว่า บรรดาพืชที่นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์สุดยอดของโลกพฤกษศาสตร์ ไม่มีพืชชนิดไหนเกินหน้าพวก พืชกินแมลง หรือ Carnivorous Plant ไปได้

แต่ ก็ยังมีพวกที่แปลกประหลาดมากอีกพวกหนึ่ง ก็คือ พวกที่ออกดอกเป็นสีดำ และยังใช้ชีวิตอยู่ในความมืดเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่าค้างคาวเหมือนสามัญนามของเนระพูสีไทย พืชที่ต้องเจริญเติบโตและเคลื่อนไหวในความมืดมิดเช่นเดียวกับความเป็นอยู่ ของค้างคาวนั่นเอง

พูด ถึงค้างคาวแล้วต้องแทรกนิดนึงเพราะเกี่ยวเนื่องกันอยู่ในแง่ของชีวิต ที่คล้ายคลึงกันระหว่างสัตว์กับพืช ค้างคาวในโลกมีอยู่มากมายหลายพันธุ์ ตัวเล็ก ตัวใหญ่ โตขนาดน้องๆแม่ไก่ก็มี บางอย่างกินผลไม้ บางอย่างกินเนื้อสัตว์ บางอย่างก็ดูดเลือดสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร เช่นค้างคาวผี หรือค้างคาวแวมไพร์

บางพวกที่มีขนาดเล็กมาก เล็กเท่า แมลงภู่ ส่วนมากมักจะดูดน้ำหวานในดอกไม้กินเป็นอาหาร เรียกว่า ค้างคาวดอกไม้ ค้างคาวตัวเล็กที่สุด ในโลก พบในครั้งแรกในเมืองไทย และอาจมีอยู่ในโลกเพียงแห่งเดียว คือที่ น้ำตกไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี ผู้ที่ค้นพบค้างคาวดอกไม้ตัวนี้คือ นายกิติ ทองลงยา นักสัตวศาสตร์ของไทย ผู้ซึ่งค้นพบ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร  ( Pseudochelidon sirintarae) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖นายกิติทองลงยา ก็พบค้างคาวดอกไม้ตัวที่เล็กที่สุดในโลก ซึ่งเรียกกันในปัจจุบันว่า ค้างคาวคุณกิติ และได้ชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบในพากย์ละตินว่า Craseonycteris thonglongyai หรือ ค้างคาวทองลงยา


การเปรียบเทียบให้เห็นความคล้ายคลึงกันของพืชและสัตว์

ระหว่างสัตว์ ค้างคาวดอกไม้( Flower Bat ) กับ พืชดอกไม้ค้างคาว ( Bat Flower )

 และพวกพ้องของเนระพูสีไทย ในด้านต่างๆโดยเรียบเรียงได้ดังนี้

ที่ อยู่อาศัย ดอกไม้ค้างคาวและเนระพูสีไทย เกิดและอาศัยอยู่ในป่าดงดิบชื้น ตามหุบเหวลึก หรือบนพื้นดินที่ปกคลุมด้วยต้นไม้หนาแน่นเหมือนดอกไม้ค้างคาวที่อาศัยหลบ ซ่อนตัวในที่มืดมิดตามถ้ำ หน้าผาสูงและหุบเหวลึกและในไร่สวนที่มีพุ่มไม้หนาแน่น

ลักษณะ การพักนอน เนระพูสีไทยหรือดอกไม้ค้างคาวพวกนี้ จะมีก้านดอกชูขึ้นเหนือพื้นดิน ราว 1 ฟุตดอกออกเป็นช่อที่ปลายก้านดอก ดอกจะบานในเวลากลางคืนและบานช้ามาก เมื่อใกล้รุ่งจะชะงักการบานไว้ กว่าจะบานเต็มที่จนครบขบวนการบานต้องใช้เวลานานตั้งแต่ 7-10 คืนทีเดียว เพราะบานได้ทีละนิดเดียวเหมือนค้างคาวดอกไม้ที่ใกล้รุ่งต้องกลับรังนอน

ลักษณะ การพักนอน ดอกค้างคาวจะพักนอนทันทีเมื่อใกล้รุ่ง ปล่อยให้ดอกและเกสรที่ยาวเฟื้อยงุ้มลงสู่ดิน เหมือนการพักนอนของค้างคาวดอกไม้ ที่ห้อยหัวลงสู่ดิน

กลิ่น อันไม่น่าพิสมัยของดอกไม้ค้างคาวมีกลิ่นเหม็นสาบหืนๆคล้ายกลิ่นสาบตามถ้ำหรือถิ่นที่มีค้างคาวอาศัย

สี ดอกไม้ค้างคาวหรือเนระพูสีไทย เป็นดอกไม้สีดำพวกเดียวในโลก และพบในเมืองไทย สีออกไปทางดำคล้ำเหมือนสีค้างคาวนั่นเอง

ความ เชื่อ คนจีนโบราณเชื่อว่าค้างคาวดอกไม้เป็นสัตว์แห่งโชคลาภ ซึ่งสามารถจะนำความสำเร็จมาสู่มนุษย์ได้หากมันได้เข้าไปอาศัยในเขตบ้านชาน เรือน

ส่วนชาวไทยโบราณบางกลุ่ม

           เชื่อว่า ต้นเนระพูสีไทย หรือดอกไม้ค้างคาวนี้ คือ ว่านพังพอน ที่สามารถส่งเสียงร้องได้เหมือนเสียงนกในคืน๑๕ค่ำ แต่เมื่อใครได้ยินเสียงร้องนี้ให้ถือว่าเป็นลางร้าย บอกให้เจ้าของว่านระมัดระวังตัวเพราะจะมีเคราะห์ร้าย  ต้องรีบไปทำพิธีเสดาะ เคราะห์  ความเชื่อเรื่องนี้ท่านนักเลงว่านรุ่นผู้เฒ่าในภาคใต้หลายจังหวัดที่เชื่อ กันว่า ว่านพังพอนหรือเนระพูสีไทยต้นนี้ร้องได้อยู่ (เป็นเกร็ดความเชื่อ )

ลักษณะ ของเนระพูสีไทย มีหัวใต้ดิน ต้นสูง40-70 ซม.ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง7-15 ซม. ยาว20-60 ซม. ดอกสีม่วงดำ ออกเป็นช่อยาวจากโคนกอ 6ดอกต่อช่อ ก้านช่อดอกยาวประมาณ30-50ซม.กลีบดอกมีชั้นเดียว 6กลีบ โคนเชื่อมติดกัน พบในป่าดงดิบทั่วประเทศตั้งแต่ระดับความสูง500-1,000เมตร


ว่านพังพอน หรือ นิลพูสี   ( Tacca integrifolia  Ker-Gawl)



ชื่ออื่น : ฤาษีลม, ม่านแผลน

มี หัวใต้ดิน สูงได้ถึง1เมตร ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม แผ่นใบรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง7-17ซม.ยาว20-60ซม.ดอกสีม่วงดำออกเป็นช่อยาวจากโคนกอ 6ดอกต่อช่อ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง60ซม.กลีบดอก3กลีบรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับขนาด กว้าง5-15มม ยาว5-16มม.เกสรผู้สีเหลืองแกมเขียว พบในป่าดงดิบในที่ราบทางภาคเหนือและภาคใต้

เนระพูสีไทย เป็นพันธุ์ไม้ป่าเมืองไทยที่มีดอกสีดำ และเกิดกระจายพันธุ์อยู่ในป่าลึก เท่าที่สำรวจพบแล้ว พบ ๕ พันธุ์ (Species ) คือ


เนระพูสีไทย   (Tacca chantrieri)

ว่านพังพอน    ( Tacca integrifolia )

คดดิน           ( Tacca palmate )

         สิงโตดำ      ( Tacca Teontopetaloides )

  หนวดเสือ       (Tacca plantaginea)

เนระพูสี ไทย พบมากตามป่าดงดิบตามหุบเขาในภาคใต้ ลำต้นอยู่ใต้ดินเจริญตามแนวราบมีลักษณะเป็นหัวหรือเหง้า หัวหรือเง่านี้คล้ายหัวข่า แต่ไม่แตกแง่งหรือแยกแขนงอย่างหัวข่า เนื้อเยื่อของเง่าแกร่งกว่าหัวข่ามาก เคยเอามาปลูกไว้หลายปีมาแล้ว ซุกเอาไว้ในที่มืด ๆได้ยินกิติศัพท์ความสำคัญ ก็อยากได้ บังเอิญได้มาแต่เลี้ยงไม่เป็น เห็นอยู่ในที่มืดนานกลัวตาย ยกมาออกแดดซะหน่อย ปรากฏว่าใบไหม้หมด มาเห็นคิดว่าขาดน้ำ รดน้ำซ้ำเข้าไปอีก แถมใส่ปุ๋ย16-16-16ให้ด้วยความหวังดี เลยเสร็จ เละเลย

พืช พันธุ์นี้ ขยายพันธุ์ได้ 2วิธี คือ เพาะเมล็ด หรือขุดเง่ามาทอนเป็นท่อนๆแล้วนำไปชำในที่ชุ่มชื้น และต้องอยู่ในที่มืด ออกดอกในฤดูหนาว และต้องอยู่ในที่มืดด้วย ชอบปุ๋ยอินทรีย์ เกลียดปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่สุด

 สรุปแล้ว


ต้องเรียกว่า เนระพูสีไทย คือซูปตาร์แห่งรัตติกาลโดยแท้จริง

อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือธรรมชาติศึกษา ดอกไม้และประวัติไม้ดอกเมืองไทย 2535

ของท่านอาจารย์ วิชัย อภัยสุวรรณ


เรียบเรียง : ทิพพ์วิภา วิรัชติ

รูปภาพ : บริษัท สวนสวรส การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด

www.suansavarose.com 

www.suan-theva.com

5/5/2008

Tipvipa..V

Update 13/11/2017


ความคิดเห็น

  1. 4231
    31/08/2013 20:32

    อยากได้ข้อมูลอ่ะ


  2. 4232
    02/09/2012 17:35

    ในสวนทุเรียนทีj อ. ลับแล อุรดิตถ์ มีเยอะมากชาวสวนแถวนั้นฟันทิ้งเลียบ

  3. 4233
    casino
    casino dayamato111@gmail.com 20/06/2012 15:28

    ไม่รู้จะอธิบายยังไง ว่าที่นี้แจ่มมาก


  4. 4234
    คาสิโนออนไลน์
    คาสิโนออนไลน์ ilove_hear@hotmail.com 14/12/2011 17:42
    สวยมากค่ะ
  5. 4235
    Tipvipa..V
    Tipvipa..V 26/06/2011 06:06
    การสมัครสมาชิก ให้กดไปที่ สมาชิก แล้วกรอกข้อมูลตามนั้น ก็เข้าใช้งานได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่าย
    และถ้าให้เกียรติกันก็ขอให้กรอกข้อมูลที่เป็นความจริงและครบถ้วนเท่านั้น
    ส่วนการเรียนจัดสวน ที่เปิดเป็นคอร์ส ณ ขณะนี้ไม่ทราบว่ามีที่ใด
  6. 4236
    หวานใจ ไทยงาม
    หวานใจ ไทยงาม live2552@hotmail.com 26/06/2011 01:52
    มีการเรียนจัดสวนใหมค่ะถ้าจะสมัครสมาชิกต้องทำอย่างไรบ้างคะ่
  7. 4237
    หวานใจ ไทยงาม
    หวานใจ ไทยงาม live2552@hotmail.com 26/06/2011 01:51
    มีการเรียนจัดสวนใหมค่ะ
  8. 4238
    Tipvipa..V
    Tipvipa..V 11/05/2011 08:25
    น่าจะจริงนะ ใส่แล้วมันไม่งามหรือตายนี่ อาจเป็นเพราะใส่ปุ๋ยแล้ว รดน้ำ้มากไปเลยแฉะไม่ชอบ หรือใส่ปุ๋ยแล้วรดน้ำน้อยไป เลยมีความเข้มข้นสูงแทนที่จะกินเข้าไปกลายเป็นคายออกมา  หรือเป็นต้นไม้โบราณเลยไม่ชอบอะไรที่เป็นวิทยาศาสตร์
  9. 4239
    natamon
    natamon wasanajun2009@hotmail.com 07/05/2011 20:22

    จริงหรือค่ะที่ว่านค้างคาวดำไม่ชอบปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพราะใส่ไปแล้วจะตายไหมเพราะดอกกำลังบาน

  10. 4240
    sodalemon
    sodalemon 05/04/2011 16:20

    หาซื้อได้ที่ไหนคะ อยากได้

  11. 4241
    ขวัญหทัย ทรายแก้ว
    ขวัญหทัย ทรายแก้ว kwanhathai-s@hotmail.com 23/10/2010 21:53

    ไม่เคยเห็นเลย อยากมีเก็บไว้จัง

[Back]   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141 142

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

  Copyright 2005-2009 suansavarose All rights reserved.
view